กังกังคอมิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กังกังคอมิกส์
ガンガンンコミックス
บริษัทแม่
สถานะยังอยู่
ก่อตั้ง1991; 33 ปีที่แล้ว (1991)
ประเทศที่ตั้งบริษัทญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่โตเกียว, ญี่ปุ่น
การจัดจำหน่ายญี่ปุ่น
ประเภทสิ่งพิมพ์มังงะ, แมกกาซีน, ไลท์โนเวล, นิยายภาพ
ประเภทโชเน็นและเซเน็น
เว็บไซต์ทางการgangan.square-enix.co.jp

กังกังคอมิกส์ (ガンガン, Gangan) เป็นนิตยสารในเครือของสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมังงะของค่ายเอนิกซ์ ก่อนที่บริษัทจะรีแบรนด์ใหม่และใช้ชื่อว่า "สแควร์เอนิกซ์" แล้วเผยแพร่นิตยสารหลายเล่มโดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มการตลาดผู้อ่านที่แตกต่างกันในตลาดญี่ปุ่น นิตยสารมังงะที่ถูกบรรยายความสวยงามของการ์ตูนยอดนิยมอย่างแขนกล คนแปรธาตุ , บันทึกแวมไพร์วานิทัส , โซลอีสเตอร์[1] ต่อมามังงะได้รับการรวบรวมเล่มนิตยสารภายใต้ชื่อแบรด์ต่างๆ เช่น กังกังคอมิกส์ (ガンガンコミックス, Gangan Komikkusu ) , กังกังคอมมิคโจ๊กเกอร์ (ガンガンコミクスJOKER , Gangan Komikkusu Jōkā ) , ยังกังกังโจ๊กเกอร์ (ヤングガンガンコミクス, Yang u Gangan โคมิกคุสุ ) ซึ่งถูกระบุไว้ในนิตยสารและจัดทำเป็นอนุกรม แล้วชื่อแบรด์นิตยสารปกอ่อนเหล่านี้เกิดขึ้นจาก จากการละเว้น gekkan (月刊, สื่อพิมพ์รายเดือน) หรือแนวโชเน็น (少年, เด็กผู้ชาย) ในชื่อนิตยสารและใส่คำว่าคอมมิค (コミックス, Komikkusu ) ตามหลังคำว่า "กังกัง" โดยซีรีส์มังงะในนิตยสารต่างๆ ของค่ายสแควร์เอนิกซ์ได้ถูกสยามอินเตอร์คอมิกส์ซื้อลิขสิทธิ์ไปหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Pandora Hearts , ตำนานนักล่ามังกร , บันทึกแวมไพร์วานิทัส รวมทั้ง Phoenix Next มีการซื้อลิขสิทธิ์ผลงานใหม่ของอาจาย์ผู้เขียนแขนกล คนแปรธาตุ โดยใช้ชื่อว่า "ยมลแห่งยมโลก"

นิตยสาร[แก้]

กังกังโชเน็นรายเดือน 2534[แก้]




กังกังโชเน็นรายเดือน
แขนกลคนแปรธาตุ หนึ่งในผลงานมังงะที่โดดเด่นของสแควร์เอนิกซ์ในกังกังโชเน็น
แขนกลคนแปรธาตุ หนึ่งในผลงานมังงะที่โดดเด่นของสแควร์เอนิกซ์ในกังกังโชเน็น
ประเภท โชเน็น มังงะ
นิตยสารราย เดือน
วันจำหน่ายฉบับแรก 12 มีนาคม 2534 (เมษายน 2534)
บริษัท
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภาษา ญี่ปุ่น
เว็บไซต์ gangan.square-enix.co.jp

โชเน็นกังกังรายเดือน (月刊少年ガンガン, Gekkan Shōnen Gangan ) เป็นมังงะที่รวมนิตยสารรายเดือนที่มีมากกว่า 600 หน้า โชเน็นกังกังเปิดตัวโดยค่ายเอนิกซ์ (ซึ่งค่ายปัจจุบันคือสแควร์เอนิกซ์) ในปี 2534 นิตยสารเอนิกซ์ต้องแข่งกับนิตยสารคู่แข่งรายอื่นเช่น โชเน็นแมกกาซีนรายเดือน , โชเน็นจัมป์รายเดือน , โชเน็นซูเปอร์ซันเดย์ แล้วมีเป้าหมายเป็นกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นชาย (Shōnen แปลว่าเด็กหนุ่ม) มีเนื้อหาการนำเสนอมังงะแนวแอคชั่นและผจญภัยมากมาย แฟนตาชีองค์ประกอบนิยายแนววิทยาศาสตร์ นอกจากนี้สแควร์เอนิกซ์ยังเผยแพร่ กังกัง YG และกังกังวิงซ์รายเดือน

ซีรีส์[แก้]

มังงะ ครั้งแรกที่เผยแพร่ ผู้เขียน
Kyōshitsu (英雄教室) กันยายน 2559 ชิน อารากิ, โคอาล่า คิชิดะ
Final Fantasy: Lost Stranger (ファイナルファンタジー ロスト・ストレンジャー) กรกฎาคม 2560 ฮาซึกิ มินาเสะ, อิซึกิ คาเมยะ
กิลด์ป่วนก๊วนฮา (不徳のギルド) มิถุนายน 2560 ไทชิ คาวาโซเอะ
เวอร์มีลแห่งเวทสีทอง ~นักอาคมหวิดซิ่วกับอสูรรับใช้สุดแกร่งบุกตะลุยโลกเวทมนตร์~ (金装のヴェルメイユ) ตุลาคม 2551 โควตะ อามาเนะ , โยวโกะ อุเมะซึ
แผนลับดับ "ศัตรู" (不徳のギルド) พฤษภาคม 2559 อิโอริ ฟุรุยะ , Looseboy
Nagasarete Airantō' (不徳のギルド) มกราคม 2545 ทาเคชิ ฟูจิชิโระ
วันนุ่ม ๆ ของลุงกับแมว (おじさまと猫) เมษายน 2562 อุมิ ซากุไร
คุณพนักงานคะ รับน้องผีไปช่วยเยียวยาไหมคะ (社畜さんは幼女幽霊に癒されたい。) สิงหาคม 2562 อิมาริ อาริตะ
อินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม (とある魔術の禁書目録) เมษายน 2550 ผู้เขียน คาซึมะ คามาจิ ,นักวาด ชูยะ โคงิโกะ
ฝ่าปริศนาตะลุยโลกเบื้องหลัง (裏世界ピクニック) กุมภาพันธ์ 2561 อิโอริ มิยาซาว่า, Eita Water

จีแฟนตาชีรายเดือน 2536[แก้]

จีแฟนตาชี (月刊Gファンタジー, Gekkan Jī Fantajī) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ กังกังแฟนตาชี เป็นนิตยสารโชเน็นมังงะของญี่ปุ่น[2] ที่เปิดตัวในปี 2535 ตอนแรกนิตยสารโชเน็นฉบับพิเศษของกังกังใข้ชื่อว่า Fantastic Comic (ファンタスティックコミック) ในปี 2536 ได้ใช้ชื่อนิตยสารที่เป็นทางการของตัวเองว่า จีแฟนตาชีรายเดือน (月刊ガンガンファンタジー) ในฉบับ เดือนเมษายน พ.ศ. 2537 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น จีแฟนตาชี ซึ่งเนื้อหามังงะจะถูกสร้างในธีมเหนือธรรมชาติ และมีฉากแฟนตาชี รวมทั้งฉากแอคชั่น หรือฉากสยองขวัญ

ผลงานมังงะที่โดดเด่น[แก้]

ยังกังกัง 2547[แก้]

ยังกังกัง (ヤングガンガン, Yangu Gangan) เป็นนิตยสารมังงะเซเน็นของญี่ปุ่น ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของสแควร์เอนิกซ์ ซึ่งจะออกเดือนละสองครั้ง ในวันที่ 1 หรือวันที่ 3 ของวันศุกร์[4] นิตยสารนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547

กังกังออนไลน์ 2551[แก้]

กังกังออนไลน์ (ガンガンオンライン, Gangan Onrain) เป็นแอปบนมือถือและเว็บไซต์ที่อ่านมังงะและไลท์โนเวลฟรี โดยสแควร์เอนิกซ์จะเป็นคนเผยแพร่และอัปเดต ซึ่งเว็บไซต์แมกกาซีนออนไลน์เปิดให้ใช้บริการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2551

กังกังโจ๊กเกอร์ 2552[แก้]

กังกังโจ๊กเกอร์รายเดือน (月刊ガンガンJOKER, Gekkan Gangan Joker) เป็นนิตยสารมังงะโชเน็นของญี่ปุ่น นิตยสารเปิดตัวโดยสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552

บิ๊กกังกัง 2553[แก้]

บิ๊กกังกังรายเดือน เป็นนิตยสารที่อยู่ในหมวดหมู่มังงะเซเน็นใน gangan ของเครือสแควร์เอนิกซ์

กังกังพิกซิฟ 2560[แก้]

มังงะอัพ 2560[แก้]

มังงะอัพ (Manga-Up) เป็นเว็บไซต์และแอปมังงะรูปแบบอ่านออนไลน์ เหมือนกังกังออนไลน์ ที่รวบรวมผลงานยอดนิยมมากมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นผลงานมังงะดัดแปลงจากเกมกับนิยาย และมังงะออริจินอลที่มาเผยแพร่บนแอปนี้โดยเฉพาะ ในเดือนกรกฎาคมนั้น สแควร์เอนิกซ์ได้เปิดตัว Manga-Up! เวอร์ชันภาษาอังกฤษ โดยเปิดให้ดาวน์โหลดผ่านบนเพลย์สโตร์ เป็นเนื้อเรื่องมังงะที่ตีพิมพ์ตามนิตยสารอื่นๆ ในเครือ และจะเผยแพร่รายตอนให้ตรงเวลากับของทางญี่ปุ่น[5]

นิตยสารที่เลิกตีพิมพ์[แก้]

กังกังพาวเวอร์ 2544-2552[แก้]

กังดังพาวเวอร์ (ガンガンパワード, Gangan Pawādo ) เป็นนิตยสารมังงะแนวโชเน็น/เซเน็นที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ ซึ่งนิตยสารฉบับล่าสุดวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และฉบับเดือนเมษายน ในปีพ.ศ. 2552 แต่ต่อมาก็ถูกแทนที่ด้วยกังกังโจ๊กเกอร์[6]

กังกังวิงซ์ 2539–2552[แก้]

กังกังวินซ์รายเดือน (月刊ガンガンWING , Gekkan Gangan Wing) เป็นนิตยสารมังงะโชเเน็นของญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์โดย สแควร์เอนิกซ์ ซึ่งนิตยสารฉบับล่าสุดได้ออกวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม 2552 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2552 และต่อมาก็ถูกแทนที่ด้วยกังกังโจ๊กเกอร์[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "2550 โปรไฟล์" (PDF). สแควร์เอนิกซ์. ตุลาคม 2007. p. 6. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2003.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. เบซี เมลินดา (5 พฤศจิกายน 2553) แฟนเซอร์วิสวันศุกร์ : จีแฟนตาชีสำหรับคุณผู้หญิง สืบค้นเมื่อที่ 27 พฤษภาคม 2023
  3. สังเวียนน้ำแข็ง Anime News Network สืบค้นวันที่ 28 พฤษภาคม 2023
  4. แมกกาซีนมังงะของสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ ญี่ปุ่น สืบค้นวันที่ 28 พฤษภาคม 2023
  5. 25 กรกฎาคม 2022 สแควร์เอนิกซ์ได้เปิดตัวแอปเวอร์ชันภาษาอังกฤษ Anime News Network สืบค้นวันที่ 27 พฤษภาคม 2023
  6. 6.0 6.1 กังกังโจ๊กเกอร์จะมาแทนที่กังกังพาวเวอร์ Anime News Network 2009-03-01 สืบค้นวันที่ 2009-06-30

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]