ทะเลสาบไปปัส
หน้าตา
ทะเลสาบไปปัส | |
---|---|
ภาพถ่ายดาวเทียม | |
ที่ตั้งในภูมิภาคทะเลบอลติก | |
ที่ตั้ง | เอสโตเนีย รัสเซีย |
พิกัด | 58°41′N 27°29′E / 58.683°N 27.483°E |
ชื่อในภาษาแม่ | |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | เวลิกายา, Emajõgi |
แหล่งน้ำไหลออก | นาร์วา |
พื้นที่รับน้ำ | 47,800 km2 (18,500 sq mi) |
ประเทศในลุ่มน้ำ | เอสโตเนีย ลัตเวีย และรัสเซีย |
พื้นที่พื้นน้ำ | 3,555 ตารางกิโลเมตร (1,373 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 7.1 เมตร (23 ฟุต) |
ความลึกสูงสุด | 15.3 เมตร (50 ฟุต) |
ปริมาณน้ำ | 25 ลูกบาศก์กิโลเมตร (6.0 ลูกบาศก์ไมล์) |
ความยาวชายฝั่ง1 | 520 กิโลเมตร (320 ไมล์) |
ความสูงของพื้นที่ | 30 เมตร (98 ฟุต) |
เกาะ | กาเมนกา, โคลปีนา, ปีริสซาร์ |
เมือง | กัลลัสเต, Mustvee |
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด |
ทะเลสาบไปปัส (เอสโตเนีย: Peipsi järv; รัสเซีย: Чудско-Псковское озеро, Псковско-Чудское озеро, อักษรโรมัน: Chudsko-Pskovskoye ozero, Pskovsko-Chudskoye ozero; อังกฤษ: Lake Peipus) เป็นทะเลสาบบริเวณชายแดนของประเทศเอสโตเนียและรัสเซีย[1] ถือเป็นทะเลสาบใหญ่เป็นอันดับ 5 ในยุโรป รองจากทะเลสาบลาโดกา และทะเลสาบโอเนกา ทางตอนเหนือของกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย, ทะเลสาบแวแนร์นในสวีเดน และทะเลสาบไซมาในฟินแลนด์[2]
ทะเลสาบไปปัสในปัจจุบันเป็นส่วนที่หลงเหลือจากทะเลสาบเดิมที่ใหญ่กว่านี้ตั้งแต่ในยุคน้ำแข็ง ครอบคลุมพื้นที่ 3,555 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 7.1 ม. และลึกสุดที่ 15 ม.[3][4] ทะเลสาบนี้มีเกาะหลายแห่ง และแบ่งออกเป็น 3 ส่วน:[5]
- ทะเลสาบไปปุส / ชุดสโกเย (เอสโตเนีย: Peipsi järv, รัสเซีย: Чудское озеро) ส่วนเหนือของทะเลสาบที่มีพื้นที่ 2,611 ตารางกิโลเมตร (1,008 ตารางไมล์) (73%)
- ทะเลสาบปิฮ์กวา / ปัสคอฟสโกเย (เอสโตเนีย: Pihkva järv, รัสเซีย: Псковское озеро) ส่วนใต้ของทะเลสาบ (พื้นที่ 708 ตารางกิโลเมตร (273 ตารางไมล์) หรือ 20%)
- ทะเลสาบแลมมี / ตโยปโลเย (เอสโตเนีย: Lämmijärv, รัสเซีย: Тёплое озеро) จุดที่เชื่อมระหว่างสองฝั่งทะเลสาบ (พื้นที่ 236 ตารางกิโลเมตร (91 ตารางไมล์) หรือ 7%)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lake Peipus. Encyclopædia Britannica online
- ↑ The whispering waters of Estonia – Visit Estonia
- ↑ Чудско-Псковское озеро, Great Soviet Encyclopedia
- ↑ (ในภาษารัสเซีย) Russian lakes with area of more than 350 km². (GIF table). Retrieved on 2012-01-21.
- ↑ Gulnara Roll; Robben Romano (2001). "Challenges and opportunities for Development of an Effective Transboundary Water Management Regime in the Lake Peipus Basin: The Estonian–Russian Border Area". ใน Ganster, Paul (บ.ก.). Cooperation, Environment, and Sustainability in Border Regions. San Diego: San Diego State University Press. p. 288.
Lake Peipus .... consists of three unequal parts: northern Lake Peipus ...; southern Lake Pskov ...; and the narrow, strait-like Lake Lämmi
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ทะเลสาบไปปัส
- 360° aerial panorama of Peipus and Piirissaar
- Peipsi Infokeskus Estonian tourist information website
- Settlements in the vicinity of Lake Peipsi เก็บถาวร 2020-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Estonica