ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลแก่นมะกรูด

พิกัด: 15°15′02.3″N 99°10′01.2″E / 15.250639°N 99.167000°E / 15.250639; 99.167000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลแก่นมะกรูด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Kaen Makrut
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ตำบลแก่นมะกรูดตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี
ตำบลแก่นมะกรูด
ตำบลแก่นมะกรูด
ที่ตั้งของตำบลแก่นมะกรูด
พิกัด: 15°15′02.3″N 99°10′01.2″E / 15.250639°N 99.167000°E / 15.250639; 99.167000
ประเทศไทย
จังหวัดอุทัยธานี
อำเภอบ้านไร่
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,282.05 ตร.กม. (881.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนสิงหาคม 2566)[1]
 • ทั้งหมด2,363 คน
 • ความหนาแน่น1.04 คน/ตร.กม. (2.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 61140
รหัสภูมิศาสตร์610607
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แก่นมะกรูด เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ท้องที่เกือบทั้งหมดอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร และมีเนื้อที่ถึง 2,282.05 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 33.90 ของพื้นที่จังหวัด) เป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุทัยธานี

วัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลแก่นมะกรูด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

เดิมตำบลแก่นมะกรูด อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแม่กลอง จังหวัดอุทัยธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 มณฑลนครสวรรค์ได้ปรับเปลี่ยนเขตของอำเภอแม่กลองกับอำเภอหนองหลวง โดยให้ตำบลแก่นมะกรูด มาขึ้นกับทางอำเภอหนองหลวง[2] (เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอคอกควายในปี พ.ศ. 2460)[3] พ.ศ. 2468 ได้รับรวมกิ่งอำเภอห้วยแห้ง จากอำเภอบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท มารวมกับอำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี และย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านไร่ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคอกควาย เป็นอำเภอบ้านไร่[4] จึงกลายเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านไร่มาจนถึงปัจจุบัน

ตำบลแก่นมะกรูดตั้งอยู่ในเขตใต้สุดของภาคเหนือและเหนือสุดของภาคกลางที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก กะเหรี่ยง ละว้า ขมุ อยู่บนพื้นที่สูงในจังหวัดอุทัยธานี เป็นที่ตั้งโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูด โดยมีมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่ 9 ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีสวนดอกไม้และผลไม้เมืองหนาว นานาพรรณ ทั้งลิลลี่ ทิวลิป เบญจมาศหลากสี สตรอว์เบอร์รี ซาโยเต้ กาแฟ กะหล่ำปลีม่วง กะหล่ำปลีหัวใจ ผักสลัด และผักพื้นบ้านมากมาย เป็นต้น สวนพฤษศาสตร์ ถือเป็นสถานที่ยอดนิยมในช่วงฤดูหนาวที่นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยว สัมผัสอากาศหนาว เคล้าสายหมอกกับดอกไม้ผลไม้เมืองหนาวราวกับว่าได้ไปเยือนภาคเหนือตอนบน มีคำกล่าวที่ว่า “อำเภอบ้านไร่ บรรยากาศเชียงใหม่ ไม่ไกลกรุงเทพฯ”

กวางป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลแก่นมะกรูดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านใต้ (Ban Tai)
หมู่ที่ 2 บ้านตะละเซิง (Ban Talasoeng)
หมู่ที่ 3 บ้านใหม่คลองอังวะ (Ban Mai Khlong Angwa)
หมู่ที่ 4 บ้านอีมาดอีทราย (Ban I Mat I Sai)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ปัจจุบันตำบลแก่นมะกรูดทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ เดิมเป็นสภาตำบลแก่นมะกรูดซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] ต่อมาสภาตำบลแก่นมะกรูดถูกยุบรวมเข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ใน พ.ศ. 2547[6] เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน โดยในขณะนั้นท้องที่สภาตำบลแก่นมะกรูดมีประชากรเพียง 1,714 คน[7]

ประชากร

[แก้]

พื้นที่ตำบลแก่นมะกรูดประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,326 คน แบ่งเป็นชาย 1,236 คน หญิง 1,090 คน (เดือนธันวาคม 2564)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอบ้านไร่

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[9] พ.ศ. 2563 [10] พ.ศ. 2562[11] พ.ศ. 2561[12] พ.ศ. 2560[13] พ.ศ. 2559[14] พ.ศ. 2558[15]
ใหม่คลองอังวะ 701 692 689 677 664 649 646
อีมาดอีทราย 606 600 595 593 590 585 567
ตะละเซิง 554 545 537 521 511 501 493
ใต้ 465 459 445 438 425 419 411
รวม 2,326 2,296 2,266 2,229 2,190 2,154 2,117

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1347–1348. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2454
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบแยกและตั้งอำเภอในมณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 260–262. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03. วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2468
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 1–3. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
  7. "สถิติทางประชากรในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.