ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Alpha-thalassemia)
ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา
(Alpha-thalassemia)
การสืบทอดทาลัสซีเมียแบบแอลฟาทางพันธุกรรม
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10D56.0
ICD-9282.43
OMIM141800 141850 142310 604131
DiseasesDB448 33334
eMedicinearticle/955496
MeSHD017085
GeneReviews

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา (อังกฤษ: Alpha-thalassemia, α-thalassemia, α-thalassaemi) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์และเกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน[1] โดยเฉพาะแล้ว แบบแอลฟาเกิดจากความผิดปกติของยีน HBA1[2] และ/หรือ HBA2[3] บนโครโมโซม 16[1] ทำให้ผลิตห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาจากยีน globin 1,2,3, หรือทั้ง 4 ยีนอย่างผิดปกติ มีผลให้ห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาลดลงหรือไม่มี และเกิดห่วงลูกโซ่แบบบีตามากเกินสัดส่วน ระดับความพิการที่เกิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม (phenotype) ที่มี คือ มียีนกี่ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป[4][5][1] แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบพาหะเงียบ (silent carrier) และแบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ คนที่เป็นระดับปานกลาง (intermedia) จะมีภาวะเลือดจางเพราะการสลายเลือด และทารกที่มีระดับหนัก (major) มักจะไม่รอดชีวิต บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน และบุคคลที่เป็น trait ควรตรวจบุตรที่อยู่ในครรภ์ (chorionic villus sampling)[1]

อาการ[แก้]

อาการปรากฏของบุคคลที่มีภาวะนี้รวมทั้ง[5][6]

เหตุ[แก้]

ภาวะนี้สืบทอดทางกรรมพันธุ์ในรูปแบบ Mendelian recessive (ลักษณะด้อยของเมนเดล) ผ่านออโตโซม และสัมพันธ์กับการหลุดหายของโครโมโซม 16p[7] แต่โรคสามารถ "เกิดขึ้น" ได้ในสถานการณ์ที่มีน้อย[8]

พยาธิสรีรภาพ[แก้]

เฮโมโกลบินในเลือดมีลักษณะเป็นวงแหวน heme มีหน่วยย่อยเป็นห่วงลูกโซ่โปรตีน globin 4 หน่วย โดย 2 หน่วยเป็นแบบแอลฟา และอีกสองหน่วยแบบอื่นนอกจากแอลฟา หน่วยย่อยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดประเภทของเฮโมโกลบิน เฮโมโกลบินของทารก (HbF) จะมีแอลฟา 2 หน่วยและแกมมา 2 หน่วย (α2γ2) เฮโมโกลบินของผู้ใหญ่ (HbA) จะมีแอลฟา 2 หน่วยและมีบีตา 2 หน่วย (α2β2) และเฮโมโกลบินของผู้ใหญ่ประเภทที่ 2 (HbA2) จะมีแอลฟา 2 หน่วยและเดลตา 2 หน่วย (α2δ2) ผู้ใหญ่ปกติจะมี HbA โดยมาก (> 96%) และ HbA2 โดยส่วนน้อย (<= 4%)[1]

กลไกของโรคทำให้เกิดการผลิตห่วงโซ่ globin แบบแอลฟาน้อยลง ทำให้ห่วงโซ่แบบบีตามีเกินในผู้ใหญ่ และแบบแกมมาเกินในทารกเกิดใหม่ ลูกโซ่บีตาที่เกินจะประกอบเป็นโมเลกุลมีหน่วยย่อย 4 ส่วน (tetramer) ที่ไม่เสถียรซึ่งเรียกว่า Hemoglobin H (HbH) เป็นห่วงโซ่บีตา 4 ห่วงต่อกัน (β4) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ส่งออกซิเจนได้ไม่ดี เพราะว่าสัมพรรคภาพ (affinity) ของโมเลกุลกับออกซิเจนสูงเกินไป และดังนั้น จึงไม่ปล่อยออกซิเจนในที่ที่ควร ทาลัสซีเมียแอลฟา0 แบบ homozygote ซึ่งจะมีห่วงโซ่แกมมา4 มาก (γ4) แต่ไม่มีแบบแอลฟาเลย (เรียกว่า Hemoglobin Barts) บ่อยครั้งจะทำให้เสียชีวิตหลังเกิดไม่นาน[6][4][9]

การวินิจฉัย[แก้]

การวินิจฉัยทาลัสซีเมียแบบแอลฟาโดยหลักทำโดยการทดสอบในแล็บ และ haemoglobin electrophoresis แต่สามารถวินิจฉัยผิดว่าเป็นภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กได้ง่าย ๆ โดยอาศัยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หรือจากการตรวจฟิล์มเลือด เพราะอาการทั้งสองล้วนมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดเล็ก (microcytic) ระดับเหล็กและ ferritin ในเลือดสามารถใช้กันภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กออกได้[4]

โดยมากคนจะพบ trait ทาลัสซีเมียโดยบังเอิญเมื่อตรวจเลือดโดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์แล้วพบว่ามีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดเล็ก (microcytic) อย่างเบา ๆ ซึ่งอาจมีเหตุจากภาวะต่าง ๆ รวมทั้งการขาดธาตุเหล็ก, ทาลัสซีเมีย, ตะกั่วเป็นพิษ, sideroblastic anemia, หรือภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรังอื่น ๆ ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV), ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (RDW), และประวัติคนไข้สามารถกันเหตุบางอย่างเหล่านี้ออกไป คือ สำหรับทาลัสซีเมีย MCV ปกติจะน้อยกว่า 75 fl และสำหรับการขาดธาตุเหล็ก MCV ปกติจะไม่น้อยกว่า 80 fl ยกเว้นเมื่อฮีมาโทคริตน้อยกว่า 30% สำหรับเด็ก Mentzer index คือ อัตรา MCV/red blood cell count สามารถเป็นตัวจำแนก คือสำหรับการขาดธาตุเหล็ก อัตราปกติจะสูงกว่า 13 เทียบกับทาลัสซีเมียที่น้อยกว่า 13 ถ้าอยู่ที่ 13 นี่บ่งว่าไม่ชัดเจน[1]

RDW อาจจำแนกการขาดธาตุเหล็กและ sideroblastic anemia ออกจากทาลัสซีเมีย คือ เกิน 90% ในบุคคลที่ขาดธาตุเหล็ก RDW จะมีค่าสูง แต่จะสูงเพียงในแค่ 50% ของคนที่มีทาลัสซีเมีย และสำหรับ sideroblastic anemia ค่านี้ก็จะสูงด้วย ดังนั้น ภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดเล็กที่มีค่า RDW ปกติ โดยมากจะเป็นเพราะทาลัสซีเมีย ส่วนบุคคลที่มี RDW สูงจะต้องตรวจสอบมากขึ้น[1]

ค่าเลือดเปรียบเทียบระหว่างการขาดธาตุเหล็ก ทาลัสซีเมียแอลฟาและบีตา[1]
ค่าวัดเลือด การขาดธาตุเหล็ก α-thalassemia β-thalassemia
MCV (ผิดปกติถ้า < 80 fl ในผู้ใหญ่) ต่ำ ต่ำ ต่ำ
RDW สูง ปกติ บางครั้งสูง ปกติ
ferritin ต่ำ ปกติ ปกติ
Mentzer index (สำหรับเด็ก)

(MCV/red blood cell count)

>13 <13 <13
Hb electrophoresis ปกติ หรือHbA2 อาจน้อย HbA2 มาก, HbA น้อย, HbF มาก ผู้ใหญ่ (ปกติ)

ระดับ ferritin เป็นการตรวจที่ไวต่อภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมากที่สุด ดังนั้นถ้าไม่มีการอักเสบ ระดับ ferritin ปกติโดยทั่วไปจะกันการขาดธาตุเหล็กออก[1] ภาวะเลือดจางเหตุโรคเรื้อรังบ่อยที่สุดจะเป็นแบบเบา ๆ มีเม็ดเลือดขนาดปกติ (normocytic ) และมีสีปกติ (normochromic)[1]

ทาลัสซีเมียแบบบีตาจะมีระดับ HbA ที่ลดลงหรือหรือไม่มี มี HbA2 สูงขึ้น และมี HbF สูงขึ้น แต่ว่าการมีระดับ HbA2 ปกติไม่ได้กันทาลัสซีเมียแบบบีตาออกโดยเฉพาะถ้ามีการขาดธาตุเหล็กพร้อม ๆ กัน ซึ่งสามารถลด HbA2 สู่ระดับปกติ ทาลัสซีเมียแบบแอลฟาโดยทั่วไปจะแสดง HbA และ HbA2 ในระดับปกติ ถ้าเด็กทารกเกิดใหม่มีเฮโมโกลบินแบบ HbH หรือ Hb Bart เด็กจะมีทาลัสซีเมียแบบแอลฟา[1]

ชนิด[แก้]

มีตำแหน่งยีนสองแห่งสำหรับ globin แบบแอลฟา และดังนั้น จึงมียีนสี่ยีนในเซลล์แบบ diploid ยีนสองยีนมาจากแม่ และสองยีนมาจากพ่อ ความรุนแรงของภาวะนี้มีสหสัมพันธ์กับจำนวนยีน globin แบบแอลฟาที่มีปัญหา ยิ่งมากเท่าไร ก็จะรุนแรงขึ้นเท่านั้น ในตารางต่อไปนี้ การบ่ง genotype ว่า "α" หมายถึงเป็นลูกโซ่แอลฟาที่ปกติ[5][9][6]

อัลลีลที่ผิดปกติ รายละเอียด Genotype
หนึ่ง นี่รู้จักว่าเป็น ทาลัสซีเมียแบบแอลฟาเงียบ (alpha thalassemia silent) เพราะมีผลน้อยที่สุดต่อการสังเคราะห์เฮโมโกลบิน โดยยีน α-globin 3 แห่งพอให้ผลิตเฮโมโกลบินตามปกติ และจะไม่ปรากฏอาการอะไร ๆ เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการกลายพันธุ์แบบหลุดหาย (deletion) หรือไม่ได้หลุดหาย (non-deletion)[6] -/α α/α
สอง
การผลิตเม็ดเลือด (Haematopoiesis)

ภาวะนี้เรียกว่า alpha thalassemia trait เพราะว่า มียีนแอลฟา 2 ยีนที่ทำให้สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้เกือบเป็นปกติ แต่อาจมีภาวะโลหิตจางแบบ microcytic (เม็ดเลือดเล็ก) และ hypochromic (สีเม็ดเลืองจาง) โรครูปแบบนี้สามารถวินิจฉัยผิดว่าเป็นภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กและรักษาอย่างไม่ถูกต้องโดยการให้ธาตุเหล็ก[6][4] แบบนี้มี สองรูปแบบย่อย คือ[6]

  • alpha-thal-1 (αα/--) มีการหลุดหายของยีนแบบ cis ที่ยีนแอลฟาทั้งสองในโครโมโซมหนึ่ง
  • alpha-thal-2 (α-/α-) มีการหลุดหายของยีนแบบ trans ที่ยีนในโครโมโซม homologous ทั้งสอง
-/- α/α หรือ
-/α -/α
สาม ภาวะนี้เรียกว่า Hemoglobin H disease เพราะมีเฮโมโกลบินที่ไม่เสถียรสองอย่างในเลือด คือ Hemoglobin Barts (tetrameric γ chains) และ Hemoglobin H (tetrameric β chains) และเฮโมโกลบินทั้งสองนี้มีสัมพรรคภาพ (affinity) กับออกซิเจนในระดับสูงกว่าปกติ[10] มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากการสลายของเม็ดเลือดแดงปรากฏทั้งแบบเม็ดเลือดเล็ก (microcytic) และสีเลือดจาง (hypochromic) โดยมีทั้ง codocyte (หรือ target cell) และ Heinz body (หรือ precipitated HbH) ในฟิล์มเลือด โดยปรากฏกับม้ามตับโต (hepatosplenomegaly) โดยจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็กหรือผู้ใหญ่วัยต้น ๆ ด้วยเหตุภาวะโลหิตจางและม้ามตับโต -/- -/α
สี่ นี้เรียกว่า alpha thalassemia major ทารกในครรภ์จะมีอาการบวมน้ำ และมีเฮโมโกลบินที่หมุนเวียนไปน้อย และที่มีทั้งหมดก็จะเป็นแบบ tetrameric γ chains เมื่ออัลลีลทั้ง 4 อันเสียหาย ทารกจะไม่สามารถรอดชีวิตโดยไม่ช่วย เพราะว่า ทารกโดยมากจะตายคลอดด้วยอาการทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis) แต่ทารกในครรภ์ที่ได้รับการถ่ายเลือดตลอดการตั้งครรภ์เริ่มตั้งแต่ต้น ๆ สามารถรอดชีวิตจนเกิดออกมาได้ โดยมีภาวะโรคในระดับที่ยอมรับได้ และหลังจากเกิด ทางเลือกในการรักษารวมทั้งการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการถ่ายเปลี่ยนเลือดเป็นประจำ[11] -/- -/-

การรักษา[แก้]

บุคคลที่มี trait ทาลัสซีเมียไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่ต้องสอดส่อง ปกติจะไม่ขาดธาตุเหล็ก การเสริมธาตุเหล็กจะไม่ช่วยภาวะเลือดจางของบุคคลนี้ และ ดังนั้น จึงไม่ควรทานธาตุเหล็กเสริมยกเว้นถ้าขาดธาตุเหล็ก[1]

การรักษาโรคนี้อาจรวมการถ่ายเลือด การตัดม้าม (splenectomy) นอกจากนั้นแล้ว นิ่วในถุงน้ำดีอาจเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยการผ่าตัด ปัญหาระดับทุติยภูมิจากคราวเป็นไข้ (febrile episode) ควรจะสอดส่องดูแล แต่ว่าคนไข้โดยมากสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องรักษาอะไร[6][12]

นอกจากนั้นแล้ว การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ยังสามารถใช้รักษาได้โดยทำตั้งแต่อายุน้อย ๆ วิธีการอื่น ๆ เช่น ยีนบำบัด (gene therapy) กำลังพัฒนาอยู่[13]

มาลาเรีย

วิทยาการระบาด[แก้]

ตามวิทยาการระบาด การกระจายตัวทั่วโลกของทาลัสซีเมียแบบแอลฟาที่สืบทางกรรมพันธุ์เป็นไปตามเขตโรคมาลาเรีย ซึ่งแสดงนัยว่ามีบทบาทป้องกันโรค เป็นโรคที่สามัญในเขตแอฟริกาใต้สะฮารา ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และโดยทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน การระบาดของโรคนี้ในสหรัฐอเมริกาสะท้อนการกระจายทั่วโลก โดยเฉพาะก็คือ Hemoglobin H disease มักจะมากับคนเอเชียอาคเนย์และคนตะวันออกกลาง ส่วน Hb Bart Hydrops fetalis มาจากเขตเอเชียอาคเนย์เท่านั้น[14]

5% ของประชากรโลกมีโปรตีน globin ที่ต่างไปจากปกติ แต่เพียงแค่ 1.7% มีทาลัสซีเมียแบบแอลฟาหรือบีตา ทั้งชายหญิงมีโรคเท่า ๆ กัน โดยมีอัตราที่ 4.4 ต่อเด็กที่เกิดโดยรอดชีวิต 10,000 คน แบบอัลฟาเกิดบ่อยที่สุดในคนแอฟริกาและคนเอเชียอาคเนย์ แบบเบตาเกิดบ่อยที่สุดในคนเขตเมดิเตอร์เรนียน คนแอฟริกา และคนเอเชียอาคเนย์ โดยมีความชุกของโรคในหมู่คนเหล่านี้ประมาณ 5-30%[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 Muncie, Herbert L, Jr (MD); Campbell, James S (MD) (August 15, 2009). "Alpha and Beta Thalassemia". Am Fam Physician. 80 (4).{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) Hemoglobin—Alpha locus 1; HBA1 -141800
  3. Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) Hemoglobin—Alpha locus 2; HBA2 -141850
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Alpha Thalassemia Workup: Approach Considerations, Laboratory Studies, Hemoglobin Electrophoresis". emedicine.medscape.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  5. 5.0 5.1 5.2 Reference, Genetics Home. "alpha thalassemia". Genetics Home Reference. สืบค้นเมื่อ 2016-09-08.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Origa, Raffaella; Moi, Paolo; Galanello, Renzo; Cao, Antonio (1993-01-01). "Alpha-Thalassemia". GeneReviews (®). University of Washington, Seattle. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22. update 2013
  7. BRS Pathology (4th ed.). Lippincott Williams & Wilkins medical. December 2009. p. 162. ISBN 978-1451115871.
  8. Steensma, DP; Gibbons, RJ; Higgs, DR (January 2005). "Acquired alpha-thalassemia in association with myelodysplastic syndrome and other hematologic malignancies". Blood. 105 (2): 443–52. doi:10.1182/blood-2004-07-2792. PMID 15358626.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 Galanello, Renzo; Cao, Antonio (2011-01-05). "Alpha-thalassemia". Genetics in Medicine (ภาษาอังกฤษ). 13 (2): 83–88. doi:10.1097/GIM.0b013e3181fcb468. ISSN 1098-3600. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.
  10. "Hemoglobin H disease". Orphanet. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.
  11. Vichinsky, Elliott P. (2009-01-01). "Alpha thalassemia major—new mutations, intrauterine management, and outcomes". ASH Education Program Book (ภาษาอังกฤษ). 2009 (1): 35–41. doi:10.1182/asheducation-2009.1.35. ISSN 1520-4391. PMID 20008180.
  12. "Complications and Treatment | Thalassemia | Blood Disorders | NCBDDD | CDC". www.cdc.gov. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.
  13. "Thalassaemia | Doctor | Patient". Patient. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.
  14. Harteveld, Cornelis L; Higgs, Douglas R (2010). "α-thalassaemia". Orphanet Journal of Rare Diseases. 5 (1): 13. doi:10.1186/1750-1172-5-13. ISSN 1750-1172. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]