ข้ามไปเนื้อหา

เดอะซิมส์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะซิมส์ 2
ผู้พัฒนาแมกซิสเรดวูดชอร์ส
อะเมซเอนเทอร์เทนเมนต์ (พีเอสพี, ดีเอส, มือถือ, จีบีเอ)
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์[a]
กำกับชาร์ลส์ ลอนดอน
อำนวยการผลิตจอนาทาน ไนต์
มาร์กาเรต อิง
โปรแกรมเมอร์เดวิด เกรกอรี
แมทธิว เอ็ม. บราวน์
ศิลปินเดวิด แพตช์
กูปี รอสซี
ลีโอ โฮร์เวตซ์
แต่งเพลงมาร์ก มาเทอร์สบาห์
ชุดเดอะซิมส์
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส, เกมบอยอัดวานซ์, เกมคิวบ์, นินเท็นโด ดีเอส, เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์, เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล, จาวาเอ็มอี
วางจำหน่ายไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • NA: 14 กันยายน ค.ศ. 2004
  • EU: 17 กันยายน ค.ศ. 2004
แมคโอเอส
  • NA: 17 มิถุนายน ค.ศ. 2005
เกมบอยอัดวานซ์, เกมคิวบ์, นินเท็นโด ดีเอส, เพลย์สเตชัน 2 และ เอกซ์บอกซ์
  • NA: 24 ตุลาคม ค.ศ. 2005
  • EU: 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล
  • NA: 7 ธันวาคม ค.ศ. 2005
  • EU: 13 มกราคม ค.ศ. 2006
แนวจำลองชีวิต
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

เดอะซิมส์ 2 (อังกฤษ: The Sims 2) เป็นวิดีโอเกมแนววางแผนจำลองชีวิต พัฒนาโดยสตูดิโอแมกซิสในเมืองเรดวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย จัดจำหน่ายโดย อิเล็กทรอนิก อาตส์ เป็นเกมภาคต่อของ เดอะซิมส์[1]

ในเกมผู้เล่นสามารถสร้างซิม, ละแวกบ้าน, บ้านและครอบครัวได้ด้วยตัวเอง ผู้เล่นดูแลซิมส์ของตนเพื่อให้พวกเขาได้รับรางวัลและสร้างความสัมพันธ์เหมือนกับในชีวิตจริง เดอะซิมส์ 2 เป็นเกมที่ไม่มีเป้าหมายสุดท้ายกำหนดไว้ เหมือนกับเกมภาคแรก ซึ่งเป็นเกมที่ลักษณะเป็นปลายเปิด ซิมส์มีเป้าหมายในชีวิต, ความต้องการและความกลัว ซึ่งการบรรลุเป้าหมายนั้นสามารถสร้างผลลัพธ์ทั้งในเชิงบวกหรือเชิงลบ ซิมส์ทุกคนนั้นผ่านการเติบโตใน 6 ช่วงวัยและสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 90 วันขึ้นอยู่กับระดับความปรารถนาที่จะเติมเต็ม เดอะซิมส์ 2 มีภาพกราฟิกและมุมมองในเกมเป็นแบบสามมิติ ทำให้สามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง ต่างจากเกมก่อนหน้านี้ที่เป็นภาพกราฟิกมุมมองมิติเท่ากัน ถึงแม้ว่ารูปแบบการเล่นของเกมจะไม่เป็นเส้นตรง ในเกมมีเส้นเรื่องอยู่ในละแวกบ้านที่สร้างไว้ก่อนแล้ว แพลเซนต์วิว ดำเนินเรื่อง 25 ปีหลังเมืองในเกม เดอะซิมส์ เส้นเรื่องของสเตรนจ์ทาวน์เกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติและเชื่อมโยงกับแพลเซนต์วิวอย่างหลวม ๆ ตัวละครในเวโรนาวิว นำมาจากตัวละครของเชกสเปียร์

เดอะซิมส์ 2 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2004 สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และพอร์ตไปยังแมคโอเอส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2005 มีการวางจำหน่ายภาคเสริมแปดชุดและไอเท็มเสริมเก้าชุดตามมา นอกจากมีการวางจำหน่ายเกมในคอนโซลหลายเครื่องแล้ว ยังมีเวอร์ชันบนโทรศัพท์มือถือที่ผู้ผลิต เช่น โนเกีย เปิดให้ดาวน์โหลด เดอะซิมส์ 2 จาก โอวีสโตร์ เกมภาคต่อ เดอะซิมส์ 3 วางจำหน่ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009[2][3]

เดอะซิมส์ 2 ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ โดยมียอดจำหน่ายหนึ่งล้านชุดในสิบวันแรกหลังวางจำหน่าย เป็นการสร้างสถิติใหม่ในช่วงเวลานั้น[4] ช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 เว็บไซต์ เดอะซิมส์ 2 ประกาศว่า วิดีโอเกมส์ชุด เดอะซิมส์ มียอดจำหน่าย 100 ล้านชุด[5] เดอะซิมส์ 2 ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ โดยมีคะแนนร้อยละ 90 จากเมตาคริติกและเกมเรงกิงส์[6][7] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 เกมมียอดจำหน่าย 13 ล้านชุดในทุกแพลตฟอร์ม โดยมากกว่า 6 ล้านชุดเป็นเกมเวอร์ชันพีซี ทำให้ เดอะซิมส์ 2 กลายเป็นหนึ่งในเกมพีซีที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[8]

คุณสมบัติ

[แก้]

เดอะซิมส์ 2 พัฒนาด้านกราฟิกและระบบ การเล่นแบบอิสระ ในการควบคุมชาวซิมส์ราวกับพวกเขาแสดงปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนจริง รับมือกับกิจกรรมหลากหลายและสร้างความสัมพันธ์ตามระเบียบวิธีการเหมือนชีวิตจริง เปรียบกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ ชีวิตชาวซิมส์ในเดอะซิมส์ภาคแรกนั้นไม่ได้ถูกกำหนดเป้าหมายของชีวิตไว้ การเล่นเกมนี้ไม่มีกฎการเล่นแบบตายตัว ชาวซิมส์ในเดอะซิมส์ 2 นั้นจะมีเป้าหมายในชีวิต ความต้องการ ความปรารถนาและความกลัว การบรรลุเป้าหมายของสิ่งที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ให้มีผลทั้งทางด้านบวก และด้านลบ ชาวซิมส์ในภาคนี้จะมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 85 วันในเกม ขึ้นอยู่กับการเติมเต็มระดับคะแนนปณิธาน และยังมีสิ่งของบางอย่างที่จะช่วยยืดอายุของชาวซิมส์ให้อยู่ได้ยาวนานต่อไปได้

เดอะซิมส์ 2 สร้างขึ้นต่อจากเกมเดอะซิมส์เวอร์ชันแรก โดยภาพของเกมนี้จะใช้กราฟิก 3D ช่วยทำให้เกมดูน่าเล่นขึ้นกว่าเดิม วางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และกลายเป็นเกมชุดที่ประสบความสำเร็จตลอดมา โดยสามารถขายเกมนี้ออกได้ 1,000,000 ก๊อปปี้ใน 10 วันแรก[9] ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของเดอะซิมส์ 2 จึง ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์[10] และเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกมเดอะซิมส์ขายออกได้มากกว่า 13 ล้านหน่วยทั่วโลกและเป็นเกมที่ขายดีที่สุดในปี 2004 (พ.ศ. 2547) [11] และเนื่องจากเกมชุดเดอะซิมส์ 2 สามารถขายออกได้มากกว่า 100 ล้านสำเนา จึงได้มีการฉลองยอดขายในเว็บไซต์เดอะซิมส์ 2 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[12] ต่อมา ทาง EA ได้ประกาศถึงการออกวางจำหน่ายของเกมเดอะซิมส์ 3 ภาคต่อของเดอะซิมส์ 2 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และได้กำหนดวันวางจำหน่ายในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) นี้[13]

ระบบการเล่น

[แก้]

ชาวซิมส์

[แก้]

ชาวซิมส์สามารถทำงาน แต่งงาน เข้าโรงเรียน เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และอื่น ๆ อีกมากมายได้

ชาวซิมส์ยังมีโอกาสได้พบประสบการณ์จากเหตุการณ์เหนือความจริงต่าง ๆ เช่นการเห็นผี การถูกมนุษย์ต่างดาวจับตัวไปซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชายตั้งครรภ์ได้ หรือมียมทูตที่ชื่อ กริม รีพเพอร์ มารับชาวซิมส์ที่เสียชีวิต

ช่วงอายุ

[แก้]

ชาวซิมส์มีวิวัฒนาการ 6 ช่วงอายุ คือ ทารก วัยเด็กหัดเดิน วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา (ในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน มีช่วงอายุวัยมหาลัยเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเฉพาะชาวซิมส์ที่เข้ามหาวิทยาลัย) ชาวซิมส์จะเสียชีวิตเองเมื่ออายุขัยในวัยชรา ซึ่งช่วงอายุขัยในวัยชรากำหนดโดยค่าคะแนนปณิธานตอนเริ่มแรกที่ย่างเข้าสู่วัยชรา ชาวซิมส์ยังเสียชีวิตได้ด้วยสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ส่วนวัยเด็กอาจถูกนักสังคมสงเคราะห์จับตัวไปถ้าความต้องการลดลงต่ำ ช่วงอายุที่แตกต่างจะมีสิ่งที่ท้าทายที่แตกต่างเช่นกัน เช่นการลดลงของความต้องการด้านความสะดวกสบายของวัยชรา วัยเด็กไม่สามารถทำอาหารได้ การกระทำที่คาดเดาไม่ได้ของวัยเด็กหัดเดิน และการคอยดูแลเด็กทารกตลอดเวลา เมื่อชาวซิมส์คลอดเด็ก เด็กที่เกิดจะเป็นวัยทารก ซึ่งเราจะไม่สามารถเลือกวัยนี้ได้ในโหมดสร้างครอบครัว เราจะต้องมีเด็กชาวซิมส์เกิดขึ้นเองในระหว่างการเล่นเกม

ตัวละคร

[แก้]

เกม เดอะซิมส์ 2 มีละแวกเพื่อนบ้านกำหนดมาให้ นั่นคือ เพลสเซินท์วิว สเตรนจ์ทาวน์ และเวโรนาวิลล์ และยังมีละแวกเพื่อนบ้านอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในภาคต่อมา ชาวซิมส์ที่เกมสร้างไว้แล้วในละแวกเพื่อนบ้านต่างก็มีเรื่องราวและประวัติความเป็นมา เพลสเซินท์วิวเป็นละแวกเพื่อนบ้านหลักที่มีมาตั้งแต่เดอะซิมส์ภาคแรก มาจนเดอะซิมส์ 2 และจะเห็นในเดอะซิมส์ 3 แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีเรื่องราวที่โดดเด่น ตัวอย่างตัวละครชาวซิมส์มากมายที่เกมกำหนดมาให้ เช่น คาสซานดร้า กอธ แดเนียล เพลสเซินท์ และเจนนิเฟอร์ เบิร์บ เป็นต้น

ความต้องการ

[แก้]

ชาวซิมส์ดำเนินชีวิตได้โดยค่าความต้องการต่าง ๆ มากที่สุดถึง 8 ด้าน ขึ้นอยู่กับช่วงวัย ความต้องการที่มีแน่ชัดทุกช่วงวัย ได้แก่ การขับถ่าย คือจะแสดงเป็นแถบมิเตอร์ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีเขียว (เต็มเปี่ยม) ไปถึงสีแดง (สิ้นหวัง) ชาวซิมส์ที่มีแถบมิเตอร์ความต้องการลดลงจะแสดงจะหาทางกระทำบางอย่างเพื่อให้ แถบความต้องการเติมเต็ม (ตัวอย่างเช่น ถ้ามิเตอร์ความหิวลดลงต่ำ ชาวซิมส์จะเปิดตู้เย็นและหาของกินเอง หรือผู้เล่นอาจบังคับให้ชาวซิมส์ทำอาหารก็ได้) เมื่อแถบมิเตอร์ความต้องการด้านใดหมดหรือกลายเป็นสีแดงอาจเป็นเหตุให้เกิด การกระทำต่าง ๆ ชาวซิมส์ที่ความต้องการด้านพลังงานหมดก็จะเป็นลม ชาวซิมส์วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราที่มีค่าความหิวหมดก็จการด้านใดหมดหรือกลายเป็นสีแดงอาจเป็นเหตุให้เกิด การกระทำต่าง ๆ ชาวซิมส์ที่ความต้องการด้านพลังงานหมดก็จะเป็นลม ชาวซิมส์วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชราที่มีค่าความหิวหมดก็จะเสียชีวิต ความต้องการเหล่านี้จะส่งผลโดยรวมกับระดับอารมณ์ของชาวซิมส์ ที่จะสังเกตเห็นได้จากเพชรที่ประดับบนหัวของชาวซิมส์ (เรียกว่า พลัมบ็อบ) แถบมิเตอร์ความต้องการของวัยทารก (มีเพียง สังคม ความหิว ขับถ่าย สุขอนามัย และพลังงาน) จะไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนวัยอื่น แต่สีที่ฉากหลังของรูปภาพชาวซิมส์ที่ด้านซ้ายจะบอกว่าเป็นสีแดง (สิ้นหวัง) เหลือง (ต่ำ) หรือเขียว (เต็มเปี่ยม)

นักสังคมสงเคราะห์

[แก้]

เมื่อชาวซิมส์เลี้ยงดูเด็ก ๆ ได้ไม่ดีพอ ปล่อยให้พวกเขามีค่าความต้องการตกต่ำนานเกินไป นักสังคมสงเคราะห์จะแวะมาหาและนำตัวเด็ก ๆ ทุกคนไปจากที่อยู่อาศัย เด็ก ๆ อาจถูกนำตัวไปถ้าผู้เล่นปล่อยเขาให้อยู่ในที่อยู่อาศัยตามลำพัง และนักสังคมสงเคราะห์จะแวะมาหาอีกถ้าเด็ก ๆ ไม่สนใจการเรียนเท่าที่ควร หรือพวกเขาอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนหรือหนาวเย็นมากเกินไป (เกิดขึ้นในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ) ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง จะอนุญาตให้ชาวซิมส์ขอร้องไม่ให้นักสังคมสงเคราะห์นำตัวเด็กไป และเด็ก ๆ ก็จะไม่ถูกนำตัวไป ถ้าเด็ก ๆ ถูกนำตัวไป ผู้เล่นจะถูกห้ามไม่ให้รับบุตรบุญธรรมอย่างถาวร ชาวซิมส์สามารถฆ่านักสังคมสงเคราะห์หรือเปลี่ยนให้เป็นวัยทารกหรือเด็กหัด เดินได้โดยใช้สูตรโกงหรือ โปรแกรมเสริม Third-Party ถ้าเด็ก ๆ เหล่านั้นอยู่ไกลจากตัวนักสงคมสงเคราะห์ เช่น ถูกขังไว้ในห้อง นักสังคมสงเคราะห์จะมีพลังลึกลับที่สามารถทำให้เด็กหายตัวไปอยู่ที่รถได้ ชาวซิมส์วัยเด็ก วัยเด็กหัดเดิน และวัยทารก จะปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ และจะไม่อดตายถ้าไม่ใช้สูตรโกง ถ้าผู้เล่นพยายามจะนำตัวเด็ก ๆ เหล่านั้นไปอยู่ใกล้ ๆ เปลวไฟที่ลุกไหม้ ความต้องการจะลดลงอย่างมากแต่จะไม่ถึงตาย

บุคลิกภาพ

[แก้]

บุคลิกภาพ จะเป็นตัววัดลักษณะนิสัยของชาวซิมส์ โดยมีด้วยกัน 5 ด้านที่ผู้เล่นจะเลือกได้โดยการจัดแบ่ง ตัวอย่างเช่น ชาวซิมส์จะกระตือรือร้น หรือขี้เกียจ หรือจะเป็นกึ่งกลางระหว่างความกระตือรือร้นกับขี้เกียจ ค่าเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าชาวซิมส์จะเรียนรู้ทักษะได้เร็วแค่ไหน อัตราการลดลงของค่าความต้องการ รูปแบบของปฏิกิริยาที่ชาวซิมส์เกี่ยวข้อง ความเป็นไปได้ในปฏิกิริยาและการพาเพื่อนมาจากที่ทำงาหรือที่โรงเรียน ชาวซิมส์ทุกคนจะพูดคุยกันในภาษาที่เรียกว่า ซิมลิช ซึ่งเป็นภาษาที่สร้างขึ้นจากคำที่ไม่มีความหมาย แต่มีความหมายที่แสดงเป็นนัยได้ผ่านจากโทนเสียงและท่าทาง[14]

สายอาชีพ

[แก้]

ชาวซิมส์วัยเด็กและวัยรุ่นจะไปโรงเรียนในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ การทำการบ้านเสร็จและระดับอารมณ์จะส่งผลต่อเกรด (เกรดที่สูงจะทำให้เขาได้รับเงินรางวัลหรือทักษะ) พ่อแม่ของเขาอาจสมัครให้เด็กเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนได้เมื่อมีจากความสำเร็จ ในการเลี้ยงอาหารมื้อเย็นให้กับอาจารย์ใหญ่ การขาดเรียนทำให้เกรดตกต่ำลง ถ้าเกรดของชาวซิมส์วัยเด็กต่ำมากเกินไป นักสังคมสงเคราะห์ก็จะปรากฏตัวและนำตัวเด็กไป แต่ถ้าเป็นวัยรุ่น พวกเขาจะไม่ถูกนำตัวไปแต่จะถูกไล่ออกจากงานนอกเวลาเรียน ชาวซิมส์จะหางานได้จากคอมพิวเตอร์หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นก็เช่นกัน ชาวซิมส์ที่ไปทำงานด้วยระดับอารมณ์ที่ดีและมีจำนวนเพื่อนที่ต้องการและระดับ ทักษะสำหรับสายอาชีพครบจะได้เลื่อนตำแหน่ง แต่ละสายอาชีพจะมีตำแหน่งงาน 10 ตำแหน่งและมีเงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่ละตำแหน่งจะมีการเปลี่ยนเครื่องแบบแต่งกาย ชั่วโมงทำงานและวันทำงานต่อสัปดาห์ รวมถึงรถประจำตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกสำหรับการลาป่วย ที่ชาวซิมส์สามารถหยุดงานได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าชาวซิมส์โกหก พวกเขาจะพบกับผลร้ายที่ตามมา เช่นการไล่ออกจากงาน หรือถูกลดตำแหน่ง

มีสายอาชีพมากมายเช่น นักกีฬา นักธุรกิจ นักการเมือง ทหาร นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และในภาคเสริมมหาลัยวัยฝัน สี่ฤดูแสบ และสนุกจังยามว่าง ยังมีสายอาชีพใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาอีก เมื่อได้เลื่อนขั้นมาถึงตำแหน่งสูงจะสามารถปลดล็อกของรางวัลแห่งอาชีพได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการฝึกทักษะที่จำเป็นต่อสายอาชีพนั้น ๆ เมื่อถึงวัยชรา ชาวซิมส์อาจปลดเกษียณ และได้รำเงินบำนาญ จำนวนเงินบำนาญจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายอาชีพและตำแหน่งงานขณะที่ปลดเกษียณ วัยรุ่นและวัยชราอาจหางานรับจ้างทำ แต่จะมีเพียง 3 ตำแหน่งงานเท่านั้นในแต่ละสายอาชีพ และจะได้รับเงินเป็นหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของเงินที่ผู้ใหญ่ได้รับ นอกจากนี้ ในภาคเสริมเปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน ชาวซิมส์ยังสามารถเปิดธุรกิจที่บ้านและสามารถเปิดร้านในพื้นที่ส่วนกลางที่ซื้อไว้ได้ด้วย

ความปรารถนาและความกลัว

[แก้]

สิ่ง ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเดอะซิมส์ 2 อย่างหนึ่งคือแถบมิเตอร์ปณิธาน ซึ่งดูคล้ายกับความพอใจในตนเองหรือความพอใจในชีวิต ขณะที่เป็นวัยเด็กหัดเดินและวัยทารก จะมีปณิธานแห่งการเติบโต แต่เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่น ผู้เล่นจะต้องเลือกให้ชาวซิมส์เป็นปณิธานใดปณิธานหนึ่งจาก 5 ปณิธานหลัก เช่น ปณิธานแห่งครอบครัว (เป็นมิตรกับคนในครอบครัว แต่งงาน และมีลูก) ปณิธานแห่งความร่ำรวย (ความมั่งคั่งและชื่อเสียงเกียรติยศ) ปณิธานแห่งความรู้ (การพัฒนาทักษะและประสบการณ์ชีวิต) ปณิธานแห่งชื่อเสียง (สร้างเพื่อนและเข้าสังคม) และปณิธานแห่งรักโรแมนติค (มีความสัมพันธ์และทำปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติคหลายครั้ง) ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา มีปณิธานใหม่เพิ่มเข้ามาคือ ปณิธานแห่งความพึงพอใจ (ต้องการใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน) และมีปณิธานลับที่เรียกว่าปณิธานแห่งเนยแข็งย่าง (ต้องการกินเนยแข็งย่างมากเท่าที่จะกินได้) ซึ่งจะมีได้เมื่อใช้ของรางวัลปณิธานที่ชื่อ เรนูยู เซนโซ (เมื่อใช้ในความปรารถนาตกต่ำ) หรือเป็นปณิธานรองในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง

ชาว ซิมส์แต่ละคนมีความปรารถนาและความกลัวที่สอดคล้องกับปณิธาน ช่วงวัยของเขาและเหตุการณ์ปัจจุบัน เมื่อความปรารถนาบรรลุผล เช่น ได้เพื่อนใหม่ ระดับคะแนนปณิธานจะเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสิ่งที่กลัวเป็นจริง เช่น คนรักตาย ระดับคะแนนปณิธานจะลดลง โดยระดับคะแนนปณิธานจะมีทั้งหมด 6 ระดับ คือระดับทองคำขาว (สูงที่สุด) ทองคำ สีเขียว 2 ระดับ และสีแดงอีก 2 ระดับตามลำดับ และระดับคะแนนนี้จะลดลงเล็กน้อยทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงในเกม

ชาวซิมส์ที่ ระดับคะแนนปณิธานอยู่ที่ทองคำขาว จะควบคุมง่าย และจะทำตามคำสั่งแม้เป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ ชาวซิมส์ที่ระดับคะแนนปณิธานอยู่ที่สีแดงจะเสียสติ และต้องการการบำบัดจากนักจิตวิทยาที่ ชาวซิมส์คนอื่นจะมองไม่เห็น ระดับคะแนนปณิธานจะเป็นตัวกำหนดอายุขัยของชาวซิมส์วัยชราก่อนตาย ถ้าชาวซิมส์คนนั้นพัฒนาวัยขึ้นด้วยดี มีระดับคะแนนปณิธานสูง ที่หลุมฝังศพหรือโกศเถ้ากระดูกจะดูดีกว่าระดับอื่น ๆ

คะแนนปณิธานทั้งชีวิตของชาวซิมส์จะถูกเกมบันทึกไว้ และนำคะแนนนี้ไปแลกซื้อสิ่งของพิเศษที่ให้ผลที่โดดเด่น เรียกว่า ของรางวัลปณิธาน เช่น สิ่งของที่จัดหาเงินมาให้ฟรี ๆ หรือขยายช่วงอายุขัยได้ แต่จะใช้ได้ผลเมื่อระดับปณิธานอยู่ที่ทองคำขาวหรือทองคำเท่านั้น ถ้าไม่ โอกาสความสำเร็จในการใช้สิ่งของเหล่านี้จะลดลง และผลข้างเคียงที่ไม่ดีอาจเกิดขึ้นได้[15]

ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง จะมีแถบมิเตอร์ปณิธานใหม่คือ ปณิธานตลอดชีวิต เพิ่มเข้ามา เมื่อชาวซิมส์ผ่านเหตุการณ์สำคัญในชีวิตเช่น แต่งงาน หรือมีเด็กเกิดในบ้าน พวกเขาจะได้เพิ่มระดับปณิธานตลอดชีวิตนี้และในทุก ๆ ส่วนที่บรรลุถึงจะทำให้ผู้เล่นได้รางวัล เช่น การเลือกปณิธานรอง การที่ระดับมิเตอร์นี้ขึ้นสูงสุดจะทำให้ชาวซิมส์มีระดับคะแนนปณิธานทองคำ ขาวอย่างถาวร ที่ทำได้โดยเติมเต็มระดับปณิธานตลอดชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปรารถนาอันยาวนาน เช่น ได้ทำงานถึงตำแหน่งสูงสุด หรือมีลูกตามจำนวนที่ตั้งไว้

ความสัมพันธ์

[แก้]

ความ สัมพันธ์เชิงโรแมนติคนั้นเกิดขึ้นได้หลายวิธี การเกี้ยวชาวซิมส์คนอื่นโดยไม่คำนึงถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ จะทำให้เขาแอบปิ๊งและตกหลุมรักในที่สุด ซึ่งยอมให้ชาวซิมส์ที่สนิทสนมกันแสดงปฏิกิริยาเช่นความรัก ชาวซิมส์ยังสามารถรักษาความสัมพันธ์นี้ไปเรื่อย ๆ หรือแต่งงานกัน (เรียกว่า "อยู่ร่วมกัน" สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน) ชาวซิมส์ที่เป็นฝ่ายขอแต่งงานหรือเข้ามาอยู่ด้วยจะไม่เปลี่ยนนามสกุล ขณะที่ชาวซิมส์ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายขอจะเปลี่ยนนามสกุลเป็นของคู่สมรส ในส่วนที่เพิ่มเข้ามาในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ชาวซิมส์สามารถออกเดทกันได้ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติคด้วยกัน ชาวซิมส์ยังมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ที่ทำได้โดยวิธีดึงดูดชาวซิมส์อีกฝ่าย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ปณิธาน และรูปร่างหน้าตา มีการหึงหวงเมื่ออีกฝ่ายไปเกี้ยวกับคนอื่น ชาวซิมส์อาจมีการหึงหวงซึ่งเป็นเหตุให้โกรธกับอีกฝ่ายและซิมส์อีกคนนั้น มีความเป็นไปได้ว่าชาวซิมส์จะต่อสู้ พูดแดกดัน หรือทำให้รำคาญ พวกเขายังสามารถเลิกกันได้ด้วยถ้าค่าความสัมพันธ์ของพวกเขาตกดิ่งลงมาใน ระดับหนึ่ง

ความตาย

[แก้]

ชาว ซิมส์สามารถตายได้หลายวิธี เมื่อชาวซิมส์มีอายุถึงช่วงปลายของวัยชรา เขาจะตายเพราะโรคชรา ขึ้นอยู่กับชาวซิมส์ขณะที่ตายมีระดับบคะแนนปณิธานถึงทองคำขาวหรือทองคำหรือ ไม่ ยมทูต หรือ กริม รีพเพอร์ จะมาพร้อมกับสาวฮูล่า 2 คนและนำตัวชาวซิมส์ชราคนนั้นไป และมีหลุมศพที่ขอบประดับด้วยหินอ่อนขึ้นมาเป็นที่อยู่ของชาวซิมส์ที่ตาย ชาวซิมส์อาจพบจุดจบที่ไม่คาดฝันได้หลายวิธีเช่น การถูกไฟฟ้าดูด, การถูกฟ้าผ่า, ถูกลูกเห็บตกใส่หัว, ถูกจานบินชน, ไฟคลอก, อดอาหาร, ป่วย, จมน้ำ หรือถูกฝูงแมลงวันตอม ฯลฯ ในภาคเสริมต่อ ๆ มาได้มีการเพิ่มสาเหตุการตายเข้ามาอีกด้วย ชาวซิมส์ที่ตายจะเหลือไว้เพียงหลุมศพเมื่ออยู่นอกอาคาร หรือโกศ เมื่ออยู่ในอาคาร ถ้าในที่อยู่อาศัยนั้นมีความทรงจำเกี่ยวกับคนตายนั้นอยู่ วิญญาณจะตามมาหลอกหลอนคนในที่อยู่อาศัย วิญญาณอาจทำให้ชาวซิมส์ตกใจกลัว และอาจตายได้ สีของวิญญาณจะขึ้นอยู่กับสาเหตุการตายของวิญญาณตนนั้น ชาวซิมส์วัยทารกและวัยเด็กหัดเดินจะไม่มีสาเหตุการตาย

เมื่อมีชาวซิมส์ตาย ครอบครัวและเพื่อนของชาวซิมส์ที่ตายจะได้รับเงินประกัน ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความสัมพันธ์กับชาวซิมส์ที่ตาย ถ้าไม่มีชาวซิมส์เหลืออยู่ในที่อยู่อาศัย เงินที่ได้จากคนตายจะไม่มีเกิดขึ้น และที่อยู่อาศัยนั้นก็จะถูกนำไปดำเนินการขาย และนำเฟอร์นิเจอร์เก่า คนในครอบครัวที่ผ่านความทรงจำเกี่ยวกับความตายของคนรักจะโศกเศร้าเสียใจมาก จนล้มตัวลงพื้นและเกิดอาการเสียสติจนต้องมีนักจิตบำบัดมาบำบัดอาการนี้ ถ้าชาวซิมส์คนนั้นถูกเลือก จะมองเห็นนักจิตบำบัดได้ แต่ถ้าเป็นคนอื่น จะเห็นว่าชาวซิมส์คนนั้นกำลังพูดคุยอยู่กับตัวเอง

หลังจากชาวซิมส์ตาย จะไม่มีตัวเลือกของชาวซิมส์คนนั้น วิญญาณคนตายจะถูกนำออกไปโดย NPC ยมทูตที่ ชื่อ กริม รีพเพอร์ ชาวซิมส์ที่ตายอาจถูกช่วยชีวิตไว้ได้จากการตายทุกประเภท ยกเว้นแก่ตาย ถ้ามีเพื่อนมาขอร้องให้ช่วยชีวิตคนตายไว้ ซึ่งโอกาสสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับค่าความสัมพันธ์ที่มีกับชาวซิมส์ที่ตาย ยมทูตในเกมเดอะซิมส์ 2 จะดูเหมือนผีมากขึ้น เนื่องจากไม่มีขาและลอยได้ เขาจะมีเสื้อคลุมยาวที่ตัดไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่มีอะไรอยู่ในผ้าคลุมและมีโครงกระดูกที่มองเห็นได้

ยมทูต จะมาเมื่อมีชาวซิมส์ตายและมีหลุมศพหรือโกศเกิดขึ้นมา ที่ตรงจุดนี้ชาวซิมส์ที่ควบคุมได้คนอื่นสามารถขอร้องยมทูตให้ช่วยชีวิตคนตายได้ การขอร้องส่งผลให้มีการท้าทายกันระหว่างยมทูตกับคนที่ขอร้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสในเกม ถ้าชาวซิมส์คนที่ขอร้องมีค่าความสัมพันธ์กับคนตายสูง พวกเขาจะชนะและชาวซิมส์ที่ตายจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง เมื่อไม่มีคนตายในที่อยู่อาศัยแล้ว กริม รีพเพอร์ จะนำโทรศัพท์มือถือสีม่วงออกมากดเบอร์โทรศัพท์ และพูดคุยโต้เถียงกับอีกฝ่ายก่อนจะหายตัวไปกับลำแสงสีขาว

ในภาคเสริม ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง เราสามารถทำให้ชาวซิมส์ที่ตายฟื้นคืนชีพได้เป็นชาวซิมส์ปกติ ถ้าเราเป็นแม่มดฝ่ายดี แต่ถ้าเราเป็นแม่มดฝ่ายไม่ดี ชาวซิมส์ที่ฟื้นจะกลายเป็นซอมบี้แทน

สามารถใช้ตะเกียงจินี หรือ The Resurrect-O-Nomitron เพื่อฟื้นคืนชีพคนตายได้ และการตายมีทั้งหมด 18 แบบ

การจบเกม
[แก้]

ถ้าชาวซิมส์ในที่อยู่อาศัยทุกคนเสียชีวิตไปจนหมด หรือไม่มีชาวซิมส์คนใดอาศัยอยู่อีก ในเกมเดอะซิมส์ 2 นี้จะถือว่าเป็น เกมโอเวอร์ หรือการจบเกมนั้น ๆ เวลาในเกมจะหยุด โหมดตัวเลือกตัวละครจะถูกปิด และจะเกิดข้อความขึ้นมา โดยให้คำแนะนำว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับที่อยู่อาศัยนั้น[16]

ตัวละครอื่น ๆ

[แก้]

ในเกมเดอะซิมส์ 2 นั้นมีชาวซิมส์หลายประเภท ดังนี้

  • ชาวเมือง (ผู้มาเยือน) : พวกเขาเป็นตัวละครที่ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมได้หรือ NPC แต่จะควบคุมได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาเข้ามาอยู่ร่วมกับครอบครัวชาวซิมส์หรือเมื่อพวกเขาเป็นวัยรุ่นที่จะไปเรียนมหาวิทยาลัย ชาวซิมส์เหล่านี้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับชาวซิมส์ที่ควบคุมได้ ตั้งแต่ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา เป็นต้นมา พวกเขาจะมีอาชีพและบุคลิกภาพเหมือนกับชาวซิมส์ที่ควบคุมได้ เว้นแต่เพียงว่าพวกเขาจะไม่ได้อาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งเท่านั้น พวกเขาจะแวะเยี่ยมที่ชุมชนหรือที่อยู่อาศัยและมีปฏิสัมพันธ์ได้เหมือนชาวซิมส์อื่น ๆ ชาวเมืองในภาคเสริม ตัวโปรดจอมป่วน นี้จะรวมถึงสุนัขและแมวด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวเมืองที่มีรูปลักษณ์เป็นเอกลักษณ์ เช่น บิ๊ก ดีว่า สลอบ แกรนด์แวมไพร์ เชียร์ลีดเดอร์ และมาสคอต
ยังมีชาวเมืองอีกประเภทหนึ่งที่เป็นลูกจ้าง หรือพนักงานที่ผู้เล่นสามารถเลือกใช้บริการได้เช่น การจ้างงานบริการ (เช่น แม่บ้าน นักจัดสวน ช่างซ่อม เป็นต้น) บริการรับ-ส่งสิ่งของ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมาย เสบียงอาหาร พิซซ่า และอาหารจีนในภาคเสริม มหาลัยวัยฝัน) หรือบริการพลเมือง (เช่น ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานยึดทรัพย์ อาจารย์ใหญ่ และบริการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม
  • ตัวละครอัตโนมัติ : ตัวละครพวกนี้จะเป็นตัวละครที่ปรากฏขึ้นอัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุมได้ ในเดอะซิมส์ 2 ภาคหลัก ตัวละครเหล่านี้คือ กริม รีพเพอร์ (ยมทูต) นักจิตบำบัด" "กระต่ายสังคม และหุ่นยนต์พอลลิเนชัน เทคนิเชียน หมายเลข 7 ในภาคเสริมหลาย ๆ ภาคต่อมาได้มีตัวละครใหม่เช่นในชุดเสริม Holiday Party Pack เพิ่มซานตาคลอส "ฟาเธอร์ไทม์" และ "เบบี้นิวเยียร์" ในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา เพิ่ม มิสซิสครัมเปิลบอทท่อม เธอเป็นที่รู้จักดีในหมู่ชาวซิมส์หัวรุนแรงด้วยกระเป๋าถือของเธอ เธอยังกลับมาในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ ซึ่งถ้าชาวซิมส์ได้รับพรไม่ดีจากบ่อน้ำให้พร เธอจะโผล่ขึ้นมาจากบ่อน้ำเพื่อเยี่ยมเยียนในที่อยู่อาศัยของชาวซิมส์คนนั้น และในภาคเสริม ทริปซ่าส์ ได้มี นักต้มตุ๋นน่ารังเกียจ ที่จะล้วงกระเป๋าชาวซิมส์ ถ้าชาวซิมส์จับได้ ชาวซิมส์สามารถแจ้งตำรวจและตำรวจจะต่อสู้กับเขา
  • สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ : ตัวละครเหล่านี้สามารถควบคุมได้และชาวซิมส์ยังเปลี่ยนร่างเป็นสิ่งมีชีวิตนี้ได้ด้วย พวกนี้จะเป็นชาวซิมส์ที่เป็นร่างเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานและมีความสามารถ พิเศษและพฤติกรรมประหลาด นอกจากวิญญาณที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมนุษย์ต่างดาวที่เป็นชาวซิมส์ปกติที่มีลักษณะแปลก (ตัวสีเขียว และตาสีดำ) ในภาคเสริมหลายภาคได้มีการเพิ่มสิ่งมีชีวิตใหม่ เช่น ซอมบี้ แวมไพร์ หุ่นยนต์เซอร์โว มนุษย์หมาป่า มนุษย์ต้นไม้ซิมส์ ไอ้ตีนโต และพ่อมด แม่มด เป็นต้น

ละแวกเพื่อนบ้าน

[แก้]

ที่ หน้าจอเริ่มต้นเกม ผู้เล่นจะเลือกเข้าละแวกเพื่อนบ้านที่มีไว้ให้เลือกมากมาย ในภาคหลักจะมีให้เลือก 3 ละแวก คือ เพลสเซิลวิลล์ เวโรนาวิลล์ และสเตรจทาวน์ อีกทั้งยังมีตัวเลือกสร้างละแวกเพื่อนบ้านของเราขึ้นมาเองอีกด้วย ละแวกเพื่อนบ้านแต่ละละแวกจะประกอบด้วยละแวกเพื่อนบ้านย่อย ซึ่งแยกออกจากกัน ชาวซิมส์ไม่สามารถย้ายหรือติดต่อกับชาวซิมส์ในละแวกเพื่อนบ้านอื่นได้

ภาคเสริมบางตัวได้เพิ่มละแวกเพื่อนบ้านย่อย ที่ชาวซิมส์สามารถแวะไปเที่ยวได้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ เดอะซิมส์ 2 มหาลัยวัยฝัน เพิ่มพื้นที่ที่เป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งมีให้เฉพาะชาวซิมส์ที่เป็นวัยมหาลัยเท่านั้น ชาวซิมส์สามารถอาศัยอยู่ในบ้านพัก หอพัก หรือสมาคมกรีกในพื้นที่นั้นได้ เดอะซิมส์ 2 ทริปซ่าส์ เพิ่มพื้นที่ที่เป็นสถานที่พักร้อน ซึ่งชาวซิมส์สามารถพักอาศัยอยู่ในโรงแรมหรือบ้านพักตากอากาศได้ เราอาจสร้างมันขึ้นมาเองหรือเล่นจากที่มากับเกมก็ได้

แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีที่ว่างสำหรับที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนกลาง และสิ่งที่เพิ่มมาใหม่ในเดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง คืออพาร์ตเมนต์ ที่อาศัยหลังเดียวกับเพื่อนบ้านที่อาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนและเจ้าของอพาร์เมนต์

พื้นที่อาคาร โหมดซื้อ และโหมดสร้าง

[แก้]

จากหน้ามุมมองละแวกเพื่อนบ้าน ผู้เล่นจะเลือกเล่นสถานที่หนึ่งแห่งเช่นเดียวกับในเดอะซิมส์ภาคแรก ซึ่งจะมีที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลาง ชาวซิมส์จะอาศัยในที่อยู่อาศัย และสามารถออกมาเที่ยวในพื้นที่ส่วนกลางเพื่อซื้อเสบียงอาหาร เสื้อผ้า และนิตยสาร รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับชาวเมือง

ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นในที่อยู่อาศัยที่สร้างไว้แล้ว เคลื่อนย้ายครอบครัวไปไว้ในที่อยู่อาศัย หรือก่อสร้างอาคารบ้านเรือนขึ้นมาในพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดิมที่มีมาตั้งแต่เดอะซิมส์ภาคแรกแล้ว

ผู้เล่นจะเลือก สลับโหมดได้ระหว่างโหมดชีวิต เพื่อควบคุมชาวซิมส์ โหมดซื้อ เพื่อเพิ่ม เคลื่อนย้าย หรือลบสิ่งของ หรือโหมดสร้างเพื่อปรับปรุงแต่งเติมที่อยู่อาศัย สำหรับโหมดซื้อและโหมดสร้างในพื้นที่อยู่อาศัยจะถูกล็อกไว้เมื่อชาวซิมส์แวะ ไปที่นั้น ๆ แต่จะสามารถใช้งานได้เมื่อเข้าจากมุมมองละแวกเพื่อนบ้านโดยตรง

มินิเกม

[แก้]

ตัวเกมยังมีสิ่งที่ท้าทายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะได้รางวัล ชาวซิมส์สามารถจัดงานปาร์ตี้เพื่อได้รับคะแนนปณิธาน หรือการเชิญอาจารย์ใหญ่มาเลี้ยงอาหารมื้อเย็นเพื่อนำเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน นอกจากนี้ ในภาคเสริมต่อ ๆ มายังมีมินิเกมใหม่เพิ่มเข้ามา เช่น การสมัครเข้าสมาคมกรีกในภาคมหาลัยวัยฝัน หรือการออกเดทในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ซึ่งในภาคไนท์ไลฟ์ คืนหรรษานี้ การออกเดทแต่ละครั้งจำเป็นต้องทำให้ชาวซิมส์ทั้งสองฝ่ายมีความสุขทั้งคู่มาก เท่าที่เป็นไปได้ โดยการตอบสนองความปรารถนาของแต่ละฝ่ายเพื่อสะสมคะแนนปณิธาน

ละแวกเพื่อนบ้านที่มีมาให้

[แก้]

ในเกมเดอะซิมส์ 2 แมกซิสได้สร้างละแวกเพื่อนบ้านไว้ 3 ละแวก คือ เพลสเซินท์วิว สเตรนจ์ทาวน์ และเวโรนาวิลล์ ในภาคเสริมต่อมาได้มีละแวกเพื่อนบ้านใหม่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น ริเวอร์บลอสซั่มฮิลล์ ในภาคเสริม สี่ฤดูแสบ เดซิเดอเรต้า วาลเลย์ ในภาคเสริม สนุกจังยามว่าง และ เบลลาดอนน่า โคฟ ในภาคเสริม ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง รวมถึงละแวกเพื่อนบ้านย่อย บลูวอเทอร์วิลเลจ ที่มากับภาคเสริม เปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน และ ดาวน์ทาวน์ ในภาคเสริม ไนท์ไลฟ์ คืนหรรษา ในภาคเสริมบางภาคได้มีการเพิ่มส่วนเสริมพิเศษหรือเพื่อนบ้านใหม่พร้อมข้าวของเครื่องใช้ แต่ละละแวกเพื่อนบ้านจะมีพื้นที่สำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ชาวซิมส์อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยและอาจต่อเติมตกแต่งที่อยู่อาศัย และไปเยี่ยมพื้นที่ส่วนกลาง ที่มีสิ่งสันทนาการต่าง ๆ เช่น สระว่ายน้ำ และร้านขายของ

เพลสเซินท์วิว เป็นละแวกเพื่อนบ้านที่มีตัวละครมากมายจากเดอะซิมส์ภาคแรก สเตรนจ์ทาวน์มีชาวซิมส์ที่เป็นมนุษย์ต่างดาวรวมถึงชาวซิมส์ปกติ และเวโรนาวิลล์จะมีชาวซิมส์ที่อ้างอิงจากผลงานของเชกสเปียร์ โดยเฉพาะ A Midsummer Night's Dream (นามสกุลของครอบครัวนั้นคือ ซัมเมอร์ดรีม) และ โรมิโอกับจูเลียต เวโรนาวิลล์เป็นเมืองที่มีฉากเป็นละคร และตัวละครก็มีนามสกุลตามบทละคร ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่ไม่ถูกกันระหว่าง แคปป์ และมอนตี้ ละแวกเพื่อนบ้านนี้ยังมีตัวละครที่มาจากละครเรื่อง The Tempest King Lear และ Much Ado About Nothing อีกด้วย

ละแวกเพื่อนบ้านที่เพิ่มมากับภาคเสริมจะจำลองส่วนเพิ่มเติมจากภาคเสริมต่าง ๆ กล่าวคือ ริเวอร์บลอสซั่มฮิลล์จะมีสวน และสภาพอากาศ ภูมิประเทศมีลักษณะเหมือนฟาร์ม และบ้านส่วนใหญ่จะดูเหมือนบ้านไร่นา (ฟาร์มเฮ้าส์) เดซิเดอเรต้า วาลเล่ย์ จะมีพื้นที่ส่วนกลางใหม่ เช่น สมาคมลับซึ่งเจาะจงเฉพาะสำหรับงานอดิเรกต่าง ๆ ของชาวซิมส์ เบลลาดอนน่า โคฟ เพิ่มบ้านที่เป็นบ้านพักหรืออพาร์ตเม้นท์ รวมถึงโลกเวทมนตร์ ส่วนบลูวอเทอร์ วิลเลจ ซึ่งเป็นละแวกเพื่อนบ้านย่อยนั้นจะมีในทุกละแวกเพื่อนบ้านหลัก เช่นเดียวกับดาวน์ทาวน์ บลูวอเทอร์ วิลเลจจะมีกลุ่มธุรกิจเล็ก ๆ ที่ชาวซิมส์ซึ่งทำขึ้นโดยชาวซิมส์ในละแวกเพื่อนบ้านนั้น

โหมดซื้อ

[แก้]

โหมด ซื้อเป็นวิธีในการได้มาซึ่งสิ่งของเกือบทั้งหมด ผู้เล่นสามารถเลือกซื้อสิ่งของในหมวดต่างๆที่มีอยู่ในโหมดซื้อได้ตามความ เหมาะสม นอกจากนี้สิ่งของบางอย่างอาจมีหลากหลายสี หลากหลายลวดลายให้เลือก ซึ่งแตกต่างจากเดอะซิมส์ภาคแรก

สิ่งของจากโหมดซื้อแต่ละอย่างจะมี ราคาที่ต่างกันออกไปตามความสามารถในการตอบสนองความต้องการของชาวซิมส์ เช่นเตาแก๊สจะตอบสนองความหิว โถส้วมจะตอบสนองด้านขับถ่าย รูปภาพจะตอบสนองด้านสภาพแวดล้อม และสิ่งของบางอย่างอาจจะช่วยเสริมทักษะให้กับชาวซิมส์ได้ด้วย เช่น เครื่องออกกำลังกาย เมื่อชาวซิมส์ใช้มันก็จะได้ทักษะด้านร่างกายเพิ่มขึ้น เป็นต้น

สิ่งของจากโหมดซื้อจะมีให้เลือกมากมายในเดอะซิมส์ 2 ภาคหลัก และเมื่อทำการติดตั้งภาคเสริมต่อมา ก็จะมีสิ่งของเพิ่มขึ้นอีกมากมายทุกภาค และนอกจากภาคเสริมแล้วยังมีชุดไอเท็มเสริมที่เมื่อทำการติดตั้งแล้ว จะเป็นการเพิ่มสิ่งของในโหมดซื้อและโหมดสร้างมากมาย

โหมดสร้าง

[แก้]

โหมด สร้างในเกมเดอะซิมส์ 2 มีไว้เพื่อให้ผู้เล่นสามารถสร้างหรือตกแต่งตัวบ้าน สวน สระว่ายน้ำ หรือพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น โดยในโหมดสร้างจะมีวิธีใช้คล้ายในโหมดซื้อ แต่ในโหมดนี้จะเป็นโหมดสำคัญ ใช้สำหรับการตกแต่งบ้านให้ดูน่าอยู่ขึ้น โดยในโหมดนี้จะมีโครงสร้างของบ้าน หรือสิ่งต่าง ๆ บริเวณรอบบ้านในความเป็นจริงให้ตกแต่งกันตามใจชอบ เช่น ผนัง ประตู หน้าต่าง บันได สระว่ายน้ำ ต้นไม้ พุ่มไม้ แปลงดอกไม้ วอลเปเปอร์ เป็นต้น

ประวัติที่มาของเกม

[แก้]

การพัฒนา

[แก้]

บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ต (EA Games) ประกาศในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ว่าทางแมกซิสสตูดิโอได้เริ่มพัฒนาตัวเกมเดอะซิมส์ 2[17] โดยตัวเกมนี้ถูกเปิดตัวครั้งแรกที่ (E3 Media and Business Summit) ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2547[17] วิล ไรท์ยอมรับว่าเมื่อความพึงพอใจส่วนใหญ่ของเกมเดอะซิมส์ 2 เป็นความคิดที่แปลกใหม่ ความบันดาลใจสำหรับภาคเสริมและองค์ประกอบของมันเกิดจากความสำเร็จของเกมตัว แรก ผู้คนในสังคมสนใจในเกมเดอะซิมส์ภาคเสริม สัตว์เลี้ยงแสนรู้ ที่มาก่อนแล้ว ตัวอย่าง ทำให้เขาแน่ใจในการที่จะสร้างภาคเสริมเดอะซิมส์ 2 ตัวโปรดจอมป่วนขึ้น และภาคเสริมเดอะซิมส์ วัยวุ่นลุ้นรัก ทำให้เขาคิดจะสร้างภาคเสริมเดอะซิมส์ 2 คืนหรรษาขึ้นเช่นกัน[18]

หลัง จากการพัฒนาจบลง ผู้ออกแบบจากแมกซิสพิจารณาเดอะซิมส์ 2 เหมือนว่าเขาจะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนใจอย่างกะทันหันในระหว่างการสร้าง ข้อผิดพลาดในเกมหรือบั๊กส์ (Bugs) จะปรากฏอย่างชัดเจน และชาวซิมส์อาจจะถูกทำให้บิดเบี้ยว หรือมีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้นอย่างในภาคก่อน[19]

การถกเถียง

[แก้]

เกมเดอะซิมส์ 2 ถูกนำไปสู่การถกเถียงในเรื่องวัตถุสิ่งของจากเว็บไซต์ดาวน์โหลดที่ต้องเสียเงิน และตัวปรับแต่งเกมที่ส่อไปในทางเพศ ตัวปรับแต่งถูกแพร่กระจายผ่านเว็บไซต์ที่เป็นอิสระที่มีการคิดค่าใช้จ่าย สำหรับวัสดุสิ่งของ ซึ่งตัวปรับแต่งบางตัวตั้งใจที่จะเปิดเผยร่างกายชาวซิมส์ที่ส่อทางเพศ

ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แจ็ค ทอมป์สัน ทนายความแห่งฟลอริดา กล่าวหาว่า บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ต และเกมเดอะซิมส์ 2 โปรโมตการเปลือยกายผ่านการใช้ตัวปรับแต่งหรือสูตรโกง การเรียกร้องถูกสร้างขึ้นว่าหัวบริเวณหัวเหน่า ริมฝีปาก และรายละเอียดเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ สามารถมองเห็นได้ทันทีที่การเซ็นเซอร์ถูกลบออก[20] บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตออกประกาศแถลงการณ์ กล่าวว่า เมื่อเซ็นเซอร์ถูกลบออก ตัวชาวซิมส์จะยังคงขาดโครงสร้างที่ชัดเจน คล้ายกับตุ๊กตาบาร์บี้และตุ๊กตาเคน เจฟฟ์ บราวน์ ผู้บริหารบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อาร์ตกล่าวในงานสัมภาษณ์ทางเว็บไซต์เกมสปอต (GameSpot) ว่า:[21]


ความแตกต่างกับเดอะซิมส์ภาคแรก

[แก้]

ระบบการเล่น

[แก้]

ระบบการเล่นมีหลายแบบ แล้วแต่เราจะเลือกเล่น การเล่นเน้นที่จำลองชีวิต โดยคุณอาจสร้างตัวซิมตัวหนึ่งขึ้นมาแล้วสร้างครอบครัวให้อยู่อย่างเรียบง่าย ระบบการเล่นคุณต้องเรียนรู้โดยคลิกที่เรียนรู้เบื้องต้น จะมีหลายระดับ ทั้งขั้นพื้นฐานและการเล่นขั้นสูง ถ้าบางคนจะหางานให้คลิกที่หนังสือพิมพ์แล้วคลิกหางาน จะมีรางวัลอาชีพของแต่ละอาชีพ คุณไม่สามารถได้รางวัลอาชีพได้เลยเมื่อไปถึงขั้นสูงสุดต้องเริ่มแต่ระดับต้นๆ รางวัลปธิธาน คุณต้องทำตามที่วิมต้องการจะมีประติธานต้องการและไม่ต้องการ ปธิธานที่ไม่ต้องการอยู่ด้านล่างถ้าซิมของคุณประติทานต่ำจะมีนักบำบัด ทางผู้เล่นเขาเรียกกันว่า นักบำบัดเป็นแค่ npc ตัวnpcเราไม่สามารถเล่นได้ ถ้าคนเล่นไม่เป็นหรือยากมาก เขาจะใช่สูตรโกง สูตรโกงหาได้ตามเว็บทั่วไป ความรัก คุรจะต้องเริ่มที่ไม่รู้จัก จากนั้นจึงเป็นเพื่อนแล้วก็เป็นคู่รัก คุรไม่สามารถแต่งงานได้ทันที คุณต้องหมั่นก่อนแล้วค่อยแต่งงาน คุรสามารถไปฮานีมูนได้กับคู่รักซิมของคุณ ในขณะเดียวกัน ซิมของคุณไม่สามารถมีลูกได้กับเพศเดียวกัน นี้คือข้อมูลระบบการเล่นเบื้องต้น

การตกแต่งภายในเกม

[แก้]

บอดี้ช็อบคือโปรแกรมสร้างซิม,สัตว์เลี้ยง สุนัข และ แมว,และปรับแต่งสิ่งของ คุณสามารถใช้บอดี้ช็อบได้คือสร้างสายซิมพันธุ์ใหม่ได้ หรือ สร้างโครงการในบอดี้ช็อบจะเชื้อมกับเกมthe sim2ของคุณ

เกมในรูปแบบต่าง ๆ, ชุดรวมและส่วนเสริม

[แก้]

เดอะซิมส์ 2 มีการพอร์ตไปยังเวอร์ชันโอเอสเทนโดย แอสปายร์ และวิดีโอเกมคอนโซลต่าง ๆ เช่น เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์, นินเท็นโด ดีเอสและนินเท็นโด เกมคิวบ์

ภาคเสริม

[แก้]

ภาคเสริมของ เดอะซิมส์ 2 มีการเพิ่มคุณสมบัติและสิ่งของต่าง ๆ เข้าไปในเกม โดยมีการวางจำหน่ายภาคเสริมทั้งหมด 8 ชุดตลอดวงจรชีวิตของเกม โดย เดอะซิมส์ 2 ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง เป็นภาคเสริมชุดสุดท้ายของ เดอะซิมส์ 2

ชื่อ วันวางจำหน่ายในไทย องค์ประกอบหลักที่เพิ่มเข้ามา ละแวกเพื่อนบ้าน NPC ใหม่ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ สายอาชีพใหม่
มหาลัยวัยฝัน
(University)
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 ช่วงวัยมหาลัย (เฉพาะในเขตมหาวิทยาลัย)
อำนาจชักชวน
สมาคมลับ
ความปรารถนาตลอดชีวิต
สาขาวิชาเอกและผลศึกษา
ลาฟีเอสต้า เทค
มหาวิทยาลัยซิมสเตต
อะคาเดมี เลอตูร์
บาริสต้า
บาร์เทนเดอร์
พนักงานทำอาหาร
เชียร์ลีดเดอร์
โค้ช
มาสคอต
อีวิลมาสคอต
ศาสตราจารย์
พวกเปลือยกาย
ซอมบี้ ศิลปิน
นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
ผู้อยู่เหนือธรรมชาติ
ธุรกิจการแสดง
คืนหรรษา
(Nightlife)
19 กันยายน พ.ศ. 2548 การออกเดท/ออกไปเที่ยวนอกบ้าน
ลักษณะที่ฉันชอบ/เกลียด
องศาความปิ๊ง
ปณิธานแห่งความพึงพอใจและเนยแข็งย่าง
พื้นละแวกเพื่อนบ้านแบบพื้นดิน และคอนกรีต
รถยนต์
ดาวน์ทาวน์ ยิปซีจอมจับคู่
บริกร
ผู้ดูแลร้าน
ดีเจ
พ่อครัวในร้านอาหาร
มิสซิส ครัมเปิลบ็อตท่อม
แกรน แวมไพร์
ดิวา/มิสเตอร์บิ๊ก
The Slob
แวมไพร์ ไม่มี
เปิดโลกธุรกิจ เนรมิตฝัน
(Open for Business)
2 มีนาคม พ.ศ. 2549 การทำธุรกิจ
ย่านการค้า
อสังหาริมทรัพย์
เหรียญรางวัลต่างๆ
ลิฟท์
หุ่นยนต์
บลูวอเทอร์ วิลเลจ ผู้สื่อข่าว
ช่างตัดผม
หุ่นยนต์ พนักงานที่จ้าง สามารถเลื่อนขั้นเป็นผู้จัดการ
ตัวโปรดจอมป่วน
(Pets)
18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก หนู
สารานุกรมในเกม
พื้นที่ส่วนกลางใหม่ๆที่มีสัตว์เลี้ยงขาย
ไม่มี เจ้าหน้าที่ควบคุมสัตว์
ครูฝึกสัตว์เลี้ยง
หมาป่า
ตัวสกั๊งค์
มนุษย์หมาป่า สายอาชีพสำหรับสัตว์เลี้ยง:
รักษาความปลอดภัย
ธุรกิจการแสดง
การบริการ
สี่ฤดูแสบ
(Seasons)
1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ฤดูกาล
สภาพอากาศ
เสื้อผ้าชุดกันหนาว
การตกปลา
การตกแต่งสวน
ริเวอร์บลอสซั่ม ฮิลล์ เพนกวิน
ผีเสื้อและหิ่งห้อย
ตัวแทนจากชมรมสวนสวย
มนุษย์ต้นไม้ นักผจญภัย
เกมเมอร์
ดนตรี
กฎหมาย
วารสารและสิ่งพิมพ์
การศึกษา
ทริปซ่าส์
(Bon Voyage)
4 กันยายน พ.ศ. 2550 โรงแรม
สถานที่พักร้อน 3 แห่ง 3 สไตล์
การทักทาย 3 แบบ 3 สไตล์
การขุดหาขุมทรัพย์/หาเปลือกหอย
เกาะทวิกกี้
สามทะเลสาบ
หมู่บ้านทาเคมิซึ
นินจา
ไกด์ทัวร์
นักตุ๋นน่ารังเกียจ
นักพรต
แม่มดฮาร์ท
เจ้าตีนโต
พนักงานบริการในโรงแรม
เชฟประจำซุ้มอาหาร
ผีกัปตันโจรสลัด
นักระบำเพลิง
พนักงานดูแลห้องพัก
พนักงานนวดตัว
เจ้าตีนโต ไม่มี
สนุกจังยามว่าง
(Freetime)
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 งานอดิเรก
กีฬา
บัลเล่ต์
กิจกรรมต่างๆ
การปั้นหม้อ
งานฝีมือ
เดซิเดอเรต้า วาลเล่ย์ สมาชิกชมรมต่างๆ
มิสเตอร์ฮัมเบิล
หัวหน้างานอดิเรก
ผู้ตัดสินรสชาติอาหาร
จินนี่ สมุทรศาสตร์
เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง
ความบันเทิง
การเต้นรำ
สถาปัตยกรรม
ร่วมหอ (ไม่) ลงโรง
(Apartment Life)
22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 อพาร์ทเมนท์
เวทมนตร์คาถา
เพดาน
บันไดหมุน
รูมเมท
เบลาดอนน่า โคฟ พ่อบ้าน
นักแสดงละครใบ้
เจ้าของอพาร์ทเมนต์
เพื่อนร่วมห้อง
รูปปั้นมีชีวิต
นักเต้น
พ่อมด, แม่มด ไม่มี

ชุดไอเท็มเสริม

[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมสำหรับชุดไอเท็มเสริมได้ที่ เดอะซิมส์ 2 ชุดไอเท็มเสริม

ชุดไอเท็มเสริมของเกมเดอะซิมส์ 2 (The Sims 2 Stuff packs) ไม่ใช่ภาคเสริม แต่เป็นภาคพิเศษที่มีไอเทมใหม่ๆเพิ่มขึ้น ผู้เล่นสามารถติดตั้งภาคพิเศษเหล่านี้ได้แต่จำเป็นต้องมีเดอะซิมส์ 2 ภาคหลักอยู่ในเครื่องด้วย ซึ่งชุดไอเท็มเสริมนั้นมีทั้งหมด 10 ชุดได้แก่

  1. เดอะซิมส์ 2 สีสันวันหยุด (The Sims 2: Holiday Edition)
  2. เดอะซิมส์ 2 บ้านแฟนตาซี (The Sims 2: Family Fun Stuff)
  3. เดอะซิมส์ 2 ฮัลโหลไฮโซ (The Sims 2: Glamour Life Stuff)
  4. เดอะซิมส์ 2 แฮปปี้ฮอลิเดย์ (The Sims 2: Festive Holiday Stuff)
  5. เดอะซิมส์ 2 ฟู่ฟ่าปาร์ตี้ (The Sims 2: Celebration! Stuff )
  6. เดอะซิมส์ 2 H&M แฟชันนิสต้า (The Sims 2: H&M Fashion Stuff)
  7. เดอะซิมส์ 2 เก๋ เท่ เซอร์ (The Sims 2: Teen Style Stuff)
  8. เดอะซิมส์ 2 ดีไซน์ห้องครัวแต่งตัวห้องน้ำ (The Sims 2: Kitchen & Bath Interior Design Stuff)
  9. เดอะซิมส์ 2 บ้านนี้มี IKEA (The Sims 2: IKEA Home Stuff)
  10. เดอะซิมส์ 2 แมนชันเคียงสวน (The Sims 2: Mansion & Garden Stuff)

ในปีพ.ศ. 2557 ผู้ผลิตได้ประกาศยุติการพัฒนาระบบออนไลน์และยกเลิกการสนับสนุนอื่นๆ และเปิดให้ผู้ที่เคยซื้อและลงทะเบียนกับ Origin จากเดิม EA manager ได้มีรับเกมในรูปแบบ The Sims 2 Ultimate Collection[22] ที่รวบรวมทุกภาคมาไว้ให้อย่างสมบูรณ์ในรูปแบบภาษาเดิมที่เคยวางจำหน่ายในประเทศนั้น รวมถึงภาษาไทย[23] แต่ด้วยปัญหาทางการเล่นด้านระบบที่แตกต่างกันหลายปีทำให้ต้องใช้เทคนิคในการปรับแต่งข้อมูลเพื่อให้ได้เล่นอย่างสมบูรณ์ [24]

เดอะซิมส์ สตอรี่ส์

[แก้]

เกมชุดเดอะซิมส์ สตอรี่ส์ นั้นเป็นเกมเดอะซิมส์ภาคพิเศษ โดยในภาคนี้ชาวซิมส์ในเกมจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยชาวซิมส์จะมีชื่อและบทบาทในแต่ละตัวละครในโหมดการเล่นใหม่ที่มีชื่อว่า Story Mode หรือโหมดเนื้อเรื่องนั่นเอง ผู้เล่นจะต้องเล่นเป็นชาวซิมส์คนหนึ่ง เล่นตามเนื้อเรื่องที่กำหนด ซึ่งจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคชีวิตต่างๆทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องความรัก และเรื่องมิตรภาพ[25]

นอก จาก Story Mode แล้ว ยังมีโหมด Classic Mode ให้เล่นได้ แต่จะมีเพิ่มเข้ามาคือเมื่อสร้างตัวละครตามที่ต้องการแล้ว เราจะมีจุดมุ่งหมายว่าตัวละครตัวนั้นมีความใฝ่ฝันอะไรอยู่ ซึ่งหน้าที่เราจะต้องทำให้สำเร็จตามฝันให้ได้[25]

ซึ่งการที่จะติดตั้งเดอะซิมส์ภาคนี้ ผู้เล่นสามารถติดตั้งได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งเดอะซิมส์ 2 ภาคหลักก่อน

เดอะซิมส์ สตอรี่ส์ มีให้เลือกเล่นถึง 3 ภาคคือ[25]

  1. เดอะซิมส์ ไลฟ์สตอรี่ (The Sims Life Stories)
  2. เดอะซิมส์ หมาเหมียวสตอรี่ (The Sims Pet Stories)
  3. เดอะซิมส์ โดดเดี่ยวสตอรี่ (The Sims Castaway Stories)

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แอสปายร์ จัดจำหน่ายเกมเวอร์ชันแมคโอเอส

อ้างอิง

[แก้]
  1. Walker, Trey (มีนาคม 22, 2002). "The Sims overtakes Myst". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 20, 2013. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2013.
  2. Thorsen, Tor (พฤศจิกายน 2, 2006). "Sims 3, next-gen Black, new SimCity & LOTR coming". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 1, 2013. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2013.
  3. Orry, James (พฤศจิกายน 3, 2006). "Three new Sims games in development". VideoGamer.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 27, 2013. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2013.
  4. Fahey, Rob (กันยายน 27, 2004). "The Sims 2 sells a million, smashes EA records". GamesIndustry International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 28, 2014. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2013.
  5. "The Sims 2.com - 100 Million Sold". EA. เมษายน 15, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 30, 2008.
  6. "The Sims 2 Reviews". GameRankings. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2008. สืบค้นเมื่อ มกราคม 21, 2008.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ metacritic-reviews
  8. Ku, Andrew (20 March 2012). "The Top 15 Best-Selling PC Games Of All Time". Tom's Hardware. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-30. สืบค้นเมื่อ January 13, 2019.
  9. http://play.tm/wire/click/38373 เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Sims 2 sells a million, smashes EA records
  10. http://www.gamerankings.com/htmlpages2/914811.asp เก็บถาวร 2008-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Sims 2 Reviews
  11. http://planetthesims.gamespy.com/View.php?view=PressReleases.Detail&game=8&id=77 เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bon Voyage Press Release
  12. "The Sims 2.com - 100 Million Sold". EA. 2008-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-23.
  13. "New Ship Date for The Sims 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-02-04.
  14. "The Sims Bustin' Out Designer Diary #3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-06. สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
  15. Adams, Dan (2004-09-10). "The Sims 2 Review". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  16. "The Finale on Simpedia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-20. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  17. 17.0 17.1 "EA Announces Plans For The Sims 2". The Sims 2 Press Release. 2003-05-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
  18. "Will Wright Speaks Simlish". GameSpy. 2005-02-27. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  19. Bradshaw, Lucy (2004-08-31). "Zany Outtakes from the Cutting Room Floor". Maxis, mirrored at GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
  20. CNN (2005-07-28). "'Sims' content criticized". money.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  21. Surette, Tim (2005-07-02). "Sims 2 content "worse than Hot Coffee"". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  22. http://help.ea.com/en/article/the-sims-2-ultimate-collection-faq/
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-25. สืบค้นเมื่อ 2015-02-07.
  24. http://pantip.com/topic/32369607
  25. 25.0 25.1 25.2 Sims Stories (News)