ตำบลอินทขิล
ตำบลอินทขิล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Inthakhin |
คุ้มหลวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | แม่แตง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 118.57 ตร.กม. (45.78 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 13,119 คน |
• ความหนาแน่น | 110.64 คน/ตร.กม. (286.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 50150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 500613 |
อินทขิล เป็นตำบลของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีความลาดชันป่าไม้สมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ มีพื้นที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา[2][3] กับเทศบาลตำบลอินทขิล
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลอินทขิลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[4]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่นะ (อำเภอเชียงดาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านเป้า
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลช่อแล และตำบลแม่หอพระ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสันมหาพน ตำบลแม่แตง และตำบลกื้ดช้าง
ประวัติ
[แก้]อินทขิล เดิมเป็นที่ตั้งของอำเภอแม่แตง ในปี พ.ศ. 2437 ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านวังแดง ตำบลอินทขิล เรียกว่า แขวงเมืองแกน มีพ่อแคว่นพรหม (กำนันพรหม) กำนันคนแรกของตำบลอินทขิลเป็นผู้ปกครอง ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2439 ได้ย้ายไปตั้งที่บ้านแม่กะ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่แตง โดยชื่อ อินทขิล[5] หมายถึง เสาหรือหลักหน้าประตูเมืองหรือหลักเมือง ในหนังสือตำนานเมืองเชียงใหม่เรียกว่า สะดือเมือง หรือ เสาอินทขิล สำหรับเสาหลักเมืองนครเชียงใหม่
พ.ศ. 2511 พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกำนันตำบลช่อแล กำนันตำบลอินทขิล ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ได้พิจารณาพื้นที่ทั้งตำบลช่อแล และบางส่วนของตำบลอินทขิล เป็นพื้นที่ตั้งของชุมชน ตลาด โรงสี สถานีบ่มใบยา จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา[6] ส่วนเขตตำบลอินทขิลเฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลได้จัดตั้งเป็นสภาตำบลอินทขิล ปี พ.ศ. 2516[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลอินทขิล (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา) อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลอินทขิล[8] และต่อมาในปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[9] ด้วยผลของกฎหมาย
พ.ศ. 2549 เขตตำบลช่อแล และบางส่วนของตำบลอินทขิล ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา มี 16 หมู่บ้าน พื้นที่ 24.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 13,766 คน และ 5,074 ครัวเรือน[10] รายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 11,034,554 บาท ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา นายอำเภอแม่แตง และนายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมือง และได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ในปี พ.ศ. 2550[11]
ปี พ.ศ. 2557 นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศแยกพื้นที่หมู่บ้านในอำเภอแม่แตง โดยแบ่งพื้นที่หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตั้งเป็น 1 หมู่บ้านใหม่ชื่อว่า หมู่ 19 บ้านห้วยฝักดาบ[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตเทศบาลเมืองเมือนแกนพัฒนา (เฉพาะตำบลอินทขิล) และเขตตำบลอินทขิล (นอกเขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (22 ง): 913–915. วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 124: 1. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มีนาคม ปีเดียวกัน
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 66 ง): 130–160. วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
- ↑ ความหมายของอินทขิล - ประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (22 ง): 913–915. วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (เขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 124: 1. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มีนาคม ปีเดียวกัน
- ↑ "ประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 122 ง): 35–37. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557