ข้ามไปเนื้อหา

เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตก พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตก พ.ศ. 2566-2567 เป็นเหตุการณ์ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ดัชนีหุ้นไทย) ลดลงอย่างต่อเนื่องลงมาต่ำกว่าดัชนี้หุ้นไทยที่ 1,318.57 จุด ซึ่งหากวัดจากจุดสูงสุดของดัชนีหุ้นไทย ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ซึ่งปิดที่ 1,691.62 จุด[1] เป็นการลดลงเกินกว่า 20%[2] ซึ่งเป็นการเข้าสู่ภาวะ "ตลาดหมี"[3][4] และลดลงมาจนถึงจุดต่ำสุด เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น. ปิดที่ 1274.01 จุด[5] โดยตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 - ครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2567 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยไปกว่า 300,000 ล้านบาท[6]

นักวิเคราะห์ระบุว่าสาเหตุมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศจาก 4 คดี คือ คดียุบพรรคก้าวไกล, เศรษฐา ทวีสินพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ, การวินิจฉัยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2561 ของศาลรัฐธรรมนูญ และ การสั่งฟ้องทักษิณ ชินวัตร ข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ของอัยการสูงสุด[7] รวมถึงเหตุการณ์ที่ผู้บริหารบริษัทมหาชนถูกบังคับขายหุ้น (Forced Sell)[8] และความเชื่อมั่นต่อธรรมาภิบาลในตลาดทุนไทย ทำให้นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิหุ้นไทย 28 วันทำการติดต่อกัน (21 พฤษภาคม - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567)[9]

หลักจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคก้าวไกล คดีวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน และการจัดตั้งรัฐบาลแพทองธาร รวมถึงการมีมติลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)[10] ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ทำให้สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทยมีเสถียรภาพขึ้น[11] ดัชนี้หุ้นไทยค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ที่ดัชนี 1274.01 จุด[5] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทำจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี (นับแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566) ที่ 1482.02 จุด[12] อันเป็นการสิ้นสุดภาวะตลาดหมี อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของนักวิเคราะห์ที่ปรับลดประมาณการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียน ทำให้มูลค่าในตลาดหุ้นไทยยังค่อนข้างตึงตัว[13]

ความเชื่อมั่นต่อธรรมาภิบาลในตลาดทุนไทย

[แก้]

บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) - MORE

[แก้]

ความเชื่อมั่นต่อธรรมาภิบาลของบริษัทในตลาดหุ้น เกิดขึ้นสืบเนื่องจากกรณีของบริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE ซึ่งมีจำนวนการซื้อขายหุ้นที่ผิดปกติถึง 1,500 ล้านหุ้น ที่ราคา 2.90 บาท และเป็นคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อหลายเดียว ผ่านหลายโบรกเกอร์ ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปที่ 2.90 บาท (+4.3%) ก่อนที่จะทิ้งดิ่งลง -30% มาฟลอร์ (Floor) และปิดตลาดที่ราคา 1.95 บาทในวันดังกล่าว หลังจากนั้นราคาหุ้นฟลอร์ (Floor) อีกในวันถัดมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงสั่งพักการซื้อขายหุ้น MORE เพื่อตรวจสอบธุรกรรมการซื้อขายที่ผิดปกติ โดยเมื่อครบระยะเวลาชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (เคลียร์ริ่ง) ปรากฏว่าฝั่งผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ชำระราคาค่าหุ้น[14] จากเหตุการณ์นี้บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ ได้นำเงินของลูกค้าไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยนำเงินจำนวน 157.99 ล้านบาท ไปจ่ายค่าหุ้น MORE โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้า และยังเป็นการนำเงินลูกค้าแยกออกจากกิจการ ตลอดจนไม่มีเงินกองทุนเพียงพอตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด[14] นำมาสู่การมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าว[15] นอกจากนี้ เมื่อ MORE จะทำการเพิ่มทุน ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ยังมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติ อีกทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหนังสือเตือนให้ผู้ถือหุ้นศึกษาและรักษาสิทธิของตน[16]

ในส่วนของการซื้อขายหุ้นที่ผิดปกตินั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าตรวจสอบ และได้กล่าวโทษกลุ่มบุคคลรวม 42 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีการสร้างราคา หรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์[14] สร้างความเสียหายกว่า 4,500 ล้านบาท[17]

บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) - STARK

[แก้]

ปลายปี พ.ศ. 2565 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ STARK มีมติให้เพิ่มทุนตามที่คณะกรรมการบริษัทเสนอ โดยแจ้งวัตถุประสงค์คือเพื่อระดมทุนซื้อกิจการ LEONI Kabel GmbH และ LEONIsche Holding Inc จาก Leoni AG และ LEONI Bordnetz-Systeme GmbH ในเยอรมนีและสหรัฐ แต่ต่อมามีการยกเลิกการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าไม่คุ้มต่อการลงทุนสืบเนืองจากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินเพิ่มทุนส่วนนี้ไว้ใช้สำหรับโครงการอื่นแทน[18] ปรากฏต่อมาว่า Leoni AG และ LEONI Bordnetz-Systeme GmbH ได้ยื่นเรื่องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนี เพื่อเรียกร้องให้ STARK ชำระค่าหุ้นตามสัญญาดังกล่าว เป็นเงินกว่า 22,000 ล้านบาท[19]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจะส่งงบการเงินปี พ.ศ. 2565 ช้ากว่ากำหนด[20] โดยในระหว่างที่ยังไม่มีการส่งงบการเงินตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP กรณีไม่ส่งงบการเงิน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)[21] ต่อมาในเดือนเมษายน กรรมการผู้จัดการ (CEO) และกรรมการของบริษัทหลายคนได้ลาออกจากบริษัท[22] ประกอบการมีการเปลี่ยนผู้สอบบัญชีจากบริษัทดีลอยท์ เป็นบริษัทไพร้ซวอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ (PwC)[23] นอกจากนี้ยังให้ PwC เป็นผู้จัดทำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit)

จนกระทั่งวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566 STARK รายงานงบผลประกอบการปี 2565 พบขาดทุนสุทธิ 6,612.13 ล้านบาท ส่วนทุนติดลบมากกว่า 4,400 ล้านบาท และขอแก้ไขงบผลประกอบการปี 2564 ส่วนลูกหนี้การค้าจากเดิม 15,570.8 ล้านบาท แก้ไขเป็น 6,306.2 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ จากเดิม 6,591.2 ล้านบาท แก้ไขเป็น 2,844.9 ล้านบาท[23] โดยตามรายงานการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) มีการพบพฤติการอันควรสงสัยในงบการเงิน 4 ประการ ประกอบด้วย 1. มียอดขายผิดปกติ 2. มียอดสินค่าคงเหลือที่ผิดปกติ 3. รายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ถูกจัดทำอย่างไม่ถูกต้อง 4. เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (Advance Payments) ผิดปกติ[24] ท้ายที่สุดมีการยอมรับว่ามีการ "ตกแต่งบัญชี"[25][26]

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษผู้บริหาร STARK และบริษัทที่เกี่ยวกับต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)[27] รวมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 11 ราย[28] จนกระทั่งวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567 สามารถควบคุมตัว นายชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตผู้บริหาร STARK โดยการประสานงานกับทางการสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์[29] พนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลอาญา ส่งผลให้มีการอายัดทรัพย์โดยไม่มีกำหนด[30] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา

วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิกถอน STARK จากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยเหตุที่บริษัทเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จในงบการเงิน[31]

สืบเนื่องจาการไม่ส่งงบการเงิน ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นกู้ของ STARK หมายเลข STARK239A และ STARK249A มีมติไม่ยกเว้นเหตุผิดและเรียกคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยโดยพลัน รวมเป็นเงินกว่า 2,200 ล้านบาท [32] [33] และส่งผลให้หุ้นกู้ของ STARK อีก 3 ชุด มูลค่ารวมกว่า 6,900 ล้านบาท ที่ถูกเรียกให้ชำระหนี้โดยพลัน (Call Default) ไปด้วย[34] ทริสเรตติ้ง (TRIS) ปรับลดเรตติ้งองค์กรจาก BBB+ เป็น BB- C และ D ตามลำดับ[35] อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเงื่อนไขของการขายหุ้นกู้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "เสนอขายนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่เท่านั้น"[36] แต่กลับมีผู้ถือหุ้นกู้กว่า 4,500 ราย[37] [38] นอกจากนี้ ปรากฏว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เป็นเงิน 1,144,500 บาท ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ประกาศกำหนด แต่ไม่มีการระบุว่าเกี่ยวข้องกับกรณีของ STARK หรือไม่[39]

บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) - JKN

[แก้]

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) - EA

[แก้]

บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) - YGG

[แก้]

ผู้บริหารถูกบังคับขายหุ้น (Forced Sell)

[แก้]

ระหว่างพ.ศ. 2566 - 2567 เกิดกรณีการเรียกหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) และการถูกบังคับขายหุ้น (Forced Sell) ซึ่งส่งผลต่อราคาหุ้นในหลายหลักทรัพย์ เช่น[40][41]

บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) - JMART[23]

[แก้]

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 JMART รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงรายการกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา และนางสาวยุวดี พงษ์อัชฌา ที่ราคาขาย 26.50 บาท รวม 54 ล้านหุ้น โดยมีผู้ซื้อเป็นนักลงทุนประเภทสถาบัน[42] ในขณะที่ราคาหุ้น JMART ในกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ซึ่งราคาหุ้นอยู่ที่ 29.50 บาท[43] ลดลงจากวันก่อนหน้า 7.14%[44] ต่อมานายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว THE STANDARD WEALTH ถึงสาเหตุการขายดังกล่าว เนื่องจากราคาหุ้นลดลงอย่างมาก เข้าเงื่อนไขถูกเรียกวางหลักประกันเพิ่ม หรือ Margin Call[43]

บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) - SABUY

[แก้]

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) - NRF

[แก้]

บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) - NEX

[แก้]

ดัชนีลดลงสุดสูงในวันเดียว ของปี พ.ศ. 2567 (Black Monday 2024)

[แก้]

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม​ พ.ศ. 2567 ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 1,274.67 จุด ลดลง 38.41 จุด (-2.93%) ต่ำสุดในรอบ 4 ปี 1​ เดือน​ 2 สัปดาห์ 2 วัน​ นับจากวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่ปิดที่ 1,275.16 จุด และเป็นวันที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงมากที่สุดในรอบปี โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับลดลงมากกว่า 20 จุด เมื่อช่วงเช้าวันที่ 5 สิงหาคมนั้นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก[45]

มาตรการพยุงตลาดหุ้นและกระตุ้นเศรษฐกิจ

[แก้]

ยุทธศาสตร์ "Jump+" [46]

[แก้]

เหตุการณ์อื่นในตลาดหุ้นไทย

[แก้]

DELTA

[แก้]

DPAINT

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หุ้นไทยปิดบวก 17.26 จุด คลายกังวลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ต่างชาติซื้อ 4,337 ล้านบาท
  2. "หุ้นไทย เข้าโหมด 'ตลาดหมี' เต็มตัว! ต่างชาติเทขาย 13 วันรวด กด SET ดิ่ง 20%". THE STANDARD. 2024-06-10.
  3. "SET Investnow". www.setinvestnow.com.
  4. อีไฟแนนซ์ไทย, สำนักข่าว. "หุ้นไทย ดิ่งกว่า 10 จุด ทำดัชนีต่ำสุดรอบ 3 ปี หลังฟันด์โฟลว์ไหลออก-เข้าสู่ภาวะ`ตลาดหมี`". efinancethai.com.
  5. 5.0 5.1 "หุ้นไทยวันนี้ 6 ส.ค. 67 ปิดตลาดหุ้นบ่าย ลดลง 0.66 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,274.01 จุด". THAIRATH Money.
  6. อีไฟแนนซ์ไทย, สำนักข่าว. "ASPS เผย 11 ปีครึ่ง ต่างชาติทิ้งหุ้น-บอนด์ กว่า 1.22 ล้านลบ. หวังรัฐกระตุ้นศก.-ThaiESG ฟื้นเชื่อมั่น". efinancethai.com.
  7. "หุ้นไทยวันนี้ 17 มิ.ย.67 กังวล 4 คดีการเมือง กดดันแนวรับ ต้าน 1,290 - 1,320 จุด". กรุงเทพธุรกิจ. 17 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "SET Investnow". www.setinvestnow.com.
  9. "ต่างชาติพลิกซื้อสุทธิ 337 ล้าน หยุดสถิติขายต่อเนื่อง 27 วันทำการ 5 หมื่นล้าน". bangkokbiznews. 2024-07-01.
  10. "ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 5/2567". www.bot.or.th.
  11. SET Monthly Market Report - สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม 2567
  12. "เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าลงบางส่วน ขณะที่หุ้นไทยแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปีช่วงท้ายสัปดาห์". ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. SET Monthly Market Report - สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2567
  14. 14.0 14.1 14.2 "MORE มหกรรมปล้นโบรกเกอร์กลางแดด.!". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2023-10-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "คลังมีคำสั่งถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ บล. เอเชีย เวลท์ - ThaiPublica". thaipublica.org. 2023-06-01.
  16. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (20 ก.พ. 2567). "ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนผู้ถือหุ้น MORE ศึกษาข้อมูลการเพิ่มทุน เนื่องจาก IFA เห็นว่าไม่ควรอนุมัติ" (PDF).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ส่งฟ้องแล้ว! DSI ฟัน 42 ผู้ต้องหาคดีหุ้น "MORE" เสียหาย 4.5 พันล้านบาท". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2024-05-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  19. "ชี้แจงข่าวหรือข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถาม - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  20. "แจ้งการส่งงบการเงินล่าช้า - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  21. "ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน กรณีไม่ส่งงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2565 - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  22. "บอร์ด STARK พร้อมใจลาออก 7 คน ตั้ง 5 กรรมการ - ผู้บริหารใหม่". bangkokbiznews. 2023-04-19.
  23. 23.0 23.1 23.2 "ครึ่งแรกปี 66 'ตลาดหุ้นไทย' สุดป่วน! วิกฤติ STARK-แบงก์รัน-การเมืองถล่ม". bangkokbiznews. 2023-07-01.
  24. "สรุปคำชี้แจง 'หุ้น STARK' และจุดจบที่เหลืออยู่เพียง 'ยื่นล้มละลาย?'". THE STANDARD. 2023-06-17.
  25. "สารภาพสิ้น! "ศรัทธา" แฉ STARK แต่งบัญชีก่อนเข้าตลาด หวัง "กำไร" ราคาหุ้น". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2023-07-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "เปิดเบื้องลึก STARK มหากาพย์ "แต่งบัญชี-ดันราคาหุ้น"". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2023-07-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร STARK ต่อ DSI กรณีตกแต่งงบ-ส่งเรื่องต่อ ปปง. - Thunhoon
  28. "กระทรวงยุติธรรม จับมือ DSI - ปปง. แถลงข่าวคืบหน้าคดีหุ้น STARK มูลค่าเสียหายเฉียด 1.5 หมื่นล้านบาท มีผู้ต้องหา 11 ราย ถูกคุมตัวครบในเรือนจำ ศาลนัดพิจารณานัดแรก 14 ม.ค. ปีหน้า". THE STANDARD. 2024-07-10.
  29. "คุมตัว"ชนินทร์" ผู้ต้องหาคดีทุจริตหุ้นสตาร์กถึงไทยพรุ่งนี้". Thai PBS.
  30. "อัยการฟ้อง 'ชนินทร์' ผู้ต้องหาคดีโกง หุ้น STARK ฟากศาลสั่งอายัดทรัพย์ไร้กำหนด". THE STANDARD. 2024-06-28.
  31. "ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิกถอนหลักทรัพย์ของ ALL STARK และ WORLD จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม - 2 กันยายน 2567 โดยให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  32. "ชี้แจงการดำเนินการตามเหตุผิดนัดภายใต้ข้อกำหนดสิทธิสำหรับหุ้นกู้ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  33. "STARK ระส่ำ ผู้ถือหุ้นกู้จำนวน 2 ชุดสั่งให้จ่ายหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยภายใน 30 วัน เสี่ยงทำหุ้นกู้ทั้งก้อน 9.2 พันล้านบาทเกิด Cross Default". THE STANDARD. 2023-06-01.
  34. "'วนรัชต์' เร่งเจรจาเจ้าหนี้ทั้งหมดหาทางออก หลังหุ้นกู้ STARK จำนวน 3 ชุด มูลค่า 6.96 พันล้านบาท โดน Call Default". THE STANDARD. 2023-06-22.
  35. เปิดไทม์ไลน์ ก่อนสุดทาง STARK ขึ้น SP ตั้งแต่ 1 ก.ค.66 - Thunhoon
  36. "STARK เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยคงที่ 3.3-3.9%". bangkokbiznews. 2021-07-27.
  37. ส.ส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เผยนลท.1,759 ราย ขอให้ช่วยเหลือกรณี ST - Thunhoon
  38. Proof, May (2023-09-05). "วิกฤติหุ้นกู้..วิบากกรรมบจ". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์.
  39. "ก.ล.ต.ปรับ KBANK เบาๆ 1.14 ล้านบาท ไม่ระบุใช่กรณีขายหุ้นกู้ STARK ให้รายย่อยหรือไม่!". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2024-06-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. "เปิดรายชื่อ 6 หุ้น ถูก Force Sell หนัก ทุบราคาหุ้นดิ่ง-มาร์เก็ตแคปวูบ". posttoday. 2024-07-09.
  41. "YGG บทเรียนราคาแพง.!". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2024-07-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  42. "ชี้แจงการซื้อขายหุ้น Big Lot - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย". www.set.or.th.
  43. 43.0 43.1 "'อดิศักดิ์' เปิดใจขาย Big Lot หุ้น JMART เหตุโดน Margin Call จริง แจงเป็นปัญหาส่วนตัว". THE STANDARD. 2023-02-19.
  44. CHAMAI (2023-02-15). ""ตระกูลเจ" ร่วงยกแผง! SGC หนักสุด 20% โบรกปรับลดกำไรปี 66 หั่นเป้าเหลือ 4.10 บ." ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์.
  45. Thaipost (2024-08-05). "'พิชัย' ชี้หุ้นไทยร่วงเหมือนทั่วโลก เหตุนักลงทุนรอความชัดเจนทั้งปัจจัยภายใน-นอก".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  46. "ตลท.เปิด 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ "Jump+" ช่วย บจ. มีกำไรเพิ่มขึ้น ดันไทยเป็น Listing Hub ของภูมิภาค". THAIRATH Money.