ยุทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ (ค.ศ. 1939)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การป้องกันแผ่นดินไรช์
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง

เฮลิโกแลนด์ไบต์
วันที่18 ธันวาคม ค.ศ. 1939
สถานที่
ผล เยอรมันชนะ[1][2][3]
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Richard Kellett[4] นาซีเยอรมนี Carl-August Schumacher
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
No. 9 Squadron RAF
No. 37 Squadron RAF
No. 149 Squadron RAF
Stab./Jagdgeschwader 1
II./Jagdgeschwader 77
II./Trägergruppe 186
(N)./Jagdgeschwader 26
I./Zerstörergeschwader 76
I./
Jagdgeschwader 26
กำลัง
22 Vickers Wellington bombers 44 fighter aircraft[5]
ความสูญเสีย
12 bombers destroyed
3 bombers damaged
57 killed[6]
3 Bf 109s destroyed[5]
2 Bf 109s severely damaged[5]
1 Bf 109 lightly damaged[5]
2 Bf 110s severely damaged[5]
7 Bf 110s lightly damaged[5]
2 pilots killed[5]
2 pilots wounded[5]
แม่แบบ:Campaignbox Western Front (World War II)

ยุทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ (Battle of the Heligoland Bight) เป็นชื่อครั้งแรกของการสู้รบทางอากาศของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มต้นของการทัพทางอากาศที่ขนาดใหญ่ที่สุดของสงคราม การป้องกันแผ่นดินไรช์ (Defence of the Reich) เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 สหราชอาณาจักรได้ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนี ภายหลังจากเยอรมันได้เข้ารุกรานโปแลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามทวีปยุโรป อังกฤษไม่ได้ให้ความช่วยเหลือโปแลนด์โดยทางบกหรือทางทะเล แต่ในช่วงหลายสัปดาห์ต่อมา กองบัญชาการเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศหลวงแห่งอังกฤษได้ทำบินหลายภารกิจเป้าหมายเยอรมัน จำนวนของการตีโฉบฉวยทางอากาศเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้กับเรือรบของครีกซมารีเนอ(กองทัพเรือเยอรมัน)ในท่าเรือเยอรมันเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้ในยุทธการแห่งแอตแลนติก ด้วยเส้นแนวรบแบบคงที่ระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 และพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ช่วงสมัยนั้นเรียกว่า "สงครามลวง" ซึ่งมีการสู้รบบนบกหรือในทางอากาศเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในทางทะเล กองกำลังเรืออู (เรือดำน้ำ) ของเยอรมันได้รับความเสียหายอย่างมากจากการเดินเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร กระทรวงการบินได้ตัดสินใจที่จะเริ่มต้นการโจมตีต่อเรือบนผิวน้ำของเยอรมันเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาสนับสนุนเรืออูในแอตแลนติกเหนือ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1939 กองกำลังของฝูงบินเครื่องบินทิ้งระเบิดสามลำได้ถูกส่งไปโจมตีกองเรือของเยอรมันในเฮลิโกแลนด์ไบต์และสร้างความเสียหายให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เดิมทีเครื่องบินวิคเกอร์ เวลลิงตัน 24 ลำได้บินขึ้น แต่สองลำได้บินหันหลังกลับเนื่องจากมีปัญหาทางเครื่องยนต์ก่อนที่จะถึงน่านฟ้าเยอรมัน การตอบสนองของเยอรมันช้า ในที่สุดพวกเขาก็แบ่งแยกกองกำลังที่แข็งแกร่งเพื่อสกัดกั้น เครื่องบินรบเพียง 120 ลำ ฝ่ายเยอรมันมี 80-100 ลำ และฝ่ายอังกฤษมี 22 ลำได้เข้ามีส่วนร่วม แต่เครื่องบินขับไล่ของฝ่ายเยอรมันเพียง 44 ลำได้ปะทะกับเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายอังกฤษ

ฝ่ายเยอรมันได้สร้างความเสียหายมากขึ้นต่อกองทัพอากาศหลวงกว่าที่ลุฟท์วัฟเฟอจะรับได้ แต่อิทธิพลของยุทธศาสตร์ในอนาคตของทั้งสองฝ่ายมีความสำคัญยิ่ง การสู้รบได้บังคับให้กองทัพอากาศหลวงต้องละทิ้งภารกิจช่วงกลางวันในการสนับสนุนการทิ้งระเบิดช่วงกลางคืนซึ่งจะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนานสูงมาก ในการสร้างสงครามขึ้น กองทัพอากาศหลวงได้เลือกใช้มนตราว่า"เครื่องบินทิ้งระเบิดจะผ่านพ้นไปได้" แต่ในช่วงกลางวัน ยุทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ได้แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่กรณีและบังคับให้มีการประเมินของปฏิบัติการทิ้งระเบิดในอนาคต ด้วยความล้มเหลวของการจู่โจมได้นำให้ลุฟท์วัฟเฟอเกิดความเชื่อว่าฐานทัพในเยอรมนีที่ถูกต้องนั้นไม่สามารถทำลายได้จากการโจมตีของข้าศึก ความเชื่อนี้ได้รับการสนับสนุนด้วยความสำเร็จของเวร์มัคท์ในปี ค.ศ. 1939-1941 ซึ่งหมายความว่า กองกำลังทางอากาศฝ่ายตรงข้ามได้อยู่ห่างไกลเกินไปสำหรับการโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดอย่างมีประสิทธิภาพในดินแดนปิตุภูมิเยอรมัน การละเลยของพวกเขาต่อการโจมตีในช่วงกลางวันของฝูงเครื่องบินรบฝ่ายข้าศึกนั้นได้มีผลกระทบทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรงในปีถัดมา โดยช่วงเวลานั้น กองบัญชาการใหญ่กองทัพอากาศเยอรมัน (OKL) ได้เริ่มจัดการการป้องกันทางอากาศเพื่อต่อสู้กับการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ (USAAF)

อ้างอิง[แก้]

  1. Caldwell and Muller 2007, p. 42.
  2. Holmes 2010, p. 6.
  3. Weal 1999, p. 8.
  4. "R Kellett_P". Rafweb.org. สืบค้นเมื่อ 2012-12-18.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Holmes 2010, p. 86.
  6. Holmes 2010, p. 69.