ความภูมิใจแห่งตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสังคมวิทยาและจิตวิทยา ความภูมิใจในตน หรือ ความภูมิใจแห่งตน[1] หรือ การเคารพตนเอง[2] หรือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง (อังกฤษ: self-esteem) เป็นการประเมินคุณค่าตนเองโดยทั่วไปที่เป็นอัตวิสัยและอยู่ในใจ เป็นทั้งการตัดสินและทัศนคติต่อตนเอง ความภูมิใจในตนอาจรวมความเชื่อ (เช่น ฉันเก่ง ฉันมีคุณค่า) และอารมณ์ความรู้สึก เช่น การได้ชัยชนะ ความซึมเศร้า ความภูมิใจ และความอับอาย[3] หนังสือปี 2550 ให้คำนิยามว่า "ความภูมิใจในตนเป็นการประเมินในเชิงบวกหรือเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง คือ เรารู้สึกกับตัวเองอย่างไร"[4]: 107  เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา (psychological construct) ที่น่าสนใจเพราะว่านักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นตัวพยากรณ์ที่ทรงอิทธิพลต่อผลบางอย่าง เช่น การเรียนเก่ง[5][6] ความสุข[7] ความพึงพอใจในชีวิตแต่งงานและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น[8] และพฤติกรรมอาชญากรรม[8] ความภูมิใจอาจจะเป็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ (เช่น ฉันเชื่อว่าฉันเป็นนักเขียนที่ดีและมีความสุขเพราะเหตุนั้น) หรืออาจเป็นการประเมินรวม (เช่น ฉันเชื่อว่าฉันเป็นคนไม่ดี และรู้สึกไม่ดีกับตนเองโดยทั่วไป) นักจิตวิทยามักจะพิจารณาความภูมิใจในตนว่าเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่คงยืน (คือเป็น trait) แม้ว่า สภาวะที่ชั่วคราวและเป็นเรื่องปกติ (คือเป็น state) ก็มีด้วยเหมือนกัน ไวพจน์ของคำภาษาอังกฤษว่า self-esteem รวมทั้ง self-worth (การเห็นคุณค่าของตน)[9] self-regard (การนับถือตน)[10] และ self-respect (ความเคารพในตน)[11]

ประวัติ[แก้]

การระบุความภูมิใจในตนโดยเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาเชื่อว่าเริ่มจากงานของ นพ. วิลเลียม เจมส์[12] คือคุณหมอเจมส์ได้ระบุด้านต่าง ๆ ของอัตตา (self) โดยมีลำดับชั้นสองชั้น คือ กระบวนการรู้ (เรียกว่า 'I-self') และความรู้เกี่ยวกับตนที่เป็นผล (เรียกว่า 'Me-self' ) สังเกตการณ์และการเก็บข้อมูลของ I-self สร้างความรู้ 3 ประเภท ซึ่งรวมกันเป็น Me-self 3 ประเภทคือ ความรู้เรื่องตนทางกาย ตนทางสังคม และตนทางจิตวิญญาณ ตนทางสังคมเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดกับความภูมิใจในตนเอง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ ที่คนอื่นเห็น ส่วนตนทางกายเป็นตัวแทน (representation) ของร่างกายและทรัพย์สมบัติ ตนทางจิตวิญญาณเป็นตัวแทนแบบพรรณนา (descriptive representations) และเป็นลักษณะที่ได้ประเมิน (evaluative dispositions) เกี่ยวกับตน และมุมมองว่าความภูมิใจในตนเป็นทัศนคติเกี่ยวกับตนโดยรวม ๆ ก็ยังคงอยู่ทุกวันนี้[12]

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการพฤติกรรมนิยมได้หลีกเลี่ยงการศึกษากระบวนการทางจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ที่ต้องมองเข้าข้างใน แล้วใช้การศึกษาแบบปรวิสัยผ่านการทดลองทางพฤติกรรมที่สังเกตเห็นสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เพราะว่า พฤติกรรมนิยมมีความคิดว่ามนุษย์ก็เหมือนสัตว์อย่างอื่นที่ตกอยู่ในกฎการเสริมแรง และเสนอเปลี่ยนจิตวิทยาให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่อาศัยหลักฐานการทดลอง คล้ายกับเคมีหรือชีววิทยา โดยเป็นผลความคิดเช่นนี้ การทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับความภูมิใจในตนจึงได้ความสนใจน้อย เพราะว่านักพฤติกรรมนิยมคิดว่า เป็นประเด็นที่ทดสอบด้วยการวัดได้ไม่ดี[13]

ต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพิ่มความนิยมของปรากฏการณ์วิทยาและจิตวิทยามนุษยนิยม ได้สร้างความสนใจเกี่ยวกับความภูมิใจในตนอีกครั้งหนึ่ง ความภูมิใจในตนพบว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงศักยภาพของตน (self-actualization) และในการรักษาความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ นักจิตวิทยาได้เริ่มพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจิตบำบัดกับความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลที่ภูมิใจในตนสูง ว่าเป็นประโยชน์ในการรักษา จึงได้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งเสริมเติมต่อแนวคิดเรื่องความภูมิใจในตน รวมทั้งการช่วยให้เข้าใจเหตุผลว่า ทำไมบางคนจึงมักจะรู้สึกว่าตนมีคุณค่าน้อย และการเข้าใจว่าทำไมบางคนจึงท้อถอยและไม่สามารถเข้าใจปัญหาความท้าทายด้วยตนเอง[13]

ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 นักสังคมวิทยาคนหนึ่ง (Morris Rosenberg) จึงนิยามคำนี้ว่าเป็นความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และได้พัฒนาแบบวัด Rosenberg self-esteem scale (RSES) ซึ่งกลายเป็นแบบวัดความภูมิใจที่ใช้มากที่สุดในสังคมศาสตร์[14]

ในปัจจุบัน ทฤษฎีการประเมินตัวเองหลัก (core self-evaluations ตัวย่อ CSE) รวมความภูมิใจในตนว่าเป็นมิติ 1 ใน 4 มิติที่บุคคลประเมินตัวเอง รวมทั้ง locus of control, neuroticism, และความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy)[15] โดยทฤษฎีตรวจดูเป็นครั้งแรกในปี 2540[15] และตั้งแต่นั้นได้พิสูจน์ว่า สามารถพยากรณ์ผลการทำงานหลายอย่าง โดยเฉพาะก็คือความพอใจในงานและประสิทธิภาพการทำงาน[15][16][17][18][19] ความภูมิใจในตนจริง ๆ แล้วอาจเป็นมิติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในทฤษฎี CSE เพราะเป็นคะแนนประมวลความรู้สึกที่มีแก่ตนเอง[18]

ผลต่อนโยบายของรัฐ[แก้]

มีองค์กรทั้งของรัฐและนอกภาครัฐที่รับรองความสำคัญของความภูมิใจในตนเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จนเรียกได้ว่ามีขบวนการภูมิใจในตนได้เกิดขึ้น[7][20] ขบวนการนี้ได้ใช้เป็นหลักฐานว่า งานวิจัยทางจิตวิทยาสามารถมีผลต่อนโยบายของรัฐ ไอเดียหลักของขบวนการก็คือว่า ความภูมิใจในตนต่ำเป็นมูลรากปัญหาของบุคคล จึงเป็นมูลรากปัญหาสังคมด้วย ผู้นำขบวนการนักจิตบำบัดคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ผมไม่สามารถคิดถึงปัญหาทางจิตใจเพียงอย่างเดียวเริ่มตั้งแต่ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า ความกลัวความใกล้ชิดและความสำเร็จ จนถึงการตีคู่ชีวิตและทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก ที่ไม่สามารถสืบสายไปยังปัญหาการมีความภูมิใจในตนต่ำได้"[7]: 3  แต่ว่าความภูมิใจในตนเชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของโลกตะวันตกที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากว่า ความภูมิใจในตนต่ำไม่เป็นปัญหาในประเทศที่เน้นผลส่วนรวมเช่นญี่ปุ่น[21]

แนวคิดเรื่องปัญหาที่เกิดจากการมีความภูมิใจในตนต่ำทำให้สมาชิกสภารัฐแคลิฟอร์เนียคนหนึ่งจัดตั้ง "คณะทำงานเฉพาะกิจในเรื่องความภูมิใจในตนและความรับผิดชอบส่วนตัวและทางสังคม" ขึ้นในปี 2529 โดยเชื่อว่า คณะทำงานจะสามารถสู้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐเริ่มตั้งแต่อาชญากรรม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จนถึงปัญหาการเรียนไม่ดีและมลภาวะ[7] แล้วเปรียบเทียบการเพิ่มความภูมิใจในตนว่าเหมือนให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค คือสามารถช่วยป้องกันประชาชนจากความรู้สึกเหมือนถูกถล่มท่วมทับโดยปัญหาชีวิต คณะทำงานได้จัดตั้งคณะวิชาการเพื่อทบทวนวรรณกรรมในเรื่องความภูมิใจในตน แต่ว่า คณะนักวิชาการกลับพบความสัมพันธ์น้อยมากระหว่างความภูมิใจในตนต่ำและผลที่อ้างว่ามี ซึ่งเป็นหลักฐานว่า การมีความภูมิใจในตนต่ำไม่ใช่รากปัญหาทางสังคมทั้งหมด และไม่สำคัญเท่าที่คิดแต่ตอนแรก แต่ว่า ผู้เขียนรายงานนี้ก็ยังเชื่อว่า ความภูมิใจในตนเป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อปัญหาสังคมใหญ่ ๆ คณะทำงานสลายตัวในปี 2538 แล้วจึงมีการจัดตั้งองค์กรที่มีจุดประสงค์เดียวกันต่อ ๆ มา โดยในที่สุดเป็น National Association for Self-Esteem (NASE)[7]

ทฤษฎี[แก้]

ทฤษฎีในตอนต้นหลายทฤษฎีเสนอว่า ความภูมิใจในตนเป็นความต้องการหรือแรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ ศาสตราจารย์นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ดร. อับราฮัม มาสโลว์ รวมความภูมิใจในตนเป็นส่วนของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของเขา โดยแยกแยะความภูมิใจสองอย่าง คือ ความต้องการได้ความยอมรับนับถือจากผู้อื่น และการเคารพตนเองในรูปการรักตัวเอง, ความมั่นใจในตน, ทักษะหรือความสามารถ[22] แต่ว่า ความนับถือจากผู้อื่นเชื่อว่าเปราะบางกว่าและเสียไปได้ง่ายกว่าการเคารพตนเอง ตาม ดร. มาสโลว์ ถ้าไม่ได้ความภูมิใจในตนตามที่จำเป็น บุคคลนั้นก็จะพยายามหามันและไม่สามารถพัฒนาให้ถึงศักยภาพของตนได้ และความภูมิใจที่ดีที่สุดก็คือที่เราได้จากผู้อื่นอย่างสมควรจะได้ ซึ่งเป็นอะไรที่มากกว่าชื่อเสียงหรือคำยกยอ

ส่วนทฤษฎีต่าง ๆ ในปัจจุบันตรวจสอบเหตุผลว่าทำไมมนุษย์จึงมีแรงจูงใจให้ดำรงการเคารพตนไว้ในระดับสูง มีทฤษฎี (Sociometer theory) ที่อ้างว่า ความภูมิใจในตนวิวัฒนาการขึ้นเพื่อเช็คสถานะทางสังคมและการยอมรับของกลุ่มสังคม ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่ง (Terror Management Theory) อ้างว่า ความภูมิใจในตนมีหน้าที่ป้องกันและลดระดับความวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตและความตาย[23]

ความภูมิใจในตนเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่ามันสะท้อนให้เห็นว่าเรามองทั้งตัวเองและค่านิยมส่วนตัวอย่างไร ดังนั้นจึงมีผลกับเราและพฤติกรรมที่เรามีสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ[13] ส่วน ศ. ดร. คารล์ รอเจอร์ส (2445 - 2530) ผู้โปรโหมตจิตวิทยามนุษยนิยม สันนิษฐานว่า รากฐานปัญหาหลายอย่างของมนุษย์มาจากการเกลียดตัวเอง และการมองตัวเองว่าไม่มีคุณค่าและเป็นคนที่ใคร ๆ รักไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาเชื่อถึงความสำคัญในการยอมรับคนไข้อย่างไม่มีข้อแม้ ซึ่งเมื่อทำได้ ก็จะปรับความภูมิใจในตนของคนไข้[13] ดังนั้น ในช่วงการบำบัดคนไข้ของเขา เขาจะให้ความนับถือแก่คนไข้ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร[24] จริงเช่นนั้น ต่อจากนั้นจิตวิทยามนุษยนิยมจึงมองความภูมิใจในตนว่าเป็นสิทธิที่โอนให้กันไม่ได้สำหรับทุกคน ดังสรุปดังต่อไปนี้

การวัด[แก้]

ความภูมิใจปกติวัดโดยใช้แบบวัดที่ผู้ได้วัดรายงานเอง แบบที่ใช้มากที่สุดคือ RSES (Rosenberg, 2508) เป็นแบบวัด 10 คำถามที่ให้ผู้รับการวัดบ่งระดับที่ตนเห็นด้วยกับคำถามเกี่ยวกับตนเอง ส่วนแบบวัดทางเลือก คือ The Coopersmith Inventory มี 50 คำถามเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ และถามผู้รับการวัดว่าตนคิดว่าบุคคลอื่นเหมือนหรือไม่เหมือนกับตนมากแค่ไหน[25] ถ้าได้คะแนนที่แสดงว่านับถือตนเองอย่างชัดเจน แบบวัดมองผู้รับการวัดว่าปรับตัวเข้ากับชีวิตได้ดี ถ้าคะแนนแสดงว่ารู้สึกละอายใจ ก็จะพิจารณาว่าเสี่ยงต่อการมีความผิดปกติทางสังคมบางอย่าง[26]

ส่วนแบบวัดโดยนัย (implicit measure) เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[27] ซึ่งอาศัยการวัดการประมวลการรู้คิด (cognitive processing) ที่เชื่อว่าสัมพันธ์โดยนัยกับความภูมิใจในตน รวมทั้งการวัดโดยงานเช่น Name letter effect (ที่บุคคลชอบใจอักษรที่อยู่ในชื่อของตนมากกว่าอักษรอื่น ๆ[28])[29] และการวัดโดยอ้อมเช่นนี้ออกแบบเพื่อให้ลดความสำนึกว่ากำลังได้รับการประเมินเรื่องอะไร

เมื่อวัดความภูมิใจโดยอ้อม นักจิตวิทยาจะแสดงสิ่งเร้าที่เกี่ยวกับตนกับผู้รับการวัดและวัดว่า บุคคลจะสามารถระบุสิ่งเร้าอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบได้เร็วขนาดไหน[30] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหญิงได้สิ่งเร้าว่า "หญิง" และ "มารดา" นักจิตวิทยาจะวัดว่าเธอสามารถระบุคำเชิงลบ คือ "ชั่วร้าย (evil)" หรือระบุคำเชิงบวก คือ "ใจดี (kind)" ได้เร็วขนาดไหน

พัฒนาการในชีวิต[แก้]

ประสบการณ์ในชีวิตมีผลต่อพัฒนาการของความภูมิใจในตนอย่างสำคัญ[7] ในชีวิตระยะต้น ๆ พ่อแม่มีอิทธิพลสำคัญต่อความภูมิใจในตนและพิจารณาว่าเป็นสาเหตุของประสบการณ์ทั้งเชิงบวกเชิงลบที่เด็กจะมี[31] ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขจากพ่อแม่ช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกว่ามีคนห่วงใยและนับถือ ซึ่งมีผลต่อความภูมิใจในตนเมื่อเด็กโตขึ้น[32]

เด็กประถมที่ภูมิใจในตนสูงมักจะมีพ่อแม่ที่เด็ดขาดแต่เป็นห่วง ช่วยเหลือสนับสนุน ตั้งขอบเขตพฤติกรรมให้แก่เด็ก และให้ออกความเห็นเมื่อตัดสินใจ แม้ว่างานศึกษาจะแสดงเพียงแค่ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างสไตล์ความเป็นพ่อแม่แบบให้ความอบอุ่น ช่วยเหลือสนับสนุน (โดยหลักคือแบบ authoritative และ permissive) กับเด็กมีความภูมิใจสูง แต่ว่าสไตล์ความเป็นพ่อแม่เช่นนี้สามารถมองได้ว่าเป็นเหตุพัฒนาการทางความภูมิใจในตนของเด็ก[31][33][34][35] ประสบการณ์วัยเด็กที่ทำให้เกิดความภูมิใจรวมทั้งพ่อแม่ฟัง พ่อแม่พูดด้วยดี ๆ ได้รับความเอาใจใส่และความรัก มีการแสดงคุณค่าต่อความสำเร็จ และสามารถยอมรับความผิดพลาดและความล้มเหลว ประสบการณ์ที่ทำให้ภูมิใจในตนต่ำรวมทั้ง ถูกด่าว่าอย่างรุนแรง ถูกทารุณกรรมไม่ว่าจะทางกาย ทางเพศ หรือทางอารมณ์ ไม่ได้รับความเอาใจใส่ ถูกหัวเราะเยาะ ถูกล้อ หรือหวังให้เพอร์เฝ็กต์ตลอดเวลา[36]

ในช่วงที่อยู่ในโรงเรียน การเรียนได้ดีจะเป็นตัวช่วยสร้างความภูมิใจในตน[7] เด็กที่เรียนดีตลอดหรือเรียนตกตลอดจะมีผลสำคัญต่อความภูมิใจในตน[37] ประสบการณ์ทางสังคมจะเป็นตัวช่วยความภูมิใจในตนอีกอย่างหนึ่ง ในขณะที่เติบโตผ่านวัยเรียน เด็กจะเริ่มเข้าใจและรู้จักความแตกต่างของตัวเองกับเพื่อน โดยเปรียบเทียบกับเพื่อน เด็กจะประเมินว่าตนทำได้ดีกว่าหรือแย่กว่าเพื่อนในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความภูมิใจในตน และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกดีชั่วที่มีต่อตัวเอง[38][39]

เมื่อถึงวัยรุ่น อิทธิพลจากเพื่อนจะสำคัญมากยิ่งขึ้น วัยรุ่นประเมินตัวเองโดยความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ใกล้ชิด[40] การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ๆ สำคัญมากต่อพัฒนาการของความภูมิใจในตนในเด็ก เพราะการได้ความยอมรับจากเพื่อนทำให้เกิดความั่นใจและความภูมิใจ เทียบกับการไม่ยอมรับที่ทำให้เหงา ไม่มั่นใจในตน และภูมิใจในตนต่ำ[41]

เด็กวัยรุ่นจะมีความภูมิใจในตนสูงขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวัยกลางคน[8] แต่จากวัยกลางคนจึงถึงวัยชรา ความภูมิใจจะตกลงแม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าตกน้อยหรือตกมาก[8] เหตุผลที่แปรไปเช่นนี้อาจเป็นเพราะปัญหาสุขภาพ สมรรถภาพทางการรู้คิด และฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจในวัยชรา[8]

ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเพศในเรื่องพัฒนาการทางความภูมิใจในตน[8] งานศึกษาตามรุ่นแสดงว่า ไม่มีความแตกต่างกันในวิถีการดำเนินของความภูมิใจตลอดชั่วชีวิตระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การให้เกรดสูงขึ้นในสถาบันศึกษา หรือสื่อทางสังคม (social media)[8]

ความชำนาญสูง การไม่ทำอะไรเสี่ยง ๆ และสุขภาพที่ดีกว่าเป็นตัวพยากรณ์ความภูมิใจในตนที่สูงกว่า ในเรื่องบุคลิกภาพ คนที่มีอารมณ์เสถียร คนที่สนใจสิ่งภายนอก และคนที่พิถีพิถัน ภูมิใจในตนสูงกว่า[8] ตัวพยากรณ์เหล่านี้แสดงว่า ความภูมิใจในตนมีลักษณะที่ยั่งยืน (เป็น trait) ที่คงยืนเหมือนกับทั้งบุคลิกภาพและเชาวน์ปัญญา[8] แม้ว่า นี่จะไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถเปลี่ยนได้[8]

ในสหรัฐอเมริกา วัยรุ่นเชื้อสายละตินอเมริกา/สเปนจะมีความภูมิใจในตนที่ต่ำกว่าวัยรุ่นเชื้อสายแอฟริกาและคนขาว แต่จะเพิ่มสูงกว่าเล็กน้อยโดยอายุ 30 ปี[42][43] ส่วนคนเชื้อสายแอฟริกาเพิ่มความภูมิใจในตนอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เบื้องต้นเทียบกับคนขาว แต่ว่า ในช่วงวัยชราก็จะประสบการลดความภูมิใจที่รวดเร็วกว่า[8]

ความอับอาย[แก้]

ความอับอายอาจมีบทบาทในผู้ที่มีปัญหาความภูมิใจต่ำ[44] ความอับอายจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รู้สึกลดคุณค่าทางสังคม เช่นเมื่อได้การประเมินทางสังคมที่ไม่ดี (เช่น คนวิจารณ์) ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพทางจิตใจที่บ่งการลดความภูมิใจในตนและการเพิ่มความอับอาย[45] โดยอาจบรรเทาได้โดยให้เห็นใจ/มีกรุณาต่อตนเอง[46]

ตนจริง ๆ, ตนในอุดมคติ, ตนที่ขยาด[แก้]

มีพัฒนาการการประเมินตัวเอง 4 ระดับโดยสัมพันธ์กับตนจริง ๆ (real self) ตนในอุดมคติ (ideal self) และตนที่ขยาด (dreaded self)[47] คือ

  1. ระยะการตัดสินดีชั่ว (Moral Judgment) - บุคคลจะระบุตนจริง ๆ ตนในอุดมคติ และตนที่ขยาด ด้วยคำเรียกทั่ว ๆ ไป เช่น "ดี" หรือ "ไม่ดี" โดยระบุถึงตนอุดมคติและตนจริง ๆ โดยแนวโน้มการกระทำหรือนิสัย และมักระบุตนที่ขยาดว่าไม่เก่งหรือมีนิสัยไม่ดี
  2. ระยะพัฒนาอัตตา (Ego Development) - บุคคลจะระบุตนอุดมคติและตนจริง ๆ โดยลักษณะคงยืน (trait) ตามทัศนคติและตามการกระทำ และระบุตนที่ขยาดว่าไม่เก่งตามเกณฑ์สังคมหรือว่าเห็นแก่ตัว
  3. ระยะเข้าใจตนเอง (Self-Understanding) บุคคลระบุตนอุดมคติและตนจริง ๆ ว่ามีเอกลักษณ์หรือลักษณะนิสัยเป็นอันเดียวกัน และระบุตนที่ขยาดว่า ล้มเหลวที่จะมีชีวิตตามอุดมคติหรือตามบทบาทที่คาดหวัง โดยบ่อยครั้งเพราะมีปัญหาจริง ๆ ระดับนี้จะรวมเอาการตัดสินดีชั่วที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นที่ครอบคลุมมากขึ้น เป็นระยะที่ความภูมิใจในตนอาจเสียหายเพราะไม่รู้สึกว่าตนเองทำได้ตามที่คาดหวัง ความรู้สึกเช่นนี้จะมีผลต่อความภูมิใจในตนพอสมควร โดยมีผลยิ่งกว่าเมื่อเชื่อว่าตนกำลังกลายเป็นตนที่ขยาด[47]
ปิรามิดของ ศ. ดร. มาสโลว์

ขั้นล่างสุด (สีส้ม) รวมอาหาร น้ำ เพศสัมพันธ์ การนอนหลับ ภาวะธำรงดุล และการขับถ่าย ขั้นสอง (สีแดงอมส้ม) รวมความปลอดภัยทางกาย ทางการงาน ทางทรัพยากรที่มี ทางศีลธรรม ทางครอบครัว ทางสุขภาพ และทางทรัพย์สมบัติ ขั้นสาม (สีเขียว) รวมเพื่อน ครอบครัว และความสัมพันธ์ทางเพศที่ดี ขั้นสี่ (สีม่วง) รวมความภูมิใจในตน ความมั่นใจ ความสำเร็จ การนับถือผู้อื่น และความนับถือจากผู้อื่น ขั้นห้า (สีน้ำเงิน) รวมศีลธรรม ความสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่นโดยทำอะไรได้ทันที (spontaneity) การแก้ปัญหา การไร้ความเดียดฉันท์ และการยอมรับความจริง

ประเภท[แก้]

ความภูมิใจในตนสูง[แก้]

บุคคลที่ภูมิใจในตนในระดับดีจะ[48]

  • เชื่อมั่นในค่านิยมและหลักการบางอย่าง และพร้อมจะปกป้องมันเมื่อเจอความเป็นปฏิปักษ์ โดยรู้สึกปลอดภัย/มั่นใจพอที่จะเปลี่ยนมันได้เมื่อได้ประสบการณ์ใหม่[13]
  • สามารถทำตามแผนที่ตนคิดว่าเป็นทางดีที่สุด เชื่อการตัดสินใจของตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดถ้าคนอื่นไม่ชอบ[13]
  • ไม่เสียเวลากังวลเรื่องที่เกิดในอดีตมาเกินไป หรือเรื่องที่อาจเกิดในอนาคต แม้ว่าจะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตและวางแผนเพื่ออนาคต แต่ก็อยู่ในปัจจุบันโดยมาก[13]
  • เชื่อมั่นสมรรถภาพตัวเองที่จะแก้ปัญหา ไม่ลังเลแม้เมื่อเกิดความล้มเหลวหรือมีอุปสรรค และสามารถขอให้คนอื่นช่วยได้ถ้าจำเป็น[13]
  • พิจารณาว่าตนมีศักดิ์ศรีมนุษย์เทียบเท่ากับคนอื่น ไม่ใช่มากกว่าหรือน้อยกว่า โดยยอมรับความแตกต่างในเรื่องพรสวรรค์ เกียรติยศ หรือฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากัน[13]
  • เข้าใจว่าตนเป็นคนน่าสนใจและมีคุณค่าต่อคนอื่นอย่างไร อย่างน้อยก็กับบุคคลที่มีมิตรภาพด้วย[13]
  • ขัดขืนการถูกครอบงำโดยคนอื่น ร่วมมือกับคนอื่นก็ต่อเมื่อเหมาะสมและสะดวก[13]
  • ยอมรับความรู้สึกและความต้องการของตนที่ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะบวกหรือลบ แสดงความในใจเหล่านี้ต่อคนอื่นเมื่อต้องการ[13]
  • ชอบทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง[13]
  • ไวความรู้สึกและความต้องการของคนอื่น เคารพกฎสังคมที่ยอมรับโดยทั่วไป และไม่ถือสิทธิไม่ต้องการได้ประโยชน์ที่เป็นการสูญเสียของผู้อื่น[13]
  • สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหา และแสดงความไม่ชอบใจโดยไม่ดูถูกตนเองหรือผู้อื่นเมื่อมีอุปสรรค[49]

มั่นใจ เทียบกับ ปกป้องตัวเอง[แก้]

บุคคลสามารถภูมิใจในตนสูงและมั่นใจโดยไม่จำเป็นต้องได้คำยืนยันจากผู้อื่นเพื่อรักษาภาพพจน์ที่ดีของตนไว้ เทียบกับคนอื่นที่มีความภูมิใจแบบต้องปกป้องตัวเอง แต่ก็ยังอาจได้คะแนนสูงโดยแบบวัด Rosenberg Scale เช่นกัน แต่ว่า ความภูมิใจในลักษณะนี้เสียไปได้ง่ายและอ่อนแอต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะผู้ที่มีความภูมิใจแบบนี้สงสัยตัวเองและไม่มั่นใจในระดับจิตใต้สำนึก ทำให้มีปฏิกิริยาในเชิงลบกับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดที่ได้รับ คือบุคคลนี้จำต้องได้การยอมรับจากผู้อื่นเพื่อที่จะรักษาความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าไว้ได้ ความจำเป็นเพื่อได้คำชมบ่อย ๆ อาจสัมพันธ์กับพฤติกรรมช่างอวด หยิ่ง หรือบางครั้งแม้แต่เป็นศัตรูกับบุคคลที่ตั้งข้อสงสัยในคุณค่าของตน นี่เป็นตัวอย่างของปฏิกิริยาเมื่ออติมานะ (egotism) เกิดภัย[50][51]

ความภูมิใจโดยนัย โดยตรง การหลงตัวเอง และเมื่ออติมานะเกิดภัย[แก้]

ความภูมิใจในตนโดยนัย (implicit self-esteem) หมายถึงแนวโน้มที่บุคคลจะประเมินตัวเองในเชิงบวกหรือเชิงลบแบบอัตโนมัติและโดยจิตใต้สำนึก ซึ่งต่างกับความภูมิใจในตนเองแบบชัดแจ้ง (explicit self-esteem) ซึ่งเป็นการประเมินตนเองที่อยู่เหนือสำนึกโดยการพิจารณา แต่ทั้งสองอย่างก็ล้วนแต่เป็นความภูมิใจในตนที่รวมอยู่ในแบบ

ส่วนการหลงตัวเอง (narcissism) เป็นแนวโน้มทางพฤติกรรมซึ่งแสดงการรักตัวเองมากเกินควร มีลักษณะเป็นความรู้สึกว่าตนมีคุณค่าเกินจริง บุคคลที่ได้คะแนนสูงในแบบวัดความหลงตัวเองของ Robert Raskin คือ แบบวัดใช่หรือไม่ใช่ 40 คำถาม (40 Item True or False Test) มีโอกาสตอบว่าใช่สำหรับคำถามว่า "ถ้าฉันครองโลก โลกจะเป็นที่ที่ดีกว่ามาก"[52] มีสหสัมพันธ์ในระดับแค่พอสมควร (moderate) ระหว่างการหลงตัวเองกับความภูมิใจในตน[53] ซึ่งหมายความว่า บุคคลสามารถภูมิใจในตนสูงแต่หลงตัวเองน้อย หรืออาจจะเป็นคนถือตัวมาก เป็นบุคคลน่ารังเกียจ แต่ได้คะแนนสูงทั้งด้านความภูมิใจในตนและหลงตัวเอง[54]

ส่วนปฏิกิริยาเมื่ออติมานะมีภัย (Threatened egotism) กำหนดโดยการตอบสนองต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นภัยต่ออัตตา (ego) ของคนหลงตัวเอง ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นปฏิกิริยาแบบเป็นปฏิปักษ์และก้าวร้าว[14][55][56]

ความภูมิใจในตนต่ำ[แก้]

ความภูมิใจต่ำอาจมาจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งทางพันธุกรรม จากรูปร่างหน้าตาหรือน้ำหนักตัว ปัญหาทางจิต สถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ ความกดดันจากเพื่อน และการถูกรังแก[57] โดยอาจจะแสดงเป็นลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้คือ

  • การตำหนิตัวเองเกินควร และความไม่พึงพอใจในตัวเอง[13]
  • ไวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์มาก โดยเคืองผู้วิจารณ์และรู้สึกถูกว่าร้าย[13]
  • การตัดสินใจอะไรไม่ได้ และกลัวผิดพลาดที่เกินควร[13]
  • พยายามให้คนอื่นพอใจมากเกินไป และไม่ยอมทำให้คนอื่นไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นใคร[13]
  • ทุกอย่างต้องเพอร์เฝ็กต์ ซึ่งทำให้ผิดหวังเมื่อไม่ได้[13]
  • ความรู้สึกผิดเกินควร มัวแต่คิดถึงความผิดพลาดในอดีต หรือยกความผิดพลาดในอดีตเกินจริง[13]
  • ความเป็นปฏิปักษ์อย่างลอย ๆ และการป้องกันตัวเองโดยทั่วไปและหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุใกล้[13]
  • มองโลกในแง่ร้ายโดยทั่วไป[13]
  • ความอิจฉาริษยา ใจน้อย และความขัดเคืองโดยทั่วไป[13]
  • เห็นปัญหา/อุปสรรคชั่วคราวว่าเป็นเรื่องถาวร และทนรับไม่ได้[49]

ผู้ที่ภูมิใจในตนต่ำมักจะตำหนิตัวเอง บางคนต้องอาศัยการยอมรับและคำสรรเสริญของผู้อื่นเมื่อประเมินคุณค่าของตนเอง บางคนอาจจะวัดความน่าชอบใจของตนเองโดยความสำเร็จที่ได้ คือ คนอื่นจะยอมรับถ้าทำสำเร็จและไม่ยอมรับถ้าไม่สำเร็จ[58]

ภาวะ 3 อย่าง[แก้]

หมวดหมู่ที่เสนอในปี 2556[59] แบ่งภาวะความภูมิใจในตนออกเป็น 3 อย่าง โดยเปรียบเทียบว่าเป็นความดีความชอบ (feat) หรือเป็นความเสียหาย (anti-feat) ดังจะกล่าวในหัวข้อย่อยต่อ ๆ ไปดังนี้[6][60]

แตก[แก้]

บุคคลไม่พิจารณาตนว่ามีค่าหรือว่าเป็นคนที่รักได้ อาจจะรู้สึกท่วมท้นด้วยความพ่ายแพ้ ความอับอาย หรือมองตัวเองว่าเป็นอย่างนั้น โดยมีป้ายเรียกความเสียหาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลพิจารณาความแก่เกินกว่าวัยหนึ่ง ๆ ว่าเป็นความเสียหาย ก็จะนิยามตัวเองโดยใช้ชื่อของความเสียหาย และกล่าวว่า "ฉันแก่แล้ว" จะรู้สึกเวทนาตนเอง ตำหนิตัวเอง รู้สึกเสียใจ จนอาจทำอะไรไม่ได้[59][61]

อ่อนแอ[แก้]

บุคคลมองตัวเองในแง่ดี แต่ว่า ความภูมิใจในตนจะอ่อนแอต่อความรู้สึกเสี่ยงว่าความเสียหายกำลังจะเกิดขึ้น (เช่นความพ่ายแพ้ ความอาย และการเสียเครดิต) เพราะฉะนั้น บ่อยครั้งจะไม่รู้สึกสบายใจและต้องป้องกันตัวเอง[61] กลไกป้องกันตนสำหรับบุคคลที่มีความภูมิใจแบบอ่อนแออาจจะรวมการหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ

แม้ว่าบุคคลอาจจะดูเหมือนมั่นใจสูง แต่ความจริงอาจจะเป็นตรงกันข้าม คือ ความมั่นใจที่ปรากฏเป็นตัวบ่งความกลัวที่เริ่มสูงขึ้นต่อความเสียหาย และบ่งความเปราะบางของความภูมิใจในตน[6] อาจจะโทษคนอื่นเพื่อป้องกันภาพพจน์ของตนจากสถานการณ์ที่เป็นภัย และอาจจะใช้กลไกการป้องกันต่าง ๆ รวมทั้งพยายามแพ้ในเกมและการแข่งขันต่าง ๆ เพื่อป้องกันภาพพจน์ของตนโดยทำเป็นไม่แยแสว่า จำเป็นต้องชนะ เป็นการแสดงความเป็นอิสระจากความยอมรับทางสังคมที่ตนอาจจะต้องการอย่างยิ่ง เมื่อกลัวมากว่าเพื่อนจะไม่ยอมรับ ก็อาจจะเลือกทางชีวิตได้ไม่ดีโดยทำอะไรเสี่ยง ๆ[60][61]

มั่นคง[แก้]

ผู้ที่มีความภูมิใจในตนอย่างมั่นคงจะมีภาพพจน์ที่ดีเกี่ยวกับตน และมั่นคงพอที่ความเสียหายไม่สามารถเกิดกับความภูมิใจได้ เป็นบุคคลที่กลัวความล้มเหลวน้อยกว่า เป็นคนถ่อมตัว ร่าเริง และมั่นคงพอที่จะไม่อวดความดีความชอบและไม่กลัวความเสียหาย[60][61] เป็นคนที่สามารถต่อสู้ด้วยแรงที่มีเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ เพราะว่า ถ้าล้มเหลว จะไม่มีผลต่อความภูมิใจของตน เป็นคนที่สามารถยอมรับความผิดก็เพราะว่ามีภาพพจน์ของตนเองที่มั่นคง และการยอมรับผิดจะไม่มีผลเสียหายต่อภาพพจน์นั้น[61] เป็นคนที่ใช้ชีวิตโดยกลัวการเสียชื่อเสียงน้อยกว่า และมีความสุขและความอยู่เป็นสุขที่ดีกว่า[61] แต่ว่า ไม่มีความภูมิใจแบบไหนที่ทำลายไม่ได้ และเหตุการณ์หรือสถานการณ์บางอย่างในชีวิต อาจทำให้ตกจากระดับนี้ไปยังระดับอื่น ๆ[59][61]

มีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข[แก้]

มีความภูมิใจแบบมีเงื่อนไข (Contingent self-esteem) และไม่มีเงื่อนไข (Non-contingent self-esteem) แบบมีเงื่อนไขจะได้ความภูมิใจจากสิ่งภายนอก เช่น (1) คนอื่นกล่าวว่าอย่างไร (2) ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว และ (3) ความสามารถของตน[62] หรือว่า (4) ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ และดังนั้น ความภูมิใจในตนแบบมีเงื่อนไขจึงไม่เสถียร เชื่อถือไม่ได้ และอ่อนแอ บุคคลที่มีความภูมิใจแบบนี้จะต้องคอยหาสิ่งที่ทำให้ตนมีคุณค่า[63]

แต่เพราะว่าการได้ความภูมิใจในตนแบบมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับได้รับความยอมรับ จึงในที่สุดจะต้องล้มเหลว เพราะว่า ไม่มีใครที่ได้การยอมรับตลอด และการไม่ยอมรับบ่อยครั้งทำให้เกิดความซึมเศร้า นอกจากนั้นแล้ว ความกลัวการไม่ยอมรับอาจจะห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมที่มีโอกาสล้มเหลว[64]

ส่วนความภูมิใจแบบไม่มีเงื่อนไขเป็นสิ่งที่ไว้ใจได้ เสถียร และมั่นคง[65] มันมีมูลฐานจากความเชื่อว่า ตน "ยอมรับได้อย่างไม่มีข้อแม้ ยอมรับได้แม้ก่อนชีวิตเสียอีก ยอมรับได้โดยความมีอยู่"[66]: 7  ความเชื่อว่าตนยอมรับได้โดยความมีอยู่ (ontologically acceptable) ก็คือความเชื่อว่าการยอมรับได้ของตนเป็นไปตามสิ่งที่เป็น โดยไม่มีข้อแม้[67] ในรูปแบบความเชื่อเช่นนี้ การยอมรับได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณธรรมของบุคคล เป็นการยอมรับแม้ "มีความผิด" ไม่ใช่เพราะ "ไม่มีความผิด"[66]: 5  ดังนั้น ความภูมิใจในตนแบบไม่มีเงื่อนไขจึงมาจากความเชื่อว่าตนยอมรับได้เพราะความมีอยู่และว่าตนได้การยอมรับจากผู้อื่น[68]

ความสำคัญ[แก้]

ศ. ดร. อับราฮัม มาสโลว์กล่าวว่า สุขภาพจิตที่ดีเป็นไปไม่ได้ยกเว้นถ้าแกนหลักของบุคคลนั้นได้การยอมรับ ความรัก และความเคารพอย่างพื้นฐานโดยตนเอง ความภูมิใจในตนช่วยให้คนเผชิญกับชีวิตอย่างมั่นใจมากขึ้น อย่างเมตตากรุณา อย่างมองโลกในแง่ดี และดังนั้นจะสามารถถึงเป้าหมายในชีวิตและถึงศักยภาพตนเองได้ง่ายกว่า[69]

ความภูมิใจในตนอาจช่วยให้เชื่อว่าตนสมควรจะได้ความสุข[69] การเข้าใจเช่นนี้สำคัญมาก และมีประโยชน์โดยทั่วไป เพราะว่า การพัฒนาความภูมิใจในตนเพิ่มสมรรถภาพการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างนับถือ อย่างมีเมตตากรุณา และด้วยความหวังดี และดังนั้น จะเปิดโอกาสให้มีความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ลึกซึ้งและหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่ทำลาย[69] สำหรับนักจิตวิทยาบางท่าน ความรักคนอื่นและความรักตนเองไม่ใช่เป็นคนละเรื่องกัน คือ ความรักตนเองจะมีในบุคคลที่สามารถรักคนอื่นได้ ความภูมิใจในตนช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับบางอาชีพเช่นการสอน[70]

มีนักวิชาการที่อ้างว่าความสำคัญของความภูมิใจในตนเป็นเรื่องที่ชัดเจน เพราะว่าการไม่มีความภูมิใจในตนไม่ใช่เป็นการเสียความเคารพนับถือจากคนอื่น แต่เป็นการปฏิเสธตนเอง และสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า[13] ซิกมุนด์ ฟรอยด์ยังอ้างด้วยว่า คนซึมเศร้ามีปัญหา "การลดลงของความนับถือตนเองอย่างผิดธรรมดา เป็นการทำอัตตา (ego) ให้ยากไร้อย่างยิ่ง... (คือ) เขาได้สูญเสียความเคารพในตน"[71]

หลักยกยาการ์ตา (The Yogyakarta Principles) ซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนนานาชาติ พูดถึงทัศนคติแบบเดียดฉันท์ต่อบุคคลเพศที่สาม (LGBT) ซึ่งทำให้ความภูมิใจในบุคคลเหล่านั้นต่ำกว่าควร ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน[72] และองค์การอนามัยโลกแนะนำในเอกสาร "การป้องกันการฆ่าตัวตาย (Preventing Suicide)" ที่พิมพ์ในปี 2543 ว่าการเพิ่มความภูมิใจในตนเองของนักเรียนเป็นเรื่องสำคัญเพื่อป้องกันเด็กและวัยรุ่นจากความทุกข์ทางใจและความหมดกำลังใจ และช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับสถานการณ์ยากที่ก่อความเครียดในชีวิตได้[73] แต่ว่ายังไม่ชัดเจนว่าอะไรควรทำและอะไรมีประสิทธิผล นอกจากจะเพิ่มความสุขแล้ว ความภูมิใจในตนสูงมีสหสัมพันธ์กับสมรรถภาพการรับมือกับความเครียด และโอกาสสูงกว่าที่บุคคลจะเข้าจัดการปัญหาที่ยากเทียบกับคนที่ภูมิใจในตนต่ำ[74]

สิ่งที่สัมพันธ์[แก้]

จากปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 คนอเมริกันเชื่อว่า ความภูมิใจในตนของนักเรียนจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อเกรดที่ได้ในโรงเรียน ต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และต่อความสำเร็จที่จะได้ต่อ ๆ มาในชีวิต และดังนั้น จึงมีองค์กรที่ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มความภูมิใจในตนของนักเรียน แต่ว่าจนกระทั่งถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็ยังมีงานวิจัยแบบควบคุมที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันน้อยมากในประเด็นนี้ และงานวิจัยต่อ ๆ มาก็ไม่ได้ยืนยันความเชื่อเช่นนั้น คือ งานวิจัยบ่งว่า การเพิ่มความภูมิใจในตนของนักเรียนเพียงลำพังไม่ได้มีผลต่อเกรด และงานวิจัยปี 2548 กลับแสดงด้วยว่า การเพิ่มความภูมิใจโดยลำพังสามารถลดเกรดที่ได้[75][76] คือผลได้แสดงว่า การมีความภูมิใจในตนสูงไม่ได้ช่วยให้เรียนเก่งขึ้น แต่อาจหมายเพียงแค่ว่า นักเรียนอาจภูมิใจในตนเองสูงโดยเป็นผลของการเรียนเก่งเนื่องจากปัจจัยทางสังคมและชีวิตอื่น ๆ[7]

"ความพยายามของผู้ที่สนับสนุนให้มีความภูมิใจในตนเองของเด็กนักเรียนเพราะเหตุความไม่เหมือนใครในฐานะมนุษย์ จะไม่มีผลถ้าความรู้สึกที่ดีไม่ตามด้วยการกระทำที่ดี ต่อเมื่อนักเรียนทำการที่มีความหมายสำหรับตนที่สามารถภูมิใจได้ ความมั่นใจในตนจึงจะเจริญขึ้น และความมั่นใจที่เจริญขึ้นนี่แหละจะจุดชนวนให้ได้ความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้น"[77]

ความภูมิใจในตนสูงมีสหสัมพันธ์กับความสุขที่รายงานเองอย่างสูง แต่ว่านี่เป็นความสัมพันธ์แบบเหตุผลหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน[7] และความสัมพันธ์ระหว่างความภูมิใจในตนสูงกับความพอใจในชีวิต จะแรงกว่าในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง[78]

นอกจากนั้นแล้ว ความภูมิใจในตนยังสัมพันธ์กับความให้อภัยคนใกล้ชิด คือว่า คนที่ภูมิใจในตนสูงจะให้อภัยมากกว่าคนที่มีความภูมิใจในตนต่ำ[79]

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่ภูมิใจในตนต่ำ มีโอกาสสูงกว่าที่จะกลบเกลื่อนผลของพฤติกรรมเสี่ยงว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย สร้างเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจ และคงเชื่อว่า พฤติกรรมบางอย่างจะไม่มีผลร้ายต่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเป็นต้นว่า ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์เด็กเกินไป และมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่น ๆ[7]

ประสาทวิทยาศาสตร์[แก้]

งานวิจัยปี 2557 พบว่า ความภูมิใจในตนสัมพันธ์กับการเชื่อมต่อกันที่เพิ่มขึ้นของวิถีประสาท frontostriatal circuit และวิถีประสาทนี้ส่วนหนึ่งเชื่อม medial prefrontal cortex ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ในตน กับ ventral striatum ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับแรงจูงใจและรางวัล และวิถีประสาทที่เชื่อมต่อกันทางกายภาพที่ดีกว่ามีสหสัมพันธ์กับความภูมิใจในตนในระยะยาวที่สูงกว่า ในขณะที่การทำงานร่วมกันที่สูงกว่าสัมพันธ์กับความภูมิใจระยะสั้นที่สูงกว่า[80]

ข้อขัดแย้ง[แก้]

นักจิตวิทยาทรงอิทธิพลชาวอเมริกัน ดร. อัลเบิรต์ เอ็ลลิส ได้วิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งหลายคราวว่า แนวคิดเรื่องความภูมิใจในตนเอง เป็นการทำลายตัวเองและมีผลร้ายในระยะยาว[81] แม้จะยอมรับว่ามนุษย์มักจะให้คะแนนต่อตนเองโดยธรรมชาติ เขาก็ได้วิจารณ์หลักปรัชญาของความภูมิใจในตนว่า ไม่สมจริง ไม่มีเหตุผล และมีผลเสียต่อตัวเองและสังคม บ่อยครั้งทำอันตรายมากกว่าประโยชน์ โดยตั้งข้อสงสัยต่อทั้งมูลฐานและประโยชน์ของความเข้มแข็งของอัตตาโดยนัยทั่วไป เขาอ้างว่า ความภูมิใจในตนเป็นบทตั้งที่มีนิยามลอย ๆ เป็นแนวคิดที่ถือเอานัยทั่วไปมากเกินไป นิยมความเพอร์เฝ็กต์ และยิ่งใหญ่มากเกินไป[81] แม้จะยอมร้บว่า การให้คะแนนและคุณค่ากับพฤติกรรมและลักษณะต่าง ๆ ของตนเป็นเรื่องปกติและจำเป็น แต่เขาก็ยังเห็นการให้คะแนนและคุณค่าของมนุษย์และของตนเองโดยถือเอาองค์รวมว่า ไม่สมเหตุผลและไม่ถูกจริยธรรม ทางเลือกที่ดีกว่าความภูมิใจในตนก็คือการยอมรับตนเองและคนอื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข[82] โดยมี Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) ที่ ดร. เอ็ลลิสได้พัฒนาขึ้นเป็นตัวอย่างจิตบำบัดที่ใช้วิธีการเช่นนี้[83]

ส่วนนักเขียนคู่หนึ่ง (Roy F. Baumeister, John Tierney) อ้างว่า ประโยชน์ของความภูมิใจในตนสามารถให้ผลตรงกันข้าม และคำสอนจากพ่อแม่ให้มีความภูมิใจในตนอาจจะขัดขวางการฝึกควบคุมตน

"ดูเหมือนจะมีประโยชน์ที่ชัดเจนของความภูมิใจในตนสูงเพียงแค่สองอย่าง อย่างแรกก็คือ มันเพิ่มการริเริ่ม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันให้ความมั่นใจ บุคคลที่ภูมิใจในตนสูงจะเต็มใจทำตามความเชื่อของตนมากกว่า ยืนยันต่อสู้เพื่อสิ่งที่ตนเชื่อ หาคนร่วมความคิด และเสี่ยงทำอะไรใหม่ ๆ (ซึ่งบางครั้งก็ไม่ดีว่ารวมการเสี่ยงทำอะไรโง่ ๆ หรือก่อความเสียหาย แม้เมื่อคนอื่น ๆ แนะนำไม่ให้ทำ)... (แต่) ก็สามารถทำให้คนไม่สนใจคำแนะนำที่ดีเพราะว่าดื้อเสียเวลาและเงินทองในเรื่องที่สิ้นเปลืองเปล่า"[84]

ของเทียม[แก้]

สำหรับบุคคลที่ภูมิใจในตนต่ำ สิ่งเร้าเชิงบวกจะเพิ่มความภูมิใจในตนชั่วคราว ดังนั้น ทรัพย์สมบัติ เพศสัมพันธ์ ความสำเร็จ หรือรูปร่างหน้าตาจะเพิ่มความภูมิใจในตน แต่การเพิ่มเช่นนี้อย่างมากก็ชั่วคราว[85][86]

ดังนั้น ความพยายามเพิ่มความภูมิใจด้วยสิ่งเร้าเชิงบวกเช่นนี้จะเป็นแบบขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น คำสรรเสริญสามารถช่วยเพิ่มความภูมิใจ แต่ก็จะตกเมื่อไร้คำสรรเสริญ ดังนั้น สำหรับคนที่ภูมิใจในตนแบบมีข้อแม้ ความสำเร็จจะไม่ "หวานเป็นพิเศษ" แต่ความล้มเหลวจะ "ขมเป็นพิเศษ"[64]

โดยเป็นการหลงตัวเอง[แก้]

ความพอใจในชีวิต ความสุข พฤติกรรมที่ถูกสุขภาพ ความมั่นใจในตนเอง การเรียนเก่ง และการปรับตัวได้ดี ล้วนแต่สัมพันธ์กับการมีความภูมิใจในตนสูง[87]: 57  แต่ว่า เป็นความผิดพลาดสามัญที่จะคิดว่า การรักตัวเอง (self-love) ต้องเป็นการหลงตัวเอง (narcissism)[88]

บุคคลที่มีความภูมิใจในตนที่ดีจะยอมรับและรักตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยยอมรับทั้งความดีชั่วของตน และสามารถรักตนเองได้แม้จะมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ เปรียบเทียบกับผู้ที่หลงตัวเอง ผู้มี "ความไม่แน่ใจโดยธรรมชาติเกี่ยวกับคุณค่าของตัวเองซึ่งทำให้เกิด... รัศมีความโอ้อวดที่เป็นการป้องกันตัวเองแต่เป็นของปลอม"[89] ซึ่งสร้างกลุ่ม "ผู้หลงตัวเอง หรือคนที่มีความภูมิใจในตัวเองสูงแบบไม่มั่นใจ ซึ่งผันแปรไปตามการสรรเสริญหรือการไม่ยอมรับของสังคม"[4]: 479  ดังนั้น จึงสามารถมองการหลงตัวเองว่าเป็นอาการของความภูมิใจในตนต่ำโดยพื้นฐาน และเป็นการไม่รักตนเอง แต่บ่อยครั้งประกอบด้วย "การเพิ่มความภูมิใจในตนเองอย่างยิ่ง" ซึ่งเป็นกลไกป้องกันตนแบบปฏิเสธความจริงโดยชดเชยเกินจริง[90] หรือเป็น "ความรักอุดมคติต่อตัวเองโดยปฏิเสธส่วนของตัวเอง" ที่ตนไม่ชอบใจที่เป็น "เด็กน้อยที่ชอบทำความเสียหาย" ภายใน[91] ผู้หลงตัวเองจะเน้นคุณธรรมของตนเมื่อคนอื่นอยู่ด้วย เพื่อพยายามทำให้ตนเชื่อว่ามีคุณค่าและเพื่อห้ามความรู้สึกอับอายต่อความไม่ดีของตนเอง[13] แต่น่าเสียดายว่า "คนที่มองตัวเองดีเกินจริง ซึ่งอาจจะไม่เสถียรอย่างยิ่งและอ่อนแอต่อข้อมูลเชิงลบ... มักจะมีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี"[4]: 126 

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "self-esteem", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ความภูมิใจแห่งตน
  2. "self-esteem", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, การเคารพตนเอง
  3. Hewitt, John, P (2009). Oxford Handbook of Positive Psychology. Oxford University Press. pp. 217–224. ISBN 978-0-19-518724-3.
  4. 4.0 4.1 4.2 Smith, E. R.; Mackie, D. M. (2007). Social Psychology (Third ed.). Hove: Psychology Press. ISBN 978-1-84169-408-5.
  5. Marsh, H.W. (1990). "Causal ordering of academic self-concept and academic achievement: A multiwave, longitudinal path analysis". Journal of Educational Psychology. 82 (4): 646–656. doi:10.1037/0022-0663.82.4.646.
  6. 6.0 6.1 6.2 S. Yagual “Efectos de la violencia intrafamiliar en el autoestima de los estudiantes de octavo y noveno año de la Escuela de educación básica 11 de Diciembre” Editorial La Libertad. Universidad Estatal Península de Santa Elena, 2015. Ecuador. Online at http://www.repositorio.upse.edu.ec/handle/46000/1795 เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 Baumeister, R. F.; Campbell, J. D.; Krueger, J. I.; Vohs, K. D. (2003). "Does High Self-Esteem Cause Better Performance, Interpersonal Success, Happiness, or Healthier Lifestyles?". Psychological Science in the Public Interest. 4 (1): 1–44. doi:10.1111/1529-1006.01431. ISSN 1529-1006. PMID 26151640.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 Orth U., Robbins R.W. (2014). "The development of self-esteem". Current Directions in Psychological Science. 23 (5): 381–387. doi:10.1177/0963721414547414.
  9. "self-worth". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15. self-esteem; self-respect
  10. "self-regard". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15. consideration of oneself or one's interests; self-respect
  11. "self-respect". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15. due respect for oneself, one's character, and one's conduct
  12. 12.0 12.1 James, W. Psychology: The briefer course. New York: Henry Holt.
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 13.22 13.23 13.24 13.25 Bonet, José-Vicente (1997). Terrae, Sal (บ.ก.). Sé amigo de ti mismo: manual de autoestima (ภาษาสเปน). Cantabria, España: Maliaño. p. 11. ISBN 978-84-293-1133-4.
  14. 14.0 14.1 Baumeister, Roy F.; Smart, L.; Boden, J. (1996). "Relation of threatened egotism to violence and aggression: The dark side of self-esteem". Psychological Review. 103 (1): 5–33. doi:10.1037/0033-295X.103.1.5. PMID 8650299.
  15. 15.0 15.1 15.2 Judge, T. A.; Locke, E. A.; Durham, C. C. (1997). "The dispositional causes of job satisfaction: A core evaluations approach". Research in Organizational Behavior. 19: 151–188.
  16. Bono, J. E.; Judge, T. A. (2003). "Core self-evaluations: A review of the trait and its role in job satisfaction and job performance". European Journal of Personality. 17 (Suppl1): S5–S18. doi:10.1002/per.481. S2CID 32495455.
  17. Dormann, C.; Fay, D.; Zapf, D.; Frese, M. (2006). "A state-trait analysis of job satisfaction: On the effect of core self-evaluations". Applied Psychology: an International Review. 55 (1): 27–51. doi:10.1111/j.1464-0597.2006.00227.x.
  18. 18.0 18.1 Judge, T. A.; Locke, E. A.; Durham, C. C.; Kluger, A. N. (1998). "Dispositional effects on job and life satisfaction: The role of core evaluations". Journal of Applied Psychology. 83 (1): 17–34. doi:10.1037/0021-9010.83.1.17. PMID 9494439.
  19. Judge, T. A.; Bono, J. E. (2001). "Relationship of core self-evaluations traits—self-esteem, generalized self-efficacy, locus of control, and emotional stability—with job satisfaction and job performance: A meta-analysis". Journal of Applied Psychology. 86 (1): 80–92. doi:10.1037/0021-9010.86.1.80. PMID 11302235.
  20. Nolan, James L. (1998). The Therapeutic State: Justifying Government at Century's End. NYU Press. pp. 152–161. ISBN 9780814757918. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  21. Heine, SJ; Lehman, DR; Markus, HR; Kitayama, S (1999). "Is there a universal need for positive self-regard?". Psychological Review. 106 (4): 766–794. doi:10.1037/0033-295X.106.4.766. PMID 10560328.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Maslow, A. H. (1987). Motivation and Personality (Third ed.). New York: Harper & Row. ISBN 0-06-041987-3.
  23. Greenberg, J. (2008). "Understanding the vital human quest for self-esteem". Perspectives on Psychological Science. 3 (1): 48–55. doi:10.1111/j.1745-6916.2008.00061.x.
  24. Wickman, SA; Campbell, C (2003). "An analysis of how Carl Rogers enacted client-centered conversation with Gloria". Journal of Counseling & Development. 81: 178–184. doi:10.1002/j.1556-6678.2003.tb00239.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. "Self-Esteem: Measurement". John D. and Catherine T. MacArthur Research Network on Socioeconomic Status and Health from the University of California, San Francisco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-25.
  26. Slater, Lauren (2002-02-03). "The Trouble With Self-Esteem". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
  27. Bosson, JK; Swann, WB; Pennebaker, JW (2000). "Stalking the perfect measure of implicit self esteem: The blind men and the elephant revisited?". Journal of Personality & Social Psychology. 79 (4): 631–643. doi:10.1037/0022-3514.79.4.631.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Baumeister, Roy (2007). Encyclopedia of Social Psychology. Sage Publications. p. 603.
  29. Koole, SL; Pelham, BW (2003). Spencer, S; Fein, S; Zanna, MP (บ.ก.). The nature of implicit self-esteem: The case of the name letter effect. Motivated social perception: The Ontario Symposium. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum. pp. 93–116.
  30. Hetts, JJ; Sakuma, M; Pelham, BW (1999). "Two roads to positive regard: Implicit and explicit self-evaluation and culture". Journal of Experimental Social Psychology. 35: 512–559. doi:10.1006/jesp.1999.1391.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  31. 31.0 31.1 Raboteg-Saric, Z; Sakic, M (2014). "Relations of parenting styles and friendship quality to self-esteem, life satisfaction, & happiness in adolescents". Applied Research Quality Life. 9: 749–765. doi:10.1007/s11482-013-9268-0.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  32. Olsen, J. M.; Breckler, S. J.; Wiggins, E. C. (2008). Social Psychology Alive (First Canadian ed.). Toronto: Thomson Nelson. ISBN 978-0-17-622452-3.
  33. Coopersmith, S. (1967). The Antecedents of Self-Esteem. New York: W. H. Freeman.
  34. Isberg, R. S.; Hauser, S. T.; Jacobson, A. M.; Powers, S. I.; Noam, G.; Weiss-Perry, B.; Fullansbee, D. (1989). "Parental contexts of adolescent self-esteem: A developmental perspective". Journal of Youth and Adolescence. 18 (1): 1–23. doi:10.1007/BF02139243. PMID 24271601.
  35. Lamborn, S. D.; Mounts, N. S.; Steinberg, L.; Dornbusch, S. M. (1991). "Patterns of Competence and Adjustment among Adolescents from Authoritative, Authoritarian, Indulgent, and Neglectful Families". Child Development. 62 (5): 1049–1065. doi:10.1111/j.1467-8624.1991.tb01588.x. PMID 1756655.
  36. "Self-Esteem". สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
  37. Crocker, J.; Sommers, S. R.; Luhtanen, R. K. (2002). "Hopes Dashed and Dreams Fulfilled: Contingencies of Self-Worth and Graduate School Admissions". Personality and Social Psychology Bulletin. 28 (9): 1275–1286. doi:10.1177/01461672022812012.
  38. Butler, R. (1998). "Age Trends in the Use of Social and Temporal Comparison for Self-Evaluation: Examination of a Novel Developmental Hypothesis". Child Development. 69 (4): 1054–1073. doi:10.1111/j.1467-8624.1998.tb06160.x. PMID 9768486.
  39. Pomerantz, E. M.; Ruble, D. N.; Frey, K. S.; Grenlich, F. (1995). "Meeting Goals and Confronting Conflict: Children's Changing Perceptions of Social Comparison". Child Development. 66 (3): 723–738. doi:10.1111/j.1467-8624.1995.tb00901.x. PMID 7789198.
  40. Thorne, A.; Michaelieu, Q. (1996). "Situating Adolescent Gender and Self-Esteem with Personal Memories". Child Development. 67 (4): 1374–1390. doi:10.1111/j.1467-8624.1996.tb01802.x. PMID 8890489.
  41. Leary, M. R.; Baumeister, R. F. (2000). "The Nature and Function of Self-Esteem: Sociometer Theory". ใน Zanna, M. P. (บ.ก.). Advances in Experimental Social Psychology. Vol. 32. San Diego, CA: Academic Press. pp. 1–62. ISBN 0-12-015232-0.
  42. Erol, R. Y.; Orth, U. (2011). "Self-Esteem Development From Age 14 to 30 Years: A Longitudinal Study". Journal of Personality and Social Psychology. 101 (3): 607–619. doi:10.1037/a0024299. PMID 21728448.
  43. Maldonado L., Huang Y., Chen R., Kasen S., Cohen P., Chen H. (2013). "Impact of early adolescent anxiety disorders on self-esteem development from adolescence to young adulthood". Journal of Adolescent Health. 53: 287–292. doi:10.1016/j.jadohealth.2013.02.025.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  44. Ehrenreich, Barbara (January 2007). Patterns for college Writing (12th ed.). Boston: Bedford/St. Martin's. p. 680.
  45. Gruenewald, TL; Kemeny, ME; Aziz, N; Fahey, JL (2004). "Acute threat to the social self: Shame, social self-esteem, and cortisol activity". Psychosomatic Medicine. 66: 915–924. doi:10.1097/01.psy.0000143639.61693.ef.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  46. Johnson, EA; O'Brien, KA (2013). "Self-compassion soothes the savage ego-threat system: Effects on negative affect, shame, rumination, & depressive symptoms". Journal of Social and Clinical Psychology. 32 (9): 939–963. doi:10.1521/jscp.2013.32.9.939.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  47. 47.0 47.1 Power, F. Clark; Khmelkov, Vladimir T. (1998). "Character development and self-esteem: Psychological foundations and educational implications". International Journal of Educational Research. 27 (7): 539–551. doi:10.1016/S0883-0355(97)00053-0.
  48. Adapted from Hamachek, D. E. (1971). Encounters with the Self. New York: Rinehart.
  49. 49.0 49.1 "Developing Your Child's Self-Esteem". KidsHealth. 2012-11-27.
  50. Jordan, C. H.; Spencer, S. J.; Zanna, M. P. (2003). "'I love me...I love me not': Implicit self-esteem, explicit self-esteem and defensiveness". ใน Spencer, S. J.; Fein, S.; Zanna, M. P.; Olsen, J. M. (บ.ก.). Motivated social perception: The Ontario symposium. Vol. 9. Mahwah, NJ: Erlbaum. pp. 117–145. ISBN 0-8058-4036-2.
  51. Jordan, C. H.; Spencer, S. J.; Zanna, M. P.; Hoshino-Browne, E.; Correll, J. (2003). "Secure and defensive high self-esteem". Journal of Personality and Social Psychology. 85 (5): 969–978. doi:10.1037/0022-3514.85.5.969. PMID 14599258.
  52. Krahe, Barbara (2013). The Social Psychology of Aggression. Psychology Press. p. 75.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  53. Sedikieds, C.; Rudich, E. A.; Gregg, A. P.; Kumashiro, M.; Rusbult, C. (2004). "Are normal narcissists psychologically healthy? Self-esteem matters". Journal of Personality and Social Psychology. 87 (3): 400–416. doi:10.1037/0022-3514.87.3.400. PMID 15382988.
  54. "Narcissism vs. Authentic Self-Esteem". AfterPsychotherapy.
  55. Morf, C. C.; Rhodewalk, F. (1993). "Narcissism and self-evaluation maintenance: Explorations in object relations". Personality and Social Psychology Bulletin. 19 (6): 668–676. doi:10.1177/0146167293196001.
  56. Twenge, J. M.; Campbell, W. K. (2003). "'Isn't it fun to get the respect we're going to deserve?' Narcissism, social rejection, and aggression". Personality and Social Psychology Bulletin. 29 (2): 261–272. doi:10.1177/0146167202239051. PMID 15272953.
  57. Jones, FC (2003). "Low self esteem". Chicago Defender. p. 33. ISSN 0745-7014.
  58. Baldwin, M. W.; Sinclair, L. (1996). "Self-esteem and 'if...then' contingencies of interpersonal acceptance". Journal of Personality and Social Psychology. 71 (6): 1130–1141. doi:10.1037/0022-3514.71.6.1130. PMID 8979382.
  59. 59.0 59.1 59.2 Ross, Martín (2013). El Mapa de la Autoestima. Dunken. ISBN 978-987-02-6773-7.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  60. 60.0 60.1 60.2 Leiva, A; Rodríguez, JY; Carrasco, L Nohemy; Durán, M; Portillo, M; Lam, SM (2015). "Como influye el genero en la Autoestima de los Adolescentes". Universidad Nacional Autónoma de Honduras.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 61.5 61.6 Gallardo, Bonet; Bailén, L Huertas (2015). "Feedback between self-esteem and digital activity in the adolescent group". Universidad Autónoma de Barcelona.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  62. Koivula, Nathalie; Hassmén, Peter; Fallby, Johan (2002). "Self-esteem and perfectionism in elite athletes: effects on competitive anxiety and self-confidence". Personality and Individual Differences. 32 (5): 865–875. doi:10.1016/S0191-8869(01)00092-7.
  63. Blom, Victoria (2011). "Striving for Self-esteem" (PDF). Department of Psychology, Stockholm University.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  64. 64.0 64.1 Brown, Harriet (2012-01-01). "The Boom and Bust Ego". Psychology Today.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  65. Mruk, Christopher J (1995). Self-esteem Research, Theory, and Practice. Springer. p. 88.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  66. 66.0 66.1 Cooper, Terry D (2006). Paul Tillich and Psychology: Historic and Contemporary Explorations in Theology, Psychotherapy, and Ethics. Mercer University.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  67. Crum, Milton. "Self-esteem/OKness: a personal story" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2015-01-18.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  68. Michael H. Kernis. "Toward a Conceptualization of Optimal Self-Esteem" (PDF). Academic.udayton.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-17. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
  69. 69.0 69.1 69.2 Nathaniel Branden. Cómo mejorar su autoestima. 1987. Versión traducida: 1990. 1ª edición en formato electrónico: enero de 2010. Ediciones Paidós Ibérica. ISBN 978-84-493-2347-8.
  70. Miranda, Christian (2005). "La autoestima profesional: una competencia mediadora para la innovación en las prácticas pedagógicas" (PDF). Revista Iberoamericana sobre Calidad, Eficacia y Cambio en Educación. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  71. Sigmund Freud, On Metapsychology (PFL 11) p. 254-6
  72. The Yogyakarta Principles, Preamble and Principles 11
  73. "Preventing Suicide, A resource for teachers and other school staff" (PDF). Geneva: WHO. 2000.
  74. Schacter, Daniel L.; Gilbert, Daniel T.; Wegner, Daniel M. (2009). "Self Esteem". Psychology (Second ed.). New York: Worth. ISBN 978-0-7167-5215-8.
  75. Baumeister, Roy F.; Jennifer D. Campbell, Joachim I. Krueger and Kathleen D. Vohs; Krueger, Joachim I.; Vohs, Kathleen D. (January 2005). "Exploding the Self-Esteem Myth" (PDF). Scientific American. 292 (1): 84–91. Bibcode:2005SciAm.292a..84B. doi:10.1038/scientificamerican0105-84. PMID 15724341. S2CID 121786659. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 20 February 2011.
  76. Baumeister, Roy (23 December 2009). "Self-Esteem". Education.com. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  77. Owens, Timothy J.; Stryker, Sheldon; Goodman, Norman, บ.ก. (2001). Extending Self-Esteem Theory and Research: Sociological and Psychological Currents. Cambridge: Cambridge University Press. doi:10.1017/cbo9780511527739. ISBN 978-0-521-63088-7.
  78. Schimmack, Ulrich; Diener, Ed (2003). "Predictive validity of explicit and implicit self-esteem for subjective well-being" (PDF). Journal of Research in Personality. 37 (2): 100–106. doi:10.1016/S0092-6566(02)00532-9.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  79. Eaton, J; Wardstruthers, C; Santelli, A (2006). "Dispositional and state forgiveness: The role of self-esteem, need for structure, and narcissism". Personality and Individual Differences. 41 (2): 371–380. doi:10.1016/j.paid.2006.02.005. ISSN 0191-8869.
  80. Chavez, Robert S.; Heatherton, Todd F. (2014-04-28). "Multimodal frontostriatal connectivity underlies individual differences in self-esteem". Social Cognitive and Affective Neuroscience. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 2015-07-09.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  81. 81.0 81.1 Ellis, A (2001). Feeling better, getting better, staying better. Impact Publishers.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  82. Ellis, A. (2005). The Myth of Self-esteem. Amherst, NY: Prometheus Books. ISBN 1-59102-354-8.
  83. Ellis, Albert; Dryden, Windy. The Practice of Rational Emotive Behavior Therapy (2nd ed.). Springer Publishing Company.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  84. Baumeister; Tierney (2011). Willpower: The Greatest's Human Strength. p. 192.
  85. Branden, Nathaniel (1995). The Six Pillars of Self-esteem. Bantam. p. 52.
  86. Branden, Nathaniel (1988). How to Raise Your Self-Esteem: The Proven Action-Oriented Approach to Greater Self-Respect and Self-Confidence. Random House.
  87. Harter, 1987; Huebner, 1991; Lipschitz-Elhawi & Itzhaky, 2005; Rumberger 1995; Swenson & Prelow, 2005; Yarcheski & Mahon, 1989 อ้างอิงใน Michaels, M.; Barr, A.; Roosa, M.; Knight, G. (2007). "Self-Esteem: Assessing Measurement Equivalence in a Multiethnic Sample of Youth". Journal of Early Adolescence. 27 (3): 270. doi:10.1177/0272431607302009.
  88. Erikson, Erik H. (1973). Childhood and Society. Harmondsworth: Penguin. p. 260. ISBN 0-14-020754-6.
  89. Crompton, Simon (2007). All about Me. London: Collins. p. 16. ISBN 978-0-00-724795-0.
  90. Fenichel, Otto (1946). The Psychoanalytic Theory of Neurosis. London. pp. 407–410.
  91. Symington, Neville (2003). Narcissism: A New Theory. London: Karmac. p. 114. ISBN 1-85575-047-3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Baumeister, Roy F. (2001). "Violent Pride: Do people turn violent because of self-hate or self-love?," in Scientific American, 284, No. 4, pages 96-101; April 2001.
  • Branden, N. (1969). The Psychology of Self-Esteem. New York: Bantam.
  • Branden, N. (2001). The psychology of self-esteem: a revolutionary approach to self-understanding that launched a new era in modern psychology. San Francisco: Jossey-Bass, 2001. ISBN 0-7879-4526-9
  • Burke, C. (2008)"Self-esteem: Why?; Why not?," N.Y. 2008 [1]
  • Crocker J., Park L. E. (2004). "The costly pursuit of self-esteem". Psychological Bulletin. 130 (3): 392–414. doi:10.1037/0033-2909.130.3.392. PMID 15122925.
  • Franklin, Richard L. (1994). "Overcoming The Myth of Self-Worth: Reason and Fallacy in What You Say to Yourself." ISBN 0-9639387-0-3
  • Hill, S.E.; Buss, D.M. (2006). "The Evolution of Self-Esteem." In Kernis, Michael, (Ed.), Self Esteem: Issues and Answers: A Sourcebook of Current Perspectives.. Psychology Press:New York. 328-333. Full text เก็บถาวร 2015-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Lerner, Barbara (1985). "Self-Esteem and Excellence: The Choice and the Paradox," American Educator, Winter 1985.
  • Mecca, Andrew M., et al., (1989). The Social Importance of Self-esteem University of California Press, 1989. (ed; other editors included Neil J. Smelser and John Vasconcellos)
  • Mruk, C. (2006). Self-Esteem research, theory, and practice: Toward a positive psychology of self-esteem (3rd ed.). New York: Springer.
  • Rodewalt F., Tragakis M. W. (2003). "Self-esteem and self-regulation: Toward optimal studies of self-esteem". Psychological Inquiry. 14 (1): 66–70. doi:10.1207/s15327965pli1401_02.
  • Ruggiero, Vincent R. (2000). "Bad Attitude: Confronting the Views That Hinder Student's Learning" American Educator.
  • Sedikides, C., & Gregg. A. P. (2003). "Portraits of the self." In M. A. Hogg & J. Cooper (Eds.), Sage handbook of social psychology (pp. 110-138). London: Sage Publications.
  • Twenge, Jean M. (2007). Generation Me: Why Today's Young Americans Are More Confident, Assertive, Entitled — and More Miserable Than Ever Before. Free Press. ISBN 978-0-7432-7698-6