สะพานพระราม 3
สะพานพระราม 3 | |
---|---|
สะพานพระราม 3 (ทางขวาของภาพ) โดยคู่ขนานไปกับสะพานกรุงเทพ | |
เส้นทาง | ถนนรัชดาภิเษก, ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน, ถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 3, รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ |
ข้าม | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ที่ตั้ง | แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม |
ชื่อทางการ | สะพานพระราม 3 |
ชื่ออื่น | สะพานกรุงเทพ 2 |
ผู้ดูแล | กรมทางหลวงชนบท |
รหัส | ส.004 |
เหนือน้ำ | สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
ท้ายน้ำ | สะพานกรุงเทพ |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานคานรูปกล่อง (box girder bridge) |
ความยาว | หลักช่วงกลางน้ำ 226 เมตร, หลักช่วงข้าง 125 เมตร |
ความกว้าง | 34 เมตร |
ความสูง | 66 เมตร |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2539 |
วันเปิด | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2542 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 |
สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ นอกจากนี้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย[1] และเหตุที่สะพานมีระดับสูงและช่วงทางลงยาวมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นในทางลงด้านถนนเจริญกรุงก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทางลาดชัน จึงเกิดเหตุรถพุ่งเข้าชนบ้านที่อยู่ตรงทางลง ทำให้ต้องมีการสร้างแผงปูนขึ้นกั้นบริเวณบ้านที่อยู่ทางลงด้านนี้[2][3] โดยสะพานแห่งนี้ มีระบบขนส่งมวลชน ประเภทรถโดยสารด่วนพิเศษ นั่นคือ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ใช้ช่องทางร่วมกับรถทั่วไปด้วย โดยช่องเดินรถจะอยู่ด้านขวาสุด ชิดเกาะกลางสะพาน
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2539
- วันเปิดการจราจร : วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2542
- วันที่ทำพิธีเปิดสะพาน : วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543
- บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : Ed.Zublin Ag.Wayss & Freytag And Stecon Joint Venture
- ราคาค่าก่อสร้าง : งบประมาณแผ่นดิน 411,489,540 บาท และจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) 2,481,181,265 เยน
- แบบของสะพาน : สะพานคานรูปกล่อง (Box Girder)
- ความกว้างของสะพาน : 6 ช่องจราจร 2 ทิศทาง 23 เมตร (ยกเว้นเชิงสะพานทั้งสองฝั่ง มี 4 ช่องจราจร เนื่องจากช่องจราจรด้านซ้ายสุดทั้งสองช่องเป็นสะพานเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุงและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน)
- สูงจากระดับน้ำ : 34 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- ความกว้างของช่องลอด : 66 เมตร
- ความยาวของโครงสร้างสะพาน : หลักช่วงกลางน้ำ 226 เมตร, หลักช่วงข้าง 125 เมตร
- ความยาวเชิงลาดของสะพาน : ทั้ง 2 ฝั่ง 1,694 เมตร
- ความยาวเชิงลาดทางขึ้น : ที่ถนนตก 211 เมตร, ที่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 625 เมตร
- ความยาวเชิงลาดทางลง : ที่ถนนเจริญกรุง 366 เมตร
- ถนนระดับดิน : ทั้งสองฝั่ง 834 เมตร
- ความยาวสะพานพร้อมเชิงลาด : 3,372 เมตร โดยเริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนพระรามที่ 3 ห่างจากแยกถนนตก ประมาณ 300 เมตร[4]
ทัศนียภาพ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา, ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 5 July 2015
- ↑ Krungthep Bridge ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae)
- ↑ "New Krungthep Bridge, Bangkok, Thailand". Road Traffic Technology. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27.
- ↑ Reference portfolio - Ramah III bridge (PDF), Aas Jakobsen, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-03, สืบค้นเมื่อ 12 August 2014
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานพระราม 3
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°42′05″N 100°29′33″E / 13.701519°N 100.492619°E
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
สะพานพระราม 3 |
ท้ายน้ำ สะพานกรุงเทพ |