ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลเขาโจด

พิกัด: 14°39′44.4″N 99°20′33.3″E / 14.662333°N 99.342583°E / 14.662333; 99.342583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเขาโจด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Khao Chot
ถ้ำธารลอดน้อยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ห่างที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 100 เมตร
ถ้ำธารลอดน้อยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ห่างที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 100 เมตร
ประเทศไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด746.00 ตร.กม. (288.03 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด4,584 คน
 • ความหนาแน่น6.14 คน/ตร.กม. (15.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71220
รหัสภูมิศาสตร์710405
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลเขาโจด
ทต.เขาโจดตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี
ทต.เขาโจด
ทต.เขาโจด
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเขาโจด
พิกัด: 14°39′44.4″N 99°20′33.3″E / 14.662333°N 99.342583°E / 14.662333; 99.342583
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลเขาโจด)
 • 25 ธันวาคม 2539 (องค์การบริหารส่วนตำบลเขาโจด)
 • 6 กันยายน 2556 (เทศบาลตำบลเขาโจด)
พื้นที่
 • ทั้งหมด746.00 ตร.กม. (288.03 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด4,584 คน
 • ความหนาแน่น6.14 คน/ตร.กม. (15.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05710402
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 200 หมู่ที่ 4 ถนนปลักประดู่–ถ้ำธารลอด ตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 71220
เว็บไซต์www.khaochot.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขาโจด เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ เป็นตำบลที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีสถานที่และจุดเด่นที่สำคัญคือ ถ้ำธารลอดน้อย ถ้ำธารลอดใหญ่ น้ำตกไตรตรึงษ์ และน้ำตกธารเงิน-ธารทอง

น้ำตกไตรตรึงษ์ มีความสูง 3 ชั้น มีความสวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ลักษณะของน้ำตกเป็นหน้าผาสูงชัน ชั้นสูงสุดมีความสูงถึง 35 เมตร ในการเข้าชมน้ำตกต้องเดินลัดเลาะตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ถ้ำธารลอดน้อย - ถ้ำธารลอดใหญ่ผ่านหมู่แมกไม้นานาพรรณและความชุ่มชื้นริมห้วยกระพร้อย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลเขาโจดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านตีนตก (ปัจจุบัน) ถูกเรียกขานว่า หมู่บ้าน "เขาจด" ซึ่งหมายถึง หมู่บ้านที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา ไม่ว่าจะมองไปทางใดก็จะเห็นเป็นภูเขาที่ชนกัน หรือจดกัน จึงได้เรียกขานกันว่าหมู่บ้าน "เขาจด" และเพี้ยนมาเป็น "เขาโจด" จากนั้นได้นำชื่อหมู่บ้านดังกล่าว มาตั้งเป็นชื่อของตำบลเขาโจดในปัจจุบัน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลเขาโจดเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง สายโปว์ ได้อพยพมาจากหมู่บ้านเวียงสระ บ้านติงเจาะ และบ้านเฉาะกวย ส่วนสาเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเขาจดเป็นหมู่บ้านตีนตกนั้น ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการเผยแพร่ของผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ ทางการได้ส่งตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นมา โดยช่วงแรกชาวเขาส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ตำรวจตระเวนชายแดนได้ทำการสอนภาษาไทยและหนังสือให้กับชาวบ้านและเด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษาอย่างถูกต้องโดยใช้วัสดุไม้ไผ่สร้างโรงเรียน ครูตำรวจตระเวนชายแดนคนแรกคือ สิบตำรวจโทอภิชาต ชูธรรมญะ กับสิบตำรวจโทสมศักดิ์ ไทรทอง ช่วงที่ตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นมาในระยะแรกนั้น ต้องเดินเท้ามาจาก ตำบลนาสวน กว่าจะถึงตีนตกก็ต้องใช้เวลาถึง 2 วัน พักค้างกลางทางเป็นเวลา 1 คืน ซึ่งกว่าจะเดินทางมาถึง หมู่บ้าน ตำรวจตระเวนชายแดนเหล่านั้นก็เหนื่อยล้า เท้าระบมและเจ็บไปหมด ไม่สามารถเดินทางต่อไปอีกได้ จึง ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านตีนตก" เพราะว่าในช่วงนั้นไม่มีเส้นทางคมนาคม ชาวบ้านดั้งเดิมบริเวณนั้นอาศัยอยู่กัน มาเป็นเวลาประมาณ 250 ปี และอยู่อย่างกระจัดกระจายออกไป ไม่มีการอพยพ และได้ร่วมกันมาพัฒนาหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

ตำบลเขาโจดมีระยะทางห่างจากอำเภอศรีสวัสดิ์มากถึง 84.2 กิโลเมตร จึงใช้รหัสไปรษณีย์ของที่อำเภอหนองปรือ (รหัสไปรษณีย์ 71220) เพียงตำบลเดียว เนื่องจากมีระยะทางห่างจากอำเภอหนองปรือเพียง 14.4 กิโลเมตร

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลเขาโจดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านตีนตก (Ban Tin Tok)
หมู่ที่ 2 บ้านน้ำพุล่าง (Ban Namphu Lang)
หมู่ที่ 3 บ้านเกรียงไกร (Ban Kriangkrai)
หมู่ที่ 4 บ้านสามหลัง (บ้านท่า) (Ban Sam Lang)
หมู่ที่ 5 บ้านเขาเหล็ก (Ban Khao Lek)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่ตำบลเขาโจดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลเขาโจด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาโจดทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเขาโจดที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[1] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาโจดในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[2]

เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเขาโจดมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลเขาโจดได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเขาโจด[3] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และมีผลในวันที่ 6 กันยายน ปีเดียวกัน

ประชากร

[แก้]

พื้นที่ตำบลเขาโจดประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,584 คน แบ่งเป็นชาย 2,376 คน หญิง 2,208 คน (เดือนธันวาคม 2565)[4] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ในอำเภอศรีสวัสดิ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[5] พ.ศ. 2564 [6] พ.ศ. 256[7] พ.ศ. 2561[8] พ.ศ. 2560[9] พ.ศ. 2559[10] พ.ศ. 2558[11]
ตีนตก 1,311 1,301 1,312 1,307 1,288 1,282 1,271
สามหลัง 1,069 1,067 1,072 1,075 1,074 1,065 1,050
น้ำพุล่าง 1,048 1,030 1,019 989 969 960 954
เขาเหล็ก 644 654 654 609 587 582 570
เกรียงไกร 512 498 500 475 479 475 469
รวม 4,584 4,550 4,557 4,455 4,397 4,364 4,314

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีี เป็น เทศบาลตำบลเขาโจด". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 130: 1. วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]