ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตก พ.ศ. 2567

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 วันที่ผ่านมา โดย Jeabbabe ในหัวข้อ เนื้อหา

เนื้อหา[แก้]

เนื้อหา 99% เป็นการใช้แหล่งอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง เช่น บทความบอกว่า หุ้นตกเพราะกังวลเรื่องตั้งทนายถุงขนม แต่ไปดูแหล่งอ้างอิง มีแค่ว่า พิชิตเป็นทนายถุงขนม ไม่มีบอกถึงหุ้นตกแม้แต่แห่งเดียว และบทความบอกว่า ประชาชนเรียกร้องรัฐประหาร ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้น แต่ไปดูแหล่งอ้างอิง มีแค่ว่า นักลงทุนเทขายหุ้น ไม่มีบอกถึงรัฐประหารแม้แต่แห่งเดียว ดังนี้เป็นต้น น่าสงสัยว่าทำไมจึงใช้แหล่งอ้างอิงเท็จ

นอกจากนี้ เนื้อหาทั้งหมดดูเหมือนเป็นการวิเคราะห์ของผู้สร้างบทความ (@Natt1985:) ซึ่งต้องห้ามตาม WP:FORUM

ถ้าตัดส่วนที่ผู้สร้างบทความวิเคราะห์ออกไป ก็จะเหลือเนื้อหาเพียงว่าหุ้นตกเท่านั้นเท่านี้จุด ซึ่งสั้นมาก อาจจะต้องรวมไปไว้ในบทความอื่น เช่น ใส่ไว้ในบทความรัฐบาลเศรษฐา (คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63) อาจจะเหมาะกว่า

-- Miwako Sato (คุย) 20:41, 17 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ

เนื้อหาส่วนนี้นำออกมาจากบทความ เพราะไม่มีแหล่งอ้างอิง/แหล่งอ้างอิงไม่ถูกต้อง

อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ, การขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศ, สงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566, ความขัดแย้งอิสราเอล–อิหร่าน พ.ศ. 2567 เหตุกลุ่มการเงินเอสวีบีล่ม ซ้ำเติมด้วยกรณีการทุจริตสตาร์ค คอร์เปอเรชั่น คดีปั่นหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) และข่าวการแต่งตั้งนาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยคนต่อไป

ส่งผลกระทบต่อความมั่งคั่งของนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย รวมถึงพนักงานบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นไทย เหตุการณ์ดังกล่าวยังเกิดจาก ความกังวลว่า เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทย จะถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนออกจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน รวมทั้งกองทัพไทยอาจก่อการรัฐประหารอีกครั้ง หากมีการเสนอนิรโทษกรรมให้ทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มทะลุวัง ในฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย มีความกังวลอย่างมีนัยสำคัญว่า วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 อาจเกิดขึ้นล่าช้าเนื่องจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

กรณีที่เลวร้ายที่สุดรัฐบาลไทยจะกลายเป็นรัฐบาลรักษาการและวุฒิสภาไทยก็จะรักษาการไปเรื่อยๆ ซึ่งนั้นคล้ายคลึงกับเหตุรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ที่มีรัฐบาลรักษาการ และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 ซึ่งมีผู้รักษาการวุฒิสภา จำนวน 73 รายการ และอาจเกิดการประท้วงในประเทศไทยครั้งใหญ่ถ้ามีการเสนอนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยหรือมีการยุบพรรคก้าวไกล

และยังมีความไม่พอใจของรักษาการวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ที่มีต่อบทบาทของ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งของพรรคพลังประชารัฐพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นพรรคที่พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้แต่งตั้งวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12

รวมถึงอาจเกิดวิกฤตการเมืองครั้งใหม่หากมีการยุบพรรคก้าวไกล แม้ว่า ณ ขณะนั้นยังไม่เกิดการรัฐประหารขึ้น และยังไม่มีเหตุรุนแรงทางการเมือง แต่ก็คล้ายรัฐประหารเงียบ เมื่อคนที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา แสดงบทบาทในการฟ้องร้อง เพื่อจุดหมายสูงสุดในการล้มรัฐบาลและบทบาทของผู้นำกองทัพซึ่งเงียบเชียบ แม้ถูกถามถึงการรัฐประหาร ที่ถูกตีความว่าหากมีการแก้ไขหรือนิรโทษกรรมฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย กองทัพจะกระทำการรัฐประหารอีกครั้ง รวมถึงกระแสในสื่อสังคม ที่มีประชาชนชาวไทยเรียกร้องการรัฐประหารอย่างเปิดเผย ซึ่งนี่อาจเป็นประชาชนเพียงประเทศไม่กี่ประเทศในโลกที่ต้องการการรัฐประหาร ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นในประเทศไทยออกไปต่อเนื่องราวสองแสนหนึ่งหมื่นสามล้านบาท นำมาสู่ความกังวลว่าจะมีวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง

--Miwako Sato (คุย) 20:47, 17 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ

@Miwako Sato ผมเพิ่มเนื้อหาบางส่วนพร้อมอ้างอิงที่เนื้อข่าวระบุใจความถูกต้องและครบแล้วครับ Jeabbabe (คุย) 21:18, 17 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ