แอร์บัส เอ320นีโอ
![]() แอร์บัส เอ 320 นีโอ ระหว่างเที่ยวบินทดสอบ | |
บทบาท | อากาศยานลำตัวแคบแบบไอพ่น |
---|---|
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
บินครั้งแรก | 25 กันยายน ค.ศ. 2014 |
เริ่มใช้ | 25 มกราคม ค.ศ. 2016 กับ ลุฟต์ฮันซา |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | อินดิโก |
ช่วงการผลิต | 2014-ปัจจุบัน |
จำนวนที่ผลิต | 519 ลำ |
มูลค่า | เอ 319 นีโอ: 97.5 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] เอ 320 นีโอ: 106.2 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] เอ 321 นีโอ: 124.4 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] |
พัฒนามาจาก | แอร์บัส เอ 320 |
แอร์บัส เอ 320 นีโอ (Airbus A320neo family) เป็นรุ่นของอากาศยานที่ออกแบบโดยแอร์บัสตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2010[2] โดยคำว่า "นีโอ (Neo)" เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า "ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่ (New Engine Option)" และถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของโครงการปรับปรุงรุ่น เอ 320 (A320 Enhanced) ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 2006 โดยมุ่งมั่นเพื่อจะผลิตมาแทนที่แอร์บัส เอ 320 ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้ถูกเรียกถึงเป็น เอ 320 ซีอีโอ (A320ceo) โดย "ซีอีโอ (Ceo)" เป็นคำย่อมาจาก "ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบปัจจุบัน (Current Engine Option)"
นอกเหนือจากการพัฒนาเครื่องยนต์รูปแบบใหม่แล้ว โครงการพัฒนายังรวมถึงการปรับปรุงด้านต่างๆ ได้แก่ การปรับปรุงความสามารถด้านอากาศพลศาสตร์ การติดตั้งปลายปีกแบบโค้งรูปแบบใหม่ การลดน้ำหนักโดยรวม ส่วนของผู้โดยสารที่ออกแบบใหม่ให้มีพื้นที่เก็บสัมภาระมากขึ้น และระบับปรับปรุงระบบกรองอากาศใหม่[3][4] นอกจากนี้ บริษัทการบินพาณิชย์ยังสามารถเลือกแบบเครื่องยนต์ได้ระหว่าง CFM International LEAP-1A หรือ Pratt & Whitney PW1000G
โครงการปรับปรุงที่กล่าวมานั้นโดยรวมจะสามารถประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 15% ต่ออากาศยาน ลดต้นทุนการปฏิบัติการได้ถึง 8% ลดมลภาวะทางเสียง และยังลดการปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ได้ถึง 10% จากเครื่องเอ 320 รุ่นเก่า รวมทั้งยังสามารถมีพิสัยบินเพิ่มขึ้นถึง 500 ไมล์ทะเล (900 กิโลเมตร) โดยประมาณ[5] การปรับแต่งส่วนของผู้โดยสารใหม่นั้นจะทำให้สามารถจุผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 20 ที่นั่ง โดยรวมจึงทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากถึง 20% ต่อที่นั่ง
แอร์บัสได้รับคำสั่งซื้อจากสายการบินต่างๆ สำหรับรุ่น เอ 320 นีโอ นี้รวมทั้งสิ้น 3,891 ลำ (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015)[6] โดยลำแรกได้ถูกเปิดตัวที่โรงงานผลิตของแอร์บัสในตูลูสเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2014[7] และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2014[8]
การออกแบบ[แก้]
เครื่องบินรุ่นเอ 320 นีโอ ได้ถูกนำเทคโนโลยีเครื่องยนต์ล่าสุด และปลายปีกแบบครีบปลาฉลาม "Sharklet" ซึ่งทั้งองค์ประกอบนี้จะทำให้สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 15 เปอร์เซนต์[9] โดยลำพังการใช้ปลายปีกแบบใหม่นี้สามารถทำให้ลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 3.5% ถึง 4% อันเนื่องมาจากการลดแรงต้านอากาศ และลมหมุนบริเวณปลายปีกได้
แอร์บัส เอ 320 นีโอ ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ของโครงสร้างคล้ายเคียงกับรุ่น เอ 320 ในปัจจุบันอยู่ถึงกว่า 95% และกว่า 91% ในด้านชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ตัวโครงสร้างของเครื่องบินนั้นผลิตจากวัสดุผสม และมีปริมาณของอะลูมิเนียมอัลลอยด์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้มีน้ำหนักโดยรวมเบาลง และช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี นอกจากนี้ วัสดุแบบใหม่นี้จะช่วยลดจำนวนของชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องบิน ซึ่งจะทำลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้มากขึ้นด้วย[9][10]
ข้อได้เปรียบในการส่งมอบ[แก้]
ตรงกันข้ามกับเครื่องบินรุ่นใหม่อื่นๆ ของผู้ผลิตรายอื่นๆ รวมทั้งเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง วาย และโบอิ้ง 737 แม็กซ์ จากคู่แข่งรายใหญ่อย่างโบอิ้ง โดยแอร์บัสสามารถผลิตและส่งมอบเครื่องบินรุ่น เอ 320 นีโอ ได้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 จากตารางเดิมซึ่งมีกำหนดส่งมอบราวไตรมาศที่สองของปีค.ศ. 2016[11] เที่ยวบินปฐมฤกษ์ได้เลื่อนมาเร็วขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014[12] โดยเนื่องมาจากการใช้ส่วนประกอบที่ร่วมกันกับแอร์บัส เอ 320 รุ่นปัจจุบันถึง 95% ซึ่งมีผลทำให้ลดการล่าช้าในการผลิตลงได้มาก[13]
รุ่น[แก้]
แอร์บัสได้เพิ่มรุ่นย่อยของ เอ 320 แบบที่มี "ตัวเลือกเครื่องยนต์แบบใหม่ (New Engine Option)" จำนวนสามรุ่นย่อย ได้แก่ เอ 319 เอ 320 และ เอ 321 ซึ่งจะได้รับการพัฒนาในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ เอ 318 นั้นยังไม่มีแผนการปรับปรุงในขณะนี้ แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต[14]
- เอ 319 นีโอ: รุ่นที่มีลำตัวสั้นลง โดยมีกาตาร์แอร์เวย์เป็นลูกค้าที่เปิดตัวรายแรก[15]
- เอ 320 นีโอ: รุ่นมาตรฐาน กาตาร์แอร์เวย์เป็นลูกค้าที่เปิดตัวรายแรก[16]
- เอ 321 นีโอ: รุ่นที่ลำตัวยาวขึ้น และเพิ่มความแข็งแรงบริเวณฐานล้อ และบริเวณปีก โดยเพิ่มขนาดปีก และการปรับปรุงเล็กน้อยอื่นๆ อันเนื่องมาจากน้ำหนักบรรทุกที่สูงขึ้น ILFC (International Lease Finance Corporation) เป็นลูกค้าที่เปิดตัวรายแรกของรุ่น[17] โดยมีคู่แข่งสำคัญจากโบอิ้ง คือ โบอิ้ง 737 แม็กซ์ 200 สำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว เอ 321 นีโอ ได้รับคำสั่งซื้อมากกว่า[18][19]
- เอ 321 แอล อาร์: รุ่นย่อยเพิ่มเติมซึ่งเพิ่มถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และอื่นๆ เพื่อรับน้ำหนักบรรทุกได้มากขึ้น โดยมี Air Lease Corp. (ALC) เป็นลูกค้าที่เปิดตัวรายแรก[20]
ข้อมูลจำเพาะ[แก้]
ข้อมูลจำเพาะต่างๆ นั้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นจนกว่ากระบวนการออกแบบเสร็จสิ้น
เอ 319 นีโอ | เอ 320 นีโอ | เอ 321 นีโอ / เอ 321 แอลอาร์ | |
---|---|---|---|
นักบิน | 2 | ||
ความจุผู้โดยสาร | 160[21] (จำนวนสูงสุดโดยจัดวางแบบชั้นโดยสารเดียว) | 195[22] (ผ่านการรับรอง) 189[23][24] (จำนวนสูงสุดโดยจัดวางแบบชั้นโดยสารเดียว) |
240[25] (จำนวนสูงสุดโดยจัดวางแบบชั้นโดยสารเดียว) 206 (ชั้นประหยัด และชั้นธุรกิจ, เอ 321 แอลอาร์)[26] |
ความห่างระหว่างที่นั่ง | 28 นิ้ว (71 ซม.) – 29 นิ้ว (74 ซม.) (จำนวนสูงสุดโดยจัดวางแบบชั้นโดยสารเดียว) | 28 นิ้ว (71 ซม.) – 30 นิ้ว (76 ซม.)[25] (จำนวนสูงสุดโดยจัดวางแบบชั้นโดยสารเดียว) 36 นิ้ว (91 ซม.) & 30 นิ้ว (76 ซม.) (ชั้นประหยัด และชั้นธุรกิจ, เอ 321 แอลอาร์) | |
ความกว้างของที่นั่ง | ชั้นประหยัด แบบหกที่นั่งต่อแถว: 18 นิ้ว (46 ซม.) | ||
ความเร็วปกติ | Mach 0.78 (828 km/h/511 mph at 11,000 m/36,000 ft) | ||
ความเร็วสูงสุด | Mach 0.82 (871 km/h/537 mph at 11,000 m/36,000 ft) | ||
น้ำหนักบรรทุกเปล่า (MZFW) | 60.3 t (133,000 ปอนด์) | 64.3 t (142,000 ปอนด์) | 75.6 t (167,000 ปอนด์) |
น้ำหนักสูงสุดที่นำเครื่องลง (MLW) | 63.9 t (141,000 ปอนด์) | 67.4 t (149,000 ปอนด์) | 79.2 t (175,000 ปอนด์) |
น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้น (MTOW) | 75.5 t (166,000 ปอนด์) | 79 t (170,000 ปอนด์) | 93.5 t (206,000 ปอนด์) A321LR: 97 t (210,000 ปอนด์)[27] |
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด | 23,859 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) รุ่นมาตรฐาน 29,659 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) รุ่นเสริม |
23,859 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) รุ่นมาตรฐาน 29,659 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) รุ่นเสริม |
23,700 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) รุ่นมาตรฐาน 29,684 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) รุ่นเสริม 32,676 ลิตร (แม่แบบ:Convert/impgal USgal) เอ 321 แอลอาร์ |
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ | 4,200 ไมล์ทะเล (7,800 กม.; 4,800 ไมล์)[28] | 3,700 ไมล์ทะเล (6,900 กม.; 4,300 ไมล์)[28] | 3,650 ไมล์ทะเล (6,760 กม.; 4,200 ไมล์)[29] A321LR:4,000 ไมล์ทะเล (7,400 กม.; 4,600 ไมล์)[30] |
เครื่องยนต์ (×2) | CFM International LEAP-1A หรือ Pratt & Whitney PW1100G | ||
เส้นผ่านศูนย์กลางของพัดลมไอพ่น | PW: 81 นิ้ว (2.06 เมตร), LEAP-1A: 78 นิ้ว (1.98 เมตร) | ||
แรงผลัก | PW1124G 24,000Lbf (107 kN) LEAP-1A24 24,500Lbf (109 kN) |
PW1127G 27,000Lbf (120 kN) LEAP-1A28 28,000Lbf (125 kN) |
PW1133G 33,000Lbf (147 kN) PW1135G 35,000Lbf (156 kN) LEAP-1A32/33 32,900Lbf (146 kN) |
ที่มา: แอร์บัส[31][32][33][34] Airliners.net, Flightglobal.com, Pratt & Whitney,[35] CFM International.[36]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "New Airbus aircraft list prices for 2015". airbus.com. Airbus. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ "Airbus A320 (A320ceo and A320neo) Aircraft family". Airbus.com. 3 March 2013. Archived from the original on 21 April 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-04-21.
- ↑ "Pictures: Airbus aims to thwart Boeing's narrowbody plans with upgraded 'A320 Enhanced'". Flight International. 2006-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-07-08.
- ↑ "Avianca takes delivery of Sharklet equipped A320". Airbus.com. สืบค้นเมื่อ 2013-03-27.
- ↑ "A320neo family information, Maximum benefit and minimum change". Airbus.com. 2011-07-01. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
- ↑ "Airbus Orders & deliveries spreadsheet". Airbus S.A.S. 31 May 2015. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
- ↑ "PICTURE: Airbus rolls out A320neo". flightglobal.com. 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
- ↑ "A320neo makes maiden flight". www.flightglobal.com. Flightglobal. 25 September 2014.
- ↑ 9.0 9.1 "Transaero Airlines firms up order for eight A320neo aircraft". Airbus.com. 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-29.
- ↑ "Airbus A320neo information technology". 2011-08-01. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
- ↑ Airbus accelerates A320neo programme Asian Aviation
- ↑ Airbus’ first A320neo reaches completion Airbus
- ↑ Airbus A320NEO Enters FAL (MSN6101) Theflyingengineer
- ↑ "Airbus could eventually offer Neo version of A318: Leahy". Flightglobal. 1 December 2010. สืบค้นเมื่อ 21 May 2013.
- ↑ http://www.ch-aviation.com/portal/news/31556-qatar-airways-confirmed-as-a320neo-launch-customer
- ↑ http://www.ch-aviation.com/portal/news/31556-qatar-airways-confirmed-as-a320neo-launch-customer
- ↑ "ILFC selects 100 A320neo Family aircraft". สืบค้นเมื่อ 2013-05-21.
- ↑ Airbus wins hot Wizz competition: 110 A321neos and with it the Paris Air Show Leeham
- ↑ Airbus switches underline trend to A321neo Flightglobal
- ↑ "Airbus Launches Long-Range A321neo". Aviation International News. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ Airbus Says A320neo First Flight Will Be Sept. 25 Aviationweek
- ↑ Meet the “A320neo MAX 195″ Leeham
- ↑ Space-Flex: Innovative cabin option for A320: Cabin configuration adds space for more seats Noticiaslatamsales
- ↑ Leahy Interview: Airbus Innovation Days, Part 2: No order bubble and a lot more Leehamnews
- ↑ 25.0 25.1 Airbus reveals new A321neo layout: New 'Cabin-Flex' and larger doors Australian business traveller
- ↑ Airbus Launches Long-Range A321neo Version Aviation Daily
- ↑ American ‘evaluating’ proposed long-range A321neo Flightglobal
- ↑ 28.0 28.1 "A320 Family" (pdf). AIRBUS S.A.S. 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21.
- ↑ "Hawaiian signs MOU for 16 A321neos". Flightglobal.com. 2013-01-07. สืบค้นเมื่อ 2013-03-27.
- ↑ Reed Business Information Limited. "Airbus offers 200-plus seats in long-range A321neo". flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ "Airbus A320neo Technology". Airbus.com. 2011-08-01. สืบค้นเมื่อ 2011-12-29.
- ↑ Airbus A319/A319neo Airport data
- ↑ Airbus A320/A320neo Airport data Airbus
- ↑ Airbus A321/A321neo Airport data Airbus
- ↑ "Pratt & Whitney: Commercial Engines - PurePower PW1000G". Pw.utc.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-14.
- ↑ "CFM LEAP Engine Brochure" (PDF). CFM International. 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-10.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Airbus A320neo |
|