ทะเลสาบเซวาน
ทะเลสาบเซวาน | |
---|---|
ภาพถ่ายทางอากาศของทะเลสาบ | |
ที่ตั้ง | จังหวัดแกราร์คูนิค ประเทศอาร์มีเนีย |
พิกัด | 40°19′N 45°21′E / 40.317°N 45.350°E |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | แม่น้ำและลำธาร 28 แห่ง |
แหล่งน้ำไหลออก | การระเหย: 85–90%,[1] แม่น้ำฮรัซดาน: 10–15% |
ประเทศในลุ่มน้ำ | อาร์มีเนีย |
องค์กรที่จัดการ | กระทรวงสิ่งแวดล้อม |
ช่วงยาวที่สุด | 74 กิโลเมตร (46 ไมล์)[2] |
ช่วงกว้างที่สุด | 32 กิโลเมตร (20 ไมล์)[2] |
พื้นที่พื้นน้ำ | 1,242 ตารางกิโลเมตร (480 ตารางไมล์)[3] |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 26.8 เมตร (88 ฟุต)[3] |
ความลึกสูงสุด | 79.4 เมตร (260 ฟุต)[3] |
ปริมาณน้ำ | 33.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร (26,900,000 เอเคอร์-ฟุต)[3] |
ความเค็ม | 0.7%[4] |
ความสูงของพื้นที่ | 1,900.44 เมตร (6,235.0 ฟุต) (2012)[5] |
เกาะ | เคยมี 1 แห่ง (ปัจจุบันเป็นคาบสมุทร) |
ส่วนย่อยลุ่มน้ำ | 2 (เซวานใหญ่, เซวานน้อย) |
เมือง | กาวาร์ เซวาน มาตูนี วาร์เดนิส |
การขึ้นทะเบียน | |
---|---|
IUCN ประเภท II (อุทยานแห่งชาติ) | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | อุทยานแห่งชาติเซวาน |
ขึ้นเมื่อ | 14 มีนาคม 1978 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | Lake Sevan |
ขึ้นเมื่อ | 6 กรกฎาคม 1993 |
เลขอ้างอิง | 620[6] |
ทะเลสาบเซวาน (อังกฤษ: Lake Sevan; อาร์มีเนีย: Սևանա լիճ, อักษรโรมัน: Sevana lich) เป็นพื้นที่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอาร์มีเนียและคอเคซัส ถือเป็นหนึ่งในทะเลสาบน้ำจืดที่สูงที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยูเรเชีย[7] ทะเลสาบนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแกราร์คูนิคที่ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1,900 เมตร (6,234 ฟุต) พื้นที่ผิวทั้งหมดของแอ่งอยู่ที่ประมาณ 5,000 ตารางกิโลเมตร (1,900 ตารางไมล์) ซึ่งเทียบเท่า 16 ของดินแดนอาร์มีเนีย[7] ตัวทะเลสาบมีขนาด 1,242 ตารางกิโลเมตร (480 ตารางไมล์) และมีปริมาตร 32.8 ลูกบาศก์กิโลเมตร (7.9 ลูกบาศก์ไมล์)[3] ทะเลสาบเซวานมีแม่น้ำและลำธารไหลเข้าถึง 28 สาย โดยมวลน้ำเพียง 10% ที่ไหลออกจากทะเลสาบผ่านแม่น้ำฮรัซดาน ส่วน 90% ที่เหลือระเหยเป็นไอน้ำ
เซวานมีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสันทนาการ เกาะหลักแห่งเดียว (ปัจจุบันเป็นคาบสมุทร) เป็นที่ตั้งของอารามสมัยกลาง ทะเลสาบนี้มีปลาประมาณ 90% และเครย์ฟิช 80% ให้แก่อาร์มีเนีย[8]
ในสมัยโซเวียต ทะเลสาบเซวานถูกใช้ประโยชน์ต่อการชลประทานในที่ราบอารารัตและการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอย่างหนัก ทำให้ระดับน้ำลดลงประมาณ 20 เมตร (66 ฟุต) และมีปริมาตรลดลงมากกว่า 40% หลังจากนั้น มีการสร้างอุโมงค์สองแห่งเพื่อเปลี่ยนเส้นทางน้ำจากแม่น้ำที่สูง ซึ่งทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบหยุดลดลงและเริ่มมีมวลน้ำเพิ่มขึ้น ทะเลสาบนี้เคยอยู่ที่ระดับความสูงเหนือน้ำทะเล 1,916 เมตร (6,286 ฟุต)[3] ลึก 95 เมตร (312 ฟุต) ครอบคลุมพื้นที่ 1,416 ตารางกิโลเมตร (547 ตารางไมล์) (5% ของพื้นที่อาร์มีเนียทั้งหมด) และมีมวล 58.5 ลูกบาศก์กิโลเมตร (14.0 ลูกบาศก์ไมล์) ก่อนที่การแทรกแซงของมนุษย์เปลี่ยนระบบนิเวศของทะเลสาบ
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ในสมัยกลาง เซวานเป็นชื่อของเกาะ (ปัจจุบันคือคาบสมุทร) และอารามที่สร้างบนนั้น[9] ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ข้อมูลรัสเซียและยุโรปบางครั้งเรียกทะเลสาบนี้ว่า Sevanga หรือ Sevang[16] ตามข้อมูลจากศัพทมูลวิทยาพื้นบ้าน (folk etymology) Sevan อาจเป็นรูปประสมระหว่าง sev ("ดำ") กับ vank’ ("อาราม"),[17] sev ("ดำ") + Van (ทะเลสาบวาน)[18][19] หรือวลี sa ē vank'ə ("นี่คืออาราม")[20]
คำอธิบายจากนักวิชาการ โดยผู้ที่เสนอคนแรกคือมีฮาอิล วาซีลีเยวิช นิโคลสกี ใน ค.ศ. 1896[21][9] เสนอว่า Sevan มีต้นตอจากศัพท์ภาษายูราร์เทียว่า suinia ซึ่งมักแปลว่า "ทะเลสาบ"[25] โดยได้รับการรับรองในจารึกอักษรรูปลิ่มเมื่อศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราชโดยพระเจ้ารูซาที่ 1 แห่งอูราร์ตู ค้นพบที่Odzaberd บริเวณชายฝั่งตอนใต้ของทะเลสาบ[19]
ชื่อเก่าของทะเลสาบในภาษาอาร์มีเนียคือ ทะเล Gegham ซึ่งปรากฏในข้อความสมัยกลางตอนต้น[26][27] (อาร์มีเนียคลาสสิก: ծով Գեղամայ, tsov Geghamay)[a] ชื่อทะเลสาบในภาษาจอร์เจียในอดีตคือ Gelakuni (გელაქუნი) ซึ่งเป็นรูปปริวรรตจากภาษาอาร์มีเนียว่า Gegkarkuni[30][31] ในสมัยคลาสสิก ทะเลสาบนี้รู้จักกันในชื่อ Lychnitis (กรีกโบราณ: Λυχνῖτις)[32][33][34] John Chardin ที่เยี่ยมชมทะเลสาบใน ค.ศ. 1673 เรียกทะเลสาบนี้ว่า "ทะเลสาบ Erivan" และเขียนว่าชาวเปอร์เซียเรียกทะเลสาบนี้ว่า Deria-Shirin ("ทะเลสาบหวาน") และชาวอาร์มีเนียเรียกทะเลสาบนี้ว่า Kiagar-couni-sou[35]
ในรัชสมัยอาบากา ข่านแห่งจักรวรรดิข่านอิล ทะเลสาบนี้มีชื่อเรียกว่า ทะเลเกิกเช (Gokche (Kökçe) sea)[36]
กกชา (Gokcha)[37][38][39][40] หรือ เกิกเช (Gökche)[41][42][43] ซึ่งหมายถึง "ทะเลสาบสีน้ำเงิน" ในภาษากลุ่มเตอร์กิก มีการใช้งานในข้อมูลรัสเซียและบริติชในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[10][11][32][44][45]
ต้นกำเนิด
[แก้]เซวานเกิดขึ้นในช่วงยุคควอเทอร์นารีตอนต้น เมื่อพาลีโอเซวาน (Palaeo-Sevan) ก่อตัวขึ้นจากการก่อตัวของเปลือกโลก โดยมีขนาดใหญ่กว่าทะเลสาบในปัจจุบัน 10 เท่า[4] ส่วนทะเลสาบในปัจจุบันก่อตัวขึ้นเมื่อ 25,000 ถึง 30,000 ปีก่อน[2]
ภูมิอากาศ
[แก้]ในที่ภูเขาสูงในทะเลสาบเซวานมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ที่ 6 องศาเซลเซียส แต่ในเดือนกรกฎาคมมีอุณหภูมิเฉลี่ย 5 องศาเซลเซียส
มลพิษ
[แก้]แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงทะเลสาบเซวานไหลผ่านที่ตั้งถิ่นฐานที่มีประชากรหนาแน่น ซึ่งสร้างของเสียทางการเกษตร ครัวเรือน และอุตสาหกรรม ทำให้ระบบนิเวศของทะเลสาบเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก รายงานจากงานวิจัยใน ค.ศ. 2017 ระบุว่า น้ำในทะเลสาบมีความเข้มข้นของธาตุโลหะอย่างอะลูมิเนียม, นิกเกิล, สารหนู, โคบอลต์ และตะกั่ว[46]
อ้างอิง
[แก้]- หมายเหตุ
- ↑ อาร์มีเนียสมัยใหม่: Գեղամա ծով, Geghama tsov[28] ชื่อนี้ได้รับการกล่าวถึงโดยนักประวัติศาสตร์อาร์มีเนียสมัยกลางกลายคน เช่นในหนังสือ ประวัติศาสตร์อาร์มีเนีย ของ Movses Khorenatsi[29]
- อ้างอิง
- ↑ EEA 2015, p. 9.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 EEA 2015, p. 7.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Vardanian 2009, p. 78.
- ↑ 4.0 4.1 O'Sullivan, Patrick; Reynolds, C. S., บ.ก. (2008). The Lakes Handbook: Limnology and Limnetic Ecology. John Wiley & Sons. p. 57. ISBN 978-0-470-99926-4.
- ↑ "Water level of Armenia's Lake Sevan rises faster than specified law – official". news.am. 2 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 7 March 2012.
- ↑ "Lake Sevan". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
- ↑ 7.0 7.1 Babayan et al. 2006, p. 347.
- ↑ Babayan et al. 2006, p. 348.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Lalayan, Yervand (1908). "Սևանայ վանքի պատմութիւնը" (PDF). Azgagrakan Handes (ภาษาอาร์เมเนีย). XVII (1): 56–58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 2023-12-30.
{{cite journal}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 12 (11 ed.). 1911. p. 192.
- ↑ 11.0 11.1 Massalski, Władysław (1892). . Brockhaus and Efron Encyclopedic Dictionary Volume X (ภาษารัสเซีย). pp. 39–40.
- ↑ Semenov, Petr Petrovič (1873). Geografičesko-statističeskij slovarʹ Rossijskoj Imperii: Pavasterort – Sjatra-Kasy, Volume 4 (ภาษารัสเซีย). Bezobrazov i komp. p. 532.
Севанга, озеро, Эриванской г-іи, Новобаязетскаго у.; см. Гокчинское.
- ↑ Nadezhdin, P. (1869). Природа и люди на Кавказѣ и за Кавказом (ภาษารัสเซีย). Saint Petersburg: V. Demakov Typography. p. 230.
Гёг-чайское озеро (синяя вода), по-армянски Севанга, есть самое значительное въ цѣломъ Закавказскомъ краѣ...
- ↑ Lynch, H. F. B. (1896). "The Ascent of Mount Ararat". Scribner's Magazine. 19: 215.
Ararat rises from the table-land of Armenia between the Black and Caspian Seas in the country comprised within a triangle between the lakes of Sevanga, Urumia, and Van.
- ↑ Francis Rawdon Chesney (1850). The expedition for the survey of the rivers Euphrates and Tigris. London: Longman, Brown, Green, and Longmans. p. 763.
Ghokhcha, Gouktcha, or Sevanga, lake (in Armenia)
- ↑ [10][11][12][13][14][15]
- ↑ Baer, Karl M.; Lukina, Tatyana A. (1984). Каспийская экспедиция К.М. Бэра, 1853–1857 гг: дневники и материалы [Caspiran Encyclopedia of K. M. Baer, 1853–1857: Diary and Materials] (ภาษารัสเซีย). Leningrad: Nauka. p. 532.
Севанг (арм. сев-ванг – черный монастырь)
- ↑ René Grousset. The Empire of the Steppes: A History of Central Asia, Rutgers University Press, 1970, p. 348, ISBN 0-8135-1304-9
- ↑ 19.0 19.1 Avetisyan 1979, pp. 86-87.
- ↑ Ivanovsky, A. A. (1911). По Закавказью. археологические наблюдения и исследования 1893, 1894 и 1896 гг. [Through the Transcaucasia: archeological observations and studies in 1893, 1894, and 1896] (ภาษารัสเซีย). Moscow: Mamontov Typography. p. 30.
- ↑ Клинообразные надписи Закавказья, исследование М. В. Никольского, 1896, p. 127
- ↑ Севан от урартск. суниа – "озеро" Pospelov, Evgeniy (1998). Географические названия мира [Geograficheskie Nazvaniia Mira] (Geographic names of the world) (ภาษารัสเซีย). Moscow. p. 160. ISBN 5-89216-029-7.
- ↑ Kirillova, Yulia M. (1969). "Севан"+(от+"Сиунна"+—+страна Армения—открытый музей (ภาษารัสเซีย). Iskusstvo. p. 28.
Урартийцам обязано своим происхождением слово "Севан" (от "Сиунна" – страна озерная).
- ↑ Murzayev, Ed. M. (1984). Словарь народных географических терминов (ภาษารัสเซีย). Mysl. p. 112.
Вне ряда Севан – озеро в Армении, имя которого восходит к урартскому гумна – " озеро".
- ↑ [9][22][23][24]
- ↑ "Geographic characteristic of the Republic of Armenia" (PDF). armstat.am. National Statistical Service of Republic of Armenia.
Sevan is adornment of nature of the Republic of Armenia (the ancient name is Geghama sea).
- ↑ Avakian, Arra S. (1998). "Van". Armenia: A Journey Through History. Electric Press. p. 3. ISBN 978-0-916919-24-5.
...Sevan (Geghama)...
- ↑ Avetisyan 1979, p. 310: "Գեղամա ծով"
- ↑ Translated as "lake of Geḷam" by Robert W. Thomson, see Thomson, Robert W. (1980). Moses Khorenats'i History of the Armenians (2nd ed.). Harvard University Press. p. 185.
- ↑ "Gruusia / Georgian". eki.ee. Institute of the Estonian Language.
Gelakunis ţba / გელაქუნის ტბა (Sewan) h2 AM
- ↑ "გელაქუნი [gelakuni]" (ภาษาจอร์เจีย). National Parliamentary Library of Georgia..
- ↑ 32.0 32.1 Bryce, James (1878). Transcaucasia and Ararat: Being Notes of a Vacation Tour in Autumn of 1876 (3rd ed.). London: Macmillan and Co. p. 168.
...the lake which the Russians call Goktcha (a corruption of the Tartar name, which means blue lake), and the natives Sevan, the Lychnitis of the ancients...
- ↑ Toumanoff, Cyrille (1963). Studies in Christian Caucasian history. Georgetown University Press. p. 33.
...Thospitis, Mantiane, and Lychnitis, or, as they are now called, Van, Urmia, and Sevan...
- ↑ Smith, William (1854). "LYCHNI´TIS". Dictionary of Greek and Roman Geography. London. view online
- ↑ "The Travels of Sir John Chardin into Persia and the East Indies". London, 1686, pp247-248
- ↑ Sümer, Faruk (1957). Azerbaycan'ın Türkleşmesi Tarihine Umumi Bir Bakış (ภาษาตุรกี). BELLETEN. p. 435. ISSN 0041-4255. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-26.
- ↑ Sykes, Sir Percy (2013). A History Of Persia. Vol. 2. Taylor & Francis. p. 317. ISBN 9781136525971.
The Dispute about Gokcha and its Seizure by Russia, 1825. —The treaty of Gulistan had been so vaguely worded that three districts lying between Erivan and the Gokcha Lake, the most important of which was Gokcha, remained in dispute.
- ↑ Bosworth, C. E. (1986). "Arrān". Encyclopædia Iranica.
...Lake Sevan, later Turkish Gökçe...
- ↑ Woods, John E. (1999). The Aqquyunlu: Clan, Confederation, Empire. University of Utah Press. ISBN 978-0-87480-565-9.
...Lake Gökçe (Sevan) in Armenia...
- ↑ Allen, William Edward David; Muratoff, Paul (1953). Caucasian Battlefields: A History of the Wars on the Turco-Caucasian Border 1828–1921. Cambridge University Press. p. 9. ISBN 978-1-108-01335-2.
...Lake Sevan (A. Sevan; T. Gök-çay; 'Blue water')...
- ↑ Lang, David Marshall (1980). Armenia, cradle of civilization. Boston: Allen & Unwin. p. 28. ISBN 9780049560093.
Rather different is the character of Lake Sevan , known in Turkish as Gökche , or ' the Blue Lake '...
- ↑ von der Osten, Hans Henning (1927). Explorations in Hittite Asia Minor A Preliminary Report. University of Chicago Press. p. 144.
- ↑ Schütz, E. (1998). Armeno-Turcica Selected Studies. Indiana University, Research Institute for Inner Asian Studies. p. 273. ISBN 9780933070431.
but also on the Armenians of the Persian metropolis , Isfahan , the tümen of Nakhichevan , the Gökche Sec ( Lake - Sevan ...
- ↑ Mill, James (1858). The history of British India: (In 10 vol.). Madden. p. 152.
It had gone farther , and had occupied a strip of land on the north - west of the Gokcha Lake belonging , by its own admission to Persia ...
- ↑ Freshfield, Douglas William (1869). Travels in the Central Caucasus and Bashan: Including Visits to Ararat and Tabreez and Ascents of Kazbek and Elbruz. Longmans, Green, & Company. p. 118-119.
For some distance we bore to the right, with but little descent, until presently as much of the big Gokcha lake as the mists did not enshroud came into sight.
- ↑ Avalyan, R.E.; Aghajanyan, E.A.; Khosrovyan, A; Atoyants, A.L.; Simonyan, A.E.; Aroutiounian, R.M. (August 2017). "Assessment of mutagenicity of water from Lake Sevan, Armenia with application of Tradescantia (clone 02)". Mutation Research. 800–802 (8–13): 8–13. doi:10.1016/j.mrfmmm.2017.03.006. PMID 28431268.
<ref>
ชื่อ "azg 2004" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าบรรณานุกรม
[แก้]- Vardanian, Trahel (2009). "The Hydro-chemical changes of Lake Sevan after the artificial lowering of the water level". ใน Bahadir, Ali Mufit; Duca, Gheorghe (บ.ก.). The Role of Ecological Chemistry in Pollution Research and Sustainable Development. Springer Science & Business Media. pp. 77–84. ISBN 978-90-481-2901-0.
- Babayan, Araik; Hakobyan, Susanna; Jenderedjian, Karen; Muradyan, Siranush; Voskanov, Mikhail (2006). "Lake Sevan: Experience and Lessons Learned Brief" (PDF). ilec.or.jp. International Lake Environment Committee Foundation. pp. 347–362. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 14, 2012.
- "Շրջակա միջավայրի տեղեկատվական միասնական համակարգ Սևանա լճի համար" (ภาษาอาร์เมเนีย). Yerevan: European Environment Agency Shared Environment Information System. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 November 2015.
- Avetisyan, Kamsar (1979). Հայրենագիտական Էտյուդներ [Notes on Armenian Studies] (ภาษาอาร์เมเนีย). Yerevan: Sovetakan grogh.