ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่ฌ็องบลู (ค.ศ. 1940)

พิกัด: 50°36′00″N 4°39′58″E / 50.600°N 4.666°E / 50.600; 4.666
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่ฌ็องบลู
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่เบลเยียม, แนวรบด้านตะวันตก ของ สงครามโลกครั้งที่สอง

ช่องว่างฌ็องบลู. ส่วนภาคกลางของเบลเยียมระหว่าง Namur และ Wavre เป็นที่ตั้งของเหล่าทหารม้าของฝรั่งเศส (Corps de Cavalerie) (ภายใต้การนำของนายพล René Prioux), เพื่อการป้องกันการบุกเข้าสู่ฝรั่งเศสของเยอรมัน
วันที่14–15 May 1940
สถานที่
ฌ็องบลู, เบลเยียม และพื้นที่ใกล้เคียง
50°36′00″N 4°39′58″E / 50.600°N 4.666°E / 50.600; 4.666
ผล การตัดสินไม่เด็ดขาด[nb 1]
คู่สงคราม

ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส

นาซีเยอรมนี เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส René Prioux นาซีเยอรมนี Erich Hoepner
นาซีเยอรมนี Viktor von Schwedler
กำลัง
3 motorised divisions
3 infantry divisions
2 panzer divisions
3 infantry divisions
ความสูญเสีย
AFV unknown
~ 2,000 killed, wounded and missing
/III Corps; a few hundred casualties[3]
unclear
33–37 percent of German tank strength lost
304 killed
413 wounded
29 missing
IV Corps, a few hundred casualties.[4]
Gemblouxตั้งอยู่ในBelgium
Gembloux
Gembloux
Gembloux, a municipality in the Belgian province of Namur
แม่แบบ:Campaignbox Western Front (World War II) แม่แบบ:The Belgian Campaign

ยุทธการที่ฌ็องบลู (หรือ ยุทธการที่ช่องว่างฌ็องบลู) เป็นการสู้รบกันระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองทัพเวร์มัคท์ (กองกำลังป้องกัน) แห่งนาซีเยอรมันได้บุกครองลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ภายใต้ปฏิบัติการแผนการกรณีสีเหลือง (Fall Gelb-Case Yellow) กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบสนองด้วยแผนการดิล (Dyle Plan) หรือ แผนการดี ด้วยความมุ่งมั่นในการหยุดยั้งเยอรมันในเบลเยียมที่เชื่อว่า เป็นการโจมตีหลักของเยอรมัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้กระทำผิดพลาดอย่างไม่ไตร่ตรองด้วยการสั่งให้กองทัพเคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียมในวันที่ 10 พฤษภาคม และ 12 พฤษภาคม เยอรมันได้เริ่มส่วนที่สองของแผนการกรณีสีเหลือง แผนการมันชไตน์ ด้วยการเคลื่อนทัพผ่านบริเวณเทือกเขาป่าอาร์แดน ไปจนถึงช่องแคบอังกฤษและทำการตัดกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียม

ด้วยความไม่คาดคิดว่าการรุกรานของเยอรมันในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเป็นแผนหลอกล่อ กองทัพฝรั่งเศสได้มีความมุ่งมั่นที่จะหยุดยั้งการรุกของเยอรมันในการเข้าสู่ใจกลางของเบลเยียมและฝรั่งเศสบนแนวตำแหน่งการป้องกันสองแห่งที่ฮันนัทและฌ็องบลู กองทัพที่หนึ่งของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุดในกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร จะทำการป้องกันที่แกน ฌ็องบลู-วาฟวร์ เหล่าทหารม้าของฝรั่งเศส (Corps de Cavalerie) ภายใต้การนำของนายพล René Prioux ได้เดินหน้าเข้าสู่ฮันนันเพื่อตรวสอบการแปรขบวนทัพของส่วนที่เหลือของกองทัพที่หนึ่งที่ฌ็องบลู เพื่อการหยุดยั้งการรุกรานของเยอรมัน

ภายหลังจากยุทธการที่ฮันนัทซึ่งอยู่ห่างประมาณ 35 กิโลเมตร(22 ไมล์)ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฝรั่งเศสได้ถอนกำลังออกจากฌ็องบลูและตำแหน่งป้องกันหลักสำหรับฝรั่งเศสบนแนวรบเบลเยียม เป็นเวลาสองวันแล้วที่ฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้จากการโจมตีโดยกองทัพที่ 6 การโจมตีอย่างน่าประหลาดใจของเยอรมันในการผ่านบริเวณเทือกเขาป่าอาร์แดนและการก้าวข้ามแม่น้ำเมิซที่ซีดาน ได้บีบบังคับให้กองทัพหนึ่งให้ล่าถอยออกจากเกมบลูซ์ จากนั้นก็ย้อนกลับมาที่ชายแดนฝรั่งเศสไปยังลีล ด้วยการล่าถอยที่ไม่เป็นระเบียบการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตรในภาคกลางจากแนวรบเบลเยียมและกองทัพเยอรมันได้เข้ายึดครองภาคกลางของเบลเยียม ด้วยกลยุทธ์ทางยุทธ์ศาสตร์ในการรบไม่เป็นผล จึงได้หันเหความสนใจไปยังกองทัพที่หนึ่งที่ซีดานซึ่งจะเป็นการช่วยให้เยอรมันนั้นสามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของแผนการกรณีเหลืองได้ แต่กองทัพที่หนึ่งกลับรอดและในช่วงการปิดล้อมที่ลีลได้ทำให้กองทัพเยอรมันนั้นเกิดเบี่ยงเบนความสนใจจากยุทธการที่ดันเคิร์ก ซึ่งจะช่วยให้กองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) กองกำลังฝรั่งเศสอีกจำนวนมากมายในการอพยพ.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gunsberg 2000, p. 140.
  2. Frieser (2005), pp. 243–44.
  3. Gunsberg 2000, pp. 137–138.
  4. Gunsberg 2000, p. 137.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน