วิซายัส
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ที่ตั้งของหมู่เกาะวิซายัส (สีแดง) ในประเทศฟิลิปปินส์ | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
กลุ่มเกาะ | ประเทศฟิลิปปินส์ |
เกาะหลัก | |
พื้นที่ | 71,503 ตารางกิโลเมตร (27,607 ตารางไมล์) |
ระดับสูงสุด | 2,435 ม. (7989 ฟุต) |
จุดสูงสุด | ภูเขาไฟคันลาโอน |
การปกครอง | |
ฟิลิปปินส์ | |
เขต | |
เมืองใหญ่สุด | เซบูซิตี (ประชากร 922,611 คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 19,373,431 (ค.ศ. 2015) [1] |
ความหนาแน่น | 292/กม.2 (756/ตารางไมล์) |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
หมู่เกาะวิซายัส (อังกฤษ: Visayas, Visayan Islands;[2] วิซายัส: Kabisay-an; ตากาล็อก: Kabisayaan) เป็นหนึ่งในสามหมู่เกาะหลักของประเทศฟิลิปปินส์ ร่วมกับลูซอนและมินดาเนา ประกอบด้วยเกาะหลายแห่ง ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลวิซายัส แต่หมู่เกาะเหล่านั้นก็ถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่ริมตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลซูลู[3] ประชากรหลัก ๆ คือชาววิซายัส
เกาะหลักที่สำคัญ เช่น โบโฮล, เซบู, เลย์เต, เนโกรส, ปาไนย์ และซามาร์[6] ภูมิภาคนี้อาจรวมพื้นที่จังหวัดมัสบาเต, จังหวัดรอมบลอน และจังหวัดปาลาวันเข้าไปด้วย เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาววิซายัส และใกล้ชิดกับภาษาวิซายัสมากกว่าภาษาหลักของเกาะลูซอน
ในหมู่เกาะวิซายัสมีเขตการปกครองหลัก 3 เขต ได้แก่ คันลูรังคาบีซายาอัน (ประชากร 7.1 ล้านคน), กิตนางคาบีซายาอัน (6.8 ล้านคน) และซีลางังคาบีซายาอัน (4.1 ล้านคน)[7]
ชื่อ
[แก้]วิซายัส ได้รับชื่อนี้มาจากอาณาจักรศรีวิชัย (สันสกฤต: श्रीविजय) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17[8] ในภาษาสันสกฤต คำว่า ศรี (श्री) หมายถึง "โชคลาภ," "ความรุ่งเรือง," หรือ "ความสุข" ส่วนคำว่า วิชัย (วิชย) (विजय) หมายถึง "ชัยชนะ" หรือ "ความยอดเยี่ยม" นอกจากนี้ หมู่เกาะวิซายัสและซูลู ยังเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรแห่งนี้อีกด้วย[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]วิซายัส แบ่งเป็น 3 เขตหลัก ได้แก่ คันลูรังคาบีซายาอัน, กิตนางคาบีซายาอัน และซีลางังคาบีซายาอัน ในแต่ละเขต จะมีผู้อำนวยการเขต ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากผู้ว่าราชการในแต่ละจังหวัดของเขตนั้น ๆ
วิซายัส มีทั้งหมด 16 จังหวัด แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งได้มากที่สุด 3 สมัย สมัยละ 3 ปี
คันลูรังคาบีซายาอัน (เขตที่ 6)
[แก้]เขตคันลูรังคาบีซายาอันครอบคลุมพื้นที่เกาะปาไนย์ กีมารัส และครึ่งตะวันตกของเกาะเนโกรส ศูนย์กลางของเขตนี้คือ อีโลอีโล จังหวัดในเขตนี้ ประกอบด้วย
กิตนางคาบีซายาอัน (เขตที่ 7)
[แก้]เขตกิตนางคาบีซายาอันครอบคลุมพื้นที่เกาะเซบู ซีคีฮอร์ และโบโฮล และครึ่งตะวันออกของเกาะเนโกรส ศูนย์กลางคือ เซบู จังหวัดในเขตนี้ ได้แก่
ซีลางังคาบีซายาอัน (เขตที่ 8)
[แก้]เขตซีลางังคาบีซายาอันครอบคลุมพื้นที่เกาะเลย์เต, ซามาร์ และบีลีรัน ศูนย์กลางประจำเขตนี้คือ ตักโลบัน จังหวัดในเขตนี้ ได้แก่
- จังหวัดบีลีรัน
- จังหวัดเลเต
- จังหวัดตีโมกเลเต
- จังหวัดซีลางังซามาร์
- จังหวัดฮีลากังซามาร์
- จังหวัดซามาร์
เมืองหลักที่สำคัญ
[แก้]-
เซบู
– ประชากร 866,171 คน -
อีโลอีโล
– ประชากร 424,619 คน -
ลาปู-ลาปู
– ประชากร 350,467 คน -
มันดาเว
– ประชากร 331,320 คน -
ตักโลบัน
– ประชากร 221,174 คน -
ตาลีไซ
– ประชากร 200,772 คน -
ออร์โมก
– ประชากร 191,200 คน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Census of Population (2015). Highlights of the Philippine Population 2015 Census of Population. PSA. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2016.
- ↑ "Visayan Islands" Merriam-Webster Dictionary. http://www.merriam-webster.com/concise/visayan%20islands เก็บถาวร 2014-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ C.Michael Hogan. 2011. Sulu Sea. Encyclopedia of Earth. Eds. P.Saundry & C.J.Cleveland. Washington DC
- ↑ "Executive Order No. 429". President of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2007. สืบค้นเมื่อ May 18, 2009.
- ↑ "Administrative Order No. 129". President of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2009. สืบค้นเมื่อ May 18, 2009.
- ↑ On May 23, 2005, Palawan and Puerto Princesa City were moved to Western Visayas by Executive Order No. 429.[4] However, on August 19, 2005, President Arroyo issued Administrative Order No. 129 to hold the earlier E.O. 429 in abeyance pending a review.[5] 2010, Palawan and the highly urbanized city of Puerto Princesa still remain a part of the MIMAROPA region.
- ↑ "PSA Makati ActiveStats - PSGC Interactive - List of Regions". Philippine Statistics Authority. June 30, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2008. สืบค้นเมื่อ September 18, 2015.
- ↑ Jovito S. Abellana, "Bisaya Patronymesis Sri Visjaya" (Ms., Cebuano Studies Center, ca. 1960)
- ↑ Rasul, Jainal D. (2003). Agonies and Dreams: The Filipino Muslims and Other Minorities. Quezon City: CARE Minorities. pp. 77.
บรรณานุกรม
[แก้]- Scott, William Henry (1984). Prehispanic Source Materials for the study of Philippine History. New Day Publishers. ISBN 978-971-10-0226-8.