แอลจีเรียของฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอลจีเรียของฝรั่งเศส

Algérie française (ฝรั่งเศส)
الجزائر المستعمرة (อาหรับ)
1830–1962
ธงชาติแอลจีเรีย
ตราประทับภาษาอาหรับอย่างเป็นทางการของเขตผู้ว่าการแอลจีเรีย
แผนที่แอลจีเรียของฝรั่งเศสตามวิวัฒนาการ
แผนที่แอลจีเรียของฝรั่งเศสตามวิวัฒนาการ
สถานะ1830–1848:
อาณานิคมของฝรั่งเศส
1848–1962:
ดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส
เมืองหลวงแอลเจียร์
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอื่น ๆ
การปกครองหน่วยงานทางการเมืองในฝรั่งเศส
ผู้ว่าการ 
• 1830
หลุยส์-ออกุสต์-วิคเตอร์ บูร์มองต์
• 1962
คริสเตียน ฟูเชต์
สภานิติบัญญัติสมัชชาแอลจีเรีย [fr]
(1948–1956)
ประวัติศาสตร์ 
5 กรกฎาคม 1830
5 กรกฎาคม 1962
พื้นที่
• รวม
2,381,741 ตารางกิโลเมตร (919,595 ตารางไมล์)
สกุลเงินบุดจู (1830–1848)
ฟรังค์แอลจีเรีย (1848–1962)
ก่อนหน้า
ถัดไป
แอลจีเรียสมัยรีเจนซี
เอมิเรตแห่งอับเดลคาเดอร์
อาณาจักรเบนิอับบาส
เคล อาฮักการ์
แอลจีเรีย

แอลจีเรียของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Alger (ถึงปี 1839) หรือ Algérie ;[1] ชื่อไม่เป็นทางการในภาษาฝรั่งเศสคือ Algérie française,[2][3] อาหรับ: الجزائر المستعمرة), หรือที่เรียกว่า อาณานิคมแอลจีเรีย เป็นช่วงที่แอลจีเรียเป็นอาณานิคมและต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส การปกครองของฝรั่งเศสในภูมิภาคนี้เริ่มขึ้นหลังจากการรุกรานแอลจีเรียของฝรั่งเศสที่ประสบชัยชนะ และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามประกาศอิระภาพแอลจีเรียซึ่งนำไปสู่เอกราชในปี 1962 หลังจากตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1830 ถึง 1848 แอลจีเรียเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 1848 เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่สองของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้จนกระทั่งได้รับเอกราชในวันที่ 5 กรกฎาคม 1962

ในฐานะส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสในอดีต แอลจีเรียกลายเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพชาวยุโรปหลายแสนคนที่รู้จักกันในชื่อ โคลอน และต่อมาเรียกว่า ปีเย-นัวร์ อย่างไรก็ตาม ประชากรมุสลิมพื้นเมืองยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของดินแดนนี้ตลอดประวัติศาสตร์ มีการประเมินว่าประชากรแอลจีเรียพื้นเมืองลดลงถึงหนึ่งในสามระหว่างปี 1830 ถึง 1875 เนื่องจากสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ และความอดอยาก[4] ความไม่พอใจในหมู่ประชากรมุสลิมทีละน้อยเนื่องจากการไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปกครองตนเองทางการเมืองมากขึ้น และในที่สุดก็ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส[5] ความตึงเครียดระหว่างสองกลุ่มมาถึงจุดสูงสุดในปี 1954 เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งแรกเริ่มขึ้นจากสิ่งที่เรียกภายหลังว่าสงครามแอลจีเรีย โดยมีลักษณะของสงครามกองโจรและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ชาวฝรั่งเศสใช้เพื่อหยุดการก่อจลาจล สงครามสิ้นสุดลงในปี 1962 เมื่อแอลจีเรียได้รับเอกราชตามข้อตกลงเอเวียงในเดือนมีนาคม 1962 และการลงประชามติในการตัดสินใจด้วยตนเองในเดือนกรกฎาคม 1962

ในช่วงปีสุดท้ายที่เป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส แอลจีเรียเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Scheiner, Virgile (14 October 1839) Le pays occupé par les Français dans le nord de l'Afrique sera, à l'avenir, désigné sous le nom d'Algérie. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  2. Non exhaustive list of ancient and modern books named "Algérie française": (ในภาษาฝรั่งเศส) 1848; 1856; 1864; 2007; and so on
  3. African Boundaries. Royal Institute for international affairs. 1979. p. 89. ISBN 9780903983877.
  4. "Algeria - Colonial rule". Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  5. Surkis, Judith (15 December 2019). Sex, law, and sovereignty in French Algeria, 1830–1930. Ithaca. ISBN 978-1-5017-3952-1. OCLC 1089839922.
  6. Hans Groth; Alfonso Sousa-Poza (26 March 2012). Population Dynamics in Muslim Countries: Assembling the Jigsaw. Springer Science & Business Media. p. 227. ISBN 978-3-642-27881-5.