ตำบลท่ากระดาน (อำเภอศรีสวัสดิ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลท่ากระดาน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Tha Kradan
ที่ทำการเขื่อนศรีนครินทร์
ประเทศไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด480.00 ตร.กม. (185.33 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด6,136 คน
 • ความหนาแน่น12.78 คน/ตร.กม. (33.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71250
รหัสภูมิศาสตร์710404
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่ากระดาน เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ ไปรษณีย์อำเภอศรีสวัสดิ์ และโรงพยาบาลท่ากระดาน

เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้นบนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลท่ากระดานมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

ท่ากระดาน หรือเมืองท่ากระดาน มีประวัติการตั้งเป็นบ้านเมืองนานกว่า 200 ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองท่ากระดานเป็น 1 ใน 8 เมืองหน้าด่านขึ้นตรงต่อเมืองกาญจนบุรี ที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ในการทำสงครามกับกองทัพพม่า ครั้งเมื่อ พ.ศ. 2438 ทางราชการได้จัดการปกครองใหม่โดยที่เมืองท่ากระดานมีประชากรน้อยจึงได้ยุบเป็นหมู่บ้านขึ้นอยู่กับกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ และเหลือเพียงตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ ในลำดับต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ (เขื่อนบ้านเจ้าเณร) และต้องใช้พื้นที่บางส่วนที่จะใช้เป็นอ่างเก็บน้ำซึ่งบริเวณตำบลท่ากระดานก็อยู่ในพื้นที่ที่จะใช้เป็นอ่างเก็บน้ำทางราชการจึงได้อพยพราษฎร์มาอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ตั้งในปัจจุบัน

ท่ากระดานเป็นที่ตั้งของสุขาภิบาลเอราวัณ[1] เมื่อมีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ทำให้เป็นพื้นที่น้ำท่วม ประชาชนย้ายออกและไม่มีประชาชนอยู่ในเขตสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์เลย จึงยุบสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ลงในปี พ.ศ. 2522[2] พร้อมกับจัดตั้งสุขาภิบาลเอราวัณขึ้นแทน[3] ในท้องที่บ้านแก่งแคบ ของตำบลท่ากระดาน ที่มีประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์บางส่วนได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน

ในปี พ.ศ. 2534 ได้แยกพื้นที่หมู่ 6 บ้านปลายดินสอ ของตำบลท่ากระดาน ไปรวมกับ 5 หมู่บ้านของตำบลหนองเป็ด คือ หมู่ 3 บ้านน้ำมุด, หมู่ 6 บ้านต้นมะพร้าว, หมู่ 7 บ้านหาดแตง, หมู่ 8 บ้านแม่กระบุง, หมู่ 9 บ้านพุชะนี รวมตั้งเป็น ตำบลแม่กระบุง[4] เป็นตำบลลำดับสุดท้ายของทางอำเภอศรีสวัสดิ์

เขื่อนเจ้าเณร (เดิม) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีนครินทร์ มาขนานนามเขื่อน และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2524
อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีพื้นที่ 419 ตารางกิโลเมตร มีความจุมากถึง 17,145 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับเก็บน้ำสูง 180 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลท่ากระดานแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านท่ากระดาน (Ban Tha Kradan)
หมู่ที่ 2 บ้านท่ากระดาน (Ban Tha Kradan)
หมู่ที่ 3 บ้านเขาแก่งเรียง (Ban Khao Kaeng Riang)
หมู่ที่ 4 บ้านแก่งแคบ (Ban Kaeng Khaep)
หมู่ที่ 5 บ้านหม่องกระแทะ (Ban Mong Krathae)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลท่ากระดานมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเอราวัณ และองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระดาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากระดานทั้งหมด

นาฬิกาแดด บริเวณที่ทำการเขื่อนศรีนครินทร์

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลท่ากระดานประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,136 คน แบ่งเป็นชาย 3,126 คน หญิง 3,010 คน (เดือนธันวาคม 2565)[5] เป็นตำบลที่มีประชากรมากที่สุดในอำเภอศรีสวัสดิ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[6] พ.ศ. 2564[7] พ.ศ. 2563[8] พ.ศ. 2562[9] พ.ศ. 2561[10] พ.ศ. 2560[11] พ.ศ. 2559[12]
*แก่งแคบ 1,737 1,724 1,724 1,738 1,742 1,761 1,785
ท่ากระดาน (หมู่ 2) 1,341 1,345 1,337 1,320 1,316 1,307 1,309
ท่ากระดาน (หมู่ 1) 1,132 1,133 1,131 1,135 1,127 1,117 1,119
เขาแก่งเรียง 985 960 975 973 967 948 933
หม่องกระแทะ 940 937 927 915 910 911 901
*ทะเบียนกลาง 1 2 2 54 54 54 55
รวม 6,136 6,101 6,096 6,135 6,116 6,098 6,102

*หมู่บ้านแก่งแคบรวมประชากรทั้งเขตเทศบาลตำบลเอราวัณและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระดาน

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • สถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ จัดตั้งขึ้นในชื่อ สถานีตำรวจภูธรท่ากระดาน ต่อมาสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ได้ย้ายมาที่แทนที่สถานีตำรวจภูธรท่ากระดาน และจึงเปลี่ยนชื่อสถานีตำรวจภูธรท่ากระดานเป็นสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ในปี พ.ศ. 2530[13] โดยมีเขตอำนาจความรับผิดชอบในเขต 5 ตำบล 17 หมู่บ้าน ได้แก่ พื้นที่ตำบลท่ากระดานทั้งตำบล ตำบลหนองเป็ดทั้งตำบล ตำบลแม่กระบุงทั้งตำบล ตำบลนาสวน (เฉพาะพื้นที่หมู่ 3) และตำบลด่านแม่แฉลบ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 7)
  • โรงพยาบาลท่ากระดาน เป็นโรงพยาบาล 1 ใน 2 แห่งของอำเภอศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 187 หมู่ที่ 2 บ้านท่ากระดาน ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F2) จำนวนเตียงจริง 30 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข[14] จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอศรีสวัสดิ์ เปิดบริการในปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับการบริจาคที่ดินจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนศรีนครินทร์ เดิมชื่อโรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การสร้างเพื่อแทนโรงพยาบาลเดิม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ที่อยู่ห่างออกไปอีก 58 กิโลเมตรและมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์กั้น แต่เนื่องจากประชาชนมีความยากลำบากในการเดินทางจึงไม่สามารถปิดโรงพยาบาลเดิมได้ และเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลท่ากระดานตามชื่อตำบลที่ตั้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 3-4. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (145 ง): 2928. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเอราวัณ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (145 ง): 2926–2927. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–14. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (198 ง): 288–291. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530
  14. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 ณ มิถุนายน 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.