ป่าไม้เขตร้อน
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ป่าไม้เขตร้อนคือ ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมในบริเวณเขตร้อนของโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปีเนื่องจากต้นไม้ในป่าชนิดนี้เมื่อผลัดใบจะ ไม่ทิ้งใบพร้อมกันทั้งต้น จะมีใบอ่อนแตกใหม่มาแทนที่ใบเก่าเสมอ แบ่งออกเป็น
- ป่าดงดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)เป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบที่มีพืชผลัดใบขึ้นผสมอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้นไม้ส่วนหนึ่งพากันผลัดใบในฤดูแล้ง ป่าชนิดนี้เหมาะสมเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายประเภท อาทิเช่น กระทิง วัวแดง เนื่องจากมี พืช อาหาร มากมายสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารของประชาชนและเป็นแหล่งพืชสมุนไพรอีกด้วย
- ป่าชายเลน(Mangrove forest)เป็นป่าที่มีน้ำท่วมถึง อยู่ริมทะเลหรือปากแม่น้ำใหญ่
2. ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ผลัดใบในฤดูแล้ง และผลิใบเขียวชอุ่มในฤดูฝน แบ่งออกเป็น
- ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ (Mixed Deciduous Forest) เป็นป่าโปร่ง พื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย ต้นไม้ส่วนมากจะผลัดใบในฤดูแล้ง และมีไฟป่าเกือบทุกปี
- ป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง (Dipterocarp Forest) เป็นป่าโปร่ง แห้งแล้ง พื้นดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือกรวดลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์น้อย เกิดไฟป่าเกือบทุกปี
3. ป่าที่มีลักษณะพิเศษ เป็นป่าที่มีพื้นที่น้อย ขึ้นอยู่กระจัดกระจายตามบริเวณเฉพาะที่มีความแตกต่างไปจากบริเวณอื่น
- ป่าชายหาด(Beach Forest) เป็นป่าโปร่ง ไม่ผลัดใบ ขึ้นอยู่ตามหาดทรายริมทะเลที่มีน้ำท่วมไม่ถึง ตามฝั่งดิน
- ป่าหญ้าหรือป่าทุ่ง (Savannah) เกิดหลังจากที่ป่าทุกชนิดถูกทำลายลง พื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ในฤดูแล้งจะเกิดไฟไหม้ พบในทุกภาคของประเทศไทย
การอนุรักษ์ป่าไม้
[แก้]1. อุทยานแห่งชาติ (National Park) หมายถึง พื้นที่ซึ่งรัฐบาลสงวนไว้ เพื่อประโยชน์ในการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อการศึกษาและเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม ตลอดจนป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำและปะการังในทะเล
2. วนอุทยาน (Forst Park) หมายถึง สถานที่ในป่าที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดเด่นธรรมชาติ สามารถตกแต่งพื้นที่โดยไม่ให้ธรรมชาติเสียไป มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ไว้บริการประชาชน เช่น ทำถนน ทางเดินเท้า ติดชื่อต้นไม้ เป็นต้น
3. สวนพฤกษศาสตร์ (Botanical Garden) เป็นสวนที่สร้างขึ้น เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้ทุกชนิด ไว้ให้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ทั้งพันธุ์ไม้ ในประเทศและพันธุ์ไม้ต่างประเทศ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่
4. สวนรุกขชาติ (Aboretum) เป็นสวนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ใช้รวบรวมพันธุ์ไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น ไม่เคร่งครัดในการจัดหมวดหมู่ แต่มีป้ายบอกชื่อพันธุ์ไม้ติดไว้ มีการสร้างถนนหรือทางเดินตัดผ่านเข้าไปชมพันธุ์ไม้ได้ จุดประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม.ยุพดี เสตพรรณ.2544.พิศิษฐ์ การพิมพ์.กรุงเทพฯ
- ชีววิทยา.Helena Curtis.1983.Biology(4 th edition).Worth publishers,Inc.
- นิเวศวิทยา.Shsron La Bonde Hanks.1996.Ecology and the Biosphere Principles and Problems.St.Lucie Press,FL.
- มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม.ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ 2546. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.356 น.