ธนบัตร 500 บาท
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
(ประเทศไทย) | |
---|---|
มูลค่า | 500.00 บาท |
ความกว้าง | 156 มม. |
ความสูง | 72 มม. |
องค์ประกอบเพื่อความปลอดภัย | ลายน้ำ, ลายเส้นนูน, ภาพซ้อนทับ, ตัวเลขแฝง, อักษรเบรลล์, หมึกพิมพ์พิเศษ, แถบสี, แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ, หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง, กลุ่มดาวยูไรอัน |
วัสดุที่ใช้ | กระดาษใยฝ้าย |
ปีที่พิมพ์ | 2518 – ปัจจุบัน |
ด้านหน้า | |
![]() | |
การออกแบบ | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ |
วันที่ออกแบบ | 2560 |
ด้านหลัง | |
![]() | |
การออกแบบ | พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ครั้นพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ครั้นเสด็จพระราชดำเนินเยือนสำเพ็ง |
วันที่ออกแบบ | 2560 |
ธนบัตร 500 บาท เป็นธนบัตรหมุนเวียนในสกุลเงินบาท เริ่มออกใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ ตั้งแต่ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ธนบัตร 500 บาท เป็นธนบัตรไทยที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน มีทั้งแบบที่ 15 แบบที่ 16 และแบบที่ 17 ยังใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน
รายละเอียด[แก้]
แบบ 17[แก้]
ธนบัตรไทยชนิดราคา 500 บาทแบบ 17
- ด้านหน้า: พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ
- ด้านหลัง: พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
- จ่ายแลก: 28 กรกฎาคม 2561
แบบ 16[แก้]
- ด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
- ด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, ภาพวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, และภาพป้อมพระสุเมรุ
- ขนาด : 7.20 x 15.60 เซนติเมตร
- รุ่นที่สอง
- เริ่มออกใช้ : 12 พฤษภาคม 2557
แบบ 15[แก้]
- ด้านหน้า: พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
- ด้านหลัง: พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์, ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร, และภาพเรือสำเภา
- พระราชดำรัส : “การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว” - พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ขนาด : 7.20 x 15.60 เซนติเมตร
- รุ่นที่หนึ่ง
- จ่ายแลก: 1 สิงหาคม 2544
แบบ 14[แก้]
- ด้านหน้า: พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
- ด้านหลัง: พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม จ.สมุทรสงคราม
- จ่ายแลก: 3 เมษายน 2539
แบบ 13[แก้]
- ด้านหน้า: พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
- ด้านหลัง: พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
- จ่ายแลก: 5 พฤศจิกายน 2530
(หมายเหตุ) ภาพประธานด้านหลังจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับธนบัตรแบบ 13 แต่เป็นสีแดง
แบบ 12[แก้]
- ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 500 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 12 มาใช้
แบบ 11[แก้]
- ด้านหน้า: พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
- ด้านหลัง: พระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
- จ่ายแลก: 18 กรกฎาคม 2518
(หมายเหตุ) ภาพประธานด้านหลังจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับธนบัตรแบบ 13 แต่เป็นสีแดง
แบบ 1 ถึง 10[แก้]
- ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 500 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 1 ถึง 10 มาใช้
ธนบัตรปัจจุบัน[แก้]
ธนบัตรไทยชนิดราคา 500 บาทแบบ 17
- ด้านหน้า: พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ
- ด้านหลัง: พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
- จ่ายแลก: 28 กรกฎาคม 2561
ธนบัตรที่ระลึก[แก้]
แบบที่ระลึก[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/500_16.aspx
- https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/500_15.aspx
![]() |
บทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้านี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |