ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ/กรุ 4

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุ 1 กรุ 2 กรุ 3 กรุ 4

ชื่อภาษาจีน

การอภิปรายในส่วนนี้ย้ายมาจาก พูดคุย:จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน

ถ้าจะเอาชื่อจีนกลาง บทความนี้ควรใช้ชื่อว่า จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน มิใช่ จักรพรรดินีหวู่เจ๋อเทียน เพราะว่า wu ออกเสียงเป็น อู --Octra Dagostino 16:44, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)

แก้แล้วครับ แต่ว่าด้วยชื่อนี้มีข้อสังเกตสองประการครับ

  1. ทำไมไม่ใช้ชื่อ บูเช็กเทียน ตามที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักครับ
  2. วรรณยุกต์กับไม่ไต่คู้ เวลาถอดเสียงภาษาต่างประเทศหลายๆ ภาษาเราไม่ค่อยได้ใช้กัน และระบบราชบัณฑิตก็ไม่นิยมให้ใส่ อันนี้วรรณยุกต์เพียบเลย ไม่ทราบว่าระบบไหนครับ มีเวลารบกวนร่างวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อ เพิ่มเติมหน่อยครับ อ่านในนั้นแล้วมันยังกว้างๆ ครับ เวลาเอาไปใช้ต่างกันแล้วอาจหาข้อสรุปลำบาก--taweethaも 18:57, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)

ถ้าคุณไม่รู้จักภาษาจีนผมจะบอกให้ ภาษาจีนต้องมีวรรณยุกต์อยู่แล้วครับ เหมือนภาษาไทย วรรณยุกต์ผิดความหมายก็ผิด ดูที่ การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน Famefill ได้แนะนำว่าชื่อบุคคลจากแผ่นดินใหญ่ควรใช้ภาษาจีนกลาง เพราะสมัยนั้นก็มีจีนกลางแล้ว ไม่เอาสำเนียงแต้จิ๋วที่เรียกกันเฉพาะเมืองไทย จะยกข้อความในหน้าพูดคุยมา

สวัสดีครับผมได้อ่านข้อความที่คุณส่งให้แล้ว และต้องขอขอบคุณ แต่ผมเห็นว่าชื่อที่ผมเปลี่ยนไปนั้นเป็นชื่อของคนจีนและในสมัยนั้นจีนก็ใช้ ภาษาจีนกลางแล้ว(ประดิษฐ์ใช้มาตั้งแต่ราชวงศ์ซางเมื่อ4000กว่าปีมาแล้วและ ได้รับการปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน) แต่ที่ภาษาจีนที่คนไทยได้รับมานั้นคือภาษาจีนแต้จิ๋วซึ่งใช้พูดกันแค่ทางภาค ใต้ของจีน และภาษาจีนกลางเป็นภาษาทางราชการของจีน สมัยนี้เวลาแปลจากหนังสือจีนก็ใช้ภาษาจีนกลางในการแปลแล้ว จึงขอให้คุณลองทบทวนดูอีกครั้ง

--Octra Dagostino 19:08, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)


โอเคครับเรื่องวรรณยุกต์ เพิ่งนึกได้ว่าหลายภาษาก็มีวรรณยุกต์เหมือนไทย และบางภาษามีมากกว่าซะอีก แต่ที่ผมรู้สึกเป็นปัญหาคือหน้า วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อ ในข้อนี้ครับ

ใช้คำอ่านแบบไทยที่ใกล้เคียงที่สุดของภาษาจีนสำเนียงอื่น เช่น ภาษาจีนกวางตุ้ง สำเนียงแต้จิ๋ว หากคำอ่านนั้นเป็นที่นิยมกว่า ไม่นำพินอินที่อ่านเป็นภาษาอังกฤษมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น ziyi พินอินต้องอ่านเป็น จืออี (อาจต่างวรรณยุกต์) แต่ภาษาอังกฤษอ่านเป็น ซิยี่

ก็น่าจะได้ถือโอกาสปรับปรุงไปซักทีครับ --taweethaも 19:26, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)


ผมอธิบายเฉพาะเรื่องภาษาจีนกลางครับ ถ้าจะถามว่า ทำไมไม่ใช้ชื่อ บูเช็กเทียน ตามที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก คงต้องแยกประเด็นใหม่ ลองถามคุณ Famefill ถ้าถามผม ผมก็อยากได้ชื่อที่นิยมมากกว่า ผมไม่เคยรู้จักจักรพรรดินีพระองค์นี้มาก่อนเลยจนกระทั่งได้ดูละครทีวี บูเช็กเทียน เลยไม่รู้ว่านิยมจริงหรือเปล่า --Octra Dagostino 19:32, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)

ปล.สำเนียงแต้จิ๋วมีวรรณยุกต์ 8 เสียง --Octra Dagostino 19:38, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)


ผมมีความเห็นด้วยกับการที่จะใช้ชื่อบทความนี้ว่า จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน เพราะผมเห็นว่าบทความจักรพรรดิจีนองค์อื่นๆนั้นใช้ภาษาจีนกลาง เช่น จักรพรรดิซ่งเหรินจงแต้จิ๋วเรียก จักรพรรดิซ้องหยินจง ,จักรพรรดิฮั่นเกาจู่แต้จิ๋วเรียก จักรพรรดิฮั่นโกโจ ผมจึงเห็นว่าสมควรใช้ชื่อบทความนี้ว่า จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน แต่ถ้าเห็นว่าควรที่จะใช้ชื่อบทความนี้ว่า จักรพรรดินีบูเช็กเทียน ผมก็ไม่มีอะไรที่ขัดข้อง ขออภัยที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและต้องขออภัยอย่างยิ่งที่ไปตั้งชื่อบทความนี้ว่า จักรพรรดินีหวู่เจ๋อเทียน -- Famefill 15.40 22 มิถุนายน 2552


  • ถ้าอย่างนั้น "ซูสีไทเฮา" ก็ต้องเปลี่ยนเป็น "ฉือสี่ไท้โฮ้ว" และ "เปาบุ้นจิ้น" ก็เป็น "เปาเหวินเจิ่ง" เป็นต้น ล่ะสิ
  • สาเหตุที่บางบทความใช้จีนกลาง เพราะชื่อนั้นไม่ปรากฏว่าแพร่หลายในสมัยเดิมที่นิยมแต้จิ๋ว เราจึงทับศัพท์ตามจีนกลางซึ่งเป็นที่นิยมในขณะนี้, ส่วนบางชื่อ เช่น "เปาบุ้นจิ้น" อะไรนี่ เป็นที่แพร่หลายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่ง "นายวรรณ" แปลวรรณกรรมเรื่อง "เปากงอั้น" เข้ามาตีพิมพ์แล้ว ส่วน "ซูสีไทเฮา" ก็เป็นบุคคลในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้น ซึ่งในขณะนั้นนิยมแต้จิ๋ว
  • เค้าเห็นด้วยว่าชื่อที่เป็นที่แพร่หลายอยู่แล้วก็ควรเรียกไปตามเดิมนะ และหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯ เองก็ยอมรับหลักการเช่นนี้, เพราะไม่เช่นนั้นจะมีหลายชื่อเลยที่ใช้ไปแล้วคนอ่านที่เป็นชาวไทยจะงงเต้กและวุ่นวาย เช่น
  • เสนอว่าชื่อจีนที่นิยมมาแต่โบราณแล้วใช้ตามที่นิยมดีกว่า และควรระบุสำเนียงอื่นไว้ด้วย, ส่วนชื่อในชั้นปัจจุบัน เช่น จาง จื่ออี๋ นี่ใช้จีนกลางจะดีกว่า (หรือจะตามนิยมว่า "จาง ซิยี่" ก็แล้วแต่จะเห็นควร)

—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก กรกฎาคมมาส สัปตวีสติมสุรทิน, ๑๖:๓๖ นาฬิกา (GMT+7)


ขอเสนอดังนี้ครับ

  1. อาจต้องย้ายไปคุยที่วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อ
  2. ในบทความ ควรบอกชื่อทุกแบบ เช่น พระถังซัมจั๋ง กับ พระถังเสวียนจั้ง หรือ ขงเบ้ง กับ ขงหมิง คนอ่านจะได้รู้ว่าเวลาไปพูดกับคนต่างชาติ ชื่อที่เป็นสากลอ่านอย่างไร ผมมีปัญหาเวลาจะสื่อสารกันคนอื่นเกี่ยวกับตัวละครในสามก๊กหรือเปาบุ้นจิ้น เพราะว่าเราไม่สามารถเรียกตัวละครเป็นภาษาจีนกลางได้ถูกต้อง
  3. ชื่อบทความที่บอกว่าตั้งตามความนิยมของคนไทยสำหรับชื่อที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทยก่อนแล้ว เห็นด้วยในประเด็นนี้ แต่ว่าต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ได้แก่
    • ราชบัณฑิต
    • Google hits ของคำดังกล่าวที่มากกว่า คำในภาษาจีนกลาง
    • ละคร? สมมติว่ามีละครตามกระแสมา จะนับด้วยไหม

ลองพิจารณาดูแล้วกันครับ รบกวนอย่างเพิ่งรีบผลีผลามแก้ชื่อกันไปจนกว่าจะคุยตรงนี้เสร็จ และถ้าเป็นไปได้อยากให้รบกวนสำรวจชื่อที่เข้าข่ายว่าจะมีปัญหาสับสนมาด้วยจะได้จัดการกันไปทีเดียว --taweethaも 13:27, 28 กรกฎาคม 2552 (ICT)


  • การกำหนดหลักการตั้งชื่อในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์มาก เพื่อไม่ให้เกิดมีกรณีว่าจะใช้ชื่อไหน ทั้ง ๆ ที่มีชื่อหนึ่งเป็นที่นิยมอยู่แล้ว หรือปรากฏในพจนาุนกรมไทยหรือประกาศของทางราชการไทยแล้ว เช่น
  • ส่วนที่ว่า "สำรวจชื่อที่เข้าข่ายว่าจะมีปัญหาสับสน" นั้นคงทำได้ยาก เพราะมีมาก แค่ตัวละครในเรื่องสามก๊กก็มีหลายร้อยแล้ว ไหนจะเรื่องไซอิ๋ว รวมถึงชื่อเทพเทวดา ปีศาจ ยักษ์ ตัวละครอื่น ๆ ตลอดจนสามานยนามและวิสมานยนามอื่น ๆ อีก สู้เราแก้ไขหลักการตั้งชื่อแล้วค่อยไล่ปรับปรุงเอาจะดีกว่านะ
  • ปรกติในบทความเรื่องจีน ๆ ก็มีการระบุสำเนียงไว้หลาย ๆ สำเนียงอยู่แล้วนินา ขอสนับสนุนการทำเช่นนี้ด้วยค่ะ

—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก กรกฎาคมมาส อัษฏวิงศติมสุรทิน, ๑๓:๔๔ นาฬิกา (GMT+7)


เห็นด้วยกับผ้ใช้หลายๆท่านที่ว่าให้ลงชื่อบุคคลจีนทั้งด้วยสำเนียงจีนกลาง และสำเนียงที่มีคนไทยนิยมใช้เรียกชื่อบุคคลนั้น(กวางตุ้ง,แต้จิ๋ว) เพื่อให้สะดวกต่อการค้นคว้าชื่อ โดยไม่สับสนว่าใครเป็นใคร

--Wishgan kingdom 13:20, 30 กรกฎาคม 2552 (ICT) เด็กใหม่ไร้อารยะคร้าบ


ประเด็นที่ใกล้เคียงกันและพบวันนี้คือ ยามาดะ นางามาซะ ชื่อตามหลักการทับศัพท์เป็นอย่างหนึ่ง และชื่อที่ใช้มาแต่สมัยอยุธยาก็อีกอย่างหนึ่ง และ แตงแตง ชื่ออ่านตามฝรั่งเศสเป็นอย่างหนึ่ง หนังสือไทยเอามาพิมพ์เป็นอีกอย่าง นอกจากนี้ยังมีพวกการ์ตูนญี่ปุ่นอีกด้วยที่สำนักพิมพ์มักจะใส่สระเสียงสั้นยาวตามที่อ่านสะดวกไม่ใช่ตามรูปคำแต่เดิม

จึงเสนอว่าอาจพิจารณาประกอบกันกับเรื่องชื่อจีนไปให้ง่ายเลยเป็นว่า ชื่อที่มีปัญหาแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่

  • ชื่อที่เจ้าของภาษาเรียก (และใช้หลักการทับศัพท์ทำให้กลายเป็นภาษาไทย บางครั้งอาจมีการรวมไว้ในพจนานุกรมไทยแล้วด้วย)
  • ขื่อที่คนไทยเรียก (ที่เขียนกันเป็นที่ยอมรับกันมา อาจมาจากการเรียกผิดๆ ของคนไทย หรือ สำเนียงท้องถิ่นเช่นแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ไหหลำ จีนแคะ ฯลฯ หรือการออกเป็นหนังสือใช้เรียกขานกันมา ไม่ว่าโดยสำนักพิมพ์ นักแปล หรือนักวิชาการ บางครั้งอาจมีการรวมไว้ในพจนานุกรมไทยแล้วด้วย)

แล้วพิจารณากันว่าควรใช้ชื่อประเภทใดกับบทความใด เพราะเหตุผลอะไร แบบนี้อาจจะง่ายกว่า--taweethaも 14:07, 2 สิงหาคม 2552 (ICT)



ใช้จีนกลางมันก็ดีเวลาไปคุยกับคนอื่น แต่คุยกับคนไทยด้วยกันบางคนก็ไม่รู้เรื่อง ไอคำไม่ซับซ้อนเช่น ฉินสื่อหวงตี้ ยังพอเข้าใจ ไปเจอแคว้นสู่ฮั่น (จ๊กก๊ก) ซึ่งคนละแนวอาจจะใบ้ไปเลย แต่โดยส่วนตัวนั้นเห็นด้วยกับการส่งเสริมให้ใช้สำเนียงที่ถูกต้อง เพราะก็เคยเห็นสำเร็จกันมาบางส่วนแล้ว เช่นชื่อเรียกมณฑลประเทศจีนฝ่ายใต้ จากที่เคยเห็นเรียก มณฑลกุยจิ๋ว ฮุนหนำ กวางตุ้ง และกวางใส ก็เป็นกุ้ยโจว ยูนนาน กว่างตง กว่างซี แล้ว --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 02:12, 8 สิงหาคม 2552 (ICT)

แต่กระนั้น เพื่อไม่ให้ผู้อ่านงง ก็ใช้วิธีเขียนกำกับอย่างที่ใช้กับบทความอื่นๆเช่น

ฉินสื่อหวงตี้ หรือที่มักเรียกกันว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็น บลาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


บางครั้งก็อย่าตามมาก ดูกระแสท้องถิ่นด้วยเช่น

อุรุมชี (อุยกูร์: ئۈرۈمچی, จีนตัวย่อ: 乌鲁木齐, จีนตัวเต็ม: 烏魯木齊, ออกเสียงแบบจีน: อูหลู่มู่ฉี ) ฯลฯ ~ ~ ~


อะไรประมาณนี้ --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 02:23, 8 สิงหาคม 2552 (ICT)

มาเพิ่มอีก นึกขึ้นได้ ถ้าคิดว่าคำที่ไทยเรียกมันเป็นที่นิยมอยู่แล้ว หมายถึงนิยมกันจริงๆพูดไปใครก็รู้เช่น บูเช็กเทียน ขงเบ้ง อะไรนี้ ควรใช้ เพราะภาษามันต้องมีการรับส่งต่อกันไป ภาษาญี่ปุ่นยังมีคำหลายคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น แล้วพูดในสำเนียงตัวเอง ดังนั้น ให้คำนึงถึงวัฒนธรรมเป็นหลักดีกว่า แต่ต้องหาที่มาด้วยว่าเราเอามาจากไหน เช่น จีนใต้ (จะ ฮกเกี้ยน แคนโทนีส หมิ่นหนาน ก็ว่าไป) ไม่อย่างนั้นแล้ว อะไรๆ ก็คงต้องเรียกให้ถูกตามเจ้าของภาษาหรือครับ ผมว่ามันไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะว่าเป็นพหุสังคม สังคมหนึ่งเรียกอย่างหนึ่ง อีกสังคมเรียกอีกอย่าง สุดท้ายให้หาชื่อกลาง ที่ คนที่พูด ภาษาไทย ใช้มากที่สุด เพราะนี่คือ สารานุกรมภาษาไทย ไม่ใช่สารานุกรมภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษ --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 23:25, 21 สิงหาคม 2552 (ICT)

เรื่องเสียง ch ในภาษาญี่ปุ่น

เอาแค่จังหวัดก่อน ใช้แบบไหนดีครับ?

  • chiba ชิบะ/จิบะ
  • tochigi โทะชิงิ/โทะจิงิ
  • kouchi โคชิ/โคจิ
  • aichi ไอชิ/ไอจิ

ส่วนตัวชอบใช้ ch = จ จาน มากกว่า แต่ถ้าจะใช้ ช ช้าง ก็ควรจะไปไล่แก้ให้หมดจริงไหมครับ--Oakyman 17:22, 24 สิงหาคม 2552 (ICT)

เชิญที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น ดีกว่านะครับ เพราะถ้าตรงนั้นยอมรับได้ ตรงนี้ก็ใช้ได้ การใช้ภาษาญี่ปุ่นไม่เกี่ยวกับการตั้งชื่อโดยตรง แต่เกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมด --Octra Dagostino 17:26, 24 สิงหาคม 2552 (ICT)

ชื่อบทความที่ใช้ภาษาอื่น

ช่วงนี้พบว่ามีการใช้ภาษาอื่นตั้งชื่อบทความค่อนข้างมาก นัยว่าต้องการคงความเป็นต้นฉบับหรือเหตุผลอื่นใดก็ไม่อาจทราบได้ จึงคิดว่าน่าจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มันชัดเจนหน่อย จึงเรียนมาเพื่อทราบครับ --Horus | พูดคุย 22:37, 9 กรกฎาคม 2553 (ICT)

"ช่วงนี้" ผมไม่เห็นว่ามากนะครับ ความเป็นต้นฉบับไม่ใช่เหตุผลหลัก แต่สาเหตุหลักอยู่ที่ไม่มีการทับศัพท์ที่เหมาะสม หรือทับศัพท์ไม่ได้ เพราะอาจอ่านได้หลายแบบ

  • ตัวอย่างง่าย ๆ ก็ดูจากอักษรละติน คนไทยมักอ่านชื่ออักษรตามภาษาอังกฤษ เอ บี ซี ดี อี เอฟ จี เพราะเราเรียนกันมาอย่างนั้น แต่ในภาษาอื่นก็อ่านต่างออกไป เช่นภาษาฝรั่งเศส อา เบ เซ เด เออ แอฟ เช ไม่สามารถถือเอาภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นหลักได้เพราะภาษาอื่นก็ใช้เหมือนกัน จึงคงรูปไว้เช่นนั้น (หากตั้งเฉพาะภาษาอาจมีปัญหากับอักษรเติมแต่งที่ใช้ในภาษาอื่น) แต่อักษรกรีกหรืออักษรอาหรับมีชื่อเดียวในทุกภาษา จึงแทนได้ทันที แต่มีข้อพิจารณาเพิ่มเติมคือ ชุดอักษรเมื่อตั้งชื่อแบบใดไปแล้ว ก็ต้องตั้งให้เหมือนกันหมดทั้งชุด อักษรย่อและชื่อโดเมนต่าง ๆ (.uk .th .tk) ก็ต้องคงไว้ ด้วยเหตุผลเดียวกัน
  • ตัวเลขต้องคงไว้เพราะตัวเลขก็อ่านแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา ตัวอย่าง Vitamin B12, Coenzyme Q10 ภาษาอังกฤษอ่านว่า บีทเวลฟ์, คิวเท็น แต่ภาษาไทยอาจจะอ่านว่า บีสิบสอง, คิวสิบ ก็ได้ จึงควรคงรูป บี12, คิว10 ไว้เช่นนั้น และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ก็ใช้กับเลขโรมัน หรือแม้แต่เลขไทย เว้นแต่เลขโรมันหลังชื่อพระมหากษัตริย์ที่เรามีธรรมเนียมว่าให้ใช้ ที่ 1 ที่ 2 ฯลฯ ต่อท้ายพระนาม
  • เครื่องหมายต่าง ๆ เช่นขีด จุด วงเล็บ หรืออื่น ๆ ถ้าอ่านไม่ได้หรือไม่อ่าน ควรคงไว้ให้เหมือนต้นฉบับ แม้ว่าจะทับศัพท์ไปแล้ว เพื่อไม่ให้สับสนกัน
  • กรณีท้ายสุดคือการคงรูปไว้เพื่อรอผลการอภิปรายการทับศัพท์ ว่าจะใช้แบบใด

นอกเหนือจากนี้คงไม่จำเป็นต้องคงไว้ (ไม่รู้ว่าหมดหรือยัง) เพราะเราสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ในเนื้อหา หรือชื่ออื่น ๆ ก็สามารถทำหน้าเปลี่ยนทางได้ --octahedron80 13:11, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)

มีกรณีของชื่อสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่มีชื่อสามัญ ยังให้ใช้ชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ได้อยู่ครับ (มีระบุในกฎเกณฑ์ในหน้าหลักการฯ แล้วครับ)
ปล. และอยากบอกว่าในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์การแพทย์มีปัญหากับการตั้งชื่อบทความภาษาไทยมากครับ เพราะชื่อเฉพาะภาษาไทยที่จะใช้เป็นชื่อบทความหลักยังไม่เป็นที่นิยม และไม่มีสถาบันรับรองทางการนอกจากราชบัณฑิตยสถาน จึงจำเป็นต้องใช้ตำราบางเล่มที่พอจะใช้ยึดได้ เช่น ICD-10 ฉบับประเทศไทยสำหรับชื่อโรค เป็นต้น · Dr.Garden · คุยกันได้! · 14:49, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)
ผมคิดว่าสำหรับหลายบทความ ไม่มีชื่อที่ดีที่สุด หากเรามีชื่อที่ดีกว่า (ที่มีเหตุผลและหลักฐานอ้างอิงประกอบ) ก็เปลี่ยนชื่อบทความไปได้เลยครับ หลายๆ อย่างก็เปลี่ยนแปลงตัวสะกดไปตามสมัยนิยมและกาลเวลาด้วย จึงไม่น่าเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องกังวล
ทางออกในระยะยาวน่าจะเป็นการแก้ไขชื่อบทความในโครงการเดียวกันไปพร้อมๆ กันให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าครับ เช่น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ชื่อตัวละครในวรรณคดีต่างประเทศ (เช่น สามก๊ก) ฯลฯ --taweethaも 14:57, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ที่ผมเรียนมาให้พิจารณานี่เป็นเพราะเห็นว่ามีผู้เขียนบางคนคงภาษาอังกฤษไว้ อาจจะเป็นเพราะไม่รู้จะอ่านเป็นภาษาไทย หรือไม่ก็เหตุผลอื่น ผมจึงคิดไว้ว่า อะไรที่ยังไม่มีศัพท์บัญญัติในภาษาไทย จะทับศัพท์เป็นภาษาไทยแทนที่คงไว้เป็นภาษาอังกฤษจะดีกว่าไหม อย่างนี้แหละครับ แต่หลักการอื่น ๆ ก็ขอความเห็นด้วยละกันครับ --Horus | พูดคุย 19:53, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ผมเพิ่งนึกขึ้นได้อีกอย่างหนึ่ง บทความเกี่ยวกับชื่อฟังก์ชันหรือคำหลักต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมเช่น goto, do-while, for, eval, ?: ซึ่งเป็นบทความที่ผมอาจเขียนในอนาคตถัดจากภาษาซี ผมเห็นว่าให้คงไว้เพราะมันเป็นรหัสต้นฉบับ (source code) ไม่มีการเขียนเป็นภาษาอื่นนอกจากอักษรละติน WPภาษาอื่นก็คงไว้ซึ่งชื่อฟังก์ชันหรือคำหลักนั้นเช่นกัน--octahedron80 21:46, 10 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ถ้าไม่มีอะไรเพิ่มเติมงั้นผมสรุปเลยนะครับ

  • ตัวอักษรที่อ่านแตกต่างกัน ไม่สามารถถือเอาภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นหลัก ให้คงรูปต้นฉบับ ไม่รวมถึงอักษรที่มีชื่อเดียวในทุกภาษา (กรีกและอาหรับ) ให้แทนคำอ่านได้ทันที ชุดอักษรเมื่อตั้งชื่อแบบใดแล้วก็ควรตั้งชื่อเหมือนกันทั้งชุด รวมทั้งอักษรย่อและชื่อโดเมน
  • ตัวเลขคงไว้ เว้นแต่เลขโรมันตามหลังพระนามพระมหากษัตริย์
  • เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ถ้าอ่านไม่ได้หรือไม่อ่าน ควรคงไว้ตามต้นฉบับ
  • หากไม่เข้าข่ายดังนี้และไม่สามารถถอดเป็นภาษาไทยได้ อาจคงไว้ทั้งหมด
  • หลายบทความสามารถเปลี่ยนชื่อได้ตามเหตุผลและหลักฐานอ้างอิง ทั้งนี้ ชื่ออาจเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม
  • ฟังก์ชันเขียนโปรแกรมให้คงไว้ตามต้นฉบับ

เท่านี้นะครับ --Horus | พูดคุย 21:58, 17 กรกฎาคม 2553 (ICT)

บทความชื่อไฟล์เฉพาะด้วยครับ เช่น math.h กับพวกคำสั่งต่างในบรรทัดคำสั่งเช่น cat cd chmod chown chgrp ส่วนพวกแป้นบนคีย์บอร์ดต่างๆ เช่น Escape Tab Caps lock Control-Alt-Delete ผมเห็นว่าให้ควรคงไว้ (ไทยยังไม่เคยมีบทความเหล่านี้มาก่อน) --octahedron80 12:40, 24 กรกฎาคม 2553 (ICT)

ชื่อจริงหรือชื่อในวงการ

มีการใช้ทั้งสองอย่างให้เห็น คิดว่าน่าจะสรุปให้ใช้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเปล่าครับ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าควรใช้ชื่อจริงเป็นหลัก แล้วทำชื่อในวงการเป็นหน้าเปลี่ยนทางอีกทีหนึ่ง --Horus | พูดคุย 23:19, 10 กันยายน 2553 (ICT)

ประเด็นของผมคือ ชื่อ นักกีฬาอย่าง เขาทราย แกแล็คซี่, en:Yodsaenklai Fairtex (ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์) หรือนักมวยปล้ำอย่าง เรย์ มิสเตริโอ จูเนียร์ ที่ประเทศไหนๆก็ใช้กัน กับนามปากกาหรือนามแฝงที่ไม่อาจบ่งชี้ได้แน่ชัดของศิลปินหรือนักเขียนอย่าง en:Shinkiro, en:O. Henry สามารถยกเว้นเป็นกรณีๆไปได้หรือไม่ครับ --B20180 10:19, 11 กันยายน 2553 (ICT)
ผมจะไม่ตัดสินในเรื่องนี้ด้วยตัวเองหรอกนะครับ กำลังรอความเห็นจะหลาย ๆ คน --Horus | พูดคุย 11:00, 11 กันยายน 2553 (ICT)
อย่างบรู๊ซ ลี เฉินหลง หม่ำ จ๊กมก เท่ง เถิดเทิง ก็เป็นฉายาทั้งนั้นครับ ไม่ใช่ชื่อจริง หรือ บิล คลินตัน ก็ไม่ใช่ชื่อเต็มของเขา ผมไม่สรุปว่าจะให้ใช้ชื่อจริงเพียงอย่างเดียว เพราะฉายาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากกว่า หลักเกณฑ์ก็บอกไว้เช่นนั้น หลักการทั่วไปคือให้ใช้ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ดูตัวอย่างจาก en:Wikipedia:Article titles#Common names แต่หากเป็นที่รู้จักหลายชื่อ ก็ต้องอภิปรายว่าชื่อใดดังมากกว่ากันเป็นกรณีไป อาจจะใช้ฉายาล่าสุด มีการกล่าวถึงมากสุด หรือช่วงที่มีผลงานมากที่สุด เป็นต้น เอาจำนวนมาวัดกัน สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทยอาจเขียนส่วน Common names เพิ่มขึ้นมาเพื่ออธิบายกรณีนี้ --octahedron80 14:31, 11 กันยายน 2553 (ICT)
ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ได้ครับ ตอนนี้หายข้องใจแล้ว --Horus | พูดคุย 18:46, 11 กันยายน 2553 (ICT)
ที่บอกว่าหลายชื่อนี้ไม่นับชื่อที่สะกดหลากหลายนะครับ มันเป็นแค่ variant เมื่อเลือกชื่อที่ดังที่สุดได้แล้ว จะเกิดประเด็นถัดไปเพื่อพิจารณาว่าสะกดอย่างไร ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้--octahedron80 16:47, 12 กันยายน 2553 (ICT)

เรื่องการสะกดนี่มีปัญหามาหลายคนแล้วไม่ใช่หรือครับ อย่าง ไอ. เอ็ม. เพ, เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ฯลฯ ส่วนตัวแล้วเห็นว่าควรสะกดตามภาษาท้องถิ่นที่บุคคลนั้น ๆ เกิด --Horus | พูดคุย 17:02, 12 กันยายน 2553 (ICT)

ผมบอกแล้วว่าการสะกดไม่เกี่ยวกับนโยบายนี้ คุณจั่วหัวว่าจะใช้ชื่อจริงหรือชื่ออื่นใช่หรือไม่ กรุณาอย่าเพิ่งออกนอกประเด็นครับ --octahedron80 17:04, 12 กันยายน 2553 (ICT)

นึกได้อีกอย่าง ชื่อเล่น (nickname) ตัดทิ้งได้เลย ไม่เอามาตั้งชื่อบทความแน่นอน (ชื่อเล่นกับฉายาไม่เหมือนกัน) --octahedron80 00:25, 14 กันยายน 2553 (ICT)

การตั้งชื่อหมวดหมู่-บทความศาสนา

--octahedron80 16:12, 12 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ชื่อนิยม (นอกจากบุคคล)

จากหลักการตั้งชื่อบทความ มีส่วนที่ว่าด้วยการตั้งชื่อบทความบุคคลให้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด จึงคิดว่าน่าจะรวมเอาบทความประเภทอื่นเข้าไปด้วย เช่น ชื่อสถานที่ องค์กร ฯลฯ --Horus | พูดคุย 15:26, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)

ปกติก็น่าจะเป็นแบบนั้นอยู่แล้วนิครับ แต่ที่จะถามอยู่พอดี (น่าจะเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้) คือ ประเทศ Myanmar ตอนนี้ราชบัณฑิตยสถานให้ใช้ชื่อเรียกทั่วไปได้ทั้ง พม่า และ เมียนมาร์ ส่วนชื่อทางการให้ใช้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ อย่างเดียว แล้วในนี้จะใช้ชื่อบทความว่าอะไรครับ --Potapt 19:06, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)
ถ้าใช้ชื่อนิยม พม่านำมาอยู่แล้วครับ แต่ผมอยากจะทราบเหตุผลว่าคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชื่อตามสำเนียงภาษาถิ่นเป็นชื่อบทความ จะได้ดูว่าควรใช้ชื่อนิยมหรือเปล่า --Horus | พูดคุย 19:24, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)
หมายถึงการสะกดชื่อจากคำที่เขียนแบบเดียวกันเหรอครับ มีตัวอย่างมั้ยว่าคุณกำลังพูดถึงบทความแบบไหนอยู่--Potapt 19:37, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)

อย่างเช่น เมดินะ กับ ตาลีบัน น่ะครับ (ขออภัยที่ยกตัวอย่างใกล้ตัวขึ้นมา) ผมเห็นว่าการถอดชื่อเป็นภาษาถิ่นดูจะไม่ใช่ชื่อที่ใคร ๆ ใช้มากนัก --Horus | พูดคุย 19:42, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)

ทีแรกผมเข้าใจว่า ประเด็นจะไปในแนว "ระหว่าง Mecca กับ Makkah จะใช้แบบไหน" แต่ถ้าหมายถึงกรณีแบบนี้ สำหรับผมก็มีแต่เหตุผลเดิม ๆ ไม่ว่าจะภาษาอะไร คือ ใช้ตามหลักของราชบัณฑิตครับ ตัวสะกดพวก ฎ ฏ ศ ษ เป็นการทับศัพท์เสียงในภาษาอาหรับที่ไม่มีในภาษาไทย ไม่ใช่สำเนียงถิ่น มันไม่ถูกอักขรวิธีดั้งเดิมเท่าไหร่ แต่ก็เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการและกลุ่มคนที่เขารู้ภาษานั้นน่ะครับ ผมเห็นว่าถ้าจะให้วิกิพีเดียมีความน่าเชื่อถือก็ควรจะสะกดให้เป็นระเบียบแบบแผนและใกล้เคียงกับความเป็นจริง อย่าง "เมดินะ" กับ "ตาลีบัน" หรือชื่ออื่น ๆ ตามความนิยมนั้นไม่ตรงกับการออกเสียงในภาษาอาหรับหรือแม้แต่ในภาษาอังกฤษด้วยซ้ำไป (หมายถึง ยังสามารถใช้ตัวอักษรอื่นสะกดได้ใกล้เคียงกว่า) แต่ถ้าเป็นชื่อที่ใช้กันจนติดในภาษาแล้วจริง ๆ อย่าง หอไอเฟล กับ แอมแปร์ เนี่ยผมก็ไม่ได้ไปเปลี่ยน --Potapt 20:10, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)
คือผมเห็นว่าบางอย่างที่มีการเปลี่ยนชื่อไปก็ใช้กันเยอะครับ เพราะชื่อนิยมบางอย่างก็ไม่ตรงกับภาษาอังกฤษ และราชบัณฑิตเช่นกัน (ex. แก๊สโซลีน) --Horus | พูดคุย 20:27, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)
แก๊สโซลีน ก็อยู่ในกลุ่มเดียวกับหอไอเฟล กับ แอมแปร์ นี่แหละครับ ผมถึงได้ไม่ไปยุ่งอะไร นี่คือลักษณะของ "คำที่ใช้ตามที่นิยมกัน" ในความเห็นของผม ส่วนบทความที่ผมเปลี่ยนชื่อไปนั้นเห็นว่าไม่ได้ใช้กันจนติดมากขนาดนั้น แต่ก็ยอมรับว่าไม่มีเกณฑ์อะไรวัด --Potapt 20:32, 8 ตุลาคม 2554 (ICT)

ชื่อนิยม ในส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลนั้นรู้จักในชื่อใดมากกว่า เช่น โจอี้ บอย หรือ อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต ก็ใช้ว่า โจอี้ บอย เพราะรู้จักมากกว่าชื่อจริง ส่วนชื่อสถานที่ องค์กร ฯลฯ ที่คุณว่า หากเป็นภาษาต่างประเทศก็ควรใช้หลักการทับศัพท์ --Sry85 14:23, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)

เท่าที่ใช้กัน การทับศัพท์นี่จะทับจากภาษาถิ่น แต่มีบ้างที่คนรู้จักจากภาษาอังกฤษ หรือมีการแผลงไป จึงนำมาเสนอเพื่อพิจารณา --Horus | พูดคุย 14:26, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)

อย่างชื่อ อัลญาซีรา และ อัลญาซีราอิงลิช ก็ควรทับศัพท์ตามหลักการทับศัพท์ ไม่ควรใช้ความนิยม เพราะไม่เช่นนั้น พวกชื่อนักฟุตบอลที่ นักพากย์ หรือหนังสือพิมพ์ ที่มักสะกดอย่าง ลิโอเนล เมสซี่ ก็ไม่ถูกต้องตามหลัก ยกเว้น ชื่อบริษัท ก็ใช้ตามที่จดทะเบียนหรือ ชื่อภาพยนตร์ ที่มีการตั้งชื่อภาษาไทย ถึงแม้จะสะกดผิดไม่ถูกตามหลักก็ใช้ชื่อนั้น --Sry85 14:38, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)

สำนักข่าวเขาก็น่าจะมีจดทะเบียนเหมือนกัน ส่วนเกณฑ์การเลือกทับศัพท์ เห็นว่าถ้าชื่อนิยมกับชื่อตามหลักทับศัพท์ต่างกันมาก ควรใช้ชื่อนิยม แต่ถ้าใกล้กันอยู่ก็จะใช้อย่างใดก็ได้ --Horus | พูดคุย 14:43, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
หมายถึง การจดทะเบียนในไทย อย่างเช่น เบเกอรี่มิวสิค เขาจดทะเบียนในชื่อนี้จริง ๆ ทั้งที่ ควรสะกด เบเกอรีมิวสิก จึงใช้ชื่อที่แม้สะกดผิดไม่ตรงตามหลัก ส่วน อัลญาซีรา และ อัลญาซีราอิงลิช มีบริษัทในไทยด้วยเหรอครับ ชื่อนิยมวัดไม่ได้อยู่แล้วครับ สื่อยังเขียนไม่เหมือนกันเลย บางคนใช้ อัลจาซีร่า บางคนใช้ อัลญาซีร่า สะกดไม่เหมือนกันสักอัน ดังนั้นควรใช้ตามหลักการทับศัพท์ครับ --Sry85 14:48, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
สำหรับเรื่องเสียง จ หรือ ญ ยังมีเค้าว่าจะเป็นคำเดิมอยู่ (อัล_าซีรา) แต่คำที่ทับศัพท์ภาษาถิ่นเลย มันจะเป็น __ซีเราะห์ ซึ่งคงไม่ค่อยรู้จักมาก ส่วนปัญหาที่ว่ามีชื่อคล้ายกันคล้ายชื่อ จะยึดผลการค้นหาในกูเกิลได้หรือเปล่าครับ --Horus | พูดคุย 14:53, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
กูเกิลคงไม่สามารถนำมาอ้างว่าอันไหนนิยมกว่าอันไหนได้ การทับศัพท์ มีเกณฑ์ให้ใช้อยู่แล้ว อันไหน เสียง ญ อันไหน เสียง จ อันไหน ควรมีไม้เอกมั๊ย เขาถึงกำหนดกฎเกณฑ์การทับศัพท์มาใช้ --Sry85 15:08, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
มีกฎเกณฑ์มันก็ดีอยู่ครับ แต่บางอย่างมันก็เป็นชื่อนิยมจริง ๆ อย่างตัวอย่างข้างต้น "คอมพิวเตอร์" กับ "คีย์บอร์ด" ก็ใช่ --Horus | พูดคุย 15:13, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
ถ้าชื่อนั้นนิยมจริง ก็คงมีในพจนานุกรม ราชบัณฑิตคงไม่ถึงขนาดไม่ยอมรับชื่ออื่น อันนี้ไม่เถียงเรื่องความนิยม --Sry85 15:21, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
ตัวอย่างครับ (คำว่า เมดินะ) --Horus | พูดคุย 15:26, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
เมดินะ ที่คุณใช้ก็ไม่ตรงกับที่คุณอ้างมานะครับ ส่วนของผมพจนานุกรมฉบับชื่อภูมิศาสตร์สากล ใช้คำว่า เมดีนา หรือ อัลมะดีนะห์ (พิมพ์ปี พ.ศ. 2550) --Sry85 15:36, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
ครับ แต่ก็มีคำว่า "เมดีนา" ใช่ไหมครับ --Horus | พูดคุย 15:42, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
มีคำว่า เมดีนา ครับ แต่ไม่มีคำว่า เมดีนะ อย่างแน่นอน --Sry85 15:56, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)

สะกดผิดครับ ตอนนี้ใช้ "เมดีนา" --Horus | พูดคุย 15:58, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)

แล้วกรณีชื่อวิทยาศาสตร์ที่เป็นภาษาละตินละคะ มีใช้ทั้งแบบถอดเป็นคำอ่านภาษาไทย กับแบบที่ใช้ตรงตามต้นฉบับ (เป็นภาษาละติน) ทั้งที่แบบใช้ตามต้นฉบับถูกต้องกว่า (คนละอย่างกับการใช้ชื่อสามัญไทย กับชื่อวิทย์ ซึ่งควรใช้ชื่อสามัญ) อย่าง สแทฟฟิโลคอกคัส กับ Staphylococcus อยากเปลี่ยนกลับ แต่ก็เกรงใจ--PAHs 14:58, 9 ตุลาคม 2554 (ICT)
ที่จริงชื่อวิทยาศาสตร์ เท่าที่เห็นตามเอกสารต่าง ๆ เขาก็ไม่ทับศัพท์กันครับ เขียนเป็นอักษรละตินตัวเอียงไปเลย ส่วน Taliban ถ้าไม่ชอบตัวสะกด ฏอลิบาน ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ใหม่ อย่างน้อยก็น่าจะสะกด ตอลิบาน ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์เก่าซึ่งค้นดูแล้วก็ใช้กันเยอะเหมือนกัน หรือจะสะกดตามการออกเสียงภาษาอังกฤษก็เป็น แทลิแบน หรือ ทาลิบาน ไป ถ้าสะกดว่า ตาลีบัน เนี่ย ถึงจะใช้ตามความนิยมก็จริง แต่มันจะไม่เป็นการตอกย้ำหรือเผยแพร่อะไรผิด ๆ ไปหรือครับ --Potapt 15:46, 10 ตุลาคม 2554 (ICT)
คือ ผมเห็นว่าหลักการดังกล่าวในหน้าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเขาบอกไว้ว่า The choice of article titles should put the interests of readers before those of editors, and those of a general audience before those of specialists. (ผู้อ่านมาเป็นอันดับแรก) ดังนั้น ถ้าเราทราบหรือมีแนวโน้มว่าชื่อใดเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด ก็น่าจะใช้ชื่อนั้น หรือว่าอย่างไรครับ --Horus | พูดคุย 19:07, 12 ตุลาคม 2554 (ICT)
ผมคิดว่าข้อนั้นไม่น่าจะครอบคลุมถึงการทับศัพท์เป็นอักษรไทยครับ เช่น Taliban ไม่ว่าจะสะกดว่าตอลิบาน ตาลีบัน หรือฏอลิบาน มันก็คือชื่อเดียวกัน เพราะทับศัพท์มาจากรูปคำเดียวกัน เพียงแต่วิธีสะกดต่างกันเท่านั้น ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคงไม่มีปัญหาแบบนี้ เพราะชื่อบทความไม่ว่าเป็นภาษาอะไรจะสะกดด้วยอักษรละตินเหมือนกันหมด ไม่ใช้ชุดอักษรอื่น ที่เขาบอกไว้แบบนั้นน่าจะสื่อความถึงข้อถกเถียงเรื่องชื่อสถานที่ที่มีชื่อเรียกต่างกันในหลายภาษาหรือในหลายสถานการณ์ ว่าควรจะใช้ชื่อไหนดี เช่น ระหว่าง East Timor / Timor-Leste; Burma / Myanmar; Seville / Sevilla; La Coruña / A Coruña / Corunna แบบนี้มากกว่า เพราะทั้งเก้าชื่อนี้ก็ถือว่าเป็นชื่อที่ถูกทั้งหมด (ในแง่ที่ว่า เป็นที่ยอมรับได้ในการสื่อสารจริง) เลยต้องมาดูว่าแบบไหนมีจำนวนผู้ใช้มากกว่ากัน ปัญหาการใช้ชื่อบทความแบบนี้จึงไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับการถอดเสียงอย่างในวิกิพีเดียภาษาไทย --Potapt 00:30, 13 ตุลาคม 2554 (ICT)

บรรดาศักดิ์

ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ตกลงกันว่าบรรดาศักดิ์ควรอยู่ในชื่อบทความบุคคลหรือไม่ เพราะมีทั้งที่ปรากฏบรรดาศักดิ์และไม่ปรากฏ จึงขอหยิบเรื่องนี้มาอภิปรายครับ --Horus | พูดคุย 13:24, 28 ตุลาคม 2555 (ICT)

ในกรณีของ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน, สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาล เจีย ซีม, สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน ผมมองว่าควรจะตั้งชื่อบทความเป็น ฮุน เซน, เจีย ซีม และ เฮง สัมริน แทน (ไม่ต้องมีสมเด็จฯ นำหน้า โดยเทียบเคียงกับกรณีของ ท่านผู้หญิง และ คุณหญิง ที่ใช้เพียงแค่ชื่อจริงและนามสกุลเป็นชื่อบทความ เช่น ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา, ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เนื่องจากเป็นสามัญชน หรือจะเทียบเคียงกับกรณีของ Sir Winston Churchill, Baroness Margaret Thatcher และ Sir John Major เป็นต้น
ในขณะเดียวกันคุณ Horus มองว่าเป็นกรณีของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เลยต้องการทราบว่าเห็นกันอย่างไรครับ --V i P (พูดคุย) 14:19, 28 ตุลาคม 2555 (ICT)
ผมไม่มีความเห็นครับ แค่ใช้ต่อจากผู้เขียนรุ่นก่อน ๆ --Horus | พูดคุย 14:56, 28 ตุลาคม 2555 (ICT)

บทความมีเป็นพันเป็นหมื่นเลยที่มีบรรดาศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็น พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ราชนิกุลต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ บางคนใช้บรรดาศักดิ์เรียกแทนตัว (ไม่มีชื่อด้วยซ้ำไป) กรุณาคิดให้ดีก่อนนะครับ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะลุกลามไปถึงสิ่งอื่น ๆ อันเนื่องมาจากพระนาม จะเกิดดราม่าไม่จบสิ้น ดังนั้นผมเห็นว่าระบบปัจจุบันมันก็ดีอยู่แล้ว --浓宝努 20:40, 28 ตุลาคม 2555 (ICT)

คุณหญิง และท่านผู้หญิงไม่ใช่บรรดาศักดิ์ เป็นเพียงคำนำหน้านามสตรี (พระราชกฤษฎีกา คำนำหน้านามสตรี พ.ศ. 2460 กล่าวไว้ว่า "สตรีที่มีสามีบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศด้วยแล้ว ให้ใช้คำว่า "ท่านผู้หญิง" เป็นคำนำ ประกอบด้วยราชทินนามของสามี") เหมือนกับคำว่า คุณ นาย นาง นางสาว หรือหม่อม (ภริยาเจ้าที่มาจากสามัญชน) เหมือนในกรณีการเขียนอ้างอิงก็จะตัดคำนำหน้าชื่อตามปกติ และตำแหน่งวิชาการออกไป ส่วนยศตำรวจ-ทหารก็จะไว้ท้ายชื่อ ตรงนี้เห็นว่าให้ตัดคำนำหน้านามเหล่านี้ออกไปจากชื่อบทความได้ กรณีของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ้างถึงบทความบรรดาศักดิ์ขุนนางไทย 10 ระดับรวมทั้งบรรดาศักดิ์ ท้าว เจ้าจอม เจ้าคุณจอม ฐานันดรศักดิ์ และตำแหน่งนักบวช การตัดบรรดาศักดิ์จากชื่อบทความอาจสร้างความสับสนกรณี

๑) บุคคลคนนั้นไม่มีนามสกุล มีชื่อเหมือนหรือคล้ายคลึงกับบุคคลคนอื่นที่บรรดาศักดิ์ต่างกัน สร้างความสับสนได้
๒) ตำรา หนังสือ พงศาวดารด้านประวัติศาสตร์เรียกนามบรรดาศักดิ์มากกว่าชื่อ นามสกุล ทำให้การสืบค้นที่ต้องอิงหลักฐานปฐมยภูมิ ทุติยภูมิเป็นไปได้ยากขึ้น

ลองตัดบรรดาศักดิ์ออกจะเหลือราชทินนานาม เช่น พหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หรือใช้ชื่อ-สกุลจะเหลือ พจน์ พหลโยธิน

กรณีตัดบรรดาศักดิ์ ราชทินนานาม คงเหลือแต่ชื่อ ถ้าบุคคลไม่มีนามสกุล เช่น ทองอิน ต้องมาดูอีกว่าหมายถึงใครอีก เจ้าพระยานครราชสีมาหรือเจ้าพระยาพลเทพ 2 บุคคลนี้ก็ชื่อทองอินเหมือนกัน ทำให้เกิดบทความแยกย่อยโดยไม่จำเป็นเช่น เจ้าพระยาจักรี จะไม่เกิดบทความแยกย่อยแบบนั้นถ้าเขียนในรูปแบบ (เฉพาะขุนนาง) (บรรดาศักดิ์) + (ราชทินนานาม) + (ชื่อ หรือชื่อ-สกุล) เพราะกะทัดรัด ได้ใจความ ตรงประเด็นที่สุดดี เหมือนหลายๆ บทความในหมวดหมู่บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา ผมมีความเห็นว่าประวัติศาสตร์ หนังสือ ตำราเรียกกันมาอย่างไรก็ให้ตั้งชื่อบทความตามนั้น ยกเว้นคำนำหน้าชื่อปกติตัดออกจากชื่อบทความได้ หรือใช้การเขียนอ้างอิง การเขียนบรรณานุกรมเป็นเหตุผลประกอบในการตั้งชื่อบทความจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด เดี๋ยวจะเกิดการถกเถียงไม่รู้จบว่าเอกสารวิชาการเค้าเขียนแบบนี้ ทำไมต้องไปเปลี่ยนให้สับสนวุ่นวาย Quantplinus (พูดคุย) 20:44, 28 ตุลาคม 2555 (ICT)

ดิฉันคิดว่าอาจจะเกิดความสับสนระหว่าง บรรดาศักดิ์ กับ คำนำหน้านาม มังคะ เพราะ สมเด็จอัครมหา... นับเป็นบรรดาศักดิ์ แต่ท่านผู้หญิง/คุณหญิง จัดเป็นเพียงคำนำหน้านามเท่านั้นคะ ดังนั้น จึงไม่น่าจะเอามาเทียบเคียงกันได้ แต่ถ้าต้องการเทียบเคียงบรรดาศักดิ์ สมเด็จอัครมหา... ของกัมพูชา อาจจะเทียบเคียงกับ สมเด็จเจ้าพระยา... ของสยาม ยังจะเหมาะกว่านะคะ อีกอย่างบรรดาศักดิ์ก็ไม่เกี่ยวกับการเป็นสามัญชนหรือเป็นเจ้านะคะ--ฉัตรา (พูดคุย) 21:43, 28 ตุลาคม 2555 (ICT)
  1. อาจมีความสับสนดังกล่าวเกิดขึ้นถ้าจะตีความข้อเสนอของคุณ Horus ตามตัวอักษร แต่ถ้าจะตีความตามเจตนา ซึ่งผมดูจากตัวอย่างที่ยกมาสามบทความเป็นบุคคลของกัมพูชา ชื่อบทความเป็นภาษาไทยยาวมาก มีคำหรือวลีปรากฏอยู่หน้าชื่อยาวกว่าชื่อเสียอีก ถามว่าเหมาะไหม ควรไหม - ตรวจดูไปที่ภาษาอังกฤษเขาก็เขียนสั้นๆ เพียงแต่ชื่อเท่านั้น แม้ในภาษากัมพูชา ก็เขียน ហ៊ុន សែន (ฮุน เซน)ហេង សំរិន (เฮง สัมริน) ผมจึงเห็นว่าเราอาจมีปัญหาต้องแก้ไขในจุดนี้ (อย่างไรก็ดีอยากให้ขุดการอภิปรายเก่าเรื่องที่เราตกลงเขียนชื่อเกี่ยวกับรัฐต่างประเทศโดยอาศัยหลักของสำนักพระราชวัง/กระทรวงการต่างประเทศมาพิจารณาประกอบ เข้าใจว่าเป็นเรื่อง duke นะครับ)
  2. ส่วนที่เหลือ ผู้แสดงความคิดเห็นท่านอื่นมองว่า en:Wikipedia:If it ain't broke, don't fix it ไม่พัง(พินาศ)ไม่ต้องซ่อม ผมก็คล้อยตามครับ ยกเว้นในส่วนของข้อ 1 ผมคิดว่ามันพังอยู่ อาจพอซ่อมได้ตามควร - ประเทศไทยเพิ่งใช้นามสกุลกันมาได้ไม่นาน ย้อนไปในอดีตไม่มีนามสกุลก็ต้องใช้ราชทินนาม ชื่อหรือนามเรียกขานอื่นประกอบเพื่อบ่งบอกบุคคล ในบางประเทศหรือวัฒนธรรม บางทีเขาเรียกอย่างอื่น เช่น อาชีพ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เป็นส่วนหนี่งของอัตลักษณ์บุคคลแทนชื่อสกุลก็มี (ดู พลินิผู้อาวุโส เป็นต้น) ดังนั้นเรื่องบุคคลในอดีต คงต้องยึดตามที่นิยมเรียกหรือเป็นที่รู้จัก (ทั้งสำหรับคนในอดีตและคนในปัจจุบัน) เป็นสำคัญ จะไปแต่งเติมเปลี่ยนแปลงเป็นแบบที่ไม่เคยเรียกขานกันในอดีตและแบบที่คนปัจจุบันไม่นิยมใช้ไม่ได้ ส่วนกรณีของบทความบุคคลสำคัญในกัมพูชานั้นอาจพอปรับปรุงได้ตามความเหมาะสม

--taweethaも (พูดคุย) 06:33, 29 ตุลาคม 2555 (ICT)