ประเทศเวลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับคำที่มักเข้าใจผิดของเวลส์ ดูที่ สหราชอาณาจักร
เวลส์

Wales (อังกฤษ)
Cymru (เวลส์)
คำขวัญ"Cymru am byth" (เวลส์)
"Wales forever" (อังกฤษ)
เพลงชาติ"Hen Wald Fy Nhadau"
(แผ่นดินปิตุภูมิ)
ที่ตั้งของเวลส์
สถานะCountry
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คาร์ดิฟฟ์
ภาษาราชการ
เดมะนิมเวลส์
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
แคร์วิน โจนส์
รัฐบาลสหราชอาณาจักร
บอริส จอห์นสัน
อลัน แคนส์
ประเทศในสหราชอาณาจักร
พื้นที่
• รวม
20,779 ตารางกิโลเมตร (8,023 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2560 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 3,125,000 คน[1]
• สำมะโนประชากร 2554
3,063,456 คน
148 ต่อตารางกิโลเมตร (383.3 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2014 (ประมาณ)
• รวม
54,000 ล้าน ปอนด์สเตอร์ลิง[2]
18,000 ปอนด์สเตอร์ลิง[2]
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (£) (GBP)
เขตเวลาUTC+0 (UTC (เวลามาตรฐานกรีนิช))
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (BST)
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+44
โดเมนบนสุด.uk
เว็บไซต์
wales.com

เวลส์ (อังกฤษ: Wales; เวลส์: Cymru, ออกเสียง /ˈkəmrɨ/ คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักร (ได้แก่อังกฤษ, สกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) มีพื้นที่ของประเทศอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก

เวลส์มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศเหนือและทิศตะวันตกอยู่ติดกับทะเลไอริช ส่วนทางทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2011 ประเทศเวลส์มีประชากร 3,063,456 คน และมีพื้นที่ทั้งหมด 20,799 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาว 2,700 กิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือภูเขาสโนว์ดอน (อังกฤษ: Snowdon; Yr Wyddfa) ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากถึง 1,085 เมตร นับเป็นหนึ่งในภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะบริติชไอลส์ บริเวณพื้นที่ราบและส่วนที่ประชากรอาศัยหนาแน่นอยู่ทางตอนใต้ มีสภาพภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร

ความเป็นชนชาติของเวลส์เริ่มจากชาวบริตันเคลต์ (Celtic Briton) โดยหลังจากจักรวรรดิโรมันได้ถอนตัวออกไปจากการยึดครองเกาะบริเตนในราวศตวรรษที่ 5 ทำให้เวลส์กลายมาเป็นหนึ่งใน 6 ของกลุ่มชาติเคลติกสมัยใหม่ (อังกฤษ: Celtic Nations) ได้แก่บริทานี, คอร์นวอลล์, ไอล์ออฟแมน, ไอร์แลนด์, เวลส์ และสก๊อตแลนด์

ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1282 เวลส์และอังกฤษ ได้สู้รบกันในยุทธการที่โอเรวินบริดจ์ (Battle of Orewin Bridge) โดยเจ้าชายเลเวลิน อัพ กริฟฟิธ (เวลส์: Llywelyn ap Gruffudd) ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ได้ถูกสังหารโดยสตีเฟน เดอ แฟรงตัน ทหารม้าของฝ่ายอังกฤษ ทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษสามารถพิชิตเวลส์ได้อย่างราบคาบ

ในตอนต้นศตวรรษที่ 15 เวลส์กลับมามีอิสรภาพได้ชั่วขณะภายใต้การนำของโอเวน กลินดอร์ (Owain Glyndwr) แต่ก็ตกกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีก และถูกผนวกเข้ามาเป็นแผ่นดินเดียว และภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกับอังกฤษ โดยการออกพระราชบัญญัติ Laws in Wales Acts 1535 and 1542. การเมืองที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเวลส์เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 อุดมการณ์เสรีนิยมแบบเวลส์ซึ่งมีอิทธิพลในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ถูกแทนที่ด้วยการขยายตัวของอุดมการณ์สังคมนิยม และพรรคแรงงาน ความรู้สึกทางชาตินิยมของเวลส์ถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นมาในศตวรรษนี้เอง. ไพลด์คัมรี (เวลส์: Plaid Cymru) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1925 และมีการจัดตั้ง "สมาคมภาษาเวลส์" ขึ้นต่อมาในปี ค.ศ. 1962 เพื่อฟื้นฟูภาษาถิ่นที่กำลังจะสูญหายไปของเวลส์. สมัชชาแห่งชาติเวลส์ (National Assembly for Walses) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1998 โดย Government of Wales Act 1998 โดยมีความรับผิดชอบในการสร้างและดำเนินนโยบายที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร

คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955)


บุคคลที่มีชื่อเสียงจากเวลส์

ปราสาทคายร์นาร์วอน


ประชากรศาสตร์

ประชากร

ภาษา

ศาสนา

กีฬา

ฟุตบอล

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. "Mid year estimates of the population". gov.wales. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.
  2. 2.0 2.1 "Regional Gross Value Added (Income Approach) – Office for National Statistics". Ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.