บันทึกแวมไพร์วานิทัส
![]() | บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
บันทึกแวมไพร์วานิทัส | |
![]() หน้าปกของมังงะ บันทึกแวมไพร์วานิทัส เล่ม 1 ในฉบับภาษาไทย | |
ヴァニタスの (Vanitasu no Karute) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | The Case Study of Vanitas |
แนว | |
มังงะ | |
เขียนโดย | จุน โมจิซูกิ |
ตีพิมพ์โดย | สแควร์เอนิกซ์ |
ผู้จัดจำหน่ายภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
นิตยสาร | กังกังโจกเกอร์รายเดือน |
กลุ่มเป้าหมาย | โชเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 10 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | โทโมยูกิ อิตามูระ |
เขียนบทโดย | เดโกะ อากาโอะ |
เพลงโดย | ยูกิ คาจิอูระ |
สตูดิโอ | โบนส์ |
ถือสิทธิ์โดย | พลัสเมเดียเน็ตเวิกส์เอเชีย |
เครือข่าย | โตเกียวเอ็มเอกซ์, GYT, GTV, BS11, MBS, CBC, HBC, RKB |
เครือข่ายภาษาไทย | อนิพลัส, อ้ายฉีอี้, ปีลีปีลี, วีทีวี |
ออกอากาศ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 – 2 เมษายน พ.ศ. 2565 |
ตอน | 24 |
บันทึกแวมไพร์วานิทัส (ญี่ปุ่น: ヴァニタスの
เนื้อเรื่อง[แก้]
เดิมทีมนุษย์และแวมไพร์นั่นเคยอาศัยอยู่ร่วมกันแต่หลังจากที่สงครามระหว่างสองเผ่าพันธุ์สิ้นสุดลงและเหล่าแวมไพร์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ มนุษย์จึงขึ้นเป็นใหญ่ทำให้แวมไพร์ที่เหลือจำต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อัลทัสซึ่งเป็นมิติคู่ขนานแทน แต่อย่างไรก็ตามยังมีแวมไพร์บางส่วนเลือกที่จะใช้ชีวิตปะปนอยู่กับมนุษย์โดยอยู่ภายใต้การดูแลของเคานต์ผู้ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยองค์ราชินีแวมไพร์ เมื่อเวลาล่วงเลยไปจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 แวมไพร์หนุ่มนามว่า โนเอะ ได้รับคำสั่งจากอาจาย์ให้เดินทางมาตามหาตำราวานิทัสที่ปารีส ในระหว่างการเดินทางเขาได้พบกับวานิทัสชายหนุ่มผู้ลึกลับ ผู้อ้างตนว่าเป็นหมอรักษาคำสาปให้กับเหล่าแวมไพร์ แล้วเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ทำให้โนเอะรู้สึกประหลาดใจมาก จึงติดตามเขาไปด้วยในฐานะคู่หู
การผลิตสื่อ[แก้]
หลังจากอาจาย์โมจิซุกิ จุน ผู้สร้างซีรีส์โด่งดังอย่างแพนโดร่า ฮาร์ท ได้จบซีรีส์อย่างสวยงาม เธอก็ได้ตัดสินใจวาดเรื่องที่เกี่ยวกับแวมไพร์ เดิมทีก่อนมาเป็นซีรีส์บันทึกแวมไพร์วานิทัส อย่างที่เห็นในปัจจุบัน อาจาย์โมจิซุกินั้นเคยคิดพยามเขียนแนวแวมไพร์ในรั้วโรงเรียน และวานิทัสคือตัวละครแรกที่ถือกำเนิดขึ้นจากการที่เธอไปท่องเที่ยวมงต์แซงต์มิเชลที่ฝรั่งเศส ระหว่างทางอาจาย์เพ้อฝันหรือคร่ำครวญเรื่องการวาดแวมไพร์ตนหนึ่งที่คอยเฝ้ามองเมืองเป็นเวลาหนึ่งร้อยปี และทุกสิ่งทุกอย่างของบันทึกแวมไพร์วานิทัส เกิดไอเดียที่คล้ายกัน ทว่าแตกต่างกัน โมจิซุกิมีความตั้งใจทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เธอไม่สามารถทำได้ในแพนโดร่า ฮาร์ท ในงานใหม่ผู้เขียนจึงเพิ่มองค์ประกอบความรักและฉากแอคชั่นกับซีรีส์นี้ทว่าบรรณาธิการของเธอคัดค้านและบอกว่าให้ลดมันลงเพราะเธอไม่ถนัดเขียนเรื่องนั้น แต่โมจิซุกิยังคงเชื่อในตัวเองและฝึกวาดรูปต่อไป โดยหวังว่าถ้าเธอฝึกมากขึ้น จะต้องช่วยเพิ่มแรงดึงดูดให้กับผลงานของผู้เขียน[3] นอกจากนั้นเธอยังเพิ่มสตีมพังค์เข้าไปเนื่องจากตัวผู้เขียนเป็นแฟนคลับตัวยงที่ชื่นชอบแนวนั้นมานานแล้ว ที่สำคัญซีรีส์นี้มีลักษณะแตกต่างจากแพนโดร่า ฮาร์ท โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นความตั้งใจของโมจิซุกิที่ต้องการให้ผลงานเธอต่างจากเรื่องเก่า
ส่วนวานิทัสกับโนเอ้คือความสัมพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเชอร์ล็อกโฮมส์กับวัตสัน แต่ในขณะที่ความสัมพันธ์วานิทัสกับฌานได้รับแรงบันดาลใจมาจากโรมิโอกับจูเลียต ในสัมภาษณ์ของผู้เขียนนั้น เธอต้องการเขียนคู่รักชายหญิงที่ไม่เป็นมิตรต่อกันมากนัก แต่ต่างพึ่งพากัน และมีความรู้สึกดึงดูดใจต่อกัน
แต่เวลาเดียวกันอีกอิทธิพลสำคัญที่ช่วยอาจาย์โมจิซุกิในการสร้างซีรีส์ มาจากการที่เธอเคยดูภาพยนตร์แวมไพร์เรื่อง Interview with the Vampire ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2537 แต่งขึ้นโดยแอนน์ ไรซ์ เมื่อผู้เขียนได้ดูโศกนาฏกรรมและการดำรงอยู่ของเหล่าแวมไพร์ ตลอดจนถึงฉากดูดเลือดนั้น ทำให้เธอฝังแน่นอยู่ในใจ ยังส่งผลต่อการชื่นชอบไดนามิกความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง รวมทั้งอิทธิพลในการจัดวางตัวเอกของผู้เขียน ในด้านของการมาเยือนปารีสถือเป็นสถานที่แรกของโมจิซุกิที่ได้ออกมานอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้เธอประทับใจมาก และในงาน Japan Expo ผู้เขียนได้ถูกชวนให้เป็นแขกรับเชิญภายในงาน เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้โนเอรู้สึกมีความประทับใจมากกว่าปกติ เพราะเกิดความรู้สึกยินดีของอาจาย์โมจิซุกิที่เคยได้ไปสัมผัสประสบการณ์ที่ประเทศฝรั่งเศส สุดท้ายผู้เขียนจึงตัดสินใจวางเซ็ตติ้งเบื้องหลังเป็นประเทศฝรั่งเศส ส่วนไอเดียพาราดินของโบสถ์คาทอลิกนั้นมีต้นแบบมาจากตำนานชาร์ลมาญ สุดท้ายแม้วานิทัสจะไม่ได้อ้างอิงบุคคลในประวัติศาสตร์จริงเหมือนกันทั้งหมดเกือบร้อยเปอร์เซ็น ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังชอบเล่นไดนามิกความสัมพันธ์และลักษณะนิสัยของตัวละคร ซึ่งโมจิซุกินั้นเคยกล่าวไว้ว่าเธอเคยเห็นเรื่องราวประเภทแวมไพร์ถูกใช้ในงานอื่นบ่อยแล้ว จึงต้องการสร้างเรื่องราวที่ต่างจากเรื่องอื่น โมจิซุกิตระหนักดีว่าแวมไพร์ที่ศึกษาจากตำนาน รวมทั้งรูปลักษณ์ หรือจุดอ่อนหลายจุดที่แตกต่างกันของพวกมันมีความน่าสนใจ ผู้เขียนจึงนำจุดอ่อนแวมไพร์มาใส่เพื่อใช้ประโยชน์จากตรงนั้นในการได้สร้างมุมมองใหม่ ๆ[4]
ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจวางบทให้วานิทัสเป็นแวมไพร์ ส่วนโนเอเป็นมนุษย์ โดยวางบทให้วานิทัสเป็นเชอร์ล็อกโฮมส์ แต่โนเอคือวัตสัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเชอร์ล็อกโฮมส์ ทว่าไม่ว่าเธอจะทำด้วยวิธีใดหรือเสนอเรื่องนี้ต่อบรรณาธิการหลายครั้ง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอมสักที จนสุดท้ายผู้เขียนยอมแพ้แล้วปรึกษาต่อบรรณาธิการ ได้ให้คำแนะนำต่อผู้เขียนว่าลองสลับบทบาทของตัวเอกดู โดยให้เชอร์ล็อกเป็นมนุษย์ แต่วัตสันเป็นแวมไพร์ ซึ่งตอนแรกผู้เขียนแอบประหลาดใจ แล้วคาดไม่ถึงกับไอเดียเผลออุทานในใจว่า "เชอร์ล็อกโฮมส์เป็นมนุษย์ แต่วัตสันเป็นแวมไพร์งั้นเหรอ?" ตอนหลังโมจิซุกิยอมรับแล้วจึงยอมเปลี่ยนในตอนสุดท้ายเพราะพบว่ามันโดดเด่นมากกว่า ด้านการออกแบบตัวละครนั้นผู้เขียนได้ถูกเพื่อนร่วมงานวิจารณ์เรื่องดีไซน์ของวานิทัสเพราะพวกเขาไม่ชอบตัวละครแนวใส่แว่นโดยเฉพาะโนเอ้ สุดท้ายเธอจึงยอมเปลี่ยนดีไซน์ทรงผมวานิทัสให้เป็นผมหน้าม้าสองชั้น ส่วนดีไซน์โนเอแตกต่างจากสิ้นเชิงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เดิมทีนั้นดีไซน์ดั้งเดิมของเขาคือวัยกลางคนใส่แว่นที่มีอายุมากกว่าวานิทัสที่มีอายุเพียงแค่ 15 ปี และเป็นคนตลกเฮฮา เธอพยามบังคับให้เปลี่ยนความคิดใหม่และลองร่างตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบ รวมอื่น ๆ อีกมากมาย จนเป็นสองคู่หูแบบที่เห็นภายในซีรีส์ เนื่องจากอาจาย์โมจิซุกิชอบให้ตัวละครที่มีลักษณะนิสัยขัดแย้งปะทะกัน เธอจึงพยามหลีกเลี่ยงให้พวกเขาเป็นเพื่อนกันหรือพี่น้องกันในตอนแรก แต่ให้ความสัมพันธ์พวกเขาเป็นเพียงแค่เพื่อนร่วมงานเท่านั้น งานเขียนของผู้เขียนไม่มีจุดตายตัวใดเป็นพิเศษ แต่เวลาโมจิซุกิคิดไอเดียไม่ออกมักจะลงเอยด้วยการวาดตัวละครลงในภาพสเก็ตช์ หยุดพัดไอเดียใหม่ เขียนช่องพาเนลใหม่ ๆ กับตัวผลงานของเธอ เมื่อครั้งใดที่วาดสีหน้าของตัวละคร โมจิซุกิจะวาดจนกว่าเธอรู้สึกพอใจตามที่ได้คาดหวังไว้ และแทนที่จะเขียนให้มีตัวร้ายภายในซีรีส์เหมือนกับแพนโดร่า ฮาร์ท ผู้เขียนจึงตั้งใจให้ตัวละครวานิทัสมีความเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ คนแทน พยามปรับปรุงจุดบกพร่องงานเขียนหลายอย่างที่เคยทำผิดพลาดกับซีรีส์แพนโดร่า ฮาร์ท เช่นในธีมวานิทัสมีความรักเป็นอุปสรรคในการขัดขวางภารกิจ สิ่งที่ช่วยพวกเขาคือความรอด ขณะเดียวกันเหล่าตัวละครในซีรีส์จะมีความตายที่ไม่มีรางวัลตอบแทน แต่ในขณะที่ซีรีส์เก่าของเธอนั้น ตัวละครเผชิญหน้ากับบาดแผลและมีรางวัลเป็นการตอบแทน
การปรับตัวของอนิเมะ[แก้]
สำหรับอนิเมะที่ดัดแปลงโดยสตูดิโอโบนส์ มีคุณนาโอกิ อามาโนะ ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ที่อยู่เบื้องหลังการผลิตของซีรีส์ ในด้านการเขียนบทมีคุณเดโกะ อากาโอะ เป็นคนรับผิดชอบ รวมทั้งนักแต่งเพลงของซีรีส์ ได้แยกเรื่องราวออกจากกัน และสตอรี่บอร์ดที่ทำหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียว" เพื่อร่างโครงเรื่องวิดีโอให้เสร็จสมบูรณ์
อิตามูระ ผู้กำกับยังต้องการให้วานิทัสเวอร์ชันอนิเมะมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด เพื่อเป็นการเคราพต้นฉบับ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม เหล่าทีมงานอนิเมะเตอร์พอมีอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่นฉากต่อสู้ในตอนแรกที่ใช้เงา ผู้กำกับมักจะระวังเรื่องแอคชั่นที่น่าสนใจในสตอรี่บอร์ด เพื่อสร้างซีนให้ออกมาดูดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และเมื่อวานิทัสใช้ตำราของเขา คุณอิซุมิ ทาคิซาวะ ผู้วาดออกแบบ พยามใช้แอนิเมชั่น 3D ด้วยสีสันสดใสให้ตรงกับต้นฉบับมากที่สุด[5]
คุณอิตามูระเคยกล่าวไว้ว่าลักษณะงานค่อนข้างแยกออกได้ยาก แต่เขาคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของซีรีส์คือความเป็น "มังงะโชโจว" เขาจึงมุ่งที่การจัดวางฉากและตัวละครให้มีความสวยงามตามสไตล์คือสิ่งที่จำเป็น แล้วเดินทางไปท่องเที่ยวฝรั่งเศสพร้อมกับทีมงานเพื่อทำการเก็บข้อมูลบรรยากาศภายในเมือง เขายังต้องการเก็บความมืดมิดของเหล่าแวมไพร์ฉบับภาพยนตร์แบบต้นตำรับไว้ในแอนิเมชัน กระชับบทกับส่วนต่าง ๆ เพราะในมุมมองผู้กำกับเห็นว่าคนสมัยนี้ชอบดูอะไรก็ได้ ที่มีความไว ๆ แล้วความสัมพันธ์วานิทัสกับโนเอต้องอยู่ห่างกัน สิ่งที่ผู้กำกับต้องระมัดระวังมากที่สุดคือความสัมพันธ์ตัวละคร หากทำให้เสน่ห์ตรงนั้นหาย มีความรู้สึกไม่เหมือนเดิม
ส่วนนักพากย์วานิทัสกับโนเอให้เสียงโดยนัตสึกิ ฮานาเอะ และอิชิคาวะ ไคโตะ บทบาททั้งสองได้รับการชื่นชมและตอบรับที่ดีมากในที่ต่าง ๆ ฮานาเอะใช้ประโยชน์จากส่วนที่เท่ และไม่เท่ รวมทั้งความเซ็กซี่อย่างเต็มที่เพื่อดึงเสน่ห์ของวานิทัสออกมา ขณะที่อิชิคาวะถนัดเล่นบทบาทตัวละครจิตใจดีที่เป็นแนว ぼけ "boke" (คนปล่อยมุก) และใช้ข้อมูลเล่าเรื่องที่ผู้กำกับบอกให้เป็นประโยชน์ ฮานาเอะได้บทบาทวานิทัสเพราะความมากประสบการณ์ในฐานะเซย์ยู เล่นน้ำเสียงทางเพศโดยเฉพาะข้อความง่าย ๆ เช่น "ความลับจ้า" ด้านอิโอริ มินาเสะ รับบทเป็นฌาน บอกว่าหายากที่เธอจะได้เล่นบทบาทในฐานะผู้ปกป้อง แม้ว่าเคยรับบทมากมายแต่ส่วนใหญ่เธอจะได้รับแค่บทที่เป็นฝ่ายถูกปกป้อง ไม่ใช่ฐานะบอดี้การ์ดที่คอยปกป้องคนอื่น จากที่มินาเสะเคยคุยกับผู้กำกับ อิตามูระอนุญาตเต็มที่ให้เธอขยายลักษณะเฉพาะของฌานตามความเหมาะสม ฉากที่แวมไพร์ดูดเลือดไม่ว่าจะเป็นโนเอดูดเลือดโดมินิก หรือตอนฌานดูดเลือดวานิทัส ก็ทำเพื่อเน้นความอิโรติก ต่อให้ตัวละครจะสวมเสื้อผ้าก็ตาม เพลงที่เล่นประกอบภายในซีรีส์ ใช้ถ่ายทอดความเร้าอารมณ์ที่มีต่อเรื่อง
ธีม[แก้]
ในแง่ไอเดียการดำรงอยู่และตัวตน ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจและมีสติ ซึ่งมีความสำคัญต่อซีรีส์วานิทัสมากกว่า PandoraHearts และ Crimson-Shell ในองค์ประกอบที่ผู้เขียนตัดสินใจที่จะใช้ เธอต้องการแสดงให้ความรู้สึกส่วนลึกที่ซ่อนอยู่ภายในหัวใจตัวละครภายในเรื่อง เมื่อพวกเขาถูกสำรวจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ตามที่เธอต้องการ คำถามเกี่ยวกับตัวตนและการดำรงตั้งแต่ตอนแรกต้องตามมา วานิทัสต้องเป็นตัวละครที่อิสระและมีความแปลกประหลาด เขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดดั่งใจนึก โดยไม่สนวิธีการว่าดีหรือไม่ดี นอกจากนี้อาจาย์โมจิซุกิยังสร้างความสมดุลให้โนเอ้ มีความใสซื่อ จิตใจดี รักยุติธรรมและมีความรับผิดชอบสูง จนสุดท้ายพวกเขาต้องยอมรับตัวตนหรือส่งเสริมอีกฝ่าย เธอยังบอกว่าลักษณะวานิทัสคือแก่นหลักมังงะเพราะโมจิซุกิต้องการพรรณนาถึงตัวตนที่สูญเสียบุคคลและสามารถกู้คืนได้[4]
นามที่แท้จริงของแวมไพร์ เธอมองว่าไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่ เพราะมีวิดิโอเกมและเรื่องอื่นมากมายที่ใช้เรื่องพวกนั้นบ่อย แต่พยามเลือกใช้เหตุผลเจาะจง ตอนแรกเธอกำหนดให้วานิทัสเป็นฮีโร่ที่เป็นหมอพยามรักษาคนไข้เพื่อกอบกู้เหล่าแวมไพร์ถูกเตรียมไว้แล้ว แต่โมจิซุกิคิดว่าการทำให้วานิทัสแสดงบทบาทเป็นหมอในเรื่อง ด้วยการเก่งวิชาหรือมีหัตถการแพทย์แล้วรักษาคนไข้อย่างบริสุทธิ์ใจตามปกติที่เห็นกับซีรีส์อื่น โดยส่วนตัวเธอไม่คิดว่าผู้อ่านของเธอจะชอบมันมากนัก เพราะฉะนั้นโมจิซุกิต้องพยามลองหาแนวคิดบางอย่างที่มากกว่า และนี่คือที่มาไอเดียนามที่แท้จริงต่าง ๆ ของเหล่าแวมไพร์อย่างที่เห็นในเรื่อง
จากข้อมูลของเว็บไซต์ Comic Book Resources หรือ CBR เคยคอมเมนท์ว่าแวมไพร์ของเรื่องนี้แตกต่างจากซีรีส์อื่น โดยเฉพาะซีนดูดเลือดของแวมไพร์มีสองแนวคิดที่แตกต่างกัน ตอนฌานดูดเลือดในช่วงต้นของซีรีส์ เพื่อเย้ายวนและถูกกลั่นแกล้งอย่างสนุกสนาน ขณะที่วานิทัสสนใจแวมไพร์ที่เป็นผู้ต้องสาปและทำหน้าที่รักษาเหล่าแวมไพร์ จนพวกเขาได้เดตกันนำสู่การกัดโดยสมัครใจ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าวานิทัสกำลังรักษาเธออยู่ หากรู้เรื่องที่เธอเป็นเหยื่อจากการผู้ถูกสาปแช่งเช่นกัน
ดีไซน์ต่างหูวานิทัส เมื่อคุณเดโกะ อากาโอะ ได้เห็นมันครั้งแรกที่สวมอยู่บนหูของวานิทัส รู้สึกหลงไหลและบอกว่านาฬิการู้สึกมีเบื้องหลังบางอย่าง แต่ความคิดที่เคยคาดเดากลับถูกต้องในตอนที่เธอเห็นอดีตน่าเศร้าของวานิทัสในมังงะ Anime News Network ชี้ว่าต่างหูนาฬิกาทรายสะท้อนถึงความตายและอายุขัยที่สั้นของเขา
สื่อ[แก้]
มังงะ[แก้]
บันทึกแวมไพร์วานิทัส ถูกเขียนโดยอาจาย์ โมจิซุกิ จุน เริ่มต้นในนิตยสารรายเดือนของ Gangan Joker[6][7] สำนักพิมพ์ สแควร์เอนิกซ์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 และถูกซื้อลิขสิทธิ์โดยสยามอินเตอร์คอมิกส์ โมจิซุกิเคยหยุดเขียนมังงะเพราะเรื่องปัญหา COVID-19 ก่อนมังงะจะกลับมาตีพิมพ์อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนปี 2559
กระแสการตอบรับ[แก้]
Manga[แก้]
เมื่อเล่มญี่ปุ่นได้วางจำหน่าย เหล่านักวิจารณ์ต่างสนุกกับความสัมพันธ์ของเขากับโนเอ้ และชื่นชมการผสมผสานแอคชั่นกับการผจญภัยได้อย่างลงตัว รวมทั้งวิธีที่วานิทัสถูกฌานจัดการ ทว่าพยามควบคุมและตามใจเธอ แต่เวลาเดียวกันวานิทัสตอบรับความรู้สึกรักของเขาที่มีต่อฌานได้ไม่ดี จนซีรีส์ถูกทำเป็นอนิเมะออกฉายในวันที่ 3 กรกฎาคมทั่วโลก[8] ในเว็บไซต์ Manga New ชื่นชมวิธีการรับมือและการจัดการอดีตแสนเศร้าของเขา แต่ว่าคำบรรยายของผู้เขียนของซีรีส์ที่มีต่อวานิทัสได้สร้างความสับสนต่อนักวิจารณ์และผู้ชมอย่างมาก
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 吸血鬼譚「ヴァニタスの手記」ボンズ制作で今夏TVアニメ化 花江夏樹&石川界人が主演. anime.eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com . March 28, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 Chapman, Paul (March 28, 2021). "The Case Study of Vanitas Sinks Its Fangs Into a TV Anime". Crunchyroll. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021.
- ↑ 19世紀パリ×吸血鬼×スチームパンク! 魔導書に導かれし吸血鬼と人間たちの物語──アニメ『ヴァニタスの手記』原作・望月淳インタビュー. DDNavi (ภาษาญี่ปุ่น). July 8, 2021. สืบค้นเมื่อ December 7, 2022.
- ↑ 4.0 4.1 "Interview de Jun Mochizuki (Les Mémoires de Vanitas, Pandora Hearts". Manga News (ภาษาฝรั่งเศส). September 13, 2017. สืบค้นเมื่อ January 28, 2022.
- ↑ interview by Morrissy, Kim (July 4, 2021). "Vanitas No Carte Aniplex online Fest 2021". Anime News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 8, 2022.
- ↑ Ressler, Karen (October 20, 2015). "Pandora Hearts' Mochizuki to Launch Vanitas no Carte Manga". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021.
- ↑ 「PandoraHearts」の望月淳、JOKERでの新連載は吸血鬼を巡るファンタジー. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. December 22, 2015. สืบค้นเมื่อ December 8, 2022.
- ↑ Jeudi, Publiée le Jeudi (Octobre 8, 2020). "review by manga new vol.8". manganew (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ December 9, 2022.
{{cite web}}
: zero width space character ใน|access-date=
ที่ตำแหน่ง 9 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการมังงะ ที่''กังกังโจกเกอร์ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการอนิเมะ (ญี่ปุ่น)
- บันทึกแวมไพร์วานิทัส (มังงะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ