ความไวต่ออักษรใหญ่เล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความไวต่ออักษรใหญ่เล็ก[1] (อังกฤษ: case sensitivity) หมายถึงภาวะที่คำคำหนึ่งที่มีความหมายแตกต่างกันเนื่องจากการใช้อักษรตัวใหญ่และอักษรตัวเล็กต่างกัน คำที่เขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีความหมายเหมือนกับที่เขียนด้วยอักษรตัวเล็กเสมอไป ตัวอย่างเช่น Bill คือชื่อแรกของอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ในขณะที่ bill อาจหมายถึงร่างกฎหมายที่เสนอสภา (เป็นตัวอย่างความหมายหนึ่ง) หรืออย่างเช่น Polish หมายถึงชาวโปแลนด์หรือที่เกี่ยวกับประเทศโปแลนด์ ในขณะที่ polish แปลว่าขัดเงา เป็นต้น

ภาวะที่ตรงข้ามกับ "ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก" (case-sensitive) ก็คือ "ไม่ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก" (case-insensitive) หมายความว่า ไม่ว่าจะใช้อักษรตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ให้ความหมายเดียวกัน

ตัวอย่างข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ที่โดยปกติไวต่ออักษรใหญ่เล็ก อาทิ

  • ชื่อผู้ใช้
  • รหัสผ่าน
  • ชื่อไฟล์
  • ป้ายระบุ
  • คำสั่ง
  • ชื่อตัวแปร
  • การค้นหาสายอักขระในข้อความอิเล็กทรอนิกส์

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เทียบเคียงจาก "case sensitive" ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติว่า "ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก"