ตำบลบางตะไนย์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ตำบลบางตะไนย์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bang Tanai |
พิกัด: 13°55′10.7″N 100°29′43.08″E / 13.919639°N 100.4953000°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°55′10.7″N 100°29′43.08″E / 13.919639°N 100.4953000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | ปากเกร็ด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 4.12 ตร.กม. (1.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 5,541 คน |
• ความหนาแน่น | 1,344.90 คน/ตร.กม. (3,483.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 11120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 120605 |
![]() |
ตำบลบางตะไนย์ เป็นหนึ่งในสิบสองตำบลของอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในภาคกลางของประเทศไทย
ประวัติ[แก้]
ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา บางตะไนย์อาศัยอยู่อย่างเป็นปึกแผ่นโดยชาวมอญจำนวนมาก พวกเขาอาศัยพื้นที่ตามแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น บางคูวัด ใน จังหวัดปทุมธานี
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 พื้นที่ตรงนี้ก็ร้างไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญกลับมาอาศัยอดีตหมู่บ้านแห่งนี้ ใน พ.ศ. 2365 ชาวมอญจำนวนมากอพยพจากพม่า เข้ามาอาศัยในสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้พวกเขาอาศัยที่บางตะไนย์ บางพูด และคลองบ้านแหลมใหญ่ ซึ่งพวกเขาอาศัยที่นี่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อ "บางตะไนย์" หมายถึง "พื้นที่ที่ปลูกต้นข่อย" ในภาษามอญเรียกพืชสายพันธุ์นี้ว่า "คะไน" แต่ไทยเรียกเพี้ยนเป็น "ตะไน" คำว่า "บาง" ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "หมู่บ้านเล็ก ๆ หรือชุมชนที่ตั้งอยู่ริมน้ำ"
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตำบลบางตะไนย์ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตอนกลางของอำเภอปากเกร็ด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลคลองข่อย และตำบลบางคูวัด (อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี) มีแนวกึ่งกลางคลองสัมปะทอง แนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างตำบลบางตะไนย์กับตำบลคลองข่อย แนวรั้วโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ และแนวกึ่งกลางคลองบางตะไนย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางพูด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปากเกร็ด ตำบลเกาะเกร็ด และตำบลคลองพระอุดม มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบ้านแหลมเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลคลองพระอุดม มีแนวกึ่งกลางคลองบ้านแหลมเหนือ คลองตามิ่ง และคลองสัมปะทองเป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ตำบลบางตะไนย์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านตาล
- หมู่ที่ 2 บ้านน้อย
- หมู่ที่ 3 บ้านเตยหรือบ้านตำหนัก
- หมู่ที่ 4 บ้านแหลม
- หมู่ที่ 5 บ้านแหลมเหนือ
โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางตะไนย์ทั้งตำบล
เศรษฐกิจ[แก้]
ชาวบ้านตำบลบางตะไนย์ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม สินค้าพื้นบ้าน ได้แก่ งานหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ข้าวหมาก
สถานที่ที่น่าสนใจ[แก้]
- วัดเตย
- วัดตาล
- วัดตำหนักเหนือ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอปากเกร็ด". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |