ยุทธการที่อานูว์
ยุทธการที่อานูว์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่เบลเยียม ใน สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
สภาพรถถังรุ่น SOMUA S35 สองคันที่ถูกทำลายกำลังถูกตรวจสอบโดยทหารเยอรมัน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์[Notes 1] | เยอรมนี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Jean-Léon-Albert Langlois | Johann Joachim Stever | ||||||
กำลัง | |||||||
2 armoured divisions 20,800 personnel 600 AFVs [2][Notes 2] |
2 Panzer divisions 25,927 personnel 618 tanks (some sources say 674)[3] 108 artillery pieces [2][Notes 3] 1,252 aircraft | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
121 tanks destroyed/damaged or abandoned[4] personnel: unknown |
60 killed 80 wounded 49 tanks destroyed 111 tanks damaged [5] | ||||||
ยุทธการที่อานูว์ เป็นการสู้รบกันของสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่เบลเยียมซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 12 และ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ที่อานูว์ในประเทศเบลเยียม มันเป็นการต่อสู้ของรถถังที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการทัพ นอกจากนี้ยังมีการปะทะกันครั้งใหญ่ที่สุดของรถถังในประวัติศาสตร์ยานรบหุ้มเกราะสงครามในช่วงเวลานั้น
วัตถุประสงค์หลักของเยอรมันคือตรึงกำลังที่แข็งแกร่งที่สุดของกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสและกักตัวไว้ให้ห่างจากการโจมตีหลักของเยอรมันโดยกองทัพกลุ่มเอที่ได้เคลื่อนที่ผ่านป่าอาร์แดน ตามแผนปฏิบัติการของเยอรมันที่ชื่อว่า Fall Gelb (กรณีสีเหลือง), โดยนายพล เอริช ฟ็อน มันชไตน์ เยอรมันได้เริ่มเคลื่อนที่ออกจากอาร์แดนที่ได้ถูกกำหนดไว้จากวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นเวลาห้าวันภายหลังจากเยอรมันโจมตีรุกรานเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม การถ่วงเวลาเพื่อล่อลวงให้ฝ่ายสัมพันธมิตรหลงเชื่อว่าการโจมตีหลักที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น แผนการชลีฟเฟิน (Schlieffen Plan)ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือการผ่านจากเบลเยียมแล้วเคลื่อนที่ลงไปเข้าสู่ฝรั่งเศส เมื่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกเข้าสู่เบลเยียมตามแผนการดีล (Dyle Plan) หรือ แผนดี พวกเขาจะถูกตึงกำลังโดยปฏิบัติการรุกรานเยอรมันในตะวันออกของเบลเยียมที่อานูว์และฌ็องบลู ซึ่งปีกด้านข้างของกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสได้เปิดออก เยอรมันสามารถผลักดันไปยังช่องแคบอังกฤษซึ่งจะทำการปิดล้อมและทำลายล้างกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร. สำหรับฝรั่งเศส แผนการในเบลเยียมคือการเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันที่ฌ็องบลูอยู่ห่างประมาณ 34 กิโลเมตร์ (21 ไมล์)ทางทิศตะวันตกของอานูว์ ฝรั่งเศสได้ส่งสองกองพลยานเกราะไปข้างหน้า เพื่อดำเนินการถ่วงเวลาในการบุกของกองทัพเยอรมันและให้เวลาที่เหลือของกองทัพที่ 1 เพื่อขุดหลุมที่ฌ็องบลู
เยอรมันได้มาถึงพื้นที่อานูว์เพียงสองวันหลังการเริ่มรุกรานเบลเยียม แต่ฝรั่งเศสก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้จากการโจมตีหลายครั้งของเยอรมันและย้อมกลับมายึดฌ็องบลูตามที่แผนได้วางเอาไว้ เยอรมันได้ประสบผลสำเร็จในการตรึงกำลังกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งอาจมีส่วนรวมในยุทธการที่ซีดาน (Battle of Sedan) การโจมตีผ่านอาร์แดน เยอรมันได้ล้มเหลวในการกวาดล้างกองทัพที่ 1 ฝรั่งเศสที่อานูว์ แม้จะก่อให้เกิดความสูญเสียไปมากแล้วก็ตาม
ฝรั่งเศสได้เคยประสบความสำเร็จอีกครั้งทางยุทธศาสร์ที่การรบที่ฌ็องบลู ตั้งแต่วันที่ 14-15 พฤษภาคม ในช่วงภายหลังในการรบ แม้ว่าจะได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กองทัพที่ 1 ฝรั่งเศสสามารถล่าถอยไปที่ลีล ความล่าช้าของเยอรมันในการปิดล้อมที่ลีลและเป็นประโยชน์ในการเริ่มปฏิบัติการลงเรือของทหารจากกองกำลังรบต่างประเทศบริติช (British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.),ทหารฝรั่งเศสและเบลเยียมในการอพยพเดิงแกร์ก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gunsburg 1992, p. 216
- ↑ 2.0 2.1 Gunsburg 1992, p. 210
- ↑ Battistelli & Anderson 2007, p. 75
- ↑ Gunsburg 1992, p. 236
- ↑ Gunsburg 1992, p. 237
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "Notes" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="Notes"/>
ที่สอดคล้องกัน