วิกิพีเดีย:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
หน้าตา
หน้านี้เป็นเพียงเรียงความ เป็นการสะท้อนความคิดเห็นหรือคำแนะนำของผู้มีส่วนร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย ซึ่งอาจเป็นแนวคิดของกลุ่มส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย มิใช่บทความสารานุกรมหรือหนึ่งในนโยบายและแนวปฏิบัติ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน |
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย หน้านี้แสดงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยสำหรับผู้เริ่มเขียน หรือแม้กระทั่งผู้ที่เขียนมานานแล้ว อย่าเพิ่งกลัวกับความผิดพลาด เพราะทุกคนที่เริ่มต้นก็มีผิดพลาดเช่นเดียวกันหมด หน้านี้แสดงข้อผิดพลาดที่ควรจะเลี่ยง
การสร้าง...
[แก้]- สร้างบทความเหมือนพจนานุกรม: ตามที่กล่าวไว้ในหน้าวิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดียแล้ว บทความแต่ละชิ้นควรจะครอบคลุมมากกว่าความหมายหลัก หรือคำอ่าน และมีประโยชน์มากกว่าความหมายทั่วไป การเขียนพจนานุกรมทำได้ที่โครงการพี่น้องใน วิกิพจนานุกรม
- บทความที่เขียนเล่าประวัติของตัวเอง : วิกิพีเดียไม่ได้ต้องการหน้าชีวประวัติของผู้ใช้คนใดในวิกิพีเดียก็ตาม อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเพิ่มเติมเรื่องราวของคุณลงไปในหน้าผู้ใช้ของคุณได้
- สร้างบทความซ้ำ : ก่อนจะสร้างบทความใหม่ ให้ลองตรวจสอบแน่ใจว่ามันไม่ซ้ำกับเนื้อหาที่มีอยู่แล้ว ลองค้นหาชื่อหัวข้อที่อาจจะเกี่ยวข้อง หรือหัวข้อย่อยในบทความอื่น ค้นหาจากหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง หรือค้นหาเพิ่มที่กูเกิล google.com โดยใส่คำว่า site:th.wikipedia.org ในช่องค้นหาเพื่อค้นเฉพาะวิกิพีเดียไทย หลายครั้งที่กูเกิลหาคำได้มากกว่าเครื่องค้นหาของวิกิพีเดีย
- บทความที่มีเนื้อหาน้อยเกินกว่าที่จะนับได้ว่าเป็นสารานุกรม : หน้าบทความในวิกิพีเดียจะต้องระบุถึงอรรถอธิบายและขัดต่อเงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม ถ้าหากตัวบทความไม่สามารถจัดให้อยู่ในระดับโครงได้ ดังนั้น บทความดังกล่าวอาจจะถูกแจ้งลบ แทนที่คุณจะสร้างบทความที่มีเนื้อหาน้อยมาก คุณควรที่จะเพิ่มเติมเนื้อหาก่อนที่มันจะถูกลบ
- ตั้งชื่อบทความแยกย่อยเฉพาะเกินไป : ตั้งชื่อย่อยทำให้เกิดบทความซ้ำซ้อนกันได้ง่าย ให้ใส่เฉพาะชื่อที่ต้องการ โดยข้อผิดพลาดนี้พบได้บ่อยสำหรับบทความที่แปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น
- ให้ตั้งชื่อ "เมาส์" : แทนที่ "เมาส์ (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์)"
- ให้ตั้งชื่อ "ทุเรียน" : แทนที่ "ทุเรียน (ผลไม้)"
- สร้างหน้าแก้กำกวมตามภาษาอื่น :หลายครั้งที่คำไทย กับคำภาษาอื่นให้ความหมายไม่เหมือนกัน โดยก่อนทำการสร้างควรไตร่ตรองว่าควรจะทำ หน้าเปลี่ยนทาง หรือว่าจะสร้างหน้าแก้ความกำกวม ตัวอย่างเช่น
- ขอนแก่น ควรสร้างหน้าเปลี่ยนทาง ไปที่ จังหวัดขอนแก่น แทนที่จะสร้างหน้าแก้กำกวม ไปยัง อำเภอเมืองขอนแก่น เทศบาลขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สุโขทัย ควรสร้างหน้าแก้กำกวม ไปที่ จังหวัดสุโขทัย และ อาณาจักรสุโขทัย เพราะมีความหมายทั้งสองอย่างในน้ำหนักที่เท่ากัน
- สร้างหมวดหมู่ที่ละเอียดเกินไป :การสร้างหมวดหมู่ที่ละเอียดลึกเกินไป ทำให้บทความอื่นไม่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน หรือแยกย่อยเกินไป ทำให้แต่ละหมวดหมู่มีแค่ 1-2 บทความ หรือบางครั้งที่แปลมาจากภาษาอื่น และใช้หมวดหมู่ตามภาษาอื่นที่มีบทความจำนวนมากกว่าหลายเท่า
- ควรจะตั้งชื่อหมวดหมู่ "วัดในภาคกลาง" หรือ "วัดในจังหวัดสมุทรปราการ" แทนที่ "วัดในตำบลปากน้ำ"
- ควรจะตั้งชื่อหมวดหมู่ "กล้องถ่ายภาพ" แทนที่ "กล้องถ่ายภาพแคนอน รุ่น EOS 10D"
การลบ...
[แก้]- ลบบทความหรือเนื้อหาบางส่วนที่มีประโยชน์ : วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ที่มีระบบช่วยกันเขียน เนื้อหาบางอย่างที่ถูกเขียนขึ้นจากผู้อื่น อาจจะเข้าใจได้ยากสำหรับตัวผู้เขียนคนอื่น ซึ่งหลายครั้งเนื้อหานี้มีประโยชน์ แต่ไว้ผิดที่ผิดทาง ถ้าพบเห็นแทนที่จะลบข้อความออก ให้ลองย้ายไปในหัวข้อใหม่ แต่ถ้าหากคุณได้พิจารณาแล้วพบว่าไม่สามารถกระทำได้ ทางที่ดีที่สุดก็คือ ย้ายเนื้อหาส่วนนั้นไปยังหน้าพูดคุย
- ลบส่วนที่ไม่เป็นกลาง : ซึ่งบางครั้งอาจจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาบทความได้
- ลบโดยไม่ได้ชี้แจง : การลบเนื้อหาส่วนที่ไม่เป็นสาระนั้นจะต้องได้รับการพิจารณาในระดับหนึ่ง อาจเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้พัฒนาบทความรู้สึกว่าคุณเจตนาที่จะทำเช่นนั้น คุณควรจะใส่ข้อมูลเล็กน้อยลงไปในส่วนคำอธิบายอย่างย่อแทน
การสนับสนุน...
[แก้]- ลืมลบเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ไม่ตรงตามไวยากรณ์ของภาษาไทย : หลายครั้งที่บทความแปลมาจากภาษาอื่น และมักจะเหลือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นไว้ เช่น มหัพภาค (.) จุลภาค (,) หรือเครื่องหมายคำถาม (?)
- แก้ไขบทความพร้อมกัน : หากผู้ใช้อื่นกำลังแก้ไขบทความใดอยู่ เป็นไปได้ที่เขาจะทำการแก้ไขและบันทึกมากกว่าหนึ่งครั้ง ลองรอซักพักจนแน่ใจว่าเขาได้เขียนบทความนั้นเสร็จแล้ว จึงค่อยเขียนเพิ่มเติม
- เว้นวรรคแยกคำที่มาจากภาษาอังกฤษ : หลายครั้งที่ศัพท์เฉพาะในภาษาอังกฤษถูกแยกคำออก อาจเนื่องจากต้นฉบับในภาษาอังกฤษถูกเว้นวรรค แต่ในภาษาไทยถ้าเป็นคำเดียวกันจำเป็นต้องเขียนติดกัน เช่น Mexico City ต้องเขียนเป็น เม็กซิโกซิตี แทนที่ "เม็กซิโก ซิตี"
การกระทำอันเกินกว่าเหตุ
[แก้]- วิจารณ์อย่างเดียว : การเสนอความเห็นในวิกิพีเดีย หลาย ๆ ครั้งที่ช่วยให้บทความพัฒนาได้ดี แต่แทนที่จะวิจารณ์งาน ลองแก้ไขบทความอย่างที่เราอยากให้เป็น จะเป็นหนทางทีดีกว่าการวิจารณ์อย่างเดียว จะทำให้บทความพัฒนาได้ดีและเร็วขึ้น
รู้สึกเครียดกับ...
[แก้]- การใช้วิกิพีเดียเสมือนห้องแชต
- ความไม่สมบูรณ์แบบของวิกิพีเดีย : วิกิพีเดียจะยังคงเป็นโครงการที่กำลังพัฒนาไปตลอดกาล คุณจำเป็นต้องยอมอดทนกับความไม่สมบูรณ์แบบนี้ และช่วยเหลือเราเพิ่มเติมวิกิพีเดีย ในวิกิพีเดียยังคงมีผู้ใช้ที่ฉลาดมากมาย และทุกคนต่างก็มีความรู้สึกว่าตนจะต้องเขียนบทความบางอย่างในวิกิพีเดีย