วุฒิสภาญี่ปุ่น
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
35°40′35.5″N 139°44′40.5″E / 35.676528°N 139.744583°E
วุฒิสภา 参議院 ซังงิอิง | |
---|---|
สภานิติบัญญัติแห่งชาติสมัยที่ 208 | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ |
ผู้บริหาร | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 248 |
กลุ่มการเมือง | รัฐบาล (146)
ฝ่ายค้าน (99)
|
คณะกรรมาธิการ | 17 คณะ |
ระยะวาระ | 6 ปี |
เงินเดือน | ประธาน: 2,170,000 เยนต่อเดือน รองประธาน: 1,584,000 เยนต่อเดือน สมาชิก:1,294,000 เยนต่อเดือน |
การเลือกตั้ง | |
การลงคะแนนระบบคู่ขนาน: การลงคะแนนแบบเสียงเดียวโอนไม่ได้ (147 ที่นั่ง) ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ (98 ที่นั่ง) Staggered elections | |
การเลือกตั้งครั้งแรก | 20 เมษายน ค.ศ. 1947 |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 |
การเลือกตั้งครั้งหน้า | กรกฎาคม ค.ศ. 2025 |
ที่ประชุม | |
อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
เว็บไซต์ | |
www.sangiin.go.jp |
วุฒิสภา[1] (ญี่ปุ่น: 参議院; โรมาจิ: Sangiin; ทับศัพท์: ซังงิอิง) เป็นสภาสูงของสภานิติบัญญัติแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น เทียบเท่ากับวุฒิสภาในประเทศอื่น ๆ โดยมีสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่เป็นสภาล่าง
ในยุคจักรวรรดิญี่ปุ่น สภาสูงของญี่ปุ่นคือ สภาขุนนาง แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นถูกควบคุมโดยสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาได้มีส่วนช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญและปฏิรูประบบการปกครองของญี่ปุ่น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1947 ได้ระบุให้สภาสูงมาจากการเลือกตั้ง
สภาชุดแรกเริ่มทำหน้าที่ในปี ค.ศ. 1950 มีสมาชิก 250 คน โดยสมาชิกแต่ละคนมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และมีการจัดการเลือกตั้งทุก 3 ปี โดยระหว่างปี 1947 ถึง 1983 นั้น สมาชิกราว 100 ที่นั่ง จะมาจากการการลงคะแนนเขตแห่งชาติ (全国区 เซ็งโกกู-กุ) ผู้ที่ได้รับเลือกในเขตแห่งชาตินี้คือผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงจากทั้งประเทศมากเป็นอันดับที่ 1 ถึง 50 ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ซึ่งการลงคะแนนด้วยระบบนี้ มีให้เห็นเป็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1980 ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยการลงคะแนนแบบสัดส่วน (บัญชีรายชื่อ) ต่อมาภายหลังได้มีการเพิ่มสมาชิกแบบแบ่งเขตเข้ามาอีก 2 ที่นั่ง ภายหลังสหรัฐอเมริกาคืนเกาะโอกินาวะให้แก่ญี่ปุ่นในปี 1972
ปัจจุบัน วุฒิสภามีสมาชิกทั้งหมด 252 คน มีวาระดำรงตำแหน่งคนละหกปี มากกว่าวาระของสภาผู้แทนราษฎรอยู่สองปี ราชมนตรีต้องมีอายุมากกว่า 30 ปีบริบูรณ์ มากกว่าคุณสมบัติของผู้แทนราษฎรที่กำหนดอายุไว้ที่ 25 ปีบริบูรณ์ และวุฒิสภาไม่สามารถถูกยุบได้ ทั้งนี้ เนื่องจากการเลือกตั้งจัดขึ้นทุก 3 ปี แต่สมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ทำให้ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง จะเป็นการเลือกตั้งเพื่อทดแทนสมาชิกสภาราวกึ่งหนึ่งที่สิ้นสุดวาระ
สภาชุดปัจจุบัน
[แก้](เมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2014)[2]
กลุ่มการเมือง | จำนวนสมาชิก | ||
---|---|---|---|
ปีที่หมดวาระ | รวม | ||
2016 | 2019 | ||
พรรคเสรีประชาธิปไตย (จิยูมินชูโต)
|
49 | 65 | 114 |
พรรคประชาธิปไตย และ ชินเรียวกุฟูไก (มินชุโต・ชินเรียวกุฟูไก)
|
41 | 17 | 58 |
พรรคโคเม (โคเมโต)
|
9 | 11 | 20 |
พรรคนวัตกรรมญี่ปุ่น (อิชินโนะโต)
|
5 | 6 | 11 |
พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น (นิฮง เคียวซันโต)
|
3 | 8 | 11 |
พรรคจิเซะได (จิเซะไดโนะโต)
|
2 | 5 | 7 |
สมัชชาเสริมกำลังญี่ปุ่น (นิฮง โวะ เก็งกิ นิ ซุรุ ไก) หรือ พรรคมินนะ (YP)
|
3 | 3 | 6 |
คลับอิสรภาพ (มุโชะโซะกุ คลับ) แตกออกมาจากพรรคมินนะ
|
2 | 2 | 4 |
พรรคสังคมประชาธิปไตย (ชะไกมินชูโต・โกเก็ง เร็นโง)
|
2 | 1 | 3 |
พรรคเรอเนสซองซ์ใหม่ และกลุ่มอิสระ (ชินโต ไคกะกุ・มุโชะโซะกุ โนะ ไค)
|
1 | 1 | 2 |
พรรคชีวิตประชาชน (เซกะสึโนะโต)
|
2 | 0 | 2 |
ไม่สังกัด
|
2 | 2 | 4 |
ทั้งหมด | 121 | 121 | 242 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ตรรกวิทย์ มิ่งขวัญ (2565). รัฐสภาไดเอทแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น 日本の国会 (นิฮง โนะ ค๊กไค). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ House of Councillors: Members Strength of the Political Groups in the House (Japanese version 会派別所属議員数一覧)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- House of Councillors Website (in English)
- House of Councillors internet TV - Official site (in Japanese)