ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ
ชื่อทางการค้า | Deloitte |
---|---|
ประเภท | private company limited by guarantee สหราชอาณาจักร[1] |
อุตสาหกรรม | ที่ปรึกษาธุรกิจ |
ก่อตั้ง | 1845ลอนดอน, อังกฤษ | ใน
ผู้ก่อตั้ง | วิลเลียม เวลส์ ดีลอยท์ |
สำนักงานใหญ่ | ลอนดอน อังกฤษ, นิวยอร์ก สหรัฐ |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก |
|
บริการ | |
รายได้ | US$59.3 พันล้าน (2022)[4] |
พนักงาน | 415,000 คน (2022)[5] |
เว็บไซต์ | Deloitte.com/global |
ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ (อังกฤษ: Deloitte Touche Tohmatsu) เป็นหนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีสี่แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกควบคู่กับ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์, เคพีเอ็มจี และ เอินส์ท แอนด์ ยัง[6][7] บริการทั้งด้านการบัญชีและที่ปรึกษา การสอบบัญชี การทำบัญชี การวางแผนยุทธศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการการเงิน และการควบคุมประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการจัดหางานและที่ปรึกษาภาษีอากร รวมถึงการให้บริการธุรกิจแก่รัฐบาลและสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดำเนินการในตลาดเกิดใหม่ มีฐานประกอบการอยู่ในรัฐนิวยอร์กมีพนักงาน 415,000 คน[5] และสำนักงานราว 750 แห่งใน 150 ประเทศทั่วโลก
ประวัติบริษัท
[แก้]ค.ศ. 1845 วิลเลียม เวลส์ ดีลอยท์ เปิดสำนักงานตรวจสอบบัญชีในกรุงลอนดอนภายใต้ชื่อบริษัท ดีลอยท์[8] เมื่อธุรกิจประสบความสำเร็จวิลเลียมจึงเปิดสำนักงานตรวจสอบบัญชีอีกแห่งในเมืองนิวยอร์กในปี 1890 ต่อมา ค.ศ. 1972 บริษัทดีลอยท์ ได้ร่วมทุนกับบริษัท แฮสคิน แอนด์ เซล ส่งผลให้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล[9] ใน ค.ศ. 1984 เมื่อธุรกิจตรวจสอบบัญชีเริ่มมีการแข่งขันสูงขึ้น ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล มีความพยายามจะรวมกิจการกับบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากผู้ถือหุ้นฝ่ายอังกฤษของบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ คัดค้าน
การรวมบริษัทในยุคปัจจุบัน
[แก้]- ค.ศ. 1989 ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล เข้ารวมกิจการกับบริษัท ทู้ช รอส และเปลี่ยนชื่อเป็น ดีลอยท์ แอนด์ ทู้ช[10] ส่วน โธมัตสุ ได้มาจากชื่อของสำนักงานตรวจบัญชีที่ญี่ปุ่นในเครือของ ทู้ช รอส การรวมกิจการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมความแข็งแกร่งของ ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล ที่มีอยู่ในตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เข้ากับความแข็งแกร่งในตลาดเอเชียของทู้ช รอส
- ค.ศ. 1995 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เลือก ไมเคิล ซูททอน ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการสอบบัญชีของดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้านักบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในปีเดียวกันดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุก่อตั้งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา (ปัจจุบันคือ ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง)[11] เพื่อรวมกิจการที่ปรึกษาในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น และต่อมาได้เพิ่มธุรกิจที่ปรึกษาในเอเชียรวมเข้าไปด้วย
- ค.ศ. 1999 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ขายบริษัท รีซอส คอนเนคชั่น ธุรกิจจัดหาบุคลากรด้านบัญชีของตนให้แก่กลุ่มผู้จัดการของตน และบริษัท เอเวอร์คอร์ พาร์ตเนอร์ โดยให้เหตุผลที่ต้องขายว่า รีซอส คอนเนคชั่น เป็นธุรกิจที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและขัดแย้งกับธุรกิจสอบบัญชีอันเป็นธุรกิจหลักของดีลอยท์
- ค.ศ. 2002 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุเข้ารับช่วงธุรกิจใหม่และพนักงานที่ลาออกมาจากบริษัทอาเธอร์แอนเดอร์เซนอดีตสำนักงานบัญชีระดับโลกที่ล่มสลาย หลังจากมีข่าวฉาวทางด้านทุจริตพร้อมกับบริษัทเอนรอนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสหรัฐ ที่ใช้บริการสอบบัญชีของอาเธอร์แอนเดอร์เซน[12][13]
บทวิจารณ์
[แก้]ในช่วง ค.ศ. 1990 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหลายคดีจากการที่ไปเกี่ยวข้องกับ ไมเคิล มิลเคน ราชาแห่งหุ้นกู้ขยะ การล่มสลายของสถาบันการเงินประเภทเงินฝากออมทรัพย์และเงินให้กู้ยืมหลายแห่ง และการล้มละลายของบริษัทที่เป็นลูกค้าของตน
ผู้อุปถัมภ์
[แก้]- ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ สาขาอังกฤษเป็นผู้อุปถัมภ์กีฬาโอลิมปิกปี 2012 ที่กรุงลอนดอน[14]
- ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ สาขาอเมริกาเป็นผู้อุปถัมภ์คณะกรรมการกีฬาโอลิมปิกสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2009[15]
- ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ สาขาแคนาดาเป็นผู้อุปถัมภ์กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2010 ที่เมืองแวนคูเวอร์[16]
บุคคลสำคัญที่เคยผ่านงานกับดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ
[แก้]- อาร์. แอนโทน เบนเทน – เหรัญญิกของบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์
- เฟรด กูดวิน – อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทเดอะรอยัลแบงค์ออฟสกอตแลนด์
- เซอร์จิโอ มาร์ชิออนเน – กรรมการผู้จัดการบริษัทเฟียต
- โอริน ซี. สมิธ – อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทสตาร์บัคส์
- โคลอี สมิธ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอังกฤษ
- เอริค โฟร์ธ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอังกฤษ
- วิโต ฟอสเซลลา – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐ
- บิลล์ โอเวนส์ – ผู้ว่าราชการรัฐโคโลราโด
- ทอม ริดจ์ – ผู้ว่าราชการรัฐเพนซิลเวเนีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Deloitte Touche Tohmatsu Limited". Companies House. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "Deloitte Global announces new Board Chair". Deloitte. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2019.
- ↑ "Joseph B. Ucuzoglu". Deloitte. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2023.
- ↑ O'Dwyer, Michael; Foley, Stephen (8 กันยายน 2022). "Deloitte revenues hit record on back of tech consulting boom". The Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2022.
- ↑ 5.0 5.1 "Global Revenue Announcement". Deloitte. 8 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Deloitte overtakes PwC as world's biggest accountant". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2017.
- ↑ "Deloitte Touche Tohmatsu Limited". Companies House. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2018.
- ↑ "About Deloitte". Deloitte. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2014.
- ↑ "A Simplified Family Tree for the Firm of Deloitte Haskins & Sells". Icaew.com. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2017.
- ↑ "Deloitte Touche merger done". The New York Times. 5 ธันวาคม 1989.
- ↑ "Deloitte Consulting, Page 6" (PDF). Wellesley.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2017.
- ↑ Suzanne Kapner (11 เมษายน 2002). "ENRON'S MANY STRANDS: THE ACCOUNTANTS; British Unit of Andersen Is Defecting to Deloitte". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Canadian Unit to Join Deloitte". The New York Times. 13 เมษายน 2002. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Deloitte becomes first London 2012 tier two sponsor". Brand Republic. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ "Deloitte renews sponsorship of U.S. Olympic and Paralympic Teams". United States Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Vancouver 2010 Winter Olympics – results & video highlights". Vancouver2010.com. 13 ตุลาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Deloitte — Company Profile เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CoolAvenues.com.
- Deloitte Touche Tohmatsu Company Profile. Yahoo! .
- "Trustee in bankruptcy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009.