ธนบัตร 20 บาท
(ประเทศไทย) | |
---|---|
มูลค่า | 20.00 บาท |
ความกว้าง | 138 มม. |
ความสูง | 72 มม. |
องค์ประกอบเพื่อความปลอดภัย | ลายน้ำ, ลายเส้นนูน, ภาพซ้อนทับ, ตัวเลขแฝง, อักษรเบรลล์, หมึกพิมพ์พิเศษ, แถบสี, แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ, หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง, ช่องใส, กลุ่มดาวยูไรอัน |
วัสดุที่ใช้ | พอลิเมอร์ |
ปีที่พิมพ์ | 2445 – ปัจจุบัน |
ด้านหน้า | |
![]() | |
การออกแบบ | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ |
วันที่ออกแบบ | 2565 |
ด้านหลัง | |
![]() | |
การออกแบบ | พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และภาพจิตรกรรมจากบทละครอิเหนา |
วันที่ออกแบบ | 2565 |
ธนบัตร 20 บาท เป็นธนบัตรหมุนเวียนในสกุลเงินบาท เริ่มออกใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ธนบัตร 20 บาท เป็นธนบัตรไทยที่ใช้หมุนเวียนในประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งแบบที่ 15 แบบที่ 16 แบบที่ 17 รุ่นที่ 1 และแบบที่ 17 รุ่นที่ 2 ที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน
พัฒนาการธนบัตร[แก้]
แบบ 17[แก้]
ธนบัตรไทยชนิดราคา 20 บาทแบบ 17 แบบที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน
- ด้านหน้า: พระสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ
- ด้านหลัง: พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- จ่ายแลกรุ่นที่ 1: 6 เมษายน 2561
- จ่ายแลกรุ่นที่ 2: 24 มีนาคม 2565
แบบ 16[แก้]
ธนบัตรไทยชนิดราคา 20 บาทแบบ 16[1] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
- ด้านหน้า: พระบรมฉายาสาทิสลัษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัติยราชภูษิตตาภรณ์ ทรงเสี้อครุย
- ด้านหลัง: พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร, ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย, ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง, ภาพลายสือไทย, ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร, ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก
- ขนาด : 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
- รุ่นที่สอง
- จ่ายแลก: 1 เมษายน 2556
แบบ 15[แก้]
- ด้านหน้า: พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
- ด้านหลัง: พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล, ภาพสะพานพระราม 8, และภาพการเสด็จพระราชดำเนินประพาสสำเพ็ง
- พระราชดำรัส: "ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และถูกต้องตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้" - พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
- ขนาด : 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
- รุ่นที่หนึ่ง
- จ่ายแลก: 3 มีนาคม 2546
แบบ 14[แก้]
- ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 20 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 14 มาใช้ ยกเว้น
แบบ 13[แก้]
- ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 20บาท สำหรับธนบัตรแบบ 13 มาใช้ ยกเว้น
แบบ 12[แก้]
- ด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
- ด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี
- เริ่มออกใช้ : 28 ธันวาคม 2524
แบบ 11[แก้]
- ด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
- ด้านหลัง : เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
- เริ่มออกใช้ : 9 มิถุนายน 2514
แบบ 10[แก้]
- ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 20 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 10 มาใช้ ยกเว้น
แบบ 9[แก้]
- ด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
- ด้านหลัง : พระที่นั่งอนันตสมาคม
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 9
แบบ 8[แก้]
- ด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
- ด้านหลัง : พระที่นั่งอนันตสมาคม
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 8
แบบ 7[แก้]
- ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 20 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 7 มาใช้ ยกเว้น
แบบ 6[แก้]
- ด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
- ด้านหลัง : พระที่นั่งอนันตสมาคม
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 8
แบบ 5[แก้]
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 8
แบบ 4 (กรมแผนที่)[แก้]
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 8
แบบ 4 (โทมัส)[แก้]
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 8
แบบ 3[แก้]
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 7
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 8
แบบ 2[แก้]
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 6
แบบ 1[แก้]
- ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
- เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 5
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้านี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |