องค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู

พิกัด: 15°11′44.6″N 98°27′40.0″E / 15.195722°N 98.461111°E / 15.195722; 98.461111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู
ด่านเจดีย์สามองค์
อบต.หนองลูตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี
อบต.หนองลู
อบต.หนองลู
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู
พิกัด: 15°11′44.6″N 98°27′40.0″E / 15.195722°N 98.461111°E / 15.195722; 98.461111
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
การปกครอง
 • นายกภูวดล รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,156.89 ตร.กม. (446.68 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด29,527 คน
 • ความหนาแน่น25.52 คน/ตร.กม. (66.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06710804
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 308 หมู่ที่ 3 ถนนหนองตะแคง–เจดีย์สามองค์ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240
เว็บไซต์www.hnongloo.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองลู เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของพื้นที่หมู่ 4–10 และบางส่วนของหมู่ 1–3 ของตำบลหนองลู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลวังกะ) ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เดิมได้รับการจัดตั้งเป็นสภาตำบลหนองลูใน พ.ศ. 2517[2] ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลูเมื่อปี พ.ศ. 2538[3] ในปี พ.ศ. 2565 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีประชากรทั้งหมด 29,527 คน

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลประมาณร้อยละ 70 อยู่ในพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาช้างเผือกของอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ประมาณร้อยละ 10 เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบระหว่างภูเขา และประมาณร้อยละ 20 เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์สามองค์ เดิมเป็นเพียงก้อนหินวางซ้อนกันสามกอง จึงเรียกที่แห่งนี้ว่าหินสามกอง เป็นที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไปก่อนที่จะเดินทางออกเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่าแต่ครั้งโบราณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 พระศรีสุวรรณคีรี (ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์) เจ้าเมืองสังขละบุรี ร่วมกับราษฎรในพื้นที่ก่อสร้างองค์เจดีย์ขึ้นบนหินสามกอง เจดีย์แต่ละองค์สูงประมาณ 6 เมตร ตั้งห่างกันประมาณ 5-6 เมตร ซึ่งในปี พ.ศ. 2546 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและพบฐานเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมที่ก่ออิฐอยู่ด้านใต้ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการสร้างเจดีย์องค์เดิมมาแล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระเจดีย์สามองค์เป็นโบราณสถานของชาติในปี พ.ศ. 2498

ด่านเจดีย์สามองค์เป็นเขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ในอดีตเป็นช่องทางเดินทัพของไทยและพม่า นักท่องเที่ยวสามารถข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซูในเขตพม่า โดยติดต่อทำเอกสาร/หลักฐานได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสังขละบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]