วันแสนทรหด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันแสนทรหด
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่บริเตน

พนักงานสังเกตการณ์เครื่องบินข้าศึกในกรุงลอนดอน
วันที่18 สิงหาคม ค.ศ. 1940
สถานที่
ภาคใต้ของอังกฤษและช่องแคบอังกฤษ
ผล สรุปผลไม่ได้
ทั้งสองฝ่ายสูญเสียเท่า ๆ กัน
คู่สงคราม
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร นาซีเยอรมนี เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Hugh Dowding
สหราชอาณาจักร Keith Park
สหราชอาณาจักร Trafford Leigh-Mallory
นาซีเยอรมนี แฮร์มันน์ เกอริง
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เคสเซิลริง
นาซีเยอรมนี ฮูโก ชแปร์เริล
ความสูญเสีย
27[1]–34 fighters destroyed[2]
39 fighters damaged[2]
29 aircraft destroyed (ground)[2]
including only eight fighters[3]
23 aircraft damaged (ground)[2]
10 killed[4]
8 lightly wounded[4]
11 severely wounded[4]
69[2]–71[1] aircraft destroyed
31 aircraft damaged[2]
94 killed[5]
40 captured[5]
25 wounded[5]

วันแสนทรหด (อังกฤษ: The Hardest Day) เป็นนามที่ถูกมอบให้จากการรบทางอากาศของสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงระหว่างยุทธการที่บริเตน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ระหว่างกองทัพอากาศเยอรมัน (ลุฟท์วัฟเฟอ) และกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (RAF) โดยเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องพบความปราชัยในยุโรปตะวันตกและสแกนดิเนเวีย สหราชอาณาจักรได้ปฏิเสธการทาบทามเพื่อเจรจาสันติภาพกับนาซี ดังนั้นอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ออกคำสั่งที่ 16 ให้กองทัพเยอรมัน (เวร์มัคท์) เข้ารุกรานสหราชอาณาจักร

การรุกรานสหราชอาณาจักรได้ถูกเรียกเป็นรหัสนามว่า ปฏิบัติการสิงโตทะเล (เยอรมัน: Unternehmen Seelöwe) อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะดำเนินการครั้งนี้ เยอรมันจำเป็นต้องครองน่านฟ้าให้ได้เสียก่อน ลุฟท์วัฟเฟอต้องทำลายกองทัพอากาศอังกฤษเพื่อป้องกันไม่ให้อังกฤษโจมตีหมู่เรือยกพลขึ้นบกของเยอรมัน หรือให้การป้องกันแก่กองเรือของราชนาวีอังกฤษที่หมายจะสกัดกั้นการยกพลขึ้นบกทางทะเลของเยอรมัน ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งลุฟท์วัฟเฟอ จอมพล แฮร์มันน์ เกอริง และกองบัญชาการสูงสุดกองทัพอากาศเยอรมัน (OKL) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจนี้

เป้าหมายหลักคือกองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 ลุฟท์วัฟเฟอได้เริ่มปฏิบัติการทางทหารเพื่อทำลายกองทัพอากาศอังกฤษ ตลอดเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคม เยอรมันได้มุ่งเป้าไปที่ขบวนเรือในช่องแคบอังกฤษและบางครั้งเป็นสนามบินของกองทัพอากาศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ความพยายามของเยอรมันที่สำคัญ ได้เป็นที่รู้จักกันคือ แอดเลอร์แทก (วันนกอินทรีย์) ได้เข้าโจมตีสนามบินของกองทัพอากาศหลวง แต่กลับล้มเหลว ความล้มเหลวไม่ได้เป็นอุปสรรคของเยอรมันจากการโจมตีทางอากาศต่อกองทัพอากาศหลวงหรือโครงสร้างพื้นฐาน

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ลุฟท์วัฟเฟอได้พยายามทุกวิถีทางในการทำลายกองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ การสู้รบทางอากาศที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นช่วงการรบทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในทางอากาศ ฝ่ายอังกฤษได้ถูกยิงตกสองเท่าจากเครื่องบินรบจำนวนมากของลุฟท์วัฟเฟอที่พวกเขาได้พ่ายแพ้ อย่างไรก็ตาม เครื่องบินรบจำนวนมากของกองทัพอากาศหลวงได้ถูกทำลายบนภาคพื้นดิน การชดเชยความสูญเสียทั้งหมดของทั้งสองฝ่าย การสู้รบทางอากาศที่มีขนาดใหญ่และแสนจะราคาแพงได้เกิดขึ้นในภายหลังวันที่ 18 สิงหาคม แต่ทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียเครื่องบินรบผสมมากขึ้นในช่วงวันนั้นกว่าจุดอื่นๆในช่วงระหว่างการทัพ รวมถึงวันที่ 15 กันยายน วันยุทธการที่บริเตน การพิจารณาโดยทั่วไปของจุดสูงสุดของการสู้รบ ด้วยเหตุนี้ การสู้รบทางอากาศของวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ "วันแสนทรหด" ในอังกฤษ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Addison and Crang 2000, p. 59.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bungay 2000, p. 231.
  3. Franks 1997, pp. 59–60.
  4. 4.0 4.1 4.2 Price 2010, p. 228.
  5. 5.0 5.1 5.2 Price 2010, p. 226.