ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นกูโชล (พ.ศ. 2555)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นกูโชล
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย
พายุไต้ฝุ่นกูโชลขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
17 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว10 มิถุนายน พ.ศ. 2555
นอกเขตร้อน20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สลายตัว22 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต3 ราย
ความเสียหาย$100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2555 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

พายุไต้ฝุ่นกูโชล (อักษรโรมัน: Guchol)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย (ตากาล็อก: Butchoy)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทรงอนุภาพซึ่งส่งผลกระทบกับทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน พายุก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกเฉียงใต้ของโปห์นเปย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน และทวีความรุนแรงขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทำให้พายุทวีความรุนแรงไปถึงไต้ฝุ่นรุนแรง (typhoon intensity) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พายุมีความรุนแรงสูงสุดเมื่อช่วงสายของวันที่ 17 มิถุนายน และปกคลุมทั่วประเทศญี่ปุ่นในขณะที่มีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน

เจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นสั่งอพยพผู้คนกว่า 150,000 คน ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น สำนักข่าวเคียวโดะมีการประกาศเตือนภัยอันตรายจากดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก โดยในขณะที่พายุเคลื่อนตัวผ่านมีฝนตกหนักและลมกรรโชกแรงในเกาะฮนชู มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนและสิบห้าคนได้รับบาดเจ็บทั่วประเทศ

กูโชล เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทำให้เกิดดินถล่มในประเทศญี่ปุ่นในปี 2555 ชื่อนี้เคยถูกใช้ครั้งแรกเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ปี 2547 โดย "กูโชล" (Guchol, Guchoel) หมายถึง ขมิ้น เป็นภาษาถิ่นไมโครนีเชีย

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
<div class="center" style="width:auto; margin-left:auto; ไม่ผ่านไม่อนุมัติแว็บอ้างอิงออนไลค์หลอกหลวงประสงร้าย   พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
<div class="center" style="width:auto; margin-left:auto; ไม่ผ่านไม่อนุมัติแว็บอ้างอิงออนไลค์หลอกหลวงประสงร้าย
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นกูโชล

  • วันที่ 7 มิถุนายน ในช่วงสายมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ค่อนใต้ของโปห์นเปย์
  • วันที่ 8 มิถุนายน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในระบบ แต่ได้ยกเลิกไปในวันที่ 9 มิถุนายน
  • วันที่ 10 มิถุนายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 12 มิถุนายน JTWC และ JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และ JMA ได้ใช้ชื่อ "กูโชล" (Guchol)
  • วันที่ 14 มิถุนายน JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงกูโชล เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ประกาศใช้ชื่อ "บุตโชย" (Butchoy) เนื่องจากระบบได้เคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ต่อมา JTWC ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของกูโชล เป็นไต้ฝุ่น ระดับ 1
  • วันที่ 15 มิถุนายน พายุได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่น ระดับ 2 และเริ่มมีการจัดระบบการหมุนเวียนที่ดีขึ้น
  • วันที่ 16 มิถุนายน JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น ในขณะที่พายุเริ่มมีการปรากฏของตาพายุ JTWC จึงประกาศเพิ่มความรุนแรงของพายุเป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 และ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ตามลำดับ
  • วันที่ 17 มิถุนายน กูโชลมีความรุนแรงสูงสุด
  • วันที่ 18 มิถุนายน กูโชลเริ่มลดระดับความรุนแรงลงเรื่อยๆ
  • วันที่ 19 มิถุนายน JTWC ประกาศลดระดับความรุนแรงของกูโชล ลงเป็นพายุโซนร้อน ในขณะที่มันได้สร้างความเสียหายต่อประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 20 มิถุนายน JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของกูโชล ลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงขณะที่มันกำลังเคลื่อนไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

การเตรียมการและผลกระทบ

[แก้]

แม้ว่าไต้ฝุ่นกูโชลยังคงอยู่ห่างจากฟิลิปปินส์ เนื่องจากระบบเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ทำให้เสริมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ให้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง

วันที่ 18 มิถุนายน JMA ประกาศในรายงานว่าไต้ฝุ่นอยู่ห่างจากนะฮะไปทางทิศใต้ประมาณ 450 กิโลเมตร ก่อนที่จะปกคลุมทั่วญี่ปุ่น ในวันที่ 19 มิถุนายน[1] ไม่นานหลังจากนั้นบริเวณชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มมีลมพัดแรงกว่า 144 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (89 ไมล์ต่อชั่วโมง)

เจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นสั่งอพยพผู้คนกว่า 150,000 คน ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น สำนักข่าวเคียวโดะมีการประกาศเตือนภัยอันตรายจากดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก กว่า 452 เที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศถูกยกเลิก มีผู้เดือนร้อนกว่า 35,000 คน รถไฟฟ้าความเร็วสูงมีความล่าช้าและถูกยกเลิก ถนนบางสายถูกปิดการจราจร

ในจังหวัดชิซุโอะกะ มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นชายหนึ่งคนจากเพิงเก็บของถล่ม ในขณะที่ 52 คนได้รับบาดเจ็บในหลายจังหวัด

จากกูโชล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสองคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากทั่วประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายทางเศรษฐกิจตีเป็นเงินกว่า 8 พันล้านเยน (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "กูโชล" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 23 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไมโครนีเซีย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บุตโชย" (12 ถึง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Weather agency warns of Typhoon Guchol". The New Straits Times Press (Malaysia) Berhad. สืบค้นเมื่อ 19 June 2012.
  2. "June 2012 Global Catastrophe Recap" (PDF). AON Benfield. July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]