อำเภอเมืองสระแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อำเภอสระแก้ว)
อำเภอเมืองสระแก้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Sa Kaeo
คำขวัญ: 
หลวงพ่อทองคู่เมือง ลือเลื่องน้ำตกปางสีดา
ล้ำค่าธรรมชาติ แหล่งประวัติศาสตร์สระแก้ว-สระขวัญ
สร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภอเมืองสระแก้ว
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภอเมืองสระแก้ว
พิกัด: 13°48′53″N 102°4′19″E / 13.81472°N 102.07194°E / 13.81472; 102.07194
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระแก้ว
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,832.55 ตร.กม. (707.55 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด111,468 คน
 • ความหนาแน่น60.83 คน/ตร.กม. (157.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 27000
รหัสภูมิศาสตร์2701
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้ว ถนนสุวรรณศร ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองสระแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว

ประวัติ[แก้]

ชื่ออำเภอว่า "สระแก้ว" นั้นมีที่มาจากในท้องที่อำเภอมีสระน้ำโบราณอยู่ 2 สระ ได้แก่ "สระแก้ว" และ "สระขวัญ" ซึ่งตามประวัติของจังหวัดสระแก้ว สระน้ำทั้งสองนี้ถือว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากได้นำน้ำจากสระไปใช้ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำทั้งสองสระนี้เรียกกันติดปากว่า สระแก้ว-สระขวัญ

สระแก้วในอดีต (ประมาณ พ.ศ. 2452) มีฐานะเป็น กิ่งอำเภอสระแก้ว อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอเมืองกระบินทร์บุรี จังหวัดกระบินทร์บุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2468 จังหวัดกระบินทร์บุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดปราจิณบุรี กิ่งอำเภอสระแก้วจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอสระแก้ว และยกฐานะเป็น อำเภอเมืองสระแก้ว ในปี พ.ศ. 2536 ตามลำดับ

  • วันที่ - 2452 ยกฐานะตำบลสระแก้ว อำเภอกระบินทร์บุรี ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอสระแก้ว ขึ้นกับอำเภอกระบินทร์บุรี
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสระแก้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลสระแก้ว[1]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสระแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี เป็น อำเภอสระแก้ว[2]
  • วันที่ 5 กันยายน 2515 ตั้งตำบลศาลาลำดวน แยกออกจากตำบลบ้านแก้ง[3]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2519 ตั้งตำบลวังน้ำเย็น แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์ ตั้งตำบลวังสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์ และตั้งตำบลตาหลังใน แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[4]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 แยกพื้นที่ตำบลวังน้ำเย็น ตำบลวังสมบูรณ์ และตำบลตาหลังใน อำเภอสระแก้ว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังน้ำเย็น ขึ้นกับอำเภอสระแก้ว[5]
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลวังน้ำเย็น ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังน้ำเย็น[6]
  • วันที่ 4 พฤษภาคม 2525 ตั้งตำบลสระขวัญ แยกออกจากตำบลสระแก้ว[7]
  • วันที่ 31 มีนาคม 2526 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้ว เป็น อำเภอวังน้ำเย็น[8]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลหนองหว้า แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[9]
  • วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลพระเพลิง แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[10]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลหนองบอน แยกออกจากตำบลท่าแยก[11]
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และกิ่งอำเภอคลองหาด[12]
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาฉกรรจ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเขาฉกรรจ์[13]
  • วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาลำดวน ในท้องที่บางส่วนของตำบลศาลาลำดวน[14]
  • วันที่ 26 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเกษม ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าเกษม[15]
  • วันที่ 2 กันยายน 2536 แยกพื้นที่อำเภอสระแก้ว อำเภอคลองหาด อำเภอตาพระยา อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี มาตั้งเป็น จังหวัดสระแก้ว และเปลี่ยนชื่ออำเภอสระแก้ว เป็นอำเภอเมืองสระแก้ว[16]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลเขาสามสิบ แยกออกจากตำบลเขาฉกรรจ์[17]
  • วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลเขาฉกรรจ์ ตำบลหนองหว้า ตำบลพระเพลิง และตำบลเขาสามสิบ อำเภอเมืองสระแก้ว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ ขึ้นกับอำเภอเมืองสระแก้ว[18]
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2537 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสระแก้ว เป็นเทศบาลเมืองสระแก้ว[19]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2537 จัดตั้งศาลจังหวัดสระแก้ว[20]
  • วันที่ 26 กันยายน 2540 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอเมืองสระแก้ว เป็น อำเภอเขาฉกรรจ์[21]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศาลาลำดวน และสุขาภิบาลท่าเกษม เป็นเทศบาลตำบลศาลาลำดวน และเทศบาลตำบลท่าเกษม ตามลำดับ


สระแก้ว-สระขวัญ (สวนสาธารณะสระแก้ว-สระขวัญ) จุดกำเนิดชื่อจังหวัดสระแก้ว ที่ตั้ง : ถนนเทศบาล2 ข้างสำนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว


ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเมืองสระแก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองสระแก้วประกอบไปด้วย 8 ตำบล 129 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[22]
1. สระแก้ว Sa Kaeo
18
20,586
2. บ้านแก้ง Ban Kaeng
16
13,479
3. ศาลาลำดวน Sala Lamduan
15
13,526
4. โคกปี่ฆ้อง Khok Pi Khong
19
12,881
5. ท่าแยก Tha Yaek
15
12,749
6. ท่าเกษม Tha Kasem
13
14,236
7. สระขวัญ Sa Khwan
21
16,517
8. หนองบอน Nong Bon
12
7,571

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

อำเภอเมืองสระแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสระแก้วและบางส่วนของตำบลท่าเกษม
  • เทศบาลตำบลท่าเกษม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าเกษม
  • เทศบาลตำบลศาลาลำดวน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศาลาลำดวน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระแก้ว (นอกเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแก้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลำดวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาลำดวน (นอกเขตเทศบาลตำบลศาลาลำดวน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกปี่ฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกปี่ฆ้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแยก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแยกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเกษม (นอกเขตเทศบาลเมืองสระแก้วและเทศบาลตำบลท่าเกษม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระขวัญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระขวัญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนทั้งตำบล

การศึกษา[แก้]

มัธยมศึกษา
อุดมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา

การสาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ถนนสุวรรณศร ตำบาลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ภาพมุมสูงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ถนนสุวรรณศร ตำบาลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดสระแก้ว (พระอารามหลวง) เป็นวัดที่เก่าแก่ในตัวเมืองสระแก้ว เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2453 ระยะเวลาในการสร้างรวมแล้วประมาณ 13 ปี ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๒๒ ถนนสุวรรณศร ตำบลสระแก้ว เทศบาลเมืองสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว บันเป็นวัดสระแก้ว ถือเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เดิมวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดสระแก้วในปัจจุบัน ประมาณ ๕๐๐ เมตร โดยวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ติดกับหนองน้ำด้านทิศตะวันออก โดยมีเนื้อที่ ๓ ไร่เศษ จึงถูกเรียกว่า“วัดหัวหนอง,วัดศาลานอก” (ปัจจุบันหนองน้ำดังกล่าวได้เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โดยสันนิษฐานว่า“วัดหัวหนอง” หรือ“วัดสระแก้ว”ในปัจจุบันได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ วัดสระแก้วถือว่าเป็นวัดราษฎร์ ที่ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้รับการยกย่องเป็น วัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น สำนักเรียนดีเด่น เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมของอำเภอเมือง ปัจจุบันเป็นศูนย์หลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มีผู้เรียนที่เป็นพระสังฆาธิการจำนวน ๔๐ รูป เป็นศูนย์เปิดสอนการศึกษาสายสามัญของพระภิกษุในอำเภอเมืองอีกด้วย ด้านอาคารสถานที่ มีห้องโถงที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากกว่า ๒๐๐ คน และมีห้องน้ำสะอาด ปลอดภัยกลางใจเมืองสระแก้ว
  • สระแก้ว-สระขวัญ ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะสระแก้ว-สระขวัญ เชื่อว่าสระนี้เป็นสระที่ใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยกรุงธนบุรี
  • อุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 41 ของประเทศไทย และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

และสัตว์ป่ามากมายกว่า 300 ชนิด

  • อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก อ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงาม บรรยากาศร่มรื่น
  • "'โรงเรียนกาสรกสิวิทย์'" เป็นโครงการพระราชดำริในมูลนิธิชัยพัฒนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และได้พระราชทานชื่อว่า "โรงเรียนกาสรกสิวิทย์" โดยให้เป็นศูนย์การอบรมกระบือในการทำนา ทำการเกษตร และกิจกรรมต่างๆ และให้ความรู้แก่เกษตรกรที่สนใจจะใช้ประโยชน์จากกระบือในการประกอบอาชีพ รวมทั้งจัดทำแปลงสาธิตทางการเกษตรรูปแบบต่างๆ
  • ศาลหลักเมืองจังหวัดสระแก้ว จัดสร้างตามแบบมาตรฐานของกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร รูปแบบเป็นปรางค์องค์ใหญ่กว้าง 6.60 เมตร สูง 19.10 เมตร และปรางค์ 4 ทิศโดยรอบ ภายในศาลประดิษฐานเสาหลักเมืองซึ่งเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่มีคุณลักษณะต้องตาม โบราณราชประเพณี ขนาดเส้นรอบวงที่โคนต้น 120 นิ้ว สูง 229 นิ้ว และแผ่นทองดวงเมืองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539 และมีการประกอบพิธียกเสาหลักเมืองขึ้นประดิษฐานในศาลเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2539 ศาลหลักเมืองสระแก้วแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 และเป็นศูนย์รวมขวัญกำลังใจ ความสามัคคีในหมู่พสกนิกรชาวสระแก้ว

การเดินทางไปศาลหลักเมืองจังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 33 จากตัวเมืองไปทางอำเภอวัฒนานครประมาณ 4 กิโลเมตร ทางซ้ายมือ ณ ปริมณฑลสวนกาญจนภิเษก ตำบลท่าเกษม

  • อุทยานพุทธมณฑลสระแก้ว ฉลองพุทธยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวามหาราช และเป็นศูนย์รวมจิตใจสะท้อนความเป็นจังหวัดสระแก้ว
  • ศาลเจ้าพ่อสระแก้ว ข้างสวนสาธารณะสระแก้ว-สระขวัญ
  • รูปเหมือนสมเด็จฯพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี (พฺรหฺมรํสี) องค์ใหญ่ที่สุดในโลก วัดรีนิมิตร ต.บ้านแก้ง
  • หลวงพ่อพระโลกธาตุหยกขาว เกพลิตาโพธิวิหาร เกพลิตาโพธิวิหาร” เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระโลกธาตุหยกขาว” ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “พระพุทธรัตนสราบูรพาสิริ” อันมีความหมายว่า “พระพุทธรูปอันเป็นมิ่งมงคลแห่งเบื้องบูรพาของจังหวัดสระแก้ว” นับตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
  • หอสมุดจังหวัดสระแก้ว หอสมุดจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นตามนโยบายของนางอุไรวรรณ เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้มีการจัดตั้งหอสมุดจังหวัดสระแก้วขึ้นเพื่อแหล่ง ค้นคว้าและเรียนรู้ตามอัธยาศัยของนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้จัดสร้างหอสมุดจังหวัดสระแก้วขึ้น บนพื้นที่ ๑๐ ไร่ ใช้งบประมาณ ทั้งสิ้น ๓๙,๔๒๐,๐๐๐ บาท ลักษณะอาคารแบบทรงไทยประยุคต์ ๒ ชั้น ๔ หลังเชื่อมติดกัน ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) บ้านหนองนกเขา ต.ท่าเกษม
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว ให้บริการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ใน ๙ จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีกิจกรรมที่ให้บริการ ๔ กิจกรรมหลัก ได้แก่ การให้บริการนิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์, การให้บริการค่ายวิทยาศาสตร์, การให้บริการกิจกรรมการศึกษา เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมการประกวด การแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ โครงงานทางวิทยาศาสตร์, การให้บริการวิชาการ เช่น การอบรมครู นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้แบบเปิดเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย
  • เมืองโบราณ มีการขุดพบเมืองโบราณอายุราว 1,000-1,500 ปี หรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่หมู่ 13 บ้านโคกสัมพันธ์ ต.ท่าเกษม

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสระแก้ว กิ่งอำเภอสระแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
  2. [2] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑
  3. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  4. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  5. [5] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเย็น
  6. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวังน้ำเย็น กิ่งอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  8. [8] เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเทพสถิต อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเนินมะปราง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอเสนางคนิคม พ.ศ. ๒๕๒๖
  9. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี
  10. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสระแก้วและอำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี
  11. [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  12. [12]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอสระแก้ว อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร และกิ่งอำเภอคลองหาด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๕๒๙
  13. [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาฉกรรจ์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  14. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาลำดวน อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  15. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเกษม อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  16. [16] เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๖
  17. [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
  18. [18] เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์
  19. [19]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๗
  20. [20]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๗
  21. [21] เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐
  22. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.