เหรียญ 5 บาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
5 บาท
ประเทศไทย
มูลค่า5.00 บาท
น้ำหนัก7.5 g
เส้นผ่านศูนย์กลาง24 mm
ขอบเฟือง
ส่วนประกอบคิวโปรนิกเกิล สอดไส้ ทองแดง
75% Cu, 25% Ni
สอดไส้: 99.5%Cu
ปีที่ผลิตเหรียญ2515 – ปัจจุบัน
หมายเลขบัญชี-
ด้านหน้า
การออกแบบพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560
ด้านหลัง
การออกแบบอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560

เหรียญ 5 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย แบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท[แก้]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2515–2520[แก้]

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระดับพระอังสา ริมขอบด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
  • ด้านหลัง: เป็นรูปพระครุฑพ่าห์ เบื้องบนมีข้อความ "รัฐบาลไทย พ.ศ. ๒๕๑๕" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคา "๕ บาท" มีลายกระหนกขนาบข้าง

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิล 9 เหลี่ยม ขอบเรียบ
  • น้ำหนัก: 9 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 27 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: ทองแดง 75%, นิกเกิล 25%
  • ประกาศใช้: 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516
  • จำนวนการผลิต: 30,016,000 เหรียญ
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
    • ด้านหลัง: นายสานต์ เทศะศิริ

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2520–2525[แก้]

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ริมขอบด้านซ้ายมีข้อความ "สยามินทร์" ริมขอบด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
  • ด้านหลัง: รูปพระครุฑพ่าห์เฉียงขวา เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" เบื้องซ้ายมีเลขไทยและข้อความบอกราคา "๕ บาท" เบื้องล่างบอกปีพุทธศักราชที่ผลิต

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเรียบ
  • น้ำหนัก: 12 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 29.50 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
  • ประกาศใช้: 30 สิงหาคม พ.ศ. 2520 และ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
    • ด้านหลัง: นายสานต์ เทศะศิริ

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2520 27,257,000
2522 72,740,000

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525–2529[แก้]

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
  • ด้านหลัง: รูปพระครุฑพ่าห์ชิดวงขอบเหรียญ เบื้องบนมีข้อความ "พ.ศ. ๒๕๒๕" เบื้องล่างมีข้อความ "ประเทศไทย" ด้านซ้ายมีเลข "๕" ด้านขวามีเลข "5" ใต้รูปพระครุฑพ่าห์มีคำว่า "บาท" ใต้คำว่า "บาท" มีตราโรงกษาปณ์และมีเลขย่อของปีพุทธศักราชที่ผลิตเหรียญ

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเฟือง
  • น้ำหนัก: 12 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 30 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
  • ประกาศใช้: 9 ธันวาคม พ.ศ. 2525
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
    • ด้านหลัง: นางสุภาพ อุ่นอารีย์

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2525 500,000
2526 100,000
2527 700,000
2528 17,911,000
2529 7,201,000

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2530–2531[แก้]

เหรียญรุ่นนี้ผลิตแค่ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2530 และ 2531 ในปริมาณที่ไม่มากนัก รวมกันทั้งสองปีประมาณ 44 ล้านเหรียญ โดยในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการผลิตพร้อมกันกับรุ่นถัดไป หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนไปผลิตเป็นรุ่นถัดไปทั้งหมด

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
  • ด้านหลัง: รูปส่วนหัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ปากหงส์ห้อยพวงแก้วพู่จามรี เบื้องหลังเป็นรูปพระบรมมหาราชวัง ชิดวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความบอกราคา เบื้องล่างข้อความบอกราคามีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบเฟือง
  • น้ำหนัก: 7.50 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
  • ประกาศใช้: 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นางสุภาพ อุ่นอารีย์
    • ด้านหลัง: นางสุภาพ อุ่นอารีย์

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2530 41,514,000
2531 2,400,000

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2531–2551[แก้]

ในปี พ.ศ. 2530 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้งระบบพร้อมกันทุกชนิดราคา โดยเริ่มทยอยผลิตออกใช้และสามารถผลิตได้ครบทุกชนิดราคาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม ด้านในมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ชิดวงของเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
  • ด้านหลัง: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความ "๕ บาท 5"

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง ขอบนอกเฟืองหยาบ
  • น้ำหนัก: 7.50 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
  • ประกาศใช้: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นางไพฑรูย์ศรี ณ เชียงใหม่
    • ด้านหลัง: นางสาวปราณี คล้ายเชื้อวงศ์

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2531 44,503,000
2532 86,339,000
2533 38,005,000
2534 68,520,380
2535 48,939,620
2536 46,992,000
2537 123,443,000
2538 105,100,000
2539 28,485,000
2540 10,600
2541 31,373,000
2542 50,760,000
2543 146,920,000
2544 76,566,000
2545 29,601,500
2546 182,000
2547 120,187,000
2548 91,079,000
2549 254,403,000
2550 131,126,000
2551 220,463,200
  • หมายเหตุ: ในปี พ.ศ. 2539 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยได้ถูกนำมาใช้หมุนเวียนทั่วไปร่วมกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551–2560[แก้]

ในปี พ.ศ. 2551 กรมธนารักษ์ปรับปรุงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเป็นชุดใหม่ เพื่อปรับต้นทุนการผลิตและปรับภาพพระบรมรูปให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น โดยยังคงใช้ลวดลายและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหมือนกับรุ่นก่อนหน้า จึงทำให้เหรียญ 5 บาท ปี พ.ศ. 2551 มีทั้งแบบเก่าและใหม่

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะแรกยังไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นนี้ถูกใช้จนสิ้นสุดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในปี พ.ศ. 2560 และถือเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นสุดท้ายในรัชกาลที่ 9

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙"
  • ด้านหลัง: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๕ บาท 5"

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง
  • ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
  • น้ำหนัก: 6 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
  • ประกาศใช้: 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นายวุฒิชัย แสงเงิน
    • ด้านหลัง: นางไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2551 6,225,000
2552 308,283,000
2553 37,903,000
2554 244,100,000
2555 322,587,000
2556 156,148,000
2557 59,000,000
2558 219,989,500
2559 330,458,400
2560 280,008,000

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 10 พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน[แก้]

ในปี พ.ศ. 2561 กรมธนารักษ์ได้ปรับเปลี่ยนลวดลายบนเหรียญทุกชนิดราคา เนื่องจากได้ผลัดแผ่นดินสู่รัชกาลใหม่ โดยได้ผลิตเพื่อนำออกจ่ายแลกในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นนี้ ถือเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นแรกในรัชกาลที่ 10

ในปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์รุ่นนี้ยังสามารถใช้ควบคู่กับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสมัยรัชกาลที่ 9 ได้

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปสิบเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ชิดวงของเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "มหาวชิราลงกรณ" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๑๐"
  • ด้านหลัง: ขอบเหรียญวงในเป็นรูปสิบเหลี่ยม กลางเหรียญมีเลข 10 อุณาโลมและอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๕ บาท 5"

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง
  • ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
  • น้ำหนัก: 6 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 24 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: โลหะส่วนที่เคลือบ ทองแดง 75% นิกเกิล 25% โลหะส่วนที่เป็นไส้ ทองแดง 99.50%
  • ประกาศใช้: 6 เมษายน พ.ศ. 2561
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นายไชยยศ สุนทราภา
    • ด้านหลัง: นายไชยยศ สุนทราภา

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2561 453,343,000
2562 244,900,000
2563 270,000,000
2564 187,295,600
2565 158,850,000
2566
2567

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 5 บาท[แก้]

  • พ.ศ. 2520
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8
  • พ.ศ. 2522
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
  • พ.ศ. 2523
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในวโรกาสที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O.) ถวายพระเกียรติอัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถลงบนเหรียญ CERES
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หน้าอาคารรัฐสภาอู่ทองใน
  • พ.ศ. 2524
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 100 ปี
  • พ.ศ. 2525
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวันอาหารโลก
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 75 ปี ของการลูกเสือโลก
  • พ.ศ. 2527
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เจริญพระชนมายุ 84 พรรษา
  • พ.ศ. 2529
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • พ.ศ. 2530
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 200 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2535
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • พ.ศ. 2538
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18
  • พ.ศ. 2539
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก (ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เกร็ด[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]