ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อินโดจีนของฝรั่งเศส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
อิอิ
บรรทัด 66: บรรทัด 66:
|currency = [[ปียัสทร์อินโดจีนของฝรั่งเศส]]}}
|currency = [[ปียัสทร์อินโดจีนของฝรั่งเศส]]}}


'''อินโดจีนของฝรั่งเศส''' ({{lang-fr|Indochine française}}, {{lang-en|French Indochina}}) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น '''สหภาพอินโดจีน''' ({{lang|fr|Union Indochinoise}}) เป็น[[อาณานิคม]]ของ[[จักรวรรดิฝรั่งเศส]]ใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2430]] โดยประกอบด้วย[[ตังเกี๋ย]] [[อันนัมในอารักขาของฝรั่งเศส|อันนัม]] [[โคชินไชนา]] (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็น[[ประเทศเวียดนาม]]ในปัจจุบัน) และ[[กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส|กัมพูชา]] ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2436]] จึงได้รวมเอา[[ลาวในอารักขาของฝรั่งเศส|ลาว]]เข้ามา อินโดจีนมี[[ไซ่ง่อน]]เป็นเมืองหลวงจนถึงปี [[พ.ศ. 2445]] จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่[[ฮานอย]] ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] อินโดจีนถูกปกครองโดย[[ฝรั่งเศสเขตวีชี]]และยังถูก[[ญี่ปุ่น]]รุกรานด้วย ในต้นปี [[พ.ศ. 2489]] [[เวียดมินห์]]ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่า[[สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1|สงครามอินโดจีน]] ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้ง[[รัฐเวียดนาม]]ซึ่งนำโดย[[สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย|จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม]] และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี [[พ.ศ. 2492]] แต่ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2498]] เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของ[[เวียดนามเหนือ]]ตาม[[อนุสัญญาเจนีวา]] โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่
'''อินโดจีนของฝรั่งเศส''' ({{lang-fr|Indochine française}}, {{lang-en|French Indochina}}) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น '''สหภาพอินโดจีน''' ({{lang|fr|Union Indochinoise}}) เป็น[[อาณานิคม]]ของ[[จักรวรรดิฝรั่งเศส]]ใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2430]] โดยประกอบด้วย[[ตังเกี๋ย]] [[อันนัมในอารักขาของฝรั่งเศส|อันนัม]] [[โคชินไชนา]] (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็น[[ประเทศเวียดนาม]]ในปัจจุบัน) และ[[กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส|กัมพูชา]] ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2436]] จึงได้รวมเอา[[ลาวในอารักขาของฝรั่งเศส|ลาว]]เข้ามา อินโดจีนมี[[ไซ่ง่อน]]เป็นเมืองหลวงจนถึงปี [[พ.ศ. 2445]] จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่[[ฮานอย]] ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] อินโดจีนถูกปกครองโดย[[ฝรั่งเศสเขตวีชี]]และยังถูก[[ญี่ปุ่น]]รุกรานด้วย ในต้นปี [[พ.ศ. 2489]] [[เวียดมินห์]]ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่า[[สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1|สงครามอินโดจีน]] ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้ง[[รัฐเวียดนาม]]ซึ่งนำโดย[[สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย|จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม]] และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี [[พ.ศ. 2492]] แต่ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2498]] เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของ[[เวียดนามเหนือ]]ตาม[[อนุสัญญาเจนีวา]] โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่ อิอิ


== การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส ==
== การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:08, 25 พฤษภาคม 2560

อินโดจีนของฝรั่งเศส
Indochine française
Union Indochinoise (1946)
พ.ศ. 2430–พ.ศ. 2496
ตราแผ่นดินของFrench Indochina
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของอินโดจีนของฝรั่งเศส
ที่ตั้งของอินโดจีนของฝรั่งเศส
สถานะอาณานิคมฝรั่งเศส
เมืองหลวงไซ่ง่อน (จนถึง พ.ศ. 2445)
ฮานอย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2445)
ภาษาทั่วไปภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษาลาว
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมใหม่
• สถาปนา
17 ตุลาคม พ.ศ. 2430 พ.ศ. 2430
• ผนวกลาว
3 ตุลาคม พ.ศ. 2436
• เวียดนามเหนือประกาศเอกราช
2 กันยายน พ.ศ. 2488
• เวียดนามใต้ประกาศเอกราช
14 มิถุนายน พ.ศ. 2492
• ลาวประกาศเอกราช
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492
• กัมพูชาประกาศเอกราช
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2496
พื้นที่
พ.ศ. 2478750,000 ตารางกิโลเมตร (290,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• พ.ศ. 2478
21599582
สกุลเงินปียัสทร์อินโดจีนของฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
อันนัมในอารักขาของฝรั่งเศส
โคชินไชนา
กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
ลาวในอารักขาของฝรั่งเศส
จักรวรรดิราชวงศ์เหงียน
เวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้
ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2497–2513)
ราชอาณาจักรลาว

อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Indochine française, อังกฤษ: French Indochina) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise) เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงได้รวมเอาลาวเข้ามา อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 2445 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชีและยังถูกญี่ปุ่นรุกรานด้วย ในต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่าสงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้งรัฐเวียดนามซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่ อิอิ

การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุอิตนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก[1] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอนได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือเหงียน อั๊ญ (ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึงปี พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิเช่น การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง

ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตีดานังของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เดอ เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ในเดือนกันยายนกองทัพผสมระหว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปน[2]ได้เข้าโจมตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด

เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนหฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญเตื่องให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจากหน้าที่ในเดือนพศจิกายน พ.ศ. 2402 เพราะว่าเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดนามค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. 2405 ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนาจากจักรพรรดิตึ ดึ๊ก และต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ฝรั่งเศสก็ประกาศดินแดนของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2410 จังหวัดเจิวด๊ก (โชฎก) ห่าเตียน และหวิญล็องก็ตกเป็นของฝรั่งเศส

ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ

การสถาปนาอินโดจีนของฝรั่งเศส

อาณาเขตของอินโดจีนของฝรั่งเศส
แสดงด้วยสีฟ้า

ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียดนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2427 - 2428 ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าไว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2430 ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม

โดยนิตินัย ฝรั่งเศสได้มอบอำนาจให้กับผู้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี่ ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2497

การก่อจลาจลในเวียดนาม

กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี พ.ศ. 2401 และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2428 - 2438 ฟาน ดิ่ญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหลังจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้น

สงครามฝรั่งเศส-สยาม

กองทัพสยามในลาว

ข้อพิพาทดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนจากการขยายอาณาเขตของอินโดจีน นำไปสู่สงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 ทางฝรั่งเศสได้ใช้ข้อขัดแย้งในเรื่องเขตแดนในการกระตุ้นวิกฤตขึ้นมา เรือปืนของฝรั่งเศสได้บุกเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครและเรียกร้องให้สยามส่งมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ทูตอังกฤษได้แนะนำให้ยอมทำตามคำร้องขอของฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำข้อตกลงร่วมกับฝรั่งเศสว่าจะรับรองบูรณภาพของดินแดนส่วนที่เหลือสยาม โดยสยามจะต้องยอมยกดินแดนในรัฐฉานให้กับอังกฤษ และยกลาวให้กับฝรั่งเศส

การรุกล้ำมากขึ้นในสยาม (พ.ศ. 2447-2450)

การส่งมอบตราดให้กับฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสได้กดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2449-2450 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมา สยามต้องยอมยกตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และ ปัจจันตคีรีเขตร์

อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2456

ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยามกลับคืน และในปี พ.ศ. 2481 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐ แสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยาม ในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้น ผู้ลงนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยังโตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญาส่งมอบดินแดนคืน

พรรคชาตินิยมเวียดนาม

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียนบ๊าย การจลาจลแห่งเอียนบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาตินิยมเวียดนาม (Việt Nam Quốc Dân Đảng) การปะทะกันครั้งนี้เป็นการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้ พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อนทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกับในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ

สงครามฝรั่งเศส-ไทย (พ.ศ. 2483-2484)

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้โอกาสอ้างสิทธิในดินแดนที่เคยเป็นของตนขณะที่ฝรั่งเศสกำลังอ่อนแอ จึงเปิดสงครามระหว่างไทยและฝรั่งเศสขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ในเดือนมกราคมกองทัพฝรั่งเศสสามารถเอาชนะกองทัพไทยได้ในการรบที่เกาะช้าง สงครามจบลงตามโดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจา โดยที่ไทยได้รับดินแดนกลับคืนมาบางส่วน

สงครามโลกครั้งที่สอง

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2483 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี ได้อนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาในตังเกี๋ย เพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถยกทัพเข้าไปในจีนได้สะดวกขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ไทยถือโอกาสอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่เคยเสียไป ทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและไทยระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ในเวลาต่อมา

สงครามอินโดจีน

อนุสัญญาเจนีวา

จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก 12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 ข้อตกลงที่ประชุมได้รับการร่างและลงนามโดยประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ซึ่งเราเรียกข้อตกลงนี้ว่า อนุสัญญาเจนีวา เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบ ซึ่งอนุสัญญานี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากการประชุมระหว่างประเทศในเวลาต่อมา การแก้ไขปรับปรุงครั้ง ล่าสุด คือการประชุมในปี พ.ศ. 2492 และได้ตกลงประกาศเป็นอนุสัญญาเจนีวาจำนวน 4 ฉบับ ได้ลงนามกันในปี พ.ศ. 2492 โดยมีหลักการมูลฐานสำคัญ 3 ประการ คือ มนุษยธรรม ความเสมอภาค และ ความไม่ลำเอียง และอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้

  • อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มี สภาพดีขึ้น
  • อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยและลูกเรือที่อับปางของกอง กำลังรบในทะเล ให้มีสภาพดีขึ้น
  • อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก
  • อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้
    • การรักษาพยาบาลแก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน
    • เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี
    • ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และ ประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้
    • ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จังตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงครามระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น

สนธิสัญญาเจนีวา ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)

  • มาตรา 13 ในสนธิสัญญาฯ ระบุว่า : เชลยศึกต้องได้รับการดูแลอย่างมีมนุษยธรรมตลอดเวลาที่ถูกกักขัง ห้ามผู้กักขังกระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำการ อันส่งผลให้เชลยศึกเสียชีวิตหรือได้รับอันตรายร้ายแรง หากกระทำจะถือว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาฉบับปัจจุบันอย่างรุนแรง เฉพาะอย่างยิ่ง ต้องไม่ทำให้เชลยศึกพิการ หรือถูกใช้ทดลองยาหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ นอกจากเป็นการรักษาตามโรงพยาบาล การทำฟัน และการรักษาอื่นเพื่อประโยชน์ของเชลยศึก เชลยศึกต้องได้รับการปกป้องตลอดเวลา โดยเฉพาะต่อการถูกทำร้ายหรือข่มขู่ การถูกดูถูกต่อหน้าสาธารณชน และห้ามแก้แค้นเชลยศึก
  • มาตรา 14 : ผู้กักขังต้องเคารพเกียรติและความเป็นมนุษย์ของเชลยศึก ผู้หญิงจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงเพศและได้รับการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ชาย เชลยศึกควรมีสิทธิทำกิจกรรมตามที่พลเรือนในขณะนั้นพึงมีอย่างเต็มที่ ผู้กักขังไม่ควรจำกัดการออกกำลังกายของเชลยศึก หรือสิทธิอื่นๆ ยกเว้นขัดกับข้อกำหนดด้านการจับกุม

อ้างอิง

  1. Kahin, George McTurnin (1967). The United States in Vietnam: An analysis in depth of the history of America's involvement in Vietnam. Delta Books. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. Chapuis, Oscar (1995). A History of Vietnam: From Hong Bang to Tu Duc (Google Book Search). Greenwood Publishing Group. p. 195. ISBN 0313296227.