ตำบลไทรโยค
ตำบลไทรโยค | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Sai Yok |
แม่น้ำแควน้อยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,242.00 ตร.กม. (479.54 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 11,220 คน |
• ความหนาแน่น | 9.03 คน/ตร.กม. (23.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 71150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 710204 |
เทศบาลตำบลไทรโยค | |
---|---|
พิกัด: 14°27′18.2″N 98°51′43.2″E / 14.455056°N 98.862000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
จัดตั้ง | • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลไทรโยค) • 30 มกราคม 2539 (องค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยค) • 31 สิงหาคม 2555 (เทศบาลตำบลไทรโยค) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,242.00 ตร.กม. (479.54 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 11,220 คน |
• ความหนาแน่น | 9.03 คน/ตร.กม. (23.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05710205 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 183 หมู่ที่ 2 ถนนหนองตะแคง–เจดีย์สามองค์ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 |
เว็บไซต์ | saiyok |
ไทรโยค เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรโยค และมีพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลแห่งที่ 2 ของอำเภอไทรโยค คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลไทรโยคมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลลิ่นถิ่น (อำเภอทองผาภูมิ)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลลิ่นถิ่น (อำเภอทองผาภูมิ) และตำบลแม่กระบุง (อำเภอศรีสวัสดิ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลวังกระแจะ และตำบลท่าเสา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
ประวัติ
[แก้]ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จประพาสต้นทางชลมารคเหนือลำน้ำแควน้อยมาถึงน้ำตกไทรโยค ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีชื่อแต่อย่างใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรและเห็นต้นไทรที่ขึ้นอยู่ริมธารน้ำตก ซึ่งขณะนั้นถูกกระแสลมที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลมโยกข้าวเบา" พัดโยกไปโยกมา จึงตั้งชื่อน้ำตกว่า "น้ำตกไทรโยค" จากข้อมูลดังกล่าว น่าสันนิษฐานได้ว่า จากเหตุที่ธรรมชาติที่มีลมพัดต้นไทรโยกไปโยกมาจึงเป็นที่มาของน้ำตกไทรโยค จึงตั้งตำบลตามชื่อน้ำตกไทรโยคว่า "ตำบลไทรโยค"
"ไทรโยค" ชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นเมือง 1 ใน 7 ด่านของกาญจนบุรี ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลยและกะเหรี่ยงเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวน ด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุกและสิ่งอื่นๆแก่รัฐบาล โดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง ประกอบด้วยเมืองในแควน้อย 6 เมืองกับแควใหญ่ 1 เมืองคือ เมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ เมืองท่ากระดาน เมืองต่างๆ เหล่าน้ีผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้
- เมืองไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค ปัจจุบันเป็นต้นสกุล นิโครธา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ เมืองไทรโยคจึงได้ลดฐานะลงเป็น "อำเภอไทรโยค" ต่อมาไทรโยคได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2449 ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอทองผาภูมิ)[1][2] ในปี พ.ศ. 2467 ได้ยุบอำเภอสังขละบุรีลงเป็นกิ่งและตั้งอำเภอวังกะขึ้นแทน จึงให้โอนกิ่งอำเภอไทรโยคไปขึ้นกับอำเภอวังกะ (ปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี)[3] และให้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยคจากที่ตำบลไทรโยค ไปที่ตำบลแม่กระบาล
จนถึงปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอวังกะ จากตำบลแม่กระบาล ไปตั้งที่บ้านวังโพ ของตำบลลุ่มสุ่มและโอนย้ายกิ่งอำเภอไทรโยค ของอำเภอวังกะ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี[4] ก่อนที่จะจัดตั้งกิ่งอำเภอไทรโยคขึ้นเป็น อำเภอไทรโยค ในปี พ.ศ. 2506 โดยตั้งศูนย์ราชการทั้งหมดไว้ที่ตำบลลุ่มสุ่ม
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลไทรโยคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านแก่งประลอม | (Ban Kaeng Pralom) | ||||
หมู่ที่ 2 | บ้านท่าทุ่งนา | (Ban Tha Thung Na) | ||||
หมู่ที่ 3 | บ้านทุ่งก้างย่าง | (Ban Thung Kang Yang) | ||||
หมู่ที่ 4 | บ้านแก่งจอ | (Ban Kaeng Cho) | ||||
หมู่ที่ 5 | บ้านแม่น้ำน้อย | (Ban Mae Nam Noi) | ||||
หมู่ที่ 6 | บ้านดาวดึงส์ | (Ban Daowadueng) | ||||
หมู่ที่ 7 | บ้านวังนกแก้ว | (Ban Wang Nok Kaeo) | ||||
หมู่ที่ 8 | บ้านท่าเตียน | (Ban Tha Tian) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลไทรโยคมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลไทรโยค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรโยคทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลไทรโยคที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยคในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[6]
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยคมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยคได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลไทรโยค[7] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และมีผลในวันที่ 31 สิงหาคม ปีเดียวกัน
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลไทรโยคประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 11,220 คน แบ่งเป็นชาย 5,849 คน หญิง 5,371 คน (เดือนธันวาคม 2565)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอไทรโยค
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565[9] | พ.ศ. 2564[10] | พ.ศ. 2563[11] | พ.ศ. 2562[12] | พ.ศ. 2561[13] | พ.ศ. 2560[14] | พ.ศ. 2559[15] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าทุ่งนา | 2,882 | 2,887 | 2,838 | 2,793 | 2,760 | 2,735 | 2,723 |
วังนกแก้ว | 1,936 | 1,928 | 1,902 | 1,899 | 1,892 | 1,895 | 1,899 |
ทุ่งก้างย่าง | 1,368 | 1,333 | 1,286 | 1,274 | 1,280 | 1,297 | 1,284 |
แก่งประลอม | 1,341 | 1,342 | 1,313 | 1,286 | 1,276 | 1,271 | 1,253 |
ท่าเตียน | 1,220 | 1,209 | 1,138 | 1,107 | 1,083 | 1,067 | 1,061 |
แก่งจอ | 1,067 | 1,071 | 1,031 | 1,008 | 1,005 | 1,001 | 987 |
แม่น้ำน้อย | 819 | 808 | 813 | 799 | 791 | 789 | 765 |
ดาวดึงส์ | 587 | 594 | 556 | 551 | 549 | 547 | 544 |
รวม | 11,220 | 11,172 | 10,877 | 10,717 | 10,636 | 10,602 | 10,516 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ และย้ายอำเภอสังขละบุรีมาตั้งที่เมืองท่าขนุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (53): 1332. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2449
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ ย้ายที่ว่าการอำเภอสังขละมาตั้งที่ท่าขนุน คงเรียงว่าอำเภอสังขละและที่ว่าการอำเภอสังขละเดิม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่ากิ่งอำเภอวังกะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (5): 92. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
- ↑ "ประกาศ เรื่อง จัดการเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 75–76. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2467
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค และเปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอและเขตต์ตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1912–1913. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีี เป็น เทศบาลตำบลไทรโยค". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 129: 1. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.