เหรียญ 1 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย แบ่งออกเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ผลิตออกมาตามความต้องการใช้งานในระบบ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ทำขึ้นจำนวนจำกัดเพื่อเป็นที่ระลึก แต่ยังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาทในชุดปัจจุบัน เป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นแรกในรัชกาลที่ 10 มีด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนด้านหลังเป็น อักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 โดยใช้วัตถุดิบ ขนาด และน้ำหนักเท่ากับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในปีก่อนหน้า โดยเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรัชกาลที่ 9 ยังคงใช้ได้ตามปกติ[1]
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 1 บาทในอดีต[แก้]
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529-2560[แก้]
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 1 บาท รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประกาศออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529
ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงลวดลายของเหรียญ และเปลี่ยนโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญ 1 บาท เป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล น้ำหนักของเหรียญลดลงเป็น 3.00 กรัม จากเดิม 3.40 กรัม โดยที่ยังมีขนาดความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าเดิม[2] การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ในช่วงแรกยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม[3][4]
จำนวนการผลิต[แก้]
ปีที่ผลิต
|
จำนวนการผลิต (เหรียญ)
|
2529
|
4,200,000
|
2530
|
329,471,000
|
2531
|
391,472,000
|
2532
|
466,684,000
|
2533
|
409,924,000
|
2534
|
329,946,380
|
2535
|
426,230,000
|
2536
|
235,623,000
|
2537
|
475,200,000
|
2538
|
589,394,650
|
2539
|
98,487,000
|
2540
|
350,660,600
|
2541
|
25,252,000
|
2542
|
224,389,000
|
2543
|
468,610,000
|
2544
|
385,140,000
|
2545
|
266,025,000
|
2546
|
236,533,000
|
2547
|
903,964,000
|
2548
|
1,137,820,000
|
2549
|
778,061,000
|
2550
|
614,866,877
|
2551 (แบบเก่า)
|
660,307,123
|
2551 (แบบใหม่)
|
ไม่มีข้อมูล
|
2552
|
507,250,000
|
2553
|
ไม่มีข้อมูล
|
2554
|
ไม่มีข้อมูล
|
2555
|
ไม่มีข้อมูล
|
2556
|
ไม่มีข้อมูล
|
2557
|
ไม่มีข้อมูล
|
2558
|
ไม่มีข้อมูล
|
2559
|
ไม่มีข้อมูล
|
2560
|
830,000,000[5]
|
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 1 บาท[แก้]
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเสด็จนิวัตรพระนคร
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกรัชกาลที่ 9 พระชนมายุครบ 3 รอบ
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอนามัยโลก ครบ 25 ปี
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกกีฬาแหลมทองครั้งที่ 8
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระชนมายุครบ 75 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2520
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวันอาหารโลก
- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เกี่ยวกับเหรียญ[แก้]
- ในปี พ.ศ. 2539 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคา 1 บาท เพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยผลิตควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2539 เนื่องจากจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกมีถึง 272,512,000 เหรียญ ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจำนวนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในปีเดียวกันหลายเท่า อีกทั้งเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกยังได้ถูกนำมาใช้จ่ายทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ประชาชนไม่ค่อยพบเห็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2539 มากนัก
อ้างอิง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
|