ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)

พิกัด: 49°42′9″N 4°56′33″E / 49.70250°N 4.94250°E / 49.70250; 4.94250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เซอด็อง
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศส, แนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารเยอรมันซึ่งมาพร้อมกับเชลยศึกฝรั่งเศสในการก้าวข้ามแม่น้ำเมิซ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ใกล้กับเซอด็อง
วันที่12–15 พฤษภาคม ค.ศ.1940
สถานที่
เซอด็องและพื้นที่ใกล้เคียง
ประเทศฝรั่งเศส
49°42′9″N 4°56′33″E / 49.70250°N 4.94250°E / 49.70250; 4.94250
ผล เยอรมันได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย[1][2]
คู่สงคราม
ฝรั่งเศส
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มอริส กาเมแล็ง
ฝรั่งเศส Charles Huntziger
ฝรั่งเศส Henri Giraud
Pierre Lafontaine
ฝรั่งเศส Marcel Têtu
ฝรั่งเศส Colonel Poncelet  
P H L Playfair
แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์
ไฮนซ์ กูเดเรียน
ว. ฟ็อน ริชท์โฮเฟิน
Bruno Loerzer
นาซีเยอรมนี Heinrich Krampf
Karl Weisenberger
Friedrich Kirchner
Rudolf Veiel
นาซีเยอรมนี Ferdinand Schaal
กำลัง

20,000 men
300 tanks
174 artillery pieces[3]
152 bombers[4][5]

250 fighters[4][5]
60,000 men[6]
41,000 vehicles[7]
771 tanks[8]
1,470 aircraft[3]
141 artillery pieces[3]
96 rubber boats
ความสูญเสีย
manpower losses unknown
artillery losses unknown
tank losses unknown
167 aircraft[9]
120 killed
400 wounded (12–14 May)[10]
647 killed or wounded (15–17 May)[11]
at least 81 rubber boats[12]

ยุทธการที่เซอด็อง (อังกฤษ: Battle of Sedan) หรือ ยุทธการที่เซอด็องครั้งที่สอง (12-15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940) เป็นการสู้รบของสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศส การรบเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการของกองทัพเวร์มัคท์ในรหัสนามว่า ฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)จากการรุกรานผ่านบริเวณเทือกเขาป่าหนาทึบอาร์แดนเพื่อทำการโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียมและทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันกลุ่มเอได้ข้ามแม่น้ำเมิซด้วยความมุ่งหมายที่จะเข้ายึดเซอด็อง และผลักดันไปยังชายหาดช่องแคบอังกฤษ เพื่อทำการดักล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังเคลื่อนทัพไปยังฝั่งตะวันออกในการเข้าสู่เบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทางยุทธศาสตร์คือแผนดิล

เมืองเซอด็องตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ การเข้ายึดครองนั้นจะทำให้เยอรมันใช้เป็นฐานทัพที่จะเข้ายึดสะพานเมิซและข้ามแม่น้ำ ถ้าหากทำสำเร็จ กองพลเยอรมันก็จะสามารถรุกก้าวข้ามเขตชนบทฝรั่งเศสที่เปิดและไร้การป้องกันนอกเหนือจากเซอด็องและช่องแคบอังกฤษ ในวันที่ 12 พฤษภาคม เซอด็องได้ถูกยึดครองโดยปราศจากการต่อต้าน ในวันรุ่งขึ้น เยอรมันได้เอาชนะฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสบริเวณรอบๆของเซอด็อง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ นี่คือความสำเร็จของลุฟท์วัฟเฟอ ด้วยผลมาจากการทิ้งระเบิดของเยอรมันและขวัญกำลังใจตกต่ำลง ทำให้ฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสไม่สามารถป้องกันได้อีกต่อไป เยอรมันได้เข้ายึดสะพานข้ามแม่น้ำเมิซที่เซอด็อง ส่งผลให้กองทหารรวมทั้งยานเกราะเยอรมันสามารถก้าวข้ามแม่น้ำได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพอากาศหลวงอังกฤษ และกองทัพอากาศฝรั่งเศส พยายามทำลายสะพานและป้องกันไม่ให้มีการเสริมกำลังของเยอรมันไปยังฝั่งตะวันตก ลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการป้องกันไม่ให้พวกเขาทำเช่นนั้น ในการรบทางอากาศขนาดใหญ่ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความสูญเสียมากมายซึ่งส่งผลทำให้การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรได้หมดลงในช่วงการทัพ

การก้าวข้ามแม่น้ำเมิซได้ช่วยทำให้เยอรมันสามารถทำลายยุทธศาสตร์เชิงลึก หรือแนวหลังไร้การป้องกัน แนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรและการรุกสู่ช่องแคบอังกฤษโดยไร้การต่อต้าน ฝรั่งเศสได้พยายามที่จะเปิดการโจมตีตอบโต้กลับต่อกรกับเยอรมันที่หัวสะพานที่ยึดครอง ตั้งแต่วันที่ 15 - 17 พฤษภาคม แต่การรุกรานนั้นทำให้เกิดความล่าช้าและสับสน ห้าวันหลังจากการรวบรวมพลที่หัวสะพานที่เซอด็อง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันสามารถเคลื่อนทัพมาถึงช่องแคบอังกฤษ ด้วยชัยชนะที่เซอด็องนั้นเป็นการบรรลุเป้าหมายของปฏิบัติการฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)และโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุด รวมทั้งกองทัพต่างแดนบริติช (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) ผลลัพธ์การรบได้ทำลายส่วนที่เหลือของกองทัพฝรั่งเศสที่เป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพในการรบ,และได้ทำการขับไล่กองทัพอังกฤษออกจากทวีปยุโรปแผ่นดินใหญ่ ได้นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 การรบที่เซอด็องนั้นได้แสดงให้เห็นการล่มสลายของฝรั่งเศส

อ้างอิง[แก้]

  1. Frieser 2005, p. 145.
  2. Mitcham 2000, p. 38.
  3. 3.0 3.1 3.2 Frieser 2005, p. 158.
  4. 4.0 4.1 Frieser 2005, p. 179.
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Healy 2007, p. 56
  6. Frieser 2005, p. 157.
  7. Krause and Cody 2006, p. 171.
  8. Healy 2007, p. 44.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Frieser 2005, p. 181
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Frieser 2005, p. 196
  11. Frieser 2005, p. 210.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Frieser 2005, p. 168