การยอมรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างง่าย ๆ ของการยอมรับคือการยอมรับของขวัญจากใครสักคน รูปคือ อินทิรา คานธี ที่รับของขวัญอยู่

การยอมรับ (อังกฤษ: Acceptance) ในจิตวิทยามนุษย์คือความยินยอมของบุคคลหนึ่งต่อความเป็นจริงของสถานการณ์หนึ่ง การยอมรับกระบวนการหรือเงื่อนไข (ที่มักจะเป็นของสถานการณ์ที่น่าอึดอัดหรือเป็นด้านลบ) โดยไม่มีความพยายามที่จะเปลี่ยนหรือคัดค้าน มีความหมายคล้ายกับ การยอมรับโดยปริยายที่ทำให้เสียสิทธิ (acquiescence) ในวิชานิติศาสตร์[1]

นิยาม[แก้]

คำว่า การยอมรับ มีความหมายที่หลากหลาย[2] เมื่อบุคคลใดแสดงถึงความยินยอมต่อข้อเสนอที่เขาได้รับ นี่คือ "การยอมรับ" ข้อเสนอเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่าความตกลง (agreement) ด้วย เช่นถ้าบุคคลหนึ่งให้ของขวัญแก่อีกคนหนึ่ง คนที่ได้รับของขวัญได้กระทำการยอมรับแล้ว อีกนิยามหนึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกับความชอบ (favor) การสนับสนุน (endorsement) การต้อนรับและความเป็นส่วนหนึ่ง (welcome and belonging) ซึ่งเป็นด้านบวก ตัวอย่างเช่น บุคคลหนึ่งสามารถชอบและยอมรับคนอีกคนหนึ่งเพียงเพราะเขาเห็นชอบคน ๆ นั้น อีกความหมายหนึ่งของการยอมรับคือการเชื่อหรือยินยอม ความหมายนี้ทับซ้อนกับคำว่า ขันติธรรม (toleration) แต่การยอมรับกับขันติธรรมไม่ได้มีความหมายเดียวกัน

การยอมรับ – "การแสดงออกหรือส่อความด้วยความประพฤติซึ่งยินยอมต่อข้อกำหนดของข้อเสนอด้วยกิริยาอาการแบบชักชวนหรือซึ่งจำเป็นโดยข้อเสนอและทำให้เกิดสัญญาผูกมัด การใช้อำนาจซึ่งสถาปนาจากข้อเสนอผ่านการกระทำอย่างหนึ่ง การกระทำโดยบุคคลที่ได้รับข้อเสนอหรือการจัดหา (procurement) จากบุคคลอื่นซึ่งมีเจตนาคงไว้ซึ่งประเด็นของข้อเสนอนั้นผ่านการกระทำที่ถูกชักชวนโดยข้อเสนอ"[3]

พูดอย่างง่ายว่า การยอมรับคือการปล่อยให้ประสบการณ์ส่วนตัวซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ (ความคิด ความรู้สึก และความต้องการ) ให้ผ่านไปและผ่านมาโดยไม่ไปฝืนมัน

ชนิด[แก้]

ก่อนที่จะแบ่งออกเป็นชนิด เราต้องเข้าใจก่อนว่าการยอมรับคือการถือว่าเหตุการณ์จริงใด ๆ ก็ตามซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจากเหตุการณ์ก่อน ๆ รวมทั้งหมดทั้งมวลเป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แนวความคิดของการยอมรับโดยปกติรวมถึงการเห็นชอบ การใช้คำนี้ในบริบทของจิตวิทยา-เจตภาพ (spirituality) หมายถึงการมีกรอบความคิดที่ไม่พิพากษ์ (non-judgemental mindset) การยอมรับตรงข้ามกับคำว่าการต่อต้าน (resistance) ซึ่งเป็นคำที่มีนัยยะทางการเมืองและจิตวิเคราะห์ที่แรงและนำมาใช้กับบริบทส่วนใหญ่ไม่ได้ กลุ่มบุคคลหรือปัจเจกบุคคลสามารถแสดงการยอมรับเหตุการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ บนโลกและสามารถยอมรับองค์ประกอบของความคิด ความรู้สึก และประวัติส่วนตนได้ อย่างเช่นการรักษาทางจิตบำบัด (psychotherapy) ของผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลคือการส่งเสริมให้ยอมรับพฤติการณ์ส่วนตัวใด ๆ ที่เป็นตัวการให้เกิดความรู้สึกหรือยอมรับตัวความรู้สึกเหล่านั้นเอง นอกจากนั้น จิตบำบัดสามารถรวมถึงการลดการยอมรับต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ของปัจเจกบุคคลลงด้วย

แนวคิดเรื่องการยอมรับเด่นชัดในหลายความเชื่อและในการปฏิบัติสมาธิ อย่างเช่นอริยสัจ 4 ข้อแรกในศาสนาพุทธ "ทุกข์" เชื้อเชิญให้ผู้คนยอมรับว่าความทุกข์ทรมาน (suffering) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยธรรมชาติ ชนกลุ่มน้อย (Minority group) มักกล่าวว่าเป้าหมายของพวกเขาคือการยอมรับในสังคมซึ่งคนส่วนใหญ่ (Normative social influence) จะไม่กีดกันชนกลุ่มน้อยจากการมีส่วนร่วมในสังคม คนส่วนใหญ่อาจเรียกได้ว่ามีขันติธรรมต่อชนกลุ่มน้อย ก็ต่อเมื่อชนกลุ่มน้อยถูกจำกัดการมีส่วนร่วมให้อยู่ในมุมหนึ่งของสังคมแต่ไม่ได้ถูกยอมรับโดยคนส่วนใหญ่

การยอมรับคือระยะที่ห้าของแบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์ (หรือเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า "ระยะของความเศร้าโศก")

The Big Book of Alcoholics Anonymous อธิบายถึงความสำคัญของการยอมรับในการรักษาอาการติดสุรา โดยกล่าวว่าการยอมรับสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่บุคคลหนึ่งรู้สึกเสียขวัญจาก "คน สถานที่ สิ่งของ หรือสถานการณ์ - ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งในชีวิตที่พวกเขายอมรับไม่ได้"[a] ได้ และอ้างว่าบุคคลที่ติดสุราจะไม่สามารถพบกับความสงบเงียบได้จนกว่าจะยอมรับว่า "ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นมาอย่างผิดพลาดบนโลกของพระเจ้า"[b] และจะต้องยอมรับเงื่อนไขของการติดสุราไปอย่างปฏิเสธไม่ได้[4]

การยอมรับตนเอง[แก้]

การยอมรับตนเอง (อังกฤษ: Self-acceptance) คือการพอใจกับตัวตน ณ ปัจจุบันของตัวเอง มันคือการตกลงกับตัวเองที่จะเห็นคุณค่า รับรองและสนับสนุนตัวตนอย่างที่เป็นอยู่โดยไม่คำนึงถึงข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมในอดีตที่เป็นด้านลบ ผู้คนมีปัญหากับการยอมรับตัวเองเพราะความรู้สึกผิด ความบอบช้ำทางจิตใจ หรือการขาดแรงจูงใจ[ต้องการอ้างอิง] บางคนเข้าใจผิดว่าหากใครมีความสุขกับตัวเองแสดงว่าเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเกี่ยวกับตัวเองเลย แต่ละบุคคลไม่จำเป็นที่จะต้องไม่มีความสุขกับตัวเองเพื่อที่จะรู้ว่าจะต้องเปลี่ยนและสามารถเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบได้ตลอกเวลา[ต้องการอ้างอิง]

การยอมรับทางสังคม[แก้]

การเปลี่ยนแปลงของทัศนคติต่อการอยู่ร่วมกัน (cohabitation) ในสหรัฐอเมริกา

การยอมรับทางสังคม (อังกฤษ: Social acceptance) ส่งผลต่อผู้คนทุกกลุ่มสังคม (Social group) และช่วงอายุ เราสามารถให้นิยามการยอมรับทางสังคมเป็นการมีขันติธรรมต่อความแตกต่างและความหลากหลาย (Multiculturalism) ของผู้อื่น เพราะผู้คนส่วนใหญ่พยายามทำตัวและทำให้ดูเหมือนผู้อื่นเพื่อให้เข้ากับคนอื่น[ต้องการอ้างอิง]

เด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน และปฏิบัติสนองความต้องการนั้นด้วยแรงกดดันจากคนรอบข้าง บางครั้งแรงกดดันจากคนรอบข้างสามารถกำหนดได้กระทั่งทรงผมและสไตล์การแต่งตัวที่ผู้คนมองว่า "เท่" ความต้องการของบุคคลหนึ่งที่จะได้รับการยอมรับจากอีกบุคคลที่มิตรภาพมีความสำคัญต่อเขานั้นสามารถกำหนดความเปิดรับ (Social influence) ต่อพฤติกรรมที่ได้รับความนิยมเช่นการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การสบถและอื่น ๆ ได้[5] ผู้คนแสดงและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหนึ่งบนความต้องการการเห็นชอบจากเพื่อนของเขา ซึ่งรวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการเสพสารเสพติด

เมื่อพูดถึงความผิดปกติทางจิต การยอมรับทางสังคมมีบทบาทที่สำคัญในการคืนสู่สุขภาวะ (Recovery model) หลายคนไม่เข้าใจการเจ็บป่วยทางจิตใจ พวกเขาจึงไม่แน่ใจว่าควรโอบรับผู้คนที่เป็นโรคอย่างไรและทิ้งให้ผู้คนเหล่านั้นมีความรู้สึกโดดเดี่ยว (Social isolation) ท่ามกลางกลุ่มเพื่อน

มีเงื่อนไข[แก้]

มาตรฐานที่แสดงขนาดของช่องว่างในเตียงนอนเด็ก (infant bed) ที่ยอมรับได้หรืออันตราย

การยอมรับแบบมีเงื่อนไข (อังกฤษ: Conditional acceptance) คือการยอมรับชนิดหนึ่งที่มีเงื่อนไขซึ่งต้องการให้ดัดแปลงเงื่อนไขเบื้องต้นก่อนที่จะทำการยอมรับ[ต้องการอ้างอิง] ตัวอย่างเช่นสัญญาที่ต้องการการยอมรับจากสองฝ่ายอาจจะต้องถูกดัดแปลงเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ บุคคลหนึ่งได้รับข้อเสนอและจะตกลงก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไข สัญญาระหว่างธุรกิจและนายจ้างสามารถถูกเปลี่ยนและดัดแปลงโดยทั้งสองฝ่ายได้จนกว่าทั้งสองจะตกลงหรือยอมรับเนื้อหาในสัญญาทางธุรกิจนั้น

โดยชัดแจ้ง[แก้]

การยอมรับโดยชัดแจ้ง (อังกฤษ: Expressed acceptance) คือการยอมรับเงื่อนไขที่ถูกตั้งไว้อย่างเปิดเผยและชัดเจน ตัวอย่างเช่นบุคคลหนึ่งตกลงรับข้อเสนออย่างชัดเจนและแน่ชัด เขายอมรับข้อกำหนดโดยไม่ได้เปลี่ยนอะไรมันเลย

โดยนัย[แก้]

การยอมรับโดยนัย (อังกฤษ: Implied acceptance) คือการมีเจตนาที่จะยินยอมต่อเงื่อนไขที่ถูกเสนอมา การยอมรับถูกบอกเป็นนัยด้วยการกระทำที่แสดงถึงการตกลงต่อการต่อรองที่ถูกเสนอ เมื่อบุคคลหนึ่งเลือกซื้อสินค้าชนิดหนึ่งในห้างสรรพสินค้าเขาได้แสดงถึงการตกลงต่อข้อเสนอซึ่งก็คือราคาของสินค้า

ความเชื่อ[แก้]

การยอมรับเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานของความเชื่อหลักในศาสนาอับราฮัมส่วนใหญ่ เช่นคำว่า "อิสลาม" สามารถแปลได้ว่า "การยอมรับ", "การยอมแพ้" หรือ "การยอมจำนนโดยสมัครใจ"[6][7] และศาสนาคริสต์ตั้งอยู่บน "การยอมรับ" ว่าพระเยซูแห่งนาซาเรธเป็นพระคริสต์และการยอมรับพระประสงค์ของพระเจ้า ศาสนาและการรักษาทางจิตวิทยามักจะเสนอให้ยอมรับเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ชอบหรือเป็นชะตากรรม (Destiny) หรือเมื่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้นอาจจะทำได้แต่มีราคาที่ต้องจ่ายหรือความเสี่ยงที่สูงมาก การยอมรับสามารถมีความหมายโดยนัยว่าเป็นการไม่พยายามเปลี่ยนแปลงในทางพฤติกรรมที่มองเห็นได้ แต่คำนี้ยังสามารถนำมาใช้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเพื่อหมายถึงสภาวะทางประชานและอารมณ์ที่รู้สึกหรือถูกสมมติฐานขึ้นมา

ในความเชื่อศาสนาคริสต์ การยอมรับถูกมองว่าเป็นการโอบรับสภาพความจริงของสถานการณ์หนึ่งซึ่งทำโดยตั้งอยู่บนความไว้วางใจ (Trust (emotion)) ในพระประสงค์และและการควบคุมของพระเจ้าที่สมบูรณ์ ในประชาคมมุสลิม การยอมรับอัลลอฮ์คล้ายกับวิธีที่คริสต์ศาสนิกชนยอมรับว่าพระเจ้าเป็นสัตที่สูงกว่า (Bates, 2002) ชาวยิวยอมรับบัญญัติ 10 ประการเป็นวิถีการใช้ชีวิตที่ดีและสมปรารถนา (Mcdowell and Stewart, 1983).

หมายเหตุ[แก้]

  1. "person, place, thing or situation – some fact of [their] life – [which is] unacceptable to [them]"
  2. "nothing happens in God's world by mistake"

บรรณานุกรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Acquiesce - Define Acquiesce at Dictionary.com". Dictionary.com.
  2. "Acceptance - Definition and More from the Free Merriam-Webster Dictionary". merriam-webster.com.
  3. Chirelstein, Marvin (2001). Concepts and Case Analysis in the Law of Contracts. New York: Foundation. ISBN 1587781972.
  4. Dr Paul O, "The big book of Alcoholics Anonymous" P449, 3rd ed or P417, 4th ed.
  5. "Drinking, smoking causes early heart problems". KREM. KREM. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
  6. Lewis, Bernard Ellis; Churchill, Buntzie Ellis (2009). Islam: The Religion and the People. Pearson Education Inc. p. 8. ISBN 9780132716062.
  7. admin. "What does ISLAM mean?". The Friday Journal. qaem.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2011. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]