ตำบลไล่โว่
ตำบลไล่โว่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Lai Wo |
แม่น้ำซองกาเลียรอยต่อตำบลไล่โว่กับตำบลหนองลู | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | สังขละบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,723.98 ตร.กม. (665.63 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 6,257 คน |
• ความหนาแน่น | 3.63 คน/ตร.กม. (9.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 71240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 710803 |
องค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่ | |
---|---|
พิกัด: 15°11′17.3″N 98°28′36.4″E / 15.188139°N 98.476778°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | สังขละบุรี |
จัดตั้ง | • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลไล่โว่) • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.ไล่โว่) |
การปกครอง | |
• นายก | สมชาย วุฒิพิมลวิทยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,723.98 ตร.กม. (665.63 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565)[1] | |
• ทั้งหมด | 6,257 คน |
• ความหนาแน่น | 3.63 คน/ตร.กม. (9.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06710803 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 49 หมู่ที่ 1 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240 |
เว็บไซต์ | www |
ไล่โว่ เป็น 1 ใน 3 ตำบลของอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตำบลที่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรีมากที่สุดถึง 215 กิโลเมตร และเป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรีถึง 1,723.98 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 1,077,847.5 ไร่ (ร้อยละ 8.85 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด)
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลไล่โว่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่จัน (อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปรังเผล และตำบลหนองลู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลชะแล (อำเภอทองผาภูมิ)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองลู และสหภาพพม่า
ประวัติ
[แก้]ในอดีตชาวกะเหรี่ยงจากพม่าอพยพเข้ามาในไทย มีคำบอกเล่าว่าในสมัยกรุงธนบุรีช่วงปี พ.ศ. 2317 ชาวกะเหรี่ยงจากหมู่บ้านเมกะวะในเขตเมืองเมาะละแหม่ ได้อพยพเข้ามาอยู่ในทุ่งใหญ่เซซาโว่ (ปัจจุบันคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร หรือเขตมรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร) เพราะโดยนิสัยแล้วชาวกะเหรี่ยงนั้นรักสงบ หลีกเลี่ยงสงคราม ชาวกะเหรี่ยงจึงเลือกที่จะตั้งที่อยู่อาศัยลึกเข้าไปในป่าใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2364 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ได้ช่วยกับขับไล่ทหารพม่าออกจากสยามพระเจ้าแผ่นดินสยามจึงได้แต่งตั้งหัวหน้ากะเหรี่ยงให้เป็นเจ้าเมืองสังขละบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระศรีสุวรรณคีรี" โดยที่ตั้งของเมืองสังขละบุริเดิม คือ บ้านเสน่ห์พ่อง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีพระศรีสุวรรณคีรี เป็นเจ้าเมืองสืบทอดตำแหน่งกันมา 5 ท่าน จนกระทั่งมีการปรับปรุงระเบียบการปกครองท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ 5 ลดฐานะเมืองสังขละบุรีเป็นอำเภอ พระศรีสุวรรณดูริที่ (ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์) รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนแรกของสังขละบุรี แต่เดิมแยกเป็น 2 ตำบล โดยถือลำน้ำกษัตริย์เป็นเส้นแบ่งการปกครอง คือ
- ตำบลไล่โว่ อยู่ตอนใต้ของลำน้ำกษัตริย์ กำนันปกครองติดต่อกันมาจนปัจจุบัน คือ กำนันยงไหล่ กำนันเวียแตะ กำนันเท่ห์นง กำนันเจี่ยนุ กำนันเองบ่า กำนันซ่าวิ กำนันบวร เสตะพันธ์ กำนันคาจง เสตะพันธ์ กำนันไมตรี เสตะพันธ์ กำนันอานนท์ เสตะพันธ์ และกำนันไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์
- ตำบลลังกา อยู่ตอนเหนือของลำน้ำกษัตริย์ กำนันปกครองติดต่อกันมา 4 คน คือ กำนันเมียะเพิ่ง กำนันท่องเก กำนันไป่เยาะเอง กำนันปวยแตะ และกำนันก้องนุ
ระหว่างที่พระศรีสุวรรณคีรีที่ 4 (ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์) เป็นนายอำเภอสังขละบุรี พ.ศ. 2438-2467) มีหลักฐานปรากฏว่าที่บริเวณหมู่บ้านก่องเผิงลำน้ำปะคะไหลลงสู่ลำน้ำกษัตริย์ มีการจัดตั้งสถานีตำรวจเพื่อบริการประชาชนในตำบลไล่โว่ และตำบลลังกา ในปีพ.ศ. 2482 ตำบลลังกาถูกยุบมารวมกับพื้นที่ตำบลไลโว่ จึงเป็นตำบลไล่โว่ตำบลเดียวกระทั่งปัจจุบัน คำว่า "ไล่โว่" เป็นภาษากะเหรี่ยง มีความหมายว่า "หินแดง หรือผาแดง"
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลไล่โว่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านเสน่ห์พ่อง | (Ban Sane Phong) | |||||||||
หมู่ที่ 2 | บ้านกองม่องทะ | (Ban Kong Mongta) | |||||||||
หมู่ที่ 3 | บ้านเกาะสะเดิ่ง | (Ban Ko Sadoeng) | |||||||||
หมู่ที่ 4 | บ้านไล่โว่ | (Ban Lai Wo) | |||||||||
หมู่ที่ 5 | บ้านทิไล่ป้า | (Ban Thi Lai Pa) | |||||||||
หมู่ที่ 6 | บ้านจะแก | (Ban Chakae) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลไล่โว่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไล่โว่ทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลไล่โว่ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[2] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลไล่โว่ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3]
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลไล่โว่ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,257 คน แบ่งเป็นชาย 3,310 คน หญิง 2,947 คน (เดือนธันวาคม 2565)[4] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอสังขละบุรี
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565[5] | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563[7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] | พ.ศ. 2559[11] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กองม่องทะ | 1,662 | 1,651 | 1,633 | 1,567 | 1,552 | 1,525 | 1,505 |
จะแก | 1,540 | 1,521 | 1,512 | 1,470 | 1,428 | 1,406 | 1,368 |
เสน่ห์พ่อง | 1,187 | 1,179 | 1,157 | 1,082 | 1,054 | 1,033 | 1,026 |
ทิไล่ป้า | 842 | 825 | 819 | 780 | 761 | 743 | 722 |
ไล่โว่ | 657 | 645 | 642 | 590 | 581 | 562 | 547 |
เกาะสะเดิ่ง | 369 | 362 | 361 | 357 | 355 | 351 | 336 |
รวม | 6,257 | 6,183 | 6,124 | 5,846 | 5,731 | 5,620 | 5,504 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.