ริสเพอริโดน
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Risperdal, อื่น ๆ |
AHFS/Drugs.com | Monograph |
MedlinePlus | a694015 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ทางปาก (เป็นเม็ดหรือน้ำ), ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 70% (ทางปาก)[1] |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ (CYP2D6 mediated to paliperidone)[1] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 20 ชม. (ทางปาก), 3-6 วัน (IM)[1] |
การขับออก | ปัสสาวะ (70%) อุจจาระ (14%)[1] |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEBI | |
ChEMBL |
|
ECHA InfoCard | 100.114.705 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C23H27FN4O2 |
มวลต่อโมล | 410.485 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
(verify) | |
![]() |
ริสเพอริโดน (อังกฤษ: Risperidone) หรือชื่อทางการค้าคือ ไรสเปอร์ดัล (Risperdal) เป็นยาระงับอาการทางจิต[1] ใช้โดยหลักเพื่อรักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อ[1] โดยแบบฉีดมีฤทธิ์ยาวนานประมาณ 2 อาทิตย์[2]
ผลข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งปัญหาการเคลื่อนไหว (extrapyramidal symptoms) ความง่วง ปัญหาในการมองเห็น ท้องผูก และน้ำหนักเพิ่ม[1][3] ผลข้างเคียงหนักอาจรวมความพิการทางการเคลื่อนไหวแบบถาวรคืออาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น และภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก (hyperglycemia)[1][2] ในผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) เนื่องจากภาวะสมองเสื่อม อาจจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิต ยังไม่ชัดเจนว่ายาปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์หรือไม่
ริสเพอริโดนเป็นยากลุ่ม atypical antipsychotic กลไกการออกฤทธิ์ของมันยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบโดพามีน (dopamine antagonist)[1]
งานศึกษาเกี่ยวกับยาเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2536[1][4] เป็นยาในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาจำเป็นสำคัญที่สุดในระบบดูแลสุขภาพพื้นฐาน[5] ปัจจุบันมีขายเป็นยาสามัญ (generic)[2] โดยในประเทศกำลังพัฒนา ราคาขายส่งอยู่ที่ 0.01-0.60 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35 สตางค์จนถึง 21 บาท) ต่อวันโดยปี 2557[6] ส่วนค่ายาทั่วไปปี 2558 ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระหว่าง 100-200 ดอลลาร์ (ประมาณ 3,500-7,000 บาท) ต่อเดือน[2]
การแพทย์[แก้]
ริสเพอริโดนโดยหลักใช้รักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม[7]
โรคจิตเภท[แก้]
ยามีประสิทธิผลในการรักษาการแย่ลงอย่างฉับพลันของโรคจิตเภท[8][9]
ประโยชน์ของยาเพื่อรักษาแบบดำรงสภาพ (maintenance) มีข้อสรุปที่ต่าง ๆ กัน งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2555 สรุปว่า มีหลักฐานที่หนักแน่นว่าริสเพอริโดนมีประสิทธิผลกว่ายาระงับอาการทางจิตรุ่นแรก ทั้งหมดยกเว้น haloperidol แต่หลักฐานที่สนับสนุนว่าดีกว่ายาหลอกไม่ชัดเจน[10] ส่วนงานทบทวนวรรณกรรมปี 2554 สรุปว่า ยามีประสิทธิผลป้องกันการเกิดขึ้นอีกของโรคมากกว่ายารักษาโรคจิตรุ่นแรกและรุ่นสองทังหมดยกเว้น olanzapine และ clozapine[11] ส่วนงานทบทวนแบบคอเครนปี 2553 พบประโยชน์เล็กน้อยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกในการรักษาโรคจิตเภท แต่งานก็อ้างปัญหาด้วยว่ามีความเอนเอียง (bias) ว่ายามีประโยชน์[12]
งานวิจัยพบว่า ยาฉีดรักษาโรคจิตที่มีฤทธิ์ยาวช่วยการได้ยาตามคำสั่งแพทย์และลดอัตราการเกิดโรคอีกเทียบกับยาทาน[13][14] ส่วนประสิทธิผลของยาฉีดริสเพอริโดนที่มีฤทธิ์ยาวดูหมือนจะคล้ายกับยารักษาโรคจิตรุ่นแรกแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอื่น ๆ[15]
โรคอารมณ์สองขั้ว[แก้]
สำหรับโรคอารมณ์สองขั้ว ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) รุ่นสองต่าง ๆ รวมทั้งริสเพอริโดนมีประสิทธิผลในการรักษาอาการฟุ้งพล่าน (mania) ไม่ว่าจะเป็นแบบฉับพลัน (acute) หรือเป็นความแย่ลงแบบผสม (mixed exacerbation) ของโรค[16][17][18] ในเด็กและวัยรุ่น ริสเพอริโดนอาจมีประสิทธิผลดีกว่า lithium หรือ divalproex แต่มีผลข้างเคียงทางเมแทบอลิซึมมากกว่า[19] ส่วนสำหรับการรักษาแบบดำรงสภาพ (maintenance) ยามีประสิทธิผลในการป้องกันคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) แต่ไม่มีสำหรับคราวซึมเศร้า[20] ยาแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอาจมีข้อได้เปรียบกว่ายารักษาโรคจิตรุ่นแรกที่มีฤทธิ์ยาวอื่น ๆ เพราะว่าคนไข้ทนยาได้ดีกว่า (เพราะมีผล extrapyramidal effects น้อยกว่า) และเพราะว่า ยารักษาโรคจิตรุ่นแรกแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความซึมเศร้า[21]
โรคออทิซึม[แก้]
เทียบกับยาหลอก ยาลดพฤติกรรมปัญหาบางอย่างในเด็กโรคออทิซึม รวมทั้งความก้าวร้าว การทำร้ายตัวเอง ความงอแง และอารมณ์ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และหลักฐานที่แสดงประสิทธิผลดูเหมือนจะมากกว่าการรักษาด้วยยาอื่น ๆ[22] น้ำหนักเพิ่มเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง[23][24]
นักวิชาการบางท่านแนะนำให้จำกัดใช้ยานี้และยา aripiprazole ในบุคคลที่มีปัญหาพฤติกรรมมากที่สุดเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการของยาให้น้อยที่สุด[25] ส่วนหลักฐานประสิทธิภาพของยากับวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้นที่มีโรคออทิซิมชัดเจนน้อยกว่า[26]
โรคอื่น ๆ[แก้]
ในโรคซึมเศร้า ถ้ายาที่รักษาในเบื้องต้น (ซึ่งปกติเป็นยากลุ่ม SSRI) ไม่ช่วยบรรเทาอาการพอเพียง มีเทคนิคให้ยาเพิ่ม (adjuncts) คือ ใช้ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) รวมกับยาแก้ซึมเศร้า โดยเฉพาะยารักษาโรคจิตแบบ atypical เช่น aripiprazole, quetiapine, olanzapine, และ ริสเปอริโดน[27]
ยาดูจะมีอนาคตในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำที่ดื้อการรักษา เมื่อยา serotonin reuptake inhibitor ไม่พอเพียง[28]
ยาไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ต่อการรักษาความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[29]
แม้ว่ายารักษาโรคจิตเช่นริสเพอริโดน จะมีประโยชน์เล็กน้อยกับคนไข้ภาวะสมองเสื่อม (dementia) แต่ก็สัมพันธ์กับอัตราการตายและโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้น[29] เพราะความเสี่ยงตายที่สูงขึ้น การรักษาอาการโรคจิต (psychosis) ที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมจึงไม่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ[30]
ผลที่ไม่พึงประสงค์[แก้]
ปฏิสัมพันธ์กับสารอื่น ๆ[แก้]
- คาร์บามาเซพีนและยาเสริมเอนไซม์ (enzyme inducer) อื่น ๆ อาจจะลดระดับริสเพอริโดนในน้ำเลือด[30] ดังนั้น ถ้ากำลังทานทั้งยาคาร์บามาเซพีนและริสเพอริโดน อาจจะต้องเพิ่มขนาดของริสเพอริโดน ซึ่งไม่ควรจะเกินกว่า 2 เท่าจากดั้งเดิม[23]
- ส่วนยาที่ยับยั้งเอนไซม์ CYP2D6 เช่นยากลุ่ม SSRI อาจเพิ่มระดับริสเพอริโดนในน้ำเลือด[30]
- เพราะริสเพอริโดนอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ จึงควรสอดส่องระมัดระวังถ้าคนไข้กำลังทานยาลดความดันเพื่อป้องกันความดันต่ำเกิน[23]
- มีรายงานว่าการใช้ริสเพอริโดนร่วมกับยากลุ่ม SSRI มีผลให้เกิดเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome)[31]
การหยุดยา[แก้]
หนังสือการจ่ายยาของสหราชอาณาจักร (British National Formulary) แนะนำให้ลดยารักษาโรคจิตอย่างช้า ๆ เพื่อเลี่ยงอาการขาดยาแบบฉับพลันหรือโรคกำเริบอย่างรวดเร็ว[32] นักวิชาการบางท่านอ้างว่า อาการอื่นทางกายและทางจิตเวชที่เกี่ยวกับความไวของระบบโดพามีนในระดับสูง รวมทั้ง อาการยึกยือเหตุยา (dyskinesia) และอาการโรคจิตฉับพลัน (acute psychosis) เป็นอาการขาดยาที่สามัญในบุคคลผู้รักษาด้วยยากลุ่ม neuroleptics[33][34][35][36] ซึ่งทำให้นักวิชาการบางท่านเสนอว่า กระบวนการขาดยาเองอาจจะเลียนอาการโรคจิตเภท เพราะว่าคนไข้ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีโรคก็เกิดอาการโรคจิตเภทด้วย ซึ่งแสดงความเป็นไปได้ของโรคจิตเหตุยาในคนไข้ที่ปัจจุบันหรือที่อดีตรักษาด้วยยารักษาโรคจิตในระดับอัตราที่ยังไม่ปรากฏ ประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ และเป็นเรื่องสร้างความขัดแย้งในระดับสูงสำหรับวงการแพทย์และสุขภาพจิต และในสาธารณชน[37]
ภาวะสมองเสื่อม[แก้]
ผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) ที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม มีความเสี่ยงตายสูงกว่าถ้าได้ยาริสเพอริโดนเทียบกับคนที่ไม่ได้ การตายมักจะสัมพันธ์ปัญหาหรือการติดเชื้อทางหัวใจ[38]
เภสัชวิทยา[แก้]
เภสัชจลนศาสตร์[แก้]
ริสเพอริโดนจะผ่านการสลายตัวในตับและการขับออกทางไต แนะนำให้ใช้ยาขนาดต่ำสำหรับคนไข้ที่มีโรคตับหรือไตหนัก[30] เมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของยา คือ paliperidone ก็ใช้เป็นยารักษาโรคจิตเหมือนกัน (antipsychotic)[39]

เภสัชพลศาสตร์[แก้]
ริสเพอริโดนจัดโดยสถิติว่าเป็นยา atypical antipsychotic ที่มีความชุกปัญหาการเคลื่อนไหว (Extrapyramidal symptoms) ต่ำเมื่อให้ในขนาดต่ำ โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบเซโรโทนิน (serotonin antagonism) มากกว่าระบบโดพามีน ยามีหมู่ทำหน้าที่ (functional group) คือ benzisoxazole และ piperidine เป็นส่วนโครงสร้างทางเคมี แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างของ butyrophenone แต่ยาก็พัฒนาขึ้นโดยใช้โครงสร้างของ benperidol และ ketanserin เป็นมูลฐาน และมีฤทธิ์ต่อตัวรับแบบ 5-HT (serotonin) ต่าง ๆ รวมทั้ง 5-HT2C ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มน้ำหนัก และ 5-HT2A ซึ่งสัมพันธ์กับฤทธิ์รักษาโรคจิตและบรรเทาผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal ที่มักจะมีกับยาแบบ typical neuroleptic ต่าง ๆ[40]
พึ่งพบเมื่อปี 2553 ว่า ยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ D-amino acid oxidase ซึ่งเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของ D-amino acids (เช่น สารสื่อประสาทแบบ D-alanine และ D-serine)[41]
ยาออกฤทธิ์ต่อตัวรับดังต่อไปนี้
- ตัวรับโดพามีน - เป็นสารปฏิปักษ์ต่อตัวรับในตระกูล D1 (คือ D1 และ D5) บวกกับ D2 (คือ D2, D3 และ D4) ยามีฤทธิ์ยึดแบบแน่น ซึ่งหมายความว่ามีระยะครึ่งชีวิตนาน และเหมือนกับยารักษาโรคจิตอื่น ๆ ยายับยั้งวิถีประสาท mesolimbic pathway, prefrontal cortex limbic pathway, และ tuberoinfundibular pathway ในระบบประสาทกลาง ยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal คือ อาการนั่งไม่ติดที่และสั่น ที่สัมพันธ์กับการลดการทำงานของระบบโดพามีนใน striatum อาจมีผลข้างเคียงทางเพศ คือ น้ำนมไหลที่ไม่เกี่ยวกับการคลอด ความเป็นหมัน เต้านมชายโต และถ้าใช้เป็นระยะยาว ลดความหนาแน่นของกระดูกที่สัมพันธ์กับการปล่อยฮอร์โมนโพรแลกติน (ที่ทำให้นมไหล) ที่เพิ่มขึ้น[40]
- ตัวรับเซโรโทนิน ฤทธิ์ของยาที่ตัวรับเหล่านี้อาจทำให้ยามีผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal น้อยกว่า (ผ่าน 5-HT2A/2C receptors) เมื่อเทียบกับยา typical antipsychotics ยกตัวอย่างเช่น haloperidol ฤทธิ์เป็นปฏิปักษ์ต่อตัวรับ 5-HT2C อาจมีส่วนทำให้มีผลเป็นน้ำหนักเพิ่ม
- ตัวรับ Alpha α1 adrenergic เป็นฤทธิ์ที่ทำให้ความดันต่ำเมื่อยืน และอาจมีผลเป็นส่วนระงับประสาท (sedating)[40]
- ตัวรับ Alpha α2 adrenergic อาจเป็นเหตุให้มีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าหรือมากกว่าทางอารมณ์และทางการรู้คิด[42]
- ตัวรับฮิสตามีน H1 ฤทธิ์อาจจะอธิบายการระงับประสาทและการลดความระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้ง่วงและน้ำหนักเพิ่ม[40]
แม้ว่ายานี้จะมีผลเหมือนกับยารักษาโรคจิตทั้งแบบ typical และ atypical อื่น ๆ แต่มันก็ไม่มีสัมพรรคภาพ (affinity) กับตัวรับแบบ muscarinic acetylcholine ในหลาย ๆ ด้าน ยานี้อาจจะมีประโยชน์เป็น "acetylcholine release-promoter" คล้ายกับยากระเพาะลำไส้เช่น metoclopramide และ cisapride
ตัวรับ | Binding Affinity (Ki [nM])[43] |
ฤทธิ์ |
---|---|---|
5-HT1A | 423 | Antagonist |
5-HT1B | 14.9 | Antagonist |
5-HT1D | 84.6 | Antagonist |
5-HT2A | 0.17 | Inverse agonist |
5-HT2B | 61.9 | Inverse agonist |
5-HT2C | 12.0 | Inverse agonist |
5-HT5A | 206 | Antagonist |
5-HT6 | 2,060 | Antagonist |
5-HT7 | 6.60 | Irreversible (or pseudo-irreversible) antagonist[44] |
D1 | 244 | Antagonist |
D2 | 3.57 | Antagonist |
D2S | 4.73 | Antagonist |
D2L | 4.16 | Antagonist |
D3 | 3.6 | Inverse agonist |
D4 | 4.66 | Antagonist |
D5 | 290 | Antagonist |
α1A | 5.0 | Antagonist |
α1B | 9.0 | Antagonist |
α2A | 16.5 | Antagonist |
α2B | 108 | Antagonist |
α2C | 1.30 | Antagonist |
mAChRs | >10,000 | Negligible |
H1 | 20.1 | Inverse agonist |
H2 | 120 | Inverse agonist |

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]
การควบคุมในสหรัฐอเมริกา[แก้]
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ใช้ยารักษาโรคจิตเภทในปี พ.ศ. 2536[45] ในปี 2550 เป็นยาเดียวที่อนุมัติให้รักษาโรคจิตเภทในเด็กอายุระหว่าง 13-17 ปี และอนุมัติให้ใช้รักษาโรคอารมณ์สองขั้วในเด็กอายุ 10-17 ปี เพิ่มจากยา lithium ที่ได้ใช้มาก่อน ในปี 2546 FDA อนุมัติให้ใช้รักษาระยะฟุ้งพล่าน (manic) หรือผสม (mixed) ที่สัมพันธ์กับโรคอารมณ์สองขั้วในระยะสั้น ในปี 2549 FDA อนุมัติให้ใช้บำบัดความหงุดหงิดในเด็กและวัยรุ่นที่มีโรคออทิซึม[46] โดยมีเหตุส่วนหนึ่งจากงานศึกษาในคนไข้โรคออทิซึมที่มีปัญหารุนแรงและคงยืนเกี่ยวกับความรุนแรง ความก้าวร้าว และการทำร้ายตัวเอง แต่ว่า ไม่แนะนำให้ใช้ยาในคนไข้ที่มีความก้าวร้าวขั้นเบาและพฤติกรรมที่ระเบิดขึ้นแต่ไม่คงยืน[47]
การวางตลาด[แก้]
สิทธิบัตรยาของบริษัท Janssen หมดอายุวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นวางขายยาสามัญ และสิทธิในการวางตลาดเพียงผู้เดียวทั้งหมดของบริษัทก็หมดลงในวันที่ 29 มิถุนายน 2547 (เพราะได้เวลาขยายเนื่องจากใช้เป็นยาเพื่อเด็ก) เป็นยาที่ขายโดยมีชื่อการค้าต่าง ๆ ทั่วโลก[48] มีเป็นยาเม็ด ยาน้ำ และเป็นแบบขวดที่ใช้สำหรับฉีด[48]
คดีในศาล[แก้]
วันที่ 11 เมษายน 2555 บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และบริษัทย่อย Janssen Pharmaceutica ถูกศาลชั้นกลางของรัฐอาร์คันซอปรับ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 37,059 ล้านบาท)[49] โดยคณะลูกขุนพบว่า บริษัทไม่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงหลายอย่างที่สัมพันธ์กับยา Risperdal แต่ต่อมาศาลสูงสุดของรัฐได้กลับคำพิพากษานั้น[50]
ตามหนังสือพิมพ์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล วันที่ 20 มิถุนายน 2555 "จอห์นสันและจอห์นสัน และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ใกล้ถึงข้อตกลงในเรื่องการสืบสวนการโปรโหมตยารักษาโรคจิต Risperdal ที่ได้ทำเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเป็นค่าปรับที่สูงสุดเกี่ยวกับการวางตลาดยาเท่าที่เคยมี ทุกฝ่ายพยายามจะรวมคดีในศาลจำนวนหนึ่ง การสืบสวนระดับรัฐ และการตรวจสอบอื่น ๆ เกี่ยวกับข้อกล่าวหาการวางตลาดที่ผิดกฎหมาย และกำลังต่อรองการจ่ายเงินจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือสูงกว่านั้น" ซึ่งในที่สุดบริษัทก็ถูกปรับ 2,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 69,366 ล้านบาท)[51]
ในเดือนสิงหาคม 2555 บริษัทตกลงจ่าย 181 ล้านเหรียญสหรัฐแก่มลรัฐ 36 รัฐเพื่อยุติการฟ้องคดีว่า บริษัทได้โปรโหมตยาเพื่อใช้ในการรักษานอกป้ายรวมทั้ง ภาวะสมองเสื่อม การจัดการความโกรธ และโรควิตกกังวล[52]
เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 "Risperidone". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. pp. 434–435. ISBN 9781284057560.
- ↑ Hasnain, M; Vieweg, WV; Hollett, B (2012-07). "Weight gain and glucose dysregulation with second-generation antipsychotics and antidepressants: a review for primary care physicians". Postgraduate Medicine. 124 (4): 154–67. doi:10.3810/pgm.2012.07.2577. PMID 22913904. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Schatzberg, Alan F; Nemeroff, Charles B, บ.ก. (2009). The American Psychiatric Publishing textbook of psychopharmacology (4th ed.). Washington, D.C.: American Psychiatric Pub. p. 627. ISBN 9781585623099.CS1 maint: uses editors parameter (link)
- ↑ "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. 2013-10. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "Risperidone". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 2015-12-02.
- ↑ "Respiridone". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
- ↑
Leucht, S; Cipriani, A; Spineli, L และคณะ (2013-09). "Comparative efficacy and tolerability of 15 antipsychotic drugs in schizophrenia: a multiple-treatments meta-analysis". Lancet. 382 (9896): 951–62. doi:10.1016/S0140-6736(13)60733-3. PMID 23810019. Check date values in:
|date=
(help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Osser, DN; Roudsari, MJ; Manschreck, T (2013). "The psychopharmacology algorithm project at the Harvard South Shore Program: an update on schizophrenia". Harv Rev Psychiatry. 21 (1): 18–40. doi:10.1097/HRP.0b013e31827fd915. PMID 23656760.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ Barry, SJ; Gaughan, TM; Hunter, R (2012). "Schizophrenia". Clin Evid (Online). 2012. PMC 3385413. PMID 23870705.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ Glick, ID; Correll, CU; Altamura, AC และคณะ (2011-12). "Mid-term and long-term efficacy and effectiveness of antipsychotic medications for schizophrenia: a data-driven, personalized clinical approach". J Clin Psychiatry. 72 (12): 1616–27. doi:10.4088/JCP.11r06927. PMID 22244023. Check date values in:
|date=
(help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Rattehalli, RD; Jayaram, MB; Smith, M (2010). Rattehalli, Ranganath (บ.ก.). "Risperidone versus placebo for schizophrenia". Cochrane Database Syst Rev (1): CD006918. doi:10.1002/14651858.CD006918. PMID 20091611.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
- ↑
Leucht, C; Heres, S; Kane, JM; Kissling, W; Davis, JM; Leucht, S (2011-04). "Oral versus depot antipsychotic drugs for schizophrenia--a critical systematic review and meta-analysis of randomised long-term trials". Schizophr. Res. 127 (1–3): 83–92. doi:10.1016/j.schres.2010.11.020. PMID 21257294. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑
Lafeuille, MH; Dean, J; Carter, V และคณะ (2014-08). "Systematic review of long-acting injectables versus oral atypical antipsychotics on hospitalization in schizophrenia". Curr Med Res Opin. 30 (8): 1643–55. doi:10.1185/03007995.2014.915211. PMID 24730586. Check date values in:
|date=
(help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Nielsen, J; Jensen, SO; Friis, RB; Valentin, JB; Correll, CU (2014-09). "Comparative Effectiveness of Risperidone Long-Acting Injectable vs First-Generation Antipsychotic Long-Acting Injectables in Schizophrenia: Results From a Nationwide, Retrospective Inception Cohort Study". Schizophr Bull. doi:10.1093/schbul/sbu128. PMID 25180312. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑
Muralidharan, K; Ali, M; Silveira, LE และคณะ (2013-09). "Efficacy of second generation antipsychotics in treating acute mixed episodes in bipolar disorder: a meta-analysis of placebo-controlled trials". J Affect Disord. 150 (2): 408–14. doi:10.1016/j.jad.2013.04.032. PMID 23735211. Check date values in:
|date=
(help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑
Nivoli, AM; Murru, A; Goikolea, JM และคณะ (2012-10). "New treatment guidelines for acute bipolar mania: a critical review". J Affect Disord. 140 (2): 125–41. doi:10.1016/j.jad.2011.10.015. PMID 22100133. Check date values in:
|date=
(help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑
Yildiz, A; Vieta, E; Leucht, S; Baldessarini, RJ (2011-01). "Efficacy of antimanic treatments: meta-analysis of randomized, controlled trials". Neuropsychopharmacology. 36 (2): 375–89. doi:10.1038/npp.2010.192. PMC 3055677. PMID 20980991. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Peruzzolo, TL; Tramontina, S; Rohde, LA; Zeni, CP (2013). "Pharmacotherapy of bipolar disorder in children and adolescents: an update". Rev Bras Psiquiatr. 35 (4): 393–405. doi:10.1590/1516-4446-2012-0999. PMID 24402215.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ Gitlin, M; Frye, MA (2012-05). "Maintenance therapies in bipolar disorders". Bipolar Disord. 14 Suppl 2: 51–65. doi:10.1111/j.1399-5618.2012.00992.x. PMID 22510036. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Gigante, AD; Lafer, B; Yatham, LN (2012-05). "Long-acting injectable antipsychotics for the maintenance treatment of bipolar disorder". CNS Drugs. 26 (5): 403–20. doi:10.2165/11631310-000000000-00000. PMID 22494448. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Kirino, E (2014). "Efficacy and tolerability of pharmacotherapy options for the treatment of irritability in autistic children". Clin Med Insights Pediatr. 8: 17–30. doi:10.4137/CMPed.S8304. PMC 4051788. PMID 24932108.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 "www.janssenpharmaceuticalsinc.com" (PDF).
- ↑ Sharma, A; Shaw, SR (2012). "Efficacy of risperidone in managing maladaptive behaviors for children with autistic spectrum disorder: a meta-analysis". J Pediatr Health Care. 26 (4): 291–9. doi:10.1016/j.pedhc.2011.02.008. PMID 22726714.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ McPheeters, ML; Warren, Z; Sathe, N และคณะ (2011-05). "A systematic review of medical treatments for children with autism spectrum disorders". Pediatrics. 127 (5): e1312-21. doi:10.1542/peds.2011-0427. PMID 21464191. Check date values in:
|date=
(help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Dove, D; Warren, Z; McPheeters, ML; Taylor, JL; Sathe, NA; Veenstra-VanderWeele, J (2012-10). "Medications for adolescents and young adults with autism spectrum disorders: a systematic review". Pediatrics. 130 (4): 717–26. doi:10.1542/peds.2012-0683. PMC 4074627. PMID 23008452. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Taylor, D; Carol, P; Shitij, K (2012). The Maudsley prescribing guidelines in psychiatry. West Sussex: Wiley-Blackwell. ISBN 978-0-470-97969-3.
- ↑ Dold, M; Aigner, M; Lanzenberger, R; Kasper, S (2013-04). "Antipsychotic augmentation of serotonin reuptake inhibitors in treatment-resistant obsessive-compulsive disorder: a meta-analysis of double-blind, randomized, placebo-controlled trials". International Journal of Neuropsychopharmacology. 16 (3). doi:10.1017/S1461145712000740. PMID 22932229. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ 29.0 29.1 Maher, AR; Theodore, G (2012-06). "Summary of the comparative effectiveness review on off-label use of atypical antipsychotics". J Manag Care Pharm. 18 (5 Suppl B): S1-20. PMID 22784311. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 "Risperdal Prescribing Information Label" (PDF). Drugs@FDA: FDA Approved Drug Products. Jannsen Pharmaceuticals, Inc. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
- ↑ Karki, SD; Masood, GR (2003). "Combination risperidone and SSRI-induced serotonin syndrome". Ann Pharmacother. 37 (3): 388–91. doi:10.1345/aph.1C228. PMID 12639169.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ BMJ Group, บ.ก. (2009-03). "4.2.1". British National Formulary (57 ed.). United Kingdom: Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. p. 192. ISSN 0260-535X.
Withdrawal of antipsychotic drugs after long-term therapy should always be gradual and closely monitored to avoid the risk of acute withdrawal syndromes or rapid relapse.
Check date values in:|date=
(help) - ↑ Chouinard, G; Jones, BD (1980). "Neuroleptic-induced supersensitivity psychosis: clinical and pharmacologic characteristics". Am J Psychiatry. 137 (1): 16–21. PMID 6101522.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑
Miller, R; Chouinard, G (1993-11). "Loss of striatal cholinergic neurons as a basis for tardive and L-dopa-induced dyskinesias, neuroleptic-induced supersensitivity psychosis and refractory schizophrenia". Biol Psychiatry. 34 (10): 713–38. doi:10.1016/0006-3223(93)90044-E. PMID 7904833. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑
Chouinard, G; Jones, BD; Annable, L (1978-11). "Neuroleptic-induced supersensitivity psychosis". Am J Psychiatry. 135 (11): 1409–10. PMID 30291. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑
Seeman, P; Weinshenker, D; Quirion, R; Srivastava, LK; Bhardwaj, SK; Grandy, DK; Premont, RT; Sotnikova, TD; Boksa, P; El-Ghundi, M; O'dowd, BF; George, SR; Perreault, ML; Männistö, PT; Robinson, S; Palmiter, RD; Tallerico, T (2005-03). "Dopamine supersensitivity correlates with D2High states, implying many paths to psychosis". Proc Natl Acad Sci U S A. 102 (9): 3513–8. doi:10.1073/pnas.0409766102. PMC 548961. PMID 15716360. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Moncrieff, J (2006-07). "Does antipsychotic withdrawal provoke psychosis? Review of the literature on rapid onset psychosis (supersensitivity psychosis) and withdrawal-related relapse". Acta Psychiatr Scand. 114 (1): 3–13. doi:10.1111/j.1600-0447.2006.00787.x. PMID 16774655. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "Risperdal [Package Insert]" (PDF). Titusville, NJ: Janssen Pharmaceuticals. 2014-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "Paliperidone". The DrugBank database. 2016-10-16 (updated). Check date values in:
|date=
(help) - ↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 Brunton, L; Chabner, B; Knollman, B (2010). Goodman and Gilman’s The Pharmacological Basis of Therapeutics (12th ed.). McGraw Hill Professional.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ RM, Abou El-Magd; Park, HK; Kawazoe, T; Iwana, S; Ono, K; Chung, SP; Miyano, M; Yorita, K; Sakai, T; Fukui, K (2010-07). "The effect of risperidone on D-amino acid oxidase activity as a hypothesis for a novel mechanism of action in the treatment of schizophrenia". Journal of Psychopharmacology. 24 (7): 1055–1067. doi:10.1177/0269881109102644. PMID 19329549. Check date values in:
|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Hecht, EM; Landy, DC (2012). "Alpha-2 receptor antagonist add-on therapy in the treatment of schizophrenia; a meta-analysis". Schizophrenia Research. 134 (2–3): 202–6. doi:10.1016/j.schres.2011.11.030. PMID 22169246.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ National Institute ofMental Health. PDSD Ki Database (Internet) [cited 2013 Aug 10]. ChapelHill (NC) : University of North Carolina. 1998-2013. Available from: http://pdsp.med.unc.edu/pdsp.php
- ↑ Smith, C.; Rahman, T.; Toohey, N.; Mazurkiewicz, J.; Herrick-Davis, K.; Teitler, M. (2006). "Risperidone Irreversibly Binds to and Inactivates the h5-HT7 Serotonin Receptor". Molecular Pharmacology. 70 (4): 1264–1270. doi:10.1124/mol.106.024612. ISSN 0026-895X. PMID 16870886.
- ↑
"Electronic Orange Book". Food and Drug Administration. 2007-04. สืบค้นเมื่อ 2007-05-24. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "FDA approves the first drug to treat irritability associated with autism, Risperdal" (Press release). FDA. 2006-10-06. สืบค้นเมื่อ 2009-08-14.
- ↑ Scahill, L (2008). "How do I decide whether or not to use medication for my child with autism? should I try behavior therapy first?". J Autism Dev Disord. 38 (6): 1197–8. doi:10.1007/s10803-008-0573-7. PMID 18463973.
- ↑ 48.0 48.1 Drugs.com International trade names for risperidone Page accessed March 15, 2016
- ↑ "Companies belittled risks of Risperdal, slapped with huge fine". Los Angeles Times. 2012-04-11.
- ↑ "Arkansas Court Reverses $1.2 Billion Judgment Against Johnson & Johnson". NY Times. 2014-03-21.
- ↑ "Johnson & Johnson to Pay More Than $2.2 Billion to Resolve Criminal and Civil Investigations | OPA | Department of Justice". Department of Justice. 2013-11-04.
- ↑ "NY AG: Janssen pays $181M over drug marketing". The Seattle Times. 2012-08-30.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ริสเพอริโดน |
- PubChem Substance Summary: Risperidone—National Center for Biotechnology Information.
- Drug Information Portal—Risperidone—U.S. National Library of Medicine
- Description of risperidone "Nycomed" medicine, Danish link in English language