เหรียญ 50 สตางค์
เหรียญ 50 สตางค์ เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย มีการผลิตมาใช้งานหลายรุ่นหลายสมัย เหรียญ 50 สตางค์รุ่นปัจจุบัน (พ.ศ. 2530 — พ.ศ. 2560)[แก้]เหรียญ 50 สตางค์ที่ผลิตใช้งานในปัจจุบัน ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ด้านหลังเป็นอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 โดยเนื้อเหรียญทำจากอะลูมิเนียมบรอนซ์ซึ่งมีสีเหลืองทอง ในปี พ.ศ. 2539 มีการผลิตเหรียญ 50 สตางค์ในรูปแบบปกติ และเหรียญ 50 สตางค์ที่ผลิตในรูปแบบเหรียญที่ระลึก พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ประกาศใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่เพื่อปรับต้นทุนการผลิตและทำให้ยากต่อการปลอมแปลง โดยเหรียญ 50 สตางค์มีการเปลี่ยนชนิดโลหะ จากอะลูมิเนียมบรอนซ์ มาเป็นเหล็กชุบทองแดงซึ่งมีสีแดงแทน โดยที่มีขนาดและน้ำหนักเหรียญคงเดิม ส่วนลวดลายมีเปลี่ยนภาพด้านหน้าเหรียญเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุใกล้เคียงปัจจุบันมากขึ้น[3] โดยเริ่มปรากฏในเหรียญที่ระบุ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป โดยที่เหรียญปี พ.ศ. 2551 มีทั้งแบบเก่าและแบบใหม่[4] ในปี พ.ศ. 2561 มีการผลิตเหรียญ 50 สตางค์ในรูปแบบปกติ และเหรียญ 50 สตางค์ที่ผลิตในรูปแบบเหรียญที่ระลึก มหาวชิราลงกรณ เหรียญ 50 สตางค์ในอดีต[แก้]เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2530-2560[แก้]เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 50 สตางค์ รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของ พระเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ ประกาศออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงลวดลายของเหรียญ และเปลี่ยนโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญ 50 สตางค์ เป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล น้ำหนักของเหรียญลดลงเป็น 3.00 กรัม จากเดิม 3.40 กรัม โดยที่ยังมีขนาดความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม อ้างอิง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้] |