ลาลิกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก La Liga)
ลาลิกา
LaLiga Santander logo (stacked).svg
ก่อตั้ง1929
ประเทศสเปน สเปน
สมาพันธ์ยูฟ่า
จำนวนทีม20
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่เซกุนดาดิบิซิออน
ถ้วยระดับประเทศโกปาเดลเรย์
ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา
ถ้วยระดับลีกโกปาเดลาลิกา
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันบาร์เซโลนา (27 สมัย)
(2022–23)
ชนะเลิศมากที่สุดเรอัลมาดริด (35 สมัย)
ผู้ลงเล่นมากที่สุดอันโดนิ ซูบิซาร์เรตา
(622 นัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดลิโอเนล เมสซิ
(474 ประตู)
หุ้นส่วนโทรทัศน์รายชื่อผู้แพร่ภาพออกอากาศ
ไทย บีอินสปอตส์, เอไอเอสเพลย์, ทรูวิชั่นส์
เว็บไซต์laliga.es
ปัจจุบัน: ลาลิกา ฤดูกาล 2022–23

กัมเปโอนาโตนาซิโอนัลเดลิกาเดปริเมราดิบิซิออน (สเปน: Campeonato Nacional de Liga de Primera División) หรือที่เรียกกันนอกประเทศสเปนว่า ลาลิกา (LaLiga) และที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ลาลิกาซันตันเดร์ (LaLiga Santander) ตามชื่อผู้สนับสนุน[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลชายประเภทลีกระดับสูงที่สุดในระบบฟุตบอลลีกสเปน[2] บริหารงานโดยสันนิบาตฟุตบอลอาชีพแห่งชาติ โดยมีทีมแข่งขัน 20 ทีม และจะมีการตกชั้น 3 ทีมหลังจบฤดูกาล และจะถูกแทนที่ด้วยทีมสองอันดับแรกในเซกุนดาดิบิซิออน และทีมชนะรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้น

ลาลิกามีทีมเข้าร่วมแแข่งขัน 62 ทีมได้นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ซึ่งมี 9 ทีมที่ได้ชนะเลิศการแข่งขัน โดยเรอัลมาดริดชนะเลิศมากที่สุดที่ 35 สมัย ตามด้วยบาร์เซโลนา 27 สมัย ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1940 บาเลนเซีย อัตเลติโกมาดริด และบาร์เซโลนาได้กลายเป็นสโมสรที่แข็งแกร่งที่สุดและชนะเลิศหลายครั้ง ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 เรอัลมาดริดและบาร์เซโลนาต่างคว้าแชมป์กันทีมละสี่สมัย ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 เรอัลมาดริดชนะเลิศถึง 14 ครั้ง ขณะที่อัตเลติโกเดมาดริดชนะเลิศ 4 ครั้ง[3] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 เรอัลมาดริดยังคงรักษาการคว้าแชมป์ 11 ครั้งในช่วง 20 ฤดูกาลนี้ แต่สโมสรจากแคว้นประเทศบาสก์ทั้งอัตเลติกและโซซิเอดัดก็ต่างได้แชมป์กันไปทีมละสองสมัย หลังจากคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน บาร์เซโลนาได้ครองแชมป์ลาลิกาถึง 16 สมัย[4] ขณะที่เรอัลมาดริดกลับครองแชมป์ได้น้อยกว่าเพียง 9 สมัย ขณะที่อัตเลติโกมาดริดครองแชมป์สามครั้ง บาเลนเซียสองครั้ง และลาโกรุญญาอีกหนึ่งครั้งใน ค.ศ. 2000

ตามค่าสัมประสิทธิ์ของยูฟ่า ลาลิกามีอันดับที่ดีที่สุดถึงเจ็ดปีในระหว่าง ค.ศ. 2013 ถึง 2019 (คำนวณโดยใช้สถิติสะสมจากห้าฤดูกาลก่อนหน้า) สโมสรจากลาลิกาสามารถชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 18 สมัย ยูฟ่ายูโรปาลีก 13 สมัย ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 15 สมัย และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 7 สมัย ซึ่งสูงมากกว่าทุกลีกในโลก นอกจากนี้ยังมีนักเตะที่ลงเล่นในลาลิกาได้รับรางวัลบาลงดอร์ 23 ครั้ง รางวัลผู้เล่นชายยอดเยี่ยมของฟีฟ่า รวมถึงรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่า 19 สมัย และรางวัลผู้เล่นชายยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่า รวมถึงรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของสโมสรยูฟ่ารวมกัน 11 สมัย ซึ่งสูงมากกว่าทุกลีกในโลกเช่นกัน

ลาลิกาเป็นหนึ่งในลีกที่ได้นับความนิยมสูงที่สุดในโลก มีผู้เข้าชมในสนามโดยเฉลี่ย 26,933 คนในฤดูกาล 2018–19[5] และเป็นลีกกีฬาอาชีพในประเทศที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับแปดของโลก และเป็นลำดับที่สามในลีกฟุตบอลอาขีพทั่วโลก ตามหลังบุนเดิสลีกาและพรีเมียร์ลีก และได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในลีก "บิกไฟว์" ของยุโรป เข่นเดียวกับเซเรียอาและลีกเอิง[6][7] ลาลิกาเป็นลีกที่มีรายได้สูงที่สุดเป็นลำดับที่หกของโลก เป็นรองจากเอ็นเอฟแอล, เอ็มแอลบี, เอ็นบีเอ, พรีเมียร์ลีก และเอ็นเอชแอล[8]

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2021–22)[แก้]

สโมสร เมือง สนาม ความจุ (คน)
อาลาเบส บิโตเรีย เมนดิซอร์โรตซา 19,840[9]
อัตเลติกเดบิลบาโอ บิลบาโอ ซานมาเมส 53,289[10]
อัตเลติโกเดมาดริด มาดริด เอสตาดิโอเมโตรโปลิตาโน 68,456[11]
บาร์เซโลนา บาร์เซโลนา กัมนอว์ 99,354[12]
กาดิซ กาดิซ นูเอโบมิรันดิยา 20,724[13]
เซลตาเดบิโก บิโก บาลาอิโดส 29,000[14]
เอลเช เอลเช มานูเอล มาร์ติเนซ บาเลโร 33,732[15]
อัสปัญญ็อล บาร์เซโลนา สนามกีฬาแอร์ราเซเดเอ 40,000[16]
เฆตาเฟ เฆตาเฟ อัลฟอนโซ เปเรซ 17,000[17]
กรานาดา กรานาดา นูเอโบโลสการ์เมเนส 19,336[18]
เลบันเต บาเลนเซีย นครบาเลนเซีย 26,354[19]
มายอร์กา ปัลมา บิซิตมายอร์กา 24,262[20]
โอซาซูนา ปัมโปลนา เอลซาดาร์ 23,576[21]
ราโยบาเยกาโน มาดริด บาเยกัส 14,708[22]
เบติส เซบิยา เบนิโต บิยามาริน 60,721[23]
เรอัลมาดริด มาดริด อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน 6,000
เรอัลโซซิเอดัด ซานเซบัสเตียน อาโนเอตา 39,500[24]
เซบิยา เซบิยา รามอน ซันเชซ ปิซฆวน 42,714[25]
บาเลนเซีย บาเลนเซีย เม็สตัลยา 55,000[26]
บิยาร์เรอัล บิยาร์เรอัล เอสตาดิโอเดลาเซรามิกา 23,500[27]

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามปี[แก้]

ปี ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3
1929 บาร์เซโลนา มาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ
1929–30 อัตเลติกเดบิลบาโอ บาร์เซโลนา อาเรนัสกลุบ
1930–31 อัตเลติกเดบิลบาโอ ราซินเดซันตันเดร์ เรอัลโซซิเอดัด
1931–32 มาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ บาร์เซโลนา
1932–33 มาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ อัสปัญญ็อล
1933–34 อัตเลติกเดบิลบาโอ มาดริด ราซินเดซันตันเดร์
1934–35 เบติสบาลอมปิเอ มาดริด โอบิเอโด
1935–36 อัตเลติกเดบิลบาโอ มาดริด โอบิเอโด
1936–39 งดการแข่งขันเนื่องจาก สงครามกลางเมืองสเปน
1939–40 อัตเลติโกอาเบียซิออน เซบิยา อัตเลติกเดบิลบาโอ
1940–41 อัตเลติโกอาเบียซิออน อัตเลติกเดบิลบาโอ บาเลนเซีย
1941–42 บาเลนเซีย เรอัลมาดริด อัตเลติโกอาเบียซิออน
1942–43 อัตเลติกเดบิลบาโอ เซบิยา บาร์เซโลนา
1943–44 บาเลนเซีย อัตเลติโกอาเบียซิออน เซบิยา
1944–45 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติโกอาเบียซิออน
1945–46 เซบิยา บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ
1946–47 บาเลนเซีย อัตเลติกเดบิลบาโอ อัตเลติโกอาเบียซิออน
1947–48 บาร์เซโลนา บาเลนเซีย อัตเลติโกเดมาดริด
1948–49 บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เรอัลมาดริด
1949–50 อัตเลติโกเดมาดริด เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา บาเลนเซีย
1950–51 อัตเลติโกเดมาดริด เซบิยา บาเลนเซีย
1951–52 บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ เรอัลมาดริด
1952–53 บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เรอัลมาดริด
1953–54 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย
1954–55 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ
1955–56 อัตเลติกเดบิลบาโอ บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด
1956–57 เรอัลมาดริด เซบิยา บาร์เซโลนา
1957–58 เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด บาร์เซโลนา
1958–59 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ
1959–60 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ
1960–61 เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด บาร์เซโลนา
1961–62 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด
1962–63 เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลโอบิเอโด
1963–64 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา เรอัลเบติส
1964–65 เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลซาราโกซา
1965–66 อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา
1966–67 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัสปัญญ็อล
1967–68 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา ลัสปัลมัส
1968–69 เรอัลมาดริด ลัสปัลมัส บาร์เซโลนา
1969–70 อัตเลติโกเดมาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ เซบิยา
1970–71 บาเลนเซีย บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด
1971–72 เรอัลมาดริด บาเลนเซีย บาร์เซโลนา
1972–73 อัตเลติโกเดมาดริด บาร์เซโลนา อัสปัญญ็อล
1973–74 บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลซาราโกซา
1974–75 เรอัลมาดริด เรอัลซาราโกซา บาร์เซโลนา
1975–76 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด
1976–77 อัตเลติโกเดมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ
1977–78 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ
1978–79 เรอัลมาดริด เอสปอร์ตินเดฆิฆอน อัตเลติโกเดมาดริด
1979–80 เรอัลมาดริด เรอัลโซซิเอดัด เอสปอร์ตินเดฆิฆอน
1980–81 เรอัลโซซิเอดัด เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด
1981–82 เรอัลโซซิเอดัด บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด
1982–83 อัตเลติกเดบิลบาโอ เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด
1983–84 อัตเลติกเดบิลบาโอ เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา
1984–85 บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด อัตเลติกเดบิลบาโอ
1985–86 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ
1986–87 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัสปัญญ็อล
1987–88 เรอัลมาดริด เรอัลโซซิเอดัด อัตเลติโกเดมาดริด
1988–89 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย
1989–90 เรอัลมาดริด บาเลนเซีย บาร์เซโลนา
1990–91 บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลมาดริด
1991–92 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด
1992–93 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา
1993–94 บาร์เซโลนา เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา เรอัลซาราโกซา
1994–95 เรอัลมาดริด เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา เรอัลเบติส
1995–96 อัตเลติโกเดมาดริด บาเลนเซีย บาร์เซโลนา
1996–97 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา
1997–98 บาร์เซโลนา อัตเลติกเดบิลบาโอ เรอัลโซซิเอดัด
1998–99 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด เรอัลมายอร์กา
1999–2000 เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา บาร์เซโลนา บาเลนเซีย
2000–01 เรอัลมาดริด เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา เรอัลมายอร์กา
2001–02 บาเลนเซีย เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา เรอัลมาดริด
2002–03 เรอัลมาดริด เรอัลโซซิเอดัด เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา
2003–04 บาเลนเซีย บาร์เซโลนา เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา
2004–05 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด บียาเรอัล
2005–06 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด บาเลนเซีย
2006–07 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา เซบิยา
2007–08 เรอัลมาดริด บิยาร์เรอัล บาร์เซโลนา
2008–09 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด เซบิยา
2009–10 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด บาเลนเซีย
2010–11 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด บาเลนเซีย
2011–12 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย
2012–13 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด
2013–14 อัตเลติโกเดมาดริด บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด
2014–15 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด
2015–16 บาร์เซโลนา เรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด
2016–17 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด
2017–18 บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลมาดริด
2018–19 บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลมาดริด
2019–20 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด
2020–21 อัตเลติโกเดมาดริด เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา
2021–22 เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา อัตเลติโกเดมาดริด
2022–23 บาร์เซโลนา

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามสโมสร[แก้]

สโมสร สมัย ปีที่ชนะเลิศ
เรอัลมาดริด
35
1931–32, 1932–33, 1953–54, 1954–55, 1956–57, 1957–58, 1960–61, 1961–62, 1962–63, 1963–64, 1964–65, 1966–67, 1967–68, 1968–69, 1971–72, 1974–75, 1975–76, 1977–78, 1978–79, 1979–80, 1985–86, 1986–87, 1987–88, 1988–89, 1989–90, 1994–95, 1996–97, 2000–01, 2002–03, 2006–07, 2007–08, 2011–12, 2016–17, 2019–20, 2021–22
บาร์เซโลนา
27
1929, 1944–45, 1947–48, 1948–49, 1951–52, 1952–53, 1958–59, 1959–60, 1973–74, 1984–85, 1990–91, 1991–92, 1992–93, 1993–94, 1997–98, 1998–99, 2004–05, 2005–06, 2008–09, 2009–10, 2010–11, 2012–13, 2014–15, 2015–16, 2017–18, 2018–19, 2022–23
อัตเลติโกเดมาดริด
11
1939–40, 1940–41, 1949–50, 1950–51, 1965–66, 1969–70, 1972–73, 1976–77, 1995–96, 2013–14, 2020–21
อัตเลติกเดบิลบาโอ
8
1929–30, 1930–31, 1933–34, 1935–36, 1942–43, 1955–56, 1982–83, 1983–84
บาเลนเซีย
6
1941–42, 1943–44, 1946–47, 1970–71, 2001–02, 2003–04
เรอัลโซซิเอดัด
2
1980–81, 1981–82
เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา
1
1999–2000
เซบิยา
1
1945–46
เรอัลเบติส
1
1934–35

สถิติผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามแคว้น[แก้]

แคว้น สมัย ทีมชนะเลิศ
มาดริด
46
เรอัลมาดริด (35), อัตเลติโกเดมาดริด (11)
กาตาลุญญา
27
บาร์เซโลนา (27)
บาสก์
10
อัตเลติกเดบิลบาโอ (8), เรอัลโซซิเอดัด (2)
บาเลนเซีย
6
บาเลนเซีย (6)
อันดาซูซิอา
2
เซบิยา (1), เรอัลเบติส (1)
กาลิเซีย
1
เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา (1)

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามเมือง[แก้]

เมือง สมัย ทีมชนะเลิศ
มาดริด
46
เรอัลมาดริด (35), อัตเลติโกเดมาดริด (11)
บาร์เซโลนา
27
บาร์เซโลนา (27)
บิลบาโอ
8
อัตเลติกเดบิลบาโอ (8)
บาเลนเซีย
6
บาเลนเซีย (6)
เซบิยา
2
เซบิยา (1), เรอัลเบติส (1)
ซานเซบัสเตียน
2
เรอัลโซซิเอดัด (2)
อาโกรุญญา
1
เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา (1)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "LaLiga and Santander strike title sponsorship deal". Liga Nacional de Fútbol Profesional. 21 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2016. สืบค้นเมื่อ 21 July 2016.
  2. "Campeonato Nacional de Liga de Primera División" (ภาษาสเปน). RFEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
  3. Lara, Lorenzo; Harrison, Adapted by Simon (22 May 2017). "The Real Madrid domination of the 1960s and 70s". MARCA in English. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
  4. "8th Liga in 11 years". www.fcbarcelona.com. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
  5. "Attendances in India, China and the USA catching up with the major European leagues". World Soccer. สืบค้นเมื่อ 25 May 2016.
  6. "European football statistics". 2008.
  7. "Europe's big five leagues warned about dominance". BBC. 10 September 2019.
  8. "Major sports leagues all make a lot of money, here's how they do it:, Major sports leagues all make a lot of money, here's how they do it:".
  9. "Mendizorroza" (ภาษาสเปน). Deportivo Alavés. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.
  10. "The Stadium". Athletic Bilbao. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  11. "A spectacular stadium". Wanda Metropolitano. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
  12. "Camp Nou" (ภาษาคาตาลัน). FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.
  13. "Estadio Ramón de Carranza" (ภาษาสเปน). Cádiz CF. สืบค้นเมื่อ 19 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "Instalaciones" (ภาษาสเปน). Celta Vigo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  15. "Estadio Martínez Valero" (ภาษาสเปน). Elche CF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 30 May 2016.
  16. "Facilities - RCDE Stadium". RCD Espanyol. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-18. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  17. "Datos Generales". Getafe CF. สืบค้นเมื่อ 16 May 2016.
  18. "Datos del Club" (ภาษาสเปน). Granada CF. 1 July 2019.
  19. "Estadi Ciutat de Valencia". StadiumDB. 20 July 2018.
  20. "Son Moix Iberostar Estadi (Son Moix)". StadiumDB. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
  21. "Estadio El Sadar | CA Osasuna - Web Oficial". Estadio El Sadar | CA Osasuna - Web Oficial (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
  22. "Estadio de Vallecas" (ภาษาสเปน). Rayo Vallecano. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.
  23. "Estadio Benito Villamarín" (ภาษาสเปน). Real Betis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-27. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  24. "Anoeta: bienvenido el fútbol en color" [Anoeta: welcome football in color]. El Diario Vasco (ภาษาสเปน). 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 13 September 2019.
  25. "Sevilla F.C." (ภาษาสเปน). Sevilla FC. สืบค้นเมื่อ 10 April 2016.
  26. "Facilities - Mestalla". สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  27. "Estadio de la Cerámica" (ภาษาสเปน). Villarreal CF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-19. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]