ยาเม็ดคุมกำเนิด
ยาเม็ดคุมกำเนิด | |
---|---|
ความรู้พื้นฐาน | |
ประเภทการคุมกำเนิด | ฮอร์โมน |
เริ่มใช้ครั้งแรก | ? |
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้) | |
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง | 0.3% |
เมื่อใช้แบบทั่วไป | 9% |
การใช้ | |
ระยะเวลาที่มีผล | 1–4 วัน |
การย้อนกลับ | ย้อนกลับได้ |
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ | รับประทานเป็นประจำทุกวัน |
ระยะการพบแพทย์ | 6 เดือน |
ข้อดีข้อเสีย | |
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ | ไม่ป้องกัน |
ประจำเดือน | ควบคุม มักเบาลงและเจ็บปวดน้อยลง |
น้ำหนัก | ไม่มีผลที่ได้รับการยืนยัน |
ข้อดี | ลดความเสี่ยงการเสียชีวิต[1] ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิต[1] ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุมดลูก อาจลดการเกิดสิว PCOS PMDD และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ |
ความเสี่ยง | เป็นไปได้ที่จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิดเล็กน้อย[2][3] เพิ่มอัตราการเกิด DVT เล็กน้อย; โรคหลอดเลือดสมอง,[4] โรคระบบหัวใจหลอดเลือด[5] |
Medical notes | |
ได้รับผลกระทบจากยาปฏิชีวนะ rifampicin,[6] สมุนไพร Hypericum (St. Johns Wort) และยากันชัก รวมถึงอาเจียรและท้องร่วง ควรระวังหากเคยมีอาการไมเกรน |
ยาเม็ดคุมกำเนิด (อังกฤษ: combined oral contraceptive pill, COCP, the pill) คือยาเม็ดที่มีส่วนผสมของ เอสโทรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และโพรเกสทิน (โพรเกสโทรเจนสังเคราะห์) ใช้กินเพื่อยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) ในเพศหญิง ยาคุมกำเนิดได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1960 ด้วยจุดประสงค์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมีจำนวน 12 ล้านคนในอเมริกา และ 100 ล้านคนทั่วโลก[7][8] อัตราการใช้ยาคุมกำเนิดแปรผันไปตามประเทศ[9] อายุ การศึกษา และสถานภาพสมรส อาทิ เกือบหนึ่งในสี่ของผู้หญิงที่อายุ 16-49 ปีในสหราชอาณาจักรใช้ยาคุมกำเนิด (ซึ่งอาจเรียกว่า combined pill หรือ minipill)[10] แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น[11]
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน (Oral contraceptive pills) แบ่งตามชนิดของฮอร์โมนที่เป็นส่วนประกอบได้เป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ Combined pills, Progestin only pills
ชนิดฮอร์โมนรวม
[แก้]ยาเม็ดคุมกำเนิด combined pills ประกอบด้วยทั้งฮอร์โมน estrogen และ progestogenมีแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยในแบบ 28 เม็ด จะเป็นเม็ดที่มีฮอร์โมน 21เม็ด อีก 7 เม็ดเป็นเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน
ยาเม็ดคุมกำเนิด combined pills แบ่งเป็น 3 ชนิด
- Monophasic combined pill ประกอบด้วย estrogen และ progestogen ในขนาดคงที่ทุกเม็ด โดยมีอยู่ 21 เม็ด ส่วนยาคุมชนิด 28 เม็ด อีก 7 เม็ดจะเป็น วิตามิน แป้ง หรือ ferrous fumarate
- Biphasic combined pill เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วย estrogen และ progestrogen ในปริมาณที่ต่างกัน 2 ระดับ ในแต่ละช่วงของรอบเดือน เพื่อเลียนแบบการหลั่งของฮอร์โมนตามธรรมชาติของสตรี คือ
- estrogen จะมีระดับสูงช่วงต้นเดือนและลดต่ำลงช่วงปลายเดือน
- progestogen จะมีระดับต่ำช่วงต้นเดือน และจะสูงขึ้นช่วงปลายเดือน
- Triphasic combined pillเป็น combined pill ที่ผลิตขึ้นเพื่อเลียนแบบฮอร์โมน estrogen และ progestogen ในอัตราส่วนซึ่งคล้ายกับธรรมชาติของฮอร์โมนในรอบเดือนปกติของสตรี
- estrogen จะมีระดับต่ำในช่วงต้นและปลายรอบเดือน จะสูงช่วงกลางรอบเดือน
- progestogen จะมีระดับต่ำในช่วงต้นรอบเดือนและจะสูงสุดในช่วงปลายรอบเดือน
กลไกการออกฤทธิ์
- Estrogen ยับยั้งการหลั่ง Follicle stimulating hormone ( FSH ) ทำให้กดการเจริญของ follicle
- Progesterone ยับยั้งการหลั่ง Luteinizing ( LH ) ทำให้ไม่มี LH surge และไม่เกิดการตกไข่ และ Progesterone ยังทำให้ cervical mucus ข้นเหนียวและทำให้ sperm ผ่านได้ยาก
- ทั้ง Estrogen และ Progesterone มีฤทธิ์ทำให้ Endometrium ไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน
- นอกจากนี้ฮอร์โมนยังอาจมีผลรบกวนต่อการ Contraction ของ cervix, uterus, และ fallopian tubes ด้วย
อาการไม่พึงประสงค์ของยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ Combined pills
- ผลจาก Estrogen สูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน, วิงเวียน, ปวดศีรษะไมเกรน, ประจำเดือนมามากกว่าปกติ, ปวดประจำเดือนมาก, เต้านมโตเจ็บคัดเต้านม, มดลูกโตและเส้นเลือดอุดตัน
- ผลจาก Estrogen ต่ำ ได้แก่ ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ, เต้านมเล็ก, มดลูกเล็ก, Early/mid cycle breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน ซึ่งมาผิดปกติ ในช่วงระหว่างต้นเดือนถึงกลางเดือน
- ผลจาก Progesterone สูง ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม, เป็นสิว, หน้ามัน, ขนดก, เต้านมเล็ก, ประจำเดือนมาน้อย, ตกขาวจากเชื้อ Candida spp.
- ผลจาก Progesterone ต่ำ ได้แก่ breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน โดยมาผิดปกติ ในช่วงหลังรอบเดือน
วิธีกินยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ Combined pills
เริ่มกินเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือระหว่างวันที่ 1-5 ของ menstrual cycle กินยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันของทุกวัน โดยควรกินก่อนนอน
แบบ 21 เม็ด กินวันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกันทุกวัน โดยกินยาตามลูกศรไปจนครบ 21 เม็ด ให้กิน 21 วันแล้วหยุดยาเป็นเวลา 7วัน ในวันที่ 8 กินยาในแผงต่อไปเช่นเดิม (ในช่วง 7 วันที่หยุดยา จะมีประจำเดือนมา แต่จะมากี่วันไม่ต้องไปสนใจ และถึงแม้ประจำเดือนยังคงมาอยู่หรือหมดไปแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้วให้เริ่มทานยาเม็ดแรกของแผงใหม่ได้เลย )
แบบ 28 เม็ดให้กินทุกวันเช่นกัน ทานให้ตรงเวลากันทุกวันโดยไล่เม็ดไปตามลูกศรและเริ่มแผงใหม่ได้เลยเมื่อหมดแผงเก่า เพื่อให้สตรีกินยาติดต่อกันทุกวันโดยไม่ต้องเว้นช่วงจะได้ไม่ต้องกังวลกับการนับวัน
การกินยาเม็ดคุมกำเนิด triphasic combined pill ชนิด 28 เม็ด ให้เริ่มยาเม็ดแรกในช่วงสีแดงก่อน กินเม็ดยาที่ด้านหลังระบุให้ตรงกับวันแรกที่มีประจำเดือนมา กินตามลูกศร วันละ 1 เม็ดเวลาเดียวกันทุกวัน ห้ามลืมกิน กินยาจนหมดแผงแล้วเริ่มแผงใหม่ทันที ไม่ต้องหยุดยาให้เริ่มยาเม็ดแรกให้เหมือนกินแผงแรก
กรณีที่ลืมกินยา หากลืมกินยา 1 เม็ดให้กินยาทันทีที่นึกได้และกินเม็ดต่อไปเช่นเดิม(ในวันนั้นจึงได้กินยาทั้งหมด 2 เม็ด)
หากลืมกิน 2 เม็ดในสัปดาห์ที่ 1-2 ให้กินยา 2 เม็ดทันทีที่นึกได้ และกินอีก 2 เม็ดในวันถัดไป จากนั้นกินยาตามปกติ และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย
หากลืมกินยา 2 เม็ดใน สัปดาห์ที่ 3 ให้ทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มกินยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย
หากลืมกินยา 3 เม็ด ให้หยุดกินทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มกินยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย และหากประจำเดือนขาดหายติดต่อกัน 2 เดือนอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้
กรณีที่ลืมกินยาเม็ดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน ในcombined pills แบบ 28 เม็ด ให้ข้ามวันที่ลืมกินไปได้ และกินเม็ดต่อไปตามปกติ
ข้อห้ามใช้ (Contraindication/cautions)
- ห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้ป่วย Thrombophlebitis, Thromboembolic phenomena, Cerebrovascular disease และผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งหรือคาดว่าจะเป็นมะเร็งที่เต้านม หรือ Estrogen dependent tumor อื่นๆ
- ห้ามใช้ในวัยรุ่นที่ Epiphyisal closure ยังไม่สมบูรณ์
- ไม่ควรใช้ในผู้ที่มี vaginal bleeding โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการใช้ หรือระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ, asthma, eczema, migraine, diabetes, hypertension และ convulsive disorder
ชนิดฮอร์โมนเดียว
[แก้]ยาคุมในกลุ่มนี้ไม่มี Estrogen มีแต่ Progesterone ที่มีปริมาณฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด การพัฒนายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ขึ้นเพื่อกำจัดอาการข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดจาก Estrogen แต่ประสิทธิภาพจะลดลง และยังพบอาการข้างเคียงคือ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย (Break through bleeding) และรอบเดือนมาไม่ปกติจึงไม่นิยมใช้มากนัก จึงควรเลือกใช้ในกรณีที่มีข้อห้ามใช้ estrogen หรือในหญิงให้นมบุตร เพราะจะไม่กดการหลั่งของน้ำนม และอาจจะมีประโยชน์เมื่อต้องการเลื่อนประจำเดือนออกไปในช่วงสั้นๆ เช่นสำหรับนักกีฬา หรือผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
กลไกการออกฤทธิ์
Progestin only pills ทำให้ cervical mucus ข้นเหนียวไม่เหมาะแก่การผ่านของ sperm และทำให้ endrometrial ไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน
วิธีการกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Minipills
ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่มี Estrogen แต่มี Progesterone ในขนาดต่ำเท่ากันทุกเม็ด
การเริ่มทานยาแผงแรก เริ่มทานยาแผงแรกในวันแรกของการมีประจำเดือนทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกัน จนหมดแผง
ทานยาแผงต่อไปโดยทานต่อแผงแรกทันที ไม่ต้องเว้นวัน แม้จะมีประจำเดือน
ถ้าลืมทานยา 1 เม็ด ให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกได้ในคืนถัดไป ก็ควรกินรวมเป็น 2 เม็ด ในคืนนั้น
ถ้าลืมกินยา 2 วัน ติดต่อกัน ให้กินยาครั้งละ 2 เม็ดใน 2 วันถัดไป
ถ้าลืมกินยามากกว่า 2 วันติดต่อกัน ให้หยุดกินยาแล้วคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น
ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ
[แก้]มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นหลายหน้า (อภิปราย) |
ยาคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ หรือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Postcoital contraceptives หรือ Morning after pills)[12]
ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังร่วมเพศเป็นยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนขนาดสูง ไม่ควรนำมาใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดตามปกติ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เพราะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนขนาดสูง แต่จะใช้เฉพาะในกรณีของสตรีที่ถูกข่มขืน หรือกรณีการคุมกำเนิดล้มเหลว เนื่องจากการฉีกขาดของถุงยางอนามัยขณะมีการร่วมเพศ Regimen ของฮอร์โมนที่นำมาใช้เป็นยาคุมกำเนิดภายหลังมีเพศสัมพันธ์มีหลายรูปแบบได้แก่
- Conjugated estrogens: 10 mg วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน
- Ethinyl estradiol: 2.5 mg วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
- Diethylstilbestol: 50 mg ต่อกันเป็นเวลา 5 วัน
- Levonorgestrel: 0.75 mg กิน 1 เม็ดภายใน 72 ชั่วโมงและหลังจากนั้น 12 ชั่วโมง กินอีก 1 เม็ด
- Norgestrel 0.5 mg with ethinyl estradiol 0.05mg กิน 2 เม็ดภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังการมีเพศสัมพันธ์และหลังจากนั้น 12 ชั่วโมงกินอีก 2 เม็ด
ซึ่ง regimen นี้มีชื่อเรียกว่า Yuzpe regimen
การออกฤทธิ์
ยาคุมกำเนิดนี้ออกฤทธิ์โดยการทำให้มดลูกไม่เหมาะสมแกการฝังตัวของตัวอ่อน
อาการไม่พึงประสงค์
คือ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ พบได้ถึง 40 % ทำให้มักมีการให้ยาต้านการอาเจียน เข้าร่วมด้วย
การใช้ยาคุมชนิดเม็ดในกรณีต่างๆ
การใช้ยาคุมกำเนิดในหญิงตั้งครรภ์
ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีที่ตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก เพราะจะทำให้เด็กพิการหรือเป็นมะเร็งที่อวัยวะเพศ และถ้าคุมกำเนิดล้มเหลวจะเพิ่มอัตราการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ได้มากกว่าการไม่ใช้ยา
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังคลอด
การใช้ยาในสตรีให้นมบุตรไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม เพราะ ยาจะทำให้ปริมาณของน้ำนมลดลง ยาขับของทางน้ำนมได้บ้าง (แต่ยังไม่ทราบว่ามีผลอย่างไรต่อทารก) ดังนั้นควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนเดี่ยวขนาดน้อย (Minipills) และควรใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยในเดือนแรก (หรืออย่างน้อยใน 7 วันแรก) ที่เริ่มกลับมาใช้ยาใหม่
ถ้าไม่ได้ให้นมบุตร สามารถให้ได้ทันทีตามความต้องการไม่ว่าจะมีประจำเดือนมาหรือไม่
การใช้ยาในกรณีที่ต้องการผ่าตัดใหญ่
ควรหยุดกินยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนการผ่าตัดใหญ่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ แล้วหลังผ่าตัดใหญ่ ควรรออย่างน้อย 2 สัปดาห์ จึงเริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Hannaford PC, Iversen L, Macfarlane TV, Elliott AM, Angus V, Lee AJ (March 11, 2010). "Mortality among contraceptive pill users: cohort evidence from Royal College of General Practitioners' Oral Contraception Study". BMJ. 340: c927. doi:10.1136/bmj.c927. PMC 2837145. PMID 20223876.
- ↑ IARC working group (2007). "Combined Estrogen-Progestogen Contraceptives" (PDF). IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. International Agency for Research on Cancer. 91.
- ↑ Collaborative Group on Hormonal Factors in Breast Cancer (1996). "Breast cancer and hormonal contraceptives: Collaborative reanalysis of individual data on 53 297 women with breast cancer and 100 239 women without breast cancer from 54 epidemiological studies". The Lancet. 347 (9017): 1713–27. doi:10.1016/S0140-6736(96)90806-5. PMID 8656904.
- ↑ Kemmeren JM, Tanis BC, van den Bosch MA, Bollen EL, Helmerhorst FM, van der Graaf Y, Rosendaal FR, Algra A (2002). "Risk of Arterial Thrombosis in Relation to Oral Contraceptives (RATIO) Study: Oral Contraceptives and the Risk of Ischemic Stroke". Stroke. 33 (5): 1202–8. doi:10.1161/01.STR.0000015345.61324.3F. PMID 11988591.
- ↑ Baillargeon JP, McClish DK, Essah PA, Nestler JE (2005). "Association between the Current Use of Low-Dose Oral Contraceptives and Cardiovascular Arterial Disease: A Meta-Analysis". Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 90 (7): 3863–70. doi:10.1210/jc.2004-1958. PMID 15814774.
- ↑ "Birth Control Pills - Birth Control Pill - The Pill". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
- ↑ Hatcher, Robert A.; Nelson, Anita (2004). "Combined Hormonal Contraceptive Methods". ใน in Hatcher, Robert A. (บ.ก.). Contraceptive Technology (18th ed.). New York: Ardent Media. pp. 391–460. ISBN 0-966-49025-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ all US women aged 15-44 Mosher WD, Martinez GM, Chandra A, Abma JC, Willson SJ (2004). "Use of contraception and use of family planning services in the United States: 1982-2002" (PDF). Adv Data (350): 1–36. PMID 15633582.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ women aged 15-49 married or in consensual union UN Population Division (2006). World Contraceptive Use 2005 (PDF). New York: United Nations. ISBN 9-211-51418-5.
- ↑ British women aged 16-49: 24% currently use the Pill (17% use Combined pill, 5% use Minipill, 2% don't know type) Taylor, Tamara; Keyse, Laura; Bryant, Aimee (2006). Contraception and Sexual Health, 2005/06 (PDF). London: Office for National Statistics. ISBN 1-85774-638-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-01-09. สืบค้นเมื่อ 2007-05-08.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Aiko Hayashi (August 20, 2004). "Japanese Women Shun The Pill". CBS News. สืบค้นเมื่อ 2006-06-12.
- ↑ International Consortium for Emergency Contraception. Emergency Contraceptive Pills: Medical and Service Delivery Guidelines, 2nd edition. New York: Author, 2004.