วิธีใช้:เมจิกเวิร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิธีใช้:MW)

เมจิกเวิร์ด (magic word) รวมทั้งฟังก์ชันตัวแจงส่วน ตัวแปรและสวิตช์พฤติกรรม เป็นคุณลักษณะของมาร์กอัพวิกิซึ่งให้คำสั่งแก่ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิพื้นเดิมของวิกิพีเดีย ตัวอย่างเช่น เมจิกเวิร์ดสามารถระงับหรือจัดตำแหน่งของสารบัญ ปิดใช้งานการสร้างดัชนีโดยเสิร์ชเอนจินภายนอก และให้ผลออกแบบพลวัตโดยยึดหน้าปัจจุบันหรือตามตรรกะเงื่อนไขที่ผู้ใช้นิยาม คุณลักษณะเหล่านี้บางอย่างมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับแม่แบบ

หน้านี้เป็นอ้างอิงเร็ว ๆ สำหรับเมจิกเวิร์ด หากต้องการสารสนเทศเพิ่มเติมให้ดูเอกสารหลักของมีเดียวิกิดังนี้

  • mw:Help:Magic words: เมจิกเวิร์ดมาตรฐานทั้งหมด รวมทั้งฟังก์ชันตัวแจงส่วน "มาตรฐาน"
  • mw:Help:Extension:ParserFunctions: ฟังก์ชันตัวแจงส่วนเพิ่มเติม รวมทั้งนิพจน์แบบมีเงื่อนไข

สารสนเทศทั่วไป[แก้]

โดยทั่วไปมีเมจิกเวิร์ดอยู่สามประเภท

  1. สวิตช์พฤติกรรม (Behavior switch): มักปรากฏในรูปเส้นใต้อักขระคู่ และตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด เช่น __NOTOC__ เมจิกเวิร์ดชนิดนี้จะเปลี่ยนพฤติกรรมของหน้า มากกว่าคืนค่าค่าหนึ่ง
  2. ฟังก์ชันตัวแจงส่วน (Parser function): เป็นตัวอักษรเล็กทั้งหมด ฟังก์ชันตัวแจงส่วนจะตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) และตัวแปรเสริมที่คั่นด้วยขีดตั้ง (|) เช่น {{#ifexpr:Y|Yes|No}} คร่อมด้วยเครื่องหมายวงเล็บปีกกาคู่ เมจิกเวิร์ดชนิดนี้จะรับค่าค่าหนึ่งและคืนค่าค่าหนึ่ง
  3. ตัวแปร (Variable): เป็นตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด เช่น {{PAGENAME}} ตัวแปรจะคร่อมด้วยเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมคู่และคืนค่าค่าหนึ่งแทนที่เมจิกเวิร์ดเอง

โดยทั่วไปซอฟต์แวร์แปลคำสั่งเมจิกเวิร์ดดังนี้

  • เมจิกเวิร์ดไวต่ออักษรใหญ่เล็ก
  • อนุญาตอักขระช่องว่างเพื่อให้อ่านง่าย อักขระว่างจะถูกลบออกจากจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของคำสำคัญและตัวแปร (เช่นเดียวกับในแม่แบบ)
  • เมจิกเวิร์ดสามารถถูกรวมผ่าน (transclude) แม้แต่ตัวแปร "เกี่ยวกับหน้าปัจจุบัน" ซึ่งรับประกันด้วยลำดับการแจงส่วน
  • การใส่ป้ายระบุ <nowiki> จะลบคุณสมบัติของเมจิกเวิร์ดเพื่อให้สามารถแสดงตัวเมจิกเวิร์ดได้ แทนการแปลงเป็นคำสั่งเอชทีเอ็มแอล

{{เมจิก}} เวิร์ดเทียบกับ {{แม่แบบ}}:

  • เมจิกเวิร์ดสามารถรวมผ่านและแทนที่ (substitution) ได้เช่นเดียวกับแม่แบบ
  • ชื่อของ {{เมจิกเวิร์ด}} มีการเลือกมาโดยมีวัตถุประสงค์ต่างจากชื่อของ {{แม่แบบ}} ชื่อฟังก์ชันตัวแจงส่วนหลายตัวขึ้นต้นด้วยสัญลักษณ์ # แต่ชื่อแม่แบบจะไม่ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # และอาจไม่ลงท้ายด้วยอักขระทวิภาค : หรือเป็นตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด
  • วากยสัมพันธ์ของตัวแปรแรกแตกต่างกัน ใน {{#magic: p1| p2 | p3}} ชื่อคือ #magic และตามด้วยทวิภาค : ไม่เว้นวรรคและตัวแปรเสริมรับเข้าที่จำเป็นต้องมี p1 ส่วน |p1= ตัวแรกของแม่แบบไม่จำป็นต้องมีแต่ต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมายไพป์ | แทนทวิภาค :

สวิตช์พฤติกรรม[แก้]

สวิตช์ คำบรรยาย
__TOC__ จัดสารบัญของหน้าให้อยู่ในตำแหน่งนี้
__FORCETOC__ บังคับให้สารบัญอยู่ในตำแหน่งโดยปริยาย สามารถเขียนโค้ดที่ใดก็ได้ในหน้า
__NOTOC__ ระงับการแสดงผลสารบัญของหน้า สามารถเขียนโค้ดที่ใดก็ได้ในหน้า
__NOEDITSECTION__ ซ่อนลิงก์ "แก้" ซึ่งปกติอยู่ข้างพาดหัวทั้งหมดในหน้า
  • หากต้องการซ่อนลิงก์แก้ที่อยู่ข้างพาดหัวพาดหัวเดียว ให้ระบุพาดหัวนั้นโดยใช้ป้ายระบุเอชทีเอ็มแอล เช่น <h2>พาดหัว</h2> แทนการใช้วากยสัมพันธ์เครื่องหมายเท่ากับของวิกิตามปกติ (คือ == พาดหัว ==)
__NEWSECTIONLINK__ เพิ่มลิงก์ "เพิ่มหัวข้อ" เพื่อเป็นวิธีการเพิ่มส่วนใหม่ในหน้านั้น (ใช้กับหน้าที่ไม่ใช่หน้าคุย)
__NONEWSECTIONLINK__ ลบลิงก์ "เพิ่มหัวข้อ" (เพิ่มส่วนใหม่) ในหน้าคุย
__NOGALLERY__ เปลี่ยนภาพย่อ (thumbnail) ในหน้าหมวดหมู่เป็นลิงก์ตามปกติ
__HIDDENCAT__ ทำให้หมวดหมู่นั้นเป็นหมวดหมู่ซ่อน
__INDEX__ สั่งให้เสิร์ชเอนจินทำดัชนีหน้านั้น
__NOINDEX__ สั่งให้เสิร์ชเอนจินไม่ทำดัชนีหน้านั้น
__STATICREDIRECT__ ป้องกันลิงก์ในหน้าเปลี่ยนทางไม่ให้ปรับอัตโนมัติเมื่อหน้าปลายทางลิงก์ถูกย้าย (และเลือก "ปรับการเปลี่ยนทางใด ๆ ที่ชี้ไปยังชื่อเรื่องเดิม") นอกจากนี้ยังสั่งให้บอตอินเทอร์วิกิถือว่าหน้านั้นเป็นบทความ
__DISAMBIG__ ทำเครื่องหมายหน้านั้นเป็นหน้าแก้ความกำกวม เพิ่มเข้า Special:DisambiguationPages และวางลิงก์เข้าใน Special:DisambiguationPageLinks
{{DISPLAYTITLE:ชื่อเรื่อง}} ใช้เพื่อปรับแก้ชื่อเรื่องแบบที่แสดงของหน้านั้น
{{DEFAULTSORT:แป้น}} ตั้งแป้น (sort key) โดยปริยาย (ดัชนี) เมื่อจัดหมวดหมู่หน้า เช่น จัดให้หน้า "กา" อยู่ใต้หมวด "ก"
{{NOEXTERNALLANGLINKS}} (เทียบเท่ากับ {{NOEXTERNALLANGLINKS|*}}) ห้ามใส่ลิงก์ข้ามภาษาของวิกิสนเทศอัตโนมัติในด้านซ้ายมือของหน้า สามารถระงับลิงก์ไปบางภาษาไม่ใช่ทุกภาษาได้โดยใช้ {{NOEXTERNALLANGLINKS|รายการ}} โดยให้เปลี่ยน รายการ เป็นรายการโค้ดภาษาที่คั่นด้วยไพป์ | (เช่น {{NOEXTERNALLANGLINKS|fr|es|ja}} เพื่อระงับลิงก์ข้ามภาษาภาษาฝรั่งเศส ("fr"), ภาษาสเปน ("es") และภาษาญี่ปุ่น ("ja"))

ตัวแปร[แก้]

ตัวแปรชื่อหน้า นำออก คำบรรยาย
{{FULLPAGENAME}} วิธีใช้:เมจิกเวิร์ด ชื่อหน้าแบบบัญญัติ ชื่อเรื่องที่ไม่ถูก {{DISPLAYTITLE}} เปลี่ยน
{{PAGENAME}} เมจิกเวิร์ด บรรทัดชื่อเรื่องที่ไม่รวมเนมสเปซ
{{BASEPAGENAME}} เมจิกเวิร์ด ชื่อเรื่องของหน้าแม่ (parent page) ไม่รวมเนมสเปซ
{{ROOTPAGENAME}} เมจิกเวิร์ด ชื่อเรื่องของหน้าแม่ระดับบนสุด (ก่อนหน้าย่อยทั้งหมด) ไม่รวมเนมสเปซ
{{SUBPAGENAME}} เมจิกเวิร์ด ในหน้าย่อยส่วนขวามือสุดของชื่อเรื่องปัจจุบัน สำหรับชื่อหน้าย่อยระดับสูงกว่าแสงผลเป็นลิงก์กลับ.
{{ARTICLEPAGENAME}} วิธีใช้:เมจิกเวิร์ด ชื่อเรื่องของหน้าหัวเรื่องที่สัมพันธ์กับหน้าปัจจุบัน มีประโยชน์ในหน้าพูดคุย
{{SUBJECTPAGENAME}} วิธีใช้:เมจิกเวิร์ด
{{TALKPAGENAME}} คุยเรื่องวิธีใช้:เมจิกเวิร์ด ชื่อเรื่องของหน้าคุยที่สัมพันธ์กับหน้าปัจจุบัน มีประโยชน์ในหน้าหัวเรื่อง
{{NAMESPACENUMBER}} 12 เลขเนมสเปซของหน้าปัจจุบัน
{{NAMESPACE}} วิธีใช้ เนมสเปซของชื่อเรื่อง
{{ARTICLESPACE}} วิธีใช้ ใช้ในหน้าคุย ส่วนเนมสเปซของชื่อเรื่องของหน้าหน้าหัวเรื่องที่สัมพันธ์ (เช่น ถ้าใช้กับ "คุยเรื่องวิธีใช้" จะได้ผลเป็น "วิธีใช้")
{{SUBJECTSPACE}} วิธีใช้
{{TALKSPACE}} คุยเรื่องวิธีใช้ เนมสเปซของหน้าคุยที่สัมพันธ์กับหน้าปัจจุบัน
{{FULLPAGENAMEE}},
{{PAGENAMEE}},
 (ฯลฯ)
%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89:%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94,
%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94,
(etc.)
เพิ่มตัว E ต่อท้ายตัวแปรข้างต้นได้ทุกตัว ทำให้มีการเข้ารหัสสำหรับใช้ในยูอาร์แอลของมีเดียวิกิ (ใช้ขีดเส้นใต้แทนช่องว่าง)

หมายเหตุ: เมจิกเวิร์ดข้างต้นยังสามารถรับตัวแปรเสริมตัวหนึ่งเพื่อให้แจงส่วนค่าในหน้าอื่นนอกเหนือจากหน้าปัจจุบันได้ ใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) เพื่อข้ามตัวแปรเสริม แทนไพป์ (|) ที่ใช้ในแม่แบบ ดังนี้ {{MAGICWORD:value}} ตัวอย่างเช่น {{TALKPAGENAME:WP:MOS}} จะให้ค่าเป็น คุยเรื่องวิกิพีเดีย:MOS ในทุกหน้า ดูเพิ่มที่ meta:Help:Page name (อังกฤษ) สำหรับรายละเอียดเรื่องฟังก์ชันตัวแจงส่วนเพิ่มเติม

หมายเหตุ: ในเนมสเปซ "หมวดหมู่" และ "คุยเรื่องหมวดหมู่" ในการทำวิกิลิงก์ในบางหน้าอาจต้องการใส่เครื่องหมายทวิภาคนำหน้าเพื่อเลี่ยงการจัดหมวดหมู่ที่ไม่พึงประสงค์

ตัวแปรของเว็บไซต์ ตัวอย่าง คำบรรยาย
{{SITENAME}} วิกิพีเดีย
{{SERVER}} //th.wikipedia.org
{{SERVERNAME}} th.wikipedia.org
{{SCRIPTPATH}} /w
{{CURRENTVERSION}} 1.43.0-wmf.1 (8e1947e) คืนรุ่นปัจจุบันของมีเดียวิกิ

ตัวแปรอื่นแบ่งตามประเภท[แก้]

วันที่และเวลา ข้อมูลรุ่นแก้ไข สถิติb
เวลาสากล
  • {{CURRENTYEAR}}
  • {{CURRENTMONTH}}
  • {{CURRENTMONTHNAME}}
  • {{CURRENTMONTHABBREV}}
  • {{CURRENTDAY}}
  • {{CURRENTDAY2}}
  • {{CURRENTDOW}}
  • {{CURRENTDAYNAME}}
  • {{CURRENTTIME}}
  • {{CURRENTHOUR}}
  • {{CURRENTWEEK}}
  • {{CURRENTTIMESTAMP}}
เวลาท้องถิ่นของเว็บไซต์
  • {{LOCALYEAR}}
  • {{LOCALMONTH}}
  • {{LOCALMONTHNAME}}
  • {{LOCALMONTHABBREV}}
  • {{LOCALDAY}}
  • {{LOCALDAY2}}
  • {{LOCALDOW}}
  • {{LOCALDAYNAME}}
  • {{LOCALTIME}}
  • {{LOCALHOUR}}
  • {{LOCALWEEK}}
  • {{LOCALTIMESTAMP}}
  • {{REVISIONID}}a
  • {{REVISIONDAY}}
  • {{REVISIONDAY2}}
  • {{REVISIONMONTH}}
  • {{REVISIONYEAR}}
  • {{REVISIONTIMESTAMP}}
  • {{REVISIONUSER}}c
  • {{NUMBEROFPAGES}}
  • {{NUMBEROFARTICLES}}
  • {{NUMBEROFFILES}}
  • {{NUMBEROFEDITS}}
  • {{NUMBEROFUSERS}}
  • {{NUMBEROFADMINS}}
  • {{NUMBEROFACTIVEUSERS}}
a {{REVISIONID}} ไม่สามารถแทนที่ได้และจะไม่ทำงานในการแสดงตัวอย่าง
b วิกิพีเดียภาษาไทย
c แสดงผู้ใช้คนสุดท้ายที่แก้ไขหน้า ไม่มีทางใดแสดงผู้ใช้ที่เข้าชมหน้าเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค

ฟังก์ชันตัวแจงส่วน[แก้]

ข้อมูลอภิพันธุ์[แก้]

ฟังก์ชัน คำบรรยาย
{{PAGEID}} เลขตัวระบุหน้าที่เป็นเอกลักษณ์
{{PAGESIZE:fullpagename}} ขนาดของหน้าที่ระบุ หน่วยเป็นไบต์
{{PROTECTIONLEVEL:action|fullpagename}} ระดับการล็อกที่กำหนดต่อ "การกระทำ" ("แก้ไข", "ย้าย" ฯลฯ) ของหน้าที่ระบุ
{{PROTECTIONEXPIRY:action|fullpagename}} เวลาหมดอายุการล็อกที่กำหนดต่อ "การกระทำ" ("แก้ไข", "ย้าย" ฯลฯ) ของหน้าที่ระบุ
{{PAGESINCATEGORY:pagename}} จำนวนหน้าในหมวดหมู่ชื่อ pagename
{{NUMBERINGROUP:groupname}} จำนวนผู้ใช้ในกลุ่มผู้ใช้ชื่อ groupname

หากต้องการให้นำออกจำนวนโดยไม่มีอักขระคั่นจุลภาค (ตัวอย่างเช่น จะใช้ "123456789" แทน "123,456,789") ให้ผนวกตัวแปรเสริม |R ต่อท้ายโค้ด แต่อยู่ก่อนเครื่องหมายวงเล็บปีกกา

การจัดรูปแบบ[แก้]

ฟังก์ชัน คำบรรยาย
{{lc:string}} เปลี่ยนอักขระทั้งหมดใน string เป็นตัวเล็ก
{{lcfirst:string}} เปลี่ยนอักขระตัวแรกใน string เป็นตัวเล็ก
{{uc:string}} เปลี่ยนอักขระทั้งหมดใน string เป็นตัวใหญ่
{{ucfirst:string}} เปลี่ยนอักขระตัวแรกใน string เป็นตัวเล็ก
{{formatnum:unformatted_number}}
{{formatnum:formatted_num |R}}
เพิ่มอักขระคั่นจุลภาคให้กับ unformatted_number (เช่น 123456789 จะกลายเป็น 123,456,789) หากต้องการลบการจัดรูปแบบดังกล่าว ให้ใช้ {{formatnum:formatted_number|R}} (ตัวอย่างเช่น {{formatnum:7,654,321|R}} จะได้ 7654321)
{{#dateformat:date|format}}
{{#formatdate:date|format}}
จัดรูปแบบวันที่ตามความพึงใจของผู้ใช้ สามารถระบุค่าโดยปริยายเป็นตัวแปรเสริมที่สองที่ไวต่ออักษรใหญ่เล็กได้โดยไม่ระบุวันเดือนปีที่พึงใจ (จะใส่หรือไม่ก็ได้) สามารถเปลี่ยนวันที่จากรูปแบบที่มีอยู่เป็น dmy, mdy, ymd หรือรูปแบบ ISO 8601 ก็ได้ โดยค่าพึงใจของผู้ใช้จะเขียนทับรูปแบบที่เจาะจงไว้
{{padleft:xyz|stringlength}}
{{padright:xyz|stringlength}}

{{padleft:xyz|length|padstr}}
{{padright:xyz|length|padstr}}
เพิ่มเลขศูนย์ '0' ต่อไปทางขวาหรือซ้ายจนมีจำนวนหลักตามที่กำหนด สามาระรุบสายอักขระเพิ่มทางเลือกเป็นตัวแปรเสริมที่ 3 สายอักขระเพิ่มซ้ำ (padstr) จะถูกตัดปลายหากความยาวของสายอักขระหารจำนวนอักขระที่ต้องการไม่ลงตัว
{{plural:N|singular|plural}} ให้ค่า singular ถ้า N เท่ากับ 1 ส่วนกรณีอื่นให้ค่า plural
{{#time:format|object}}
{{#timel:format|object}}

{{#time:d F Y|date|langcode}}
ใช้เพื่อจัดรูปแบบวันที่และเวลาสำหรับรูปแบบ ISO จุดหรือชื่อเดือนภาษาอังกฤษ #timel อาศัยเวลาท้องถิ่นตามที่นิยามไว้สำหรับวิกิแต่ละที่ สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย ค่านี้เทียบเท่ากับ#time
ตัวแปรเสริมที่ 3 (จะใส่หรือไม่ก็ได้) เป็นรหัสภาษานำออก (ภาษาฝรั่งเศส fr, ภาษาเยอรมัน de, ภาษาสวีเดน sv เป็นต้น)
  • ตัวอย่างภาษาฟินแลนด์ {{#time:d F Y|June 30, 2016|fi}} แสดงผลเป็น 30 kesäkuu 2016 (มิถุนายน)
  • ISO เป็นภาษาเยอรมัน {{#time:d. M Y|1987-10-31|de}} แสดงผลเป็น 31. Okt. 1987.
    สำหรับรหัสรูปแบบ ดูที่ mw:Help:Extension:ParserFunctions##time (อังกฤษ) ใช้รูปแบบ {{#time: H:i, j F Y (e)|...}} เพื่อให้ตรงกับรูปแบบที่ตราเวลาใช้ในลายเซ็น
{{gender:user|m_out|f_out|u_out}} นำออก m_out, f_out หรือ u_out ขึ้นอยู่กับว่าเพศที่ระบุในการตั้งค่าผู้ใช้เป็นชาย หญิงหรือไม่ระบุตามลำดับ มีการเรียงสับเปลี่ยนตัวแปรเสริมอย่างอื่นอีก ดูที่ mw:Help:Magic words#gender (อังกฤษ) และ translatewiki:Gender (อังกฤษ)
{{#tag:tag|content with magic}} เป็นทางเดียวในการประเมินเมจิกเวิร์ด ภายในป้ายระบุ เพื่อสร้าง <tag>magic</tag> นอกจากนี้ยังจัดการลักษณะประจำป้ายระบุ

วิถี[แก้]

ฟังก์ชัน คำบรรยาย
{{localurl:fullpagename |query}} วิถีโดยสัมพันธ์ต่อชื่อหน้า ตัวแปรเสริม query จะใส่หรือไม่ก็ได้
{{fullurl:fullpagename |query}} วิถีสัมบูรณ์ โดยไม่มีการเติมหน้าโพรโทคอล (คือ ไม่มี "http:" ฯลฯ) ต่อชื่อหน้า ตัวแปรเสริม query จะใส่หรือไม่ก็ได้
{{canonicalurl:fullpagename |query}} วิถีสัมบูรณ์ โดยเติมหน้าโพรโทคอลต่อชื่อหน้า ตัวแปรเสริม query จะใส่หรือไม่ก็ได้
{{filepath:filename}} วิถีสัมบูรณ์ต่อไฟล์สื่อ filename
{{urlencode:string}} เข้ารหัส string สำหรับใช้ในสายอักขระคิวรียูอาร์แอล ตัวอย่างเช่น {{urlencode:test string}} จะได้ test+string ในการเข้ารหัสสายอักขระสำหรับใช้ในวิถียูอาร์แอลหรือชื่อหน้ามีเดียวิกิ ให้ผนวกด้วย |PATH หรือ |WIKI ตามลำดับ (จะได้ว่า "test%20string" หรือ "test_string")
{{anchorencode:string}} รับเข้าที่เข้ารหัสสำหรับใช้ในหลักยึดส่วนยูอาร์แอลมีเดียวิกิ
{{ns:n}} คืนชื่อของเนมสเปซซึ่งดัชนีเป็นจำนวน n สำหรับยูอาร์แอลมีเดียวิกิ ให้ใช้ {{nse:}}
{{#rel2abs:path}} เปลี่ยนวิถีไฟล์สัมพัทธ์เป็นวิถีสัมบูรณ์
{{#titleparts:fullpagename|number|first segment}} แบ่ง fullpagename (ชื่อเรื่อง) เป็นจำนวนเซกเมนต์ที่ระบุ

มีเงื่อนไข[แก้]

ฟังก์ชัน คำบรรยาย
{{#expr:expression}} ประเมิน expression (ดู m:Help:Calculation)
{{#if:string |result1 |result2}} นำออก result2 ถ้า string ว่าง ถ้าไม่ว่างจะนำออก result1
{{#ifeq:string1|string2 |result1 |result2}} นำออก result1 ถ้า string1 เท่ากับ string2 (ทั้งพยัญชนะหรือเลข) ถ้าไม่เท่ากันจะนำออก result2
{{#iferror:test_string |result1 |result2}} นำออก result1 ถ้า test_string ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดการแจงส่วน ส่วนกรณีอื่นจะนำออก result2
{{#ifexpr:expression |result1 |result2}} นำออก result1 ถ้า expression เป็นจริง ส่วนกรณีอื่นจะนำออก result2
{{#ifexist:pagetitle |result1 |result2}} นำออก result1 ถ้ามีหน้า [[pagetitle]] ส่วนกรณีอื่นจะนออก result2 สังเกตว่าจำเป็นต้องมีขีดเส้นใต้ (underscore) สำหรับช่องว่างในเนมสเปซ
{{#switch:string |c1=r1 |c2=r2 ... |default}} นำออก r1 ถ้า string เท่ากับ c1, r2 ถ้า string เท่ากับ c2 ฯลฯ ส่วนกรณีอื่นจะนำออก default (ถ้ากำหนดไว้)

ในฟังก์ชันมีเงื่อนไขเหล่านี้ กรณีที่ตัวแปรเสริมไม่ออกชื่อว่างถูกแจงส่วนเป็นว่างไม่ใช่ข้อความ (คือ ว่าง ไม่เป็นข้อความ "{{{1}}}", "{{{2}}}" เป็นต้น) ตัวแปรเสริมนั้นจะต้องมีไพป์ตามหลัง (เช่น {{{1|}}}, {{{2|}}} ฯลฯ ไม่ใช่ {{{1}}}, {{{2}}} ฯลฯ)

อื่น ๆ[แก้]

ฟังก์ชัน คำบรรยาย
{{#babel:code1|code2|...}} สร้างกล่องผู้ใช้ที่บอกทักษะภาษาของคุณ พัฒนาตาม {{Babel}} (เป็นทางเลือก)
{{#categorytree:category|...}} แสดงรายการหน้าในหมวดหมู่แบบเรียกซ้ำ
{{#coordinates:arg1|arg2|...}} บันทึกพิกัด GeoData ของหัวเรื่องต่อฐานข้อมูลของหน้า ใช้ใน {{coord}}
{{#invoke:module|function|arg1|...}} ใช้ Scribunto เพื่อรวมผ่านแม่แบบ lua เช่น ฟังก์ชัน replace ใน มอดูล String
{{#language:code1|code2}} พิมพ์ชื่อที่แทนด้วยรหัสภาษา เช่น enEnglish พิมพ์ในภาษาที่ 2 ถ้าระบุไว้
{{#lst:}} {{#lsth:}} {{#lstx:}} เป็น 3 วิธีในการรวมผ่านส่วนหนึ่งของหน้า
{{#property:arg1|arg2|...}} ใส่ property (วิกิสนเทศ) จากเอนทิตีที่ระบุชื่อ แทนเอนทิตีโดยปริยายของหน้า
{{#related:...}} ลิงก์ไปหัวข้อคล้ายกัน เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้อ่าน (คุณสมบัติระยะทดสอบ)
{{#section:}}​{{#section-h:}}​{{#section-x:}} ใช้เหมือนกับ {{#lst:}} {{#lsth}} {{#lstx}} (ดูข้างต้น)
{{#target:fullpagename}} ส่งสารไปยังรายการหน้าพูดคุยทาง fullpagename โดยใช้ฟังก์ชัน MassMessage
{{int:pagename}} รวมผ่านสารอินเตอร์เฟซ เช่น pagename ในเนมสเปซมีเดียวิกิ

ดูเพิ่ม[แก้]