ยี่เข่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยี่เข่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Lythraceae
สกุล: Lagerstroemia
สปีชีส์: L.  indica
ชื่อทวินาม
Lagerstroemia indica
(L.) Pers.

ยี่เข่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia indica) หรือ คำฮ่อ[1] เป็นไม้ประดับในวงศ์ตะแบก ลักษณะเป็นไม้พุ่มผลัดใบ สูงได้ถึง 7 เมตร มีขนประปรายตามกิ่ง ช่อดอกและเส้นแขนงใบด้านล่าง ใบรูปรี รูปไข่กว้างหรือรูปขอบขนาน ยาว 2.5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน มีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม เส้นแขนงใบข้างละ 3-7 เส้น ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ฐานดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงยาว 4-5 มิลลิเมตร กลีบดอกบางและจีบย่น สีขาว ชมพูหรืออมม่วง ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร บานช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลรูปรี ยาว 1-1.2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก[2][3]

ยี่เข่งมีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในทวีปเอเชีย[4] ใบและดอกใช้ตำพอกรักษาแผล แก้ผดผื่น แก้กลากเกลื้อน[5]

ในวรรณคดี[แก้]

สารภียี่เข่งเบญจมาศ บุนนาคการเกดลำดวนหอม
แถมนางแย้มแกมสุกรมต้นยมโดย พระพายโชยชื่นใจในไพรวัน
พระอภัยมณี ประพันธ์โดยสุนทรภู่

อ้างอิง[แก้]

  1. "'คำฮ่อ' ใบพอกแผลสด". คมชัดลึก. July 31, 2015. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  2. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 365, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  3. "ยี่เข่ง". สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  4. "Lagerstroemia indica". Centre for Agriculture and Bioscience International. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  5. "'ยี่เข่ง' ดอกแก้แผล-ฝี". คมชัดลึก. July 20, 2015. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยี่เข่ง
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lagerstroemia indica ที่วิกิสปีชีส์