อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ทุ่งหญ้าน้ำท่วมถึงในอุทยานแห่งชาติกาซีรังคา | |
ที่ตั้ง | อำเภอโคลาฆาตกับนากาโอน[1] |
เมืองใกล้สุด | โคลาฆาต |
พิกัด | 26°40′N 93°21′E / 26.667°N 93.350°E |
พื้นที่ | 858.98 ตารางกิโลเมตร (536,860 ไร่) |
จัดตั้ง | 1905 1974 (ในฐานะอุทยานแห่งชาติ) |
หน่วยราชการ | รัฐบาลรัฐอัสสัม รัฐบาลอินเดีย |
มรดกโลก | แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกตั้งงแต่ ค.ศ. 1985 |
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | อินเดีย |
ภูมิภาค ** | เอเชียใต้ |
ประเภท | มรดกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์พิจารณา | ix, x |
อ้างอิง | 337 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1985 (คณะกรรมการสมัยที่ 9) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (อังกฤษ: Kaziranga National Park, อัสสัม: কাজিৰঙা ৰাষ্ট্ৰীয় উদ্যান, Kazirônga Rastriyô Uddan) เป็นอุทยานแห่งชาติในอำเภอโคลาฆาต (Golaghat) และ นากาโอน (Nagaon) ของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลกซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของแรดอินเดียจำนวนมากถึงสองในสามของโลก[2] รายงานจากสำมะโนที่จัดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 ซึ่งร่วมดำเนินการโดยกรมป่าไม้ของรัฐบาลอัสสัมและองค์การนอกภาครัฐด้านสัตว์ป่าบางส่วนที่ได้รับการยอมรับ ประชากรแรดในอุทยานแห่งชาติกาซีรังคามี 2,413 ตัว ประกอบด้วยแรดวัยผู้ใหญ่ 1,641 ตัว (เพศผู้ 642 ตัว, เพศเมีย 793 ตัว, ไม่ทราบเพศ 206 ตัว); วัยรุ่น 387 ตัว (เพศผู้ 116 ตัว, เพศเมีย 149 ตัว, ไม่ทราบเพศ 122 ตัว); และวัยเด็ก 385 ตัว[3]
กาซีรังคายังเชิดหน้าชูตาด้วยมีประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุดในหมู่พื้นที่คุ้มครองด้วยกันทั่วโลกและจัดตั้งเขตสงวนพันธุ์เสือขึ้นในปี ค.ศ. 2006 อุทยานยังเป็นบ้านและแหล่งขยายพันธุ์ของประชากรจำนวนมากของช้าง ควายป่า และ กวางบึง[4] กาซีรังคายังเป็น พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก โดยองค์การชีวปักษานานาชาติ (Birdlife International) สำหรับเพื่อการอนุรักษ์นกท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบกับเขตคุ้มครองอื่นๆในประเทศอินเดียกาซีรังคาประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก และด้วยตำแหน่งที่อยู่ริมขอบของจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของเทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อุทยานจึงมีความหลากหลายทางสปีชีส์สูงอย่างเห็นได้ชัด
อุทยานแห่งชาติกาซีรังคาประกอบไปด้วยทุ่งหญ้ากว้างขวาง ลุ่มน้ำท่วมถึง และป่าไม้เขตร้อนหนาแน่น มีแม่น้ำไหลผ่านถึง 4 สายรวมถึงแม่น้ำพรหมบุตร และอุทยานยังประกอบด้วยแหล่งน้ำขนาดเล็กจำนวนมาก นอกจากนี้กาซีรังคาเป็นประเด็นในหนังสือหลายเล่ม เพลงหลายเพลง และเอกสารหลายๆเรื่อง อุทยานพึ่งฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีหลังมีการจัดตั้งเป็นป่าสงวนในปี ค.ศ. 1905
อ้างอิง
[แก้]- ↑ National Park, Kaziranga. "Kaziranga National Park and Tiger Reserve". Kaziranga National Park. our My India and Peak Adventure Tour. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- ↑ Bhaumik, Subir (17 April 2007). "Assam rhino poaching 'spirals'". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ Dutt, Anonna (30 March 2018). "Kaziranga National Park's rhino population rises by 12 in 3 years". Hindustan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2018.
- ↑ "Welcome to Kaziranga". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2012.
- Ghosh, S., Nandy, S., & Kumar, A. S. Rapid assessment of recent flood episode in Kaziranga National Park, Assam using remotely sensed satellite data. Current Science, 111(9), 1450–1451.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Barthakur, Ranjit; Sahgal, Bittu (2005). The Kaziranga Inheritance. Mumbai: Sanctuary Asia.
- Sandesh, Kadur; Thengummoottil, George (2014). Kaziranga National Park. ASSAM: UNESCO.
- Choudhury, Anwaruddin (2000). The Birds of Assam. Guwahati: Gibbon Books and World Wide Fund for Nature.
- Choudhury, Anwaruddin (2003). Birds of Kaziranga National Park: A checklist. Guwahati: Gibbon Books and The Rhino Foundation for Nature in NE India.
- Choudhury, Anwaruddin (2004). Kaziranga Wildlife in Assam. India: Rupa & Co.
- Choudhury, Anwaruddin (2010). The vanishing herds : the wild water buffalo. Guwahati, India: Gibbon Books, Rhino Foundation, CEPF & COA, Taiwan.
- Dutta, Arup Kumar (1991). Unicornis: The Great Indian One Horned Rhinoceros. New Delhi: Konark Publication.
- Gee, E.P. (1964). The Wild Life of India. London: Collins.
- Jaws of Death—a 2005 documentary by Gautam Saikia about Kaziranga animals being hit by vehicular traffic while crossing National Highway 37, winner of the Vatavaran Award.
- Oberai, C.P.; B.S. Bonal (2002). Kaziranga: The Rhino Land. New Delhi: B.R. Publishing.
- Shrivastava, Rahul; Heinen, Joel (2007). "A microsite analysis of resource use around Kaziranga National Park, India: Implications for conservation and development planning". The Journal of Environment & Development. 16 (2): 207–226. doi:10.1177/1070496507301064. S2CID 54535379.
- Shrivastava, Rahul; Heinen, Joel (2005). "Migration and Home Gardens in the Brahmaputra Valley, Assam, India". Journal of Ecological Anthropology. 9: 20–34. doi:10.5038/2162-4593.9.1.2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของกาซีรังคา เก็บถาวร 2022-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Kaziranga Centenary 1905–2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2008.
- "World Conservation Monitoring Centre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-22.
- Department of Environment and Forests (Government of Assam)–Kaziranga
- Chaity- A legend of Human-Animal bondage by Abhishek Chakraborty
- Best things to do in Kaziranga National Park
- Rhino census in India's Kaziranga park counts 12 more