ข้ามไปเนื้อหา

พรรครวมไทยสร้างชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรครวมไทยสร้างชาติ
ผู้ก่อตั้งเสกสกล อัตถาวงศ์
หัวหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
เลขาธิการเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
เหรัญญิกปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ
นายทะเบียนสมาชิกเกรียงยศ สุดลาภา
กรรมการบริหาร
ก่อตั้ง31 มีนาคม พ.ศ. 2564 (3 ปี)
ที่ทำการ35/3 ซอยอารีย์ 5 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)11,533 คน[1]
จุดยืนขวา
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนในปี พ.ศ. 2564 โดยเสกสกล อัตถาวงศ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรค

ประวัติ

ช่วงก่อตั้งพรรค

พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 5/2564 เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนายเสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งพรรค[2] มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 169/98 อาคารเสริมทรัพย์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร[3]

การตัดสินใจเข้าร่วมพรรคของกลุ่มประยุทธ์

ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนได้ตัดสินใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และพร้อมที่จะรับการเสนอชื่อจากสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐแล้ว[4] โดยมีการคาดหมายว่าพลเอกประยุทธ์จะดำรงตำแหน่งประธานพรรค และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงาน หรือซูเปอร์บอร์ดของพรรคด้วย[5] ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน คณะกรรมการบริหารพรรคจึงได้นัดประชุมที่ที่ทำการพรรค ซอยอารีย์[6]

หลังจากการประกาศสมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติของพลเอกประยุทธ์ เสกสกล อัตถาวงศ์ หัวหน้าพรรคเทิดไท ได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรค และกลับมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเทิดไท[7] ขณะที่ชัชวาลล์ คงอุดม ประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังท้องถิ่นไท ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมย้ายมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่ยังไม่ระบุว่าจะลาออกจากการเป็น ส.ส. หรือไม่[8] จากนั้นนายพีระพันธุ์ หัวหน้าพรรค นายเอกนัฏ เลขาธิการพรรค นายดวงฤทธิ์ กรรมการบริหารพรรค และนายปรากรมศักดิ์ เหรัญญิกพรรค ได้จัดแถลงข่าวที่ที่ทำการพรรคหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค[9]

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายชัชวาลล์พร้อมด้วยนายนพดล แก้วสุพัฒน์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. โดยชัชวาลล์ได้เตรียมเปิดตัวเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[10] วันต่อมาชัชวาลล์พร้อมด้วย ไตรรงค์ สุวรรณคีรี และชุมพล กาญจนะ ได้เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[11] ในวันเดียวกัน พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ระบุว่าพลเอกประยุทธ์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกในช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 หลังเทศกาลปีใหม่[12]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 มีกระแสข่าวว่าพลเอกประยุทธ์เตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติในช่วงกลางเดือนมกราคมของปีดังกล่าว[13] ด้านพลเอกประยุทธ์ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 มกราคม ระบุว่าตนจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติแน่นอน แต่ยังมิได้กำหนดวันที่ชัดเจน อีกทั้งยังมิได้ยืนยันว่าตนจะเป็นประธานพรรคและประธานซูเปอร์บอร์ดของพรรคตามกระแสข่าวก่อนหน้านี้หรือไม่[14] ในวันเดียวกัน พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อมาร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ[15]

ต่อมาในวันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้มีกระแสข่าวว่าพลเอกประยุทธ์เตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรคในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[16] ในวันเดียวกัน นายพีระพันธุ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคได้ให้สัมภาษณ์ว่ามีแนวโน้มที่พลเอกประยุทธ์จะสมัครสมาชิกพรรคในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม แต่ยังต้องรอสรุปความชัดเจน[17]

คณะกรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ 1 (31 มีนาคม 2564 - 7 มีนาคม 2565)

คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 27 คนประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
2 วาสนา คำประเทือง เลขาธิการพรรค
3 ยงยุทธ พัฒนชัย เหรัญญิกพรรค
4 จีรวัฒน์ ตุลาพัฒน์ นายทะเบียนสมาชิกพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
5 วันจรัส จำเริญกุล กรรมการบริหารอื่น
6 วิไล จันตะเสน ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
7 สุภาพ พิลาเจือ
8 คณาวิทย์ ธรรมขันแข็ง
9 แคทลียา อุทัยเลิศ
10 จรัส อุปละ
11 ปิยะมาศ เอี่ยมสำอางค์
12 เยาวเรศ อาจหาญ
13 จำนงค์ ใจติขะ
14 ฐิตาภรณ์ พันธ์จรุง
15 ประจง ประสารฉ่ำ รักษาการหัวหน้าพรรคตั้งแต่วันที่ 7-31 มีนาคม พ.ศ. 2565
16 แก้วเล็ก เหลืองอุดมเลิศ
17 กรกฤช โป๊ะตะคาร
18 อาทิตย์ ตั้งธรรม
19 กุหลาบ นครชัยกุล
20 รัชนีย์ พิมพ์ประสงค์
21 ทองหลาง พิลาเจือ
22 ศศัญพิณ รัตนานุพงศ์
23 พินิจ ไกยะฝ่าย
24 อรวรรณ สารกุล
25 วรวิทย์ พัฒนชัย
26 ตรีญานุช ศรีแพงมน
27 วิไลวรรณ ทรัพย์พงษ์

ชุดที่ 2 (31 มีนาคม 2565 - 7 กรกฎาคม 2565)

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[18]จำนวน 12 คนประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 ธันย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
2 ธนดี หงษ์รัตนอุทัย เลขาธิการพรรค รักษาการหัวหน้าพรรคตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
3 ธีระพล มลิวัลย์ เหรัญญิกพรรค
4 ชัยรัตน์ จันทนดิษฐ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5 สิทธิศักดิ์ พัฒนชัย กรรมการบริหารพรรค
6 ว่าที่ร้อยตรี ปรพล อดิเรกสาร
7 กิตติเชษฐ์ พันธ์จรุง
8 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล
9 กฤติเดช พุธวัฒนาภรณ์
10 พิชิต กาลจักร
11 ศรายุทธ ยี่สุ่นเกตุ
12 วิฑูรย์ อริยะพงษ์

ชุดปัจจุบัน (3 สิงหาคม 2565 - ปัจจุบัน)

ในการประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อวันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่สโมสรราชพฤกษ์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค สำนักงานใหญ่ของพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนประกอบด้วย[19]

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ อ้างอิง
1 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค
2 วิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรค
3 ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
4 เกชา ศักดิ์สมบูรณ์
5 วิสุทธิ์ ธรรมเพชร
6 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค
7 สยาม บางกุลธรรม รองเลขาธิการพรรค แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง
8 ชื่นชอบ คงอุดม กรรมการบริหารพรรค
9 ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ เหรัญญิกพรรค
10 เกรียงยศ สุดลาภา นายทะเบียนสมาชิกพรรค
11 ศิรินันท์ ศิริพานิช กรรมการบริหารพรรค แต่งตั้งเพิ่มในภายหลัง

สมาชิกพรรคที่สำคัญ

บุคลากร

หัวหน้าพรรค

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ว่าที่ร้อยโท ไกรภพ นครชัยกุล 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 7 มีนาคม พ.ศ. 2565
- ประจง ประสานฉ่ำ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 รักษาการหัวหน้าพรรค
3 ธัญย์ธรณ์เทพ แย้มอุทัย 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- ธนดี หงษ์รัตนอุทัย 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการหัวหน้าพรรค
4 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เลขาธิการพรรค

ลำดับที่ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 วาสนา คำประเทือง 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการพรรค
2 ธนดี หงษ์รัตนอุทัย 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค
3 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

หมายเหตุ

อ้างอิง

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. "เสกสกล"ขอลุยทำพรรครวมไทยสร้างชาติ หนุน"ประยุทธ์"เป็นนายกฯ
  3. ทำความรู้จัก “รวมไทยสร้างชาติ” พรรคใหม่ หนุน “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ
  4. ""บิ๊กตู่" ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ "รวมไทยสร้างชาติ" ยันคุย "พี่ป้อม" แล้ว สัมพันธ์พี่น้องทหารไม่แตกหัก". mgronline.com. 2022-12-23.
  5. ""สุชาติ"จ่อนั่งซูเปอร์บอร์ดพรรครทสช. มอบ "เอกนัฏ" วางระบบพรรคใหม่". bangkokbiznews. 2022-12-19.
  6. กก.บห.รวมไทยสร้างชาติ ประชุมบ่ายนี้ หลัง “ประยุทธ์” ตอบรับร่วมสู้เลือกตั้ง 2566
  7. ไปไหนไปกัน! 'แรมโบ้'ลาออกหน.พรรคเทิดไท ย้ายซบ'รทสช.'เสริมทัพ'บิ๊กตู่'
  8. "ชัช เตาปูน” ไหลตาม“บิ๊กตู่”ซบ"รวมไทยสร้างชาติ"นั่งทีมยุทธศาสตร์
  9. 'พีระพันธุ์' ยิ้มไม่หุบ แถลงข่าว 'บิ๊กตู่' เข้า รทสช. เป็นนายกฯได้อีก 2 ปีก็ไม่ใช่อุปสรรค
  10. 'ชัช เตาปูน' ลาออกส.ส.พลังท้องถิ่นไท จ่อซบรวมไทยสร้างชาติ
  11. "'ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน' เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก 'บิ๊กตู่' ผู้มากบารมี!". เดลินิวส์.
  12. "พีระพันธุ์ แย้ม ประยุทธ์ สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ หลังปีใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-27.
  13. "จับตา 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติกลางเดือนม.ค.!". เดลินิวส์.
  14. "ประยุทธ์ สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติแน่ แต่คุยทุกเรื่องกับประวิตร". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-01-03.
  15. 2 ส.ส.ลาออกเพิ่ม - "พิชารัตน์" ลาออก พปชร. ซบ "รวมไทยสร้างชาติ"
  16. 'บิ๊กตู่' ได้ฤกษ์ 9 มกรา. สมัครสมาชิก รทสช.
  17. 'พีระพันธุ์' รับแนวโน้ม 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิกรทสช. 9 ม.ค.
  18. “บิ๊กตู่”ไปต่อ! ทิ้งพปชร.-ปั้นพรรคใหม่ “รวมไทยสร้างชาติ”
  19. ประมวลภาพ 'พรรครวมใจสร้างชาติ' เปิดตัว 'บิ๊กเนม' ลุยศึกเลือกตั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น