ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทับศัพท์ภาษาจีนกลางในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ซึ่งอาจแตกต่างจากที่นักวิชาการและสื่อบางส่วนใช้อยู่บ้างเล็กน้อย

หลักทั่วไป

[แก้]

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาจีนกลางที่เขียนด้วยอักษรโรมันระบบพินยิน (Pīnyīn System) แต่เพื่อความสะดวกแก่การเขียนทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ระบบอื่น ได้แก่ ระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) ระบบเยล (Yale System) และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าว (Zhùyīn Fúhào System) ซึ่งยังมีปรากฏในหนังสือต่าง ๆ อยู่มาก จึงได้เทียบเสียงของระบบดังกล่าวไว้ด้วย

2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาจีน และตัวอักษรในตารางแทนอักษรโรมันทั้งตัวตาม (ตัวเล็ก) และตัวนำ (ตัวใหญ่)

3. เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ในระบบพินยิน ระบบเยล และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าวใช้ ˉ ´ ˇ ` ส่วนในระบบเวด-ไจลส์ใช้ 1 2 3 4 เทียบเคียงกับเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ดังนี้

3.1 เสียงหนึ่ง ใช้เครื่องหมาย ˉ หรือ 1 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงสามัญ[# 1]
3.2 เสียงสอง ใช้เครื่องหมาย ´ หรือ 2 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงจัตวา
3.3 เสียงสาม ใช้เครื่องหมาย ˇ หรือ 3 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงเอก[# 2] (ยกเว้นเมื่ออยู่หน้าพยางค์ที่มีเสียงสาม ให้ออกเสียงเป็นเสียงสองโดยคงเครื่องหมายเสียงสาม เช่น Kǒng Zǐ = โขงจื่อ, ขงจื่อ แทนที่จะเป็น โข่งจื่อ, ข่งจื่อ)
3.4 เสียงสี่ ใช้เครื่องหมาย ` หรือ 4 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงโท
คำที่ออกเสียงเบาจะไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ

4. ความสั้น-ยาวของเสียงสระ เสียงสระในภาษาจีนไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวเหมือนในภาษาไทย โดยปรกติพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสามจะออกเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ ยกเว้นเสียงสี่จะออกเสียงสั้นเสมอ

5. เครื่องหมายพินทุ พินทุที่อยู่ใต้ตัวพยัญชนะแสดงว่าพยัญชนะตัวนั้น ๆ ออกเสียงควบกล้ำกับตัวที่ตามมา ยกเว้นตัว ห ที่มีเครื่องหมายพินทุกำกับจะออกเสียงควบกล้ำและเป็นอักษรนำด้วย เช่น Huá = หฺวา, Huái = ไหฺว, หฺวาย

6. สระประสม เสียงสระประสมบางเสียงในภาษาจีน เมื่อถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย หรือ ว อยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายพินทุใต้ตัวพยัญชนะต้นซึ่งผสมกับสระนั้น เช่น jiǒng = จฺย่ง, yuè = เยฺว่

7. เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ ช ฝ ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น า, ชือ, เฝิน, ฟั่

ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺวิน

8. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ ให้ออกเสียงพยัญชนะนั้นด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ, fēi = เฟย์

9. การเว้นวรรค ในการเขียนทับศัพท์ภาษาจีน การแยกคำให้ยึดตามต้นฉบับ ยกเว้นคำที่ใช้ในภาษาไทยจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น Kǒng Zǐ = ขงจื่อ (ขงจื๊อ)

หมายเหตุ
  1. เสียงหนึ่งในภาษาจีนกลางใกล้เคียงกับเสียงสามัญในภาษาไทย
  2. เสียงสามในภาษาจีนกลางใกล้เคียงกับเสียงเอก+เสียงจัตวาในภาษาไทย

ตารางเทียบเสียง

[แก้]

เสียงพยัญชนะ

[แก้]
รูปเขียน เสียง ใช้ ตัวอย่าง
ระบบ
พินยิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
อักษรจีน[# 1] ระบบ
พินยิน
คำทับศัพท์ ความหมาย
 b  p  b    p  ป    bā    (เลข) แปด
 c  ts', tz'  ts    t͡sʰ  ฉ, ช  蠶 (蚕)  cán  ฉัน, าน  ตัวไหม
 倉 (仓)  cāng  ชัง, าง  ฉางข้าว
 ch  ch  ch    ʈ͡ʂʰ[# 2]  ฉ, ช    chá    ชา
   chī  ชื  กิน
 d  t  d    t  ต    dà  ต้  ใหญ่
 f  f  f    f  ฝ, ฟ    fén  เฝิ  เผา
 飯 (饭)  fàn  ฟั่น, ฟ่าน  ข้าว, อาหาร
 g  k  g    k  ก    gē  เ  พี่ชาย
 h  h  h    x  ห, ฮ    hǎo  เห่า, ห่าว  ดี
   hē  เ  ดื่ม
 j  ch (j)  j (y)    t͡ɕ  จ    jiāng  เจียง  แม่น้ำ
 k  k'  k      ข, ค    k  ขุ  หัวหน้า, ตัวการ
   kàn  คั่  ดู, มอง, อ่าน
 l  l  l    l  ล  來 (来)  lái  ไหล, หลาย  มา
 m[# 3]  m  m    m  ม    mā    แม่
 n  n  n    n  น    nán  หนัน, หนาน  ผู้ชาย
 ng[# 3]  ...  ...    ŋ  ง    ńg, ňg, ǹg  หงอ, หง่อ, ง่  (คำอุทาน)
 p  p'  p      ผ, พ    pá    คลาน
   pō  พั  เนิน, เนินเขา
 q  ch' (i)  ch (y)    t͡ɕʰ  ฉ, ช  錢 (钱)  qián  เฉียน  เงินใช้สอย
   qiāng  เชียง  ปืน
 r  j  r    ɻ  ร    rén  เหริ  คน
 s  s, ss, sz  s    s  ซ, ส    sān  ซัน, าน  สาม
 掃 (扫)  sǎo  เส่า, ส่าว  กวาด, ปัดกวาด
 sh  sh  sh    ʂ[# 4]  ฉ, ช[# 5]  繩 (绳)  shéng  เฉิ  เชือก
 書 (书)  shū  ชู  หนังสือ
 t  t'  t      ถ, ท    Táng  ถัง, าง  ชื่อราชวงศ์
  (ชาย), (หญิง)  tā    เขา (สรรพนาม)
 w  w  w  ไม่ปรากฏรูป  w  ว  萬 (万)  wàn  วั่น, ว่าน  หมื่น
   wǒ  หวั่  ฉัน
 w (เมื่อตามด้วยสระ
 u จะไม่ออกเสียง)
 w  w  ไม่ปรากฏรูป
   wǔ  อู่  ห้า
 x  hs  sy  ɕ  ซ, ส    xiāng  เซียง  หอม
   x  เสี  รองเท้า
 y  y  y  ไม่ปรากฏรูป  j  ย  銀 (银)  yín  หยิ  แร่เงิน
 y (เมื่อตามด้วยสระ i
 และไม่มีตัวสะกด
 จะไม่ออกเสียง)
 yi  y  ไม่ปรากฏรูป
   yī  อี  หนึ่ง
 z  ts, tz  dz    t͡s  จ    zǒu  โจ่  เดิน
 zh  ch  j    ʈ͡ʂ  จ    zhàn  จั้น, จ้าน  ยืน
หมายเหตุ
  1. อักษรจีนที่อยู่นอกวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวย่อ ถ้าไม่มีวงเล็บแสดงว่าอักษรจีนตัวย่อและตัวเต็มเป็นตัวเดียวกัน
  2. ch เป็นเสียงกักเสียดแทรก (affricate) เวลาออกเสียงปลายลิ้นต้องงอขึ้นไปแตะที่เพดานแข็ง
  3. 3.0 3.1 ถ้าเป็นพยางค์เดี่ยวที่ไม่มีสระ ให้เติม -อ แล้วผันวรรณยุกต์ตามเสียง
  4. sh เป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) เวลาออกเสียงปลายลิ้นงอขึ้นไปใกล้เพดานแข็ง แต่ต้องไม่แตะเพดานแข็ง
  5. มีความนิยมเขียนแทน sh ด้วย ซ, ส เพื่อให้แตกต่างจาก ch

เสียงสระ

[แก้]
รูปเขียน เสียง ใช้ ตัวอย่าง
ระบบ
พินยิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
อักษรจีน[# 1] ระบบ
พินยิน
คำทับศัพท์ ความหมาย
A
 a  a  a    ä  –ะ (เสียงเบา)  嗎 (吗)  ma  หม  ไหม, หรือ
 –า  媽 (妈)  mā  ม  แม่
 ai  ai  ai    aɪ̯  ไ–, –าย    tài  ท่  เกินไป
 買 (买)  mǎi  หม่, หม่าย  ซื้อ
 an  an  an    än  –ัน, –าน    kàn  คั่น  ดู, มอง, อ่าน
 藍 (蓝)  lán  หลัน, หลาน  สีน้ำเงิน
 ang  ang  ang    ɑŋ  –ัง, –าง    chàng  ชั่ง  ร้องเพลง
   cháng  ฉัง, ฉาง  บ่อย ๆ
 ao  ao  au    ɑʊ̯  เ–า, –าว    bào  ป้  อุ้ม
   gāo  , กาว  สูง
E
 e  o, oh  e    ɯ̯ʌ, ə  เ–อ  樂 (乐)  lè  ล่  สนุก, ยินดี
 e (เมื่อตามหลัง y)  eh  e    ɛ  เ–  葉 (叶), 頁 (页)  yè  ย่  ใบไม้
 ê
ไม่ปรากฏ
   ɛ  เ–  ế  อ๋  (คำอุทาน)
 ei  ei  ei    eɪ̯  เ–ย์  飛 (飞)  fēi  ย์  บิน
 en  ên  en    ən  เ–ิน    běn  เปิ่น  เล่ม (ลักษณนาม)
 eng  êng  eng    ɤŋ  เ–ิง    děng  เติ่ง  คอย
 er (ไม่ผสมกับ
 พยัญชนะต้น)
 êrh  er    ɑɻ  เ–อร์    èr  อ้อร์  (เลข) สอง
I
 i  i  i    i  –ี    nǐ  หนี่  เธอ
 i (เมื่อตามหลัง c, ch,
 r, s, sh, z, zh)
 ih (เมื่อตามหลัง
 tz, sz ใช้ u, û)
 -r (เมื่อตามหลัง
 ts และ s ใช้ -z)
 ไม่ปรากฏรูป  ɯ  –ึ (เสียงเบา)  兒子 (儿子)  érzi  เอ๋อร์จึ  ลูกชาย
 ɨ  –ือ  使  shǐ  ฉื่อ  ใช้
 ia  ia  ya  一ㄚ  i̯ä  เ–ีย[# 2]    j  เจีย  บ้าน
 iai  iai  yai  一ㄞ  ...  ...  ...  ...  ...  ...
 ian  ien  yan  一ㄢ  i̯ɛn  เ–ียน    tiān  เทียน  ฟ้า
 iang  iang  yang  一ㄤ  i̯ɑŋ  เ–ียง    niáng  นียง  ผู้หญิง
 iao  iao  yau  一ㄠ  i̯ɑʊ̯  เ–ียว  錶 (表)  biǎo  เปี่ยว  นาฬิกา
 ie  ieh  ye  一ㄝ  i̯ɛ  เ–ีย[# 2]    j  เจี้ย  ยืม
 in  in  in  一ㄣ  in  –ิน    lín  หลิน  ป่าไม้
 ing  ing  ing  一ㄥ    –ิง  釘 (钉)  dīng  ติง  ตะปู
 io  io  yo  一ㄛ  ...  ...  ...  ...  ...  ...
 iong (ใช้เฉพาะกับ
 j, q, x)
 iung  yung  ㄩㄥ  i̯ʊŋ  –ฺยง  兇 (凶)  xiōng  ซฺยง  ดุร้าย
   xióng  สฺยง  หมี
 窮 (穷)  qióng  ฉฺยง  ยากจน
   jiǒng  จฺย่ง  เก้อเขิน, ทำให้เขิน
 iu  iu  you  一ㄡ  i̯ɤʊ̯~i̯oʊ̯  –ิว    n  หนิว  วัว
O
 o (เมื่อตามหลัง b, f,
 m, p, w ออกเสียง
 เหมือน uo)
 o  wo    u̯ɔ  –ัว    mō  มัว  คลำ
 o  o  o    ɔ  โ–  哦喲 (哦哟)  ōyō    (คำอุทาน)
 ong  ung  ung  ㄨㄥ  ʊŋ  –ง  龍 (龙)  lóng  หล  มังกร
 ou  ou  ou    ɤʊ̯~oʊ̯  โ–ว  樓 (楼)  lóu  หล  ตึกสูง
U
 u  u  u    u  –ู    bù  ปู้  ไม่
 ü (เมื่อตามหลัง j, q,
 x, y เขียนลดรูปเป็น u
 แต่เมื่อตามหลัง n, l
 ให้คงรูปเดิมคือ ü)
 ü  yu    y  –ฺวี  魚 (鱼)  yú  ยฺวี  ปลา
   nǚ  นฺวี่  ผู้หญิง
 ua  ua  wa  ㄨㄚ  u̯ä  –วา    g  กวา  แตง
 uai  uai  wai  ㄨㄞ  u̯aɪ̯  ไ–ว, –วาย    guāi  , กวาย  ว่านอนสอนง่าย
 uan  uan  wan  ㄨㄢ  u̯än  –วัน, –วาน  緞 (缎)  duàn  ตฺวั้น  ผ้าต่วน
 üan (เมื่อตามหลัง j,
 q, x, y เขียนลดรูป
 เป็น uan)
 üan  ywan  ㄩㄢ  y̯ɛn  เ–ฺวียน  勸 (劝)  quàn  เชฺวี่ยน  ชักชวน, ตักเตือน
 uang  uang  wang  ㄨㄤ  u̯ɑŋ  –วัง, –วาง    guāng  กวัง, กวาง  แสง
 üe (เมื่อตามหลัง j,
 q, x, y เขียนลดรูป
 เป็น ue แต่เมื่อตาม
 หลัง n, l ให้คงรูปเดิม
 คือ üe)
 üeh  ywe  ㄩㄝ  y̯œ  เ–ฺว    y  เยฺว่  เดือน, พระจันทร์
 瘧 (疟)  nüè  เนฺว่  ไข้จับสั่น
 ui  ui  wei  ㄨㄟ  u̯eɪ̯  –ุย    h  หุย  กลับ
 un (uen)  un  wun  ㄨㄣ  u̯ən  –ุน  鈍 (钝)  dùn  ตุ้น  ทื่อ
 ün (เมื่อตามหลัง j,
 q, x, y เขียนลดรูป
 เป็น un)
 ün  yun  ㄩㄣ  yn  –ฺวิน  雲 (云)  yún  ยฺวิน  เมฆ
 uo  uo, o  wo  ㄨㄛ  u̯ɔ  –ัว  國 (国)  g  กั๋ว  ประเทศ
หมายเหตุ
  1. อักษรจีนที่อยู่นอกวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวย่อ ถ้าไม่มีวงเล็บแสดงว่าอักษรจีนตัวย่อและตัวเต็มเป็นตัวเดียวกัน
  2. 2.0 2.1 สระ ia และ ie เป็นหน่วยเสียงที่คล้ายกับเสียงสระเอียในภาษาไทย ดังนั้นจึงทับศัพท์สระ ia และ ie ด้วยสระเอีย เช่น 家 j เจีย = บ้าน, 街 j เจีย = ถนน อย่างไรก็ตาม ia และ ie ออกเสียงต่างกันเล็กน้อยคือ อี+อา และ อี+เอ ตามลำดับ

ความแตกต่างจากการเขียนคำทับศัพท์แบบอื่น

[แก้]

ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ระบุว่า yi เมื่อไม่มีตัวสะกดต่อท้าย ให้ออกเสียง อี เช่น อี = เลขหนึ่ง; อี้ = ความหมาย, เจตนา หาก yi มีตัวสะกดต่อท้ายจะใช้ ยิ ต่อท้ายด้วยตัวสะกด เช่น n ยิน = ความมืด ความเย็น พลังลบ; n หยิน = ธาตุเงิน; n หยิ่น = ดื่ม; n ยิ่น = พิมพ์ เป็นต้น ผู้เขียนหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่อบางแห่งอาจเลือกใช้อิน, อิ๋น, อิ่น และอิ้น ตามลำดับ ในวิกิพีเดียและตำราเรียนภาษาจีนส่วนมากถอดเสียงคำ Pīnn ว่า "พินอิน" ในขณะที่ตำราบางเล่มและนักวิชาการบางท่านใช้ "พินยิน" อย่างไรก็ตามการออกเสียงทั้งสองแบบถูกต้อง และหมายถึง "การสะกดเสียง" หรือ "สัทอักษร" เหมือนกัน[1][2]

sh แทนเสียงเสียดแทรก ลิ้นเกือบแตะเพดานแข็ง เวลาออกเสียงจะคล้ายกับ /ช/ ผสมกับ /ซ/[3] ในประกาศระบุให้ใช้ ฉ, ช เช่น shēn เชิน = ร่างกาย แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์บางสื่อจะใช้ ซ, ส ทำให้เขียนเป็น "เซิน"

wu ในประกาศฯ และสื่อส่วนมากรวมถึงวิกิพีเดียจะใช้ อู เช่น hàn อู่ฮั่น = ชื่อจังหวัดในมณฑลเหอเป่ย์ แต่ตำราบางเล่มหรือสื่อบางส่วนก็ใช้ วู ทำให้เขียนว่า "หวู่ฮั่น" แทน แต่นั่นเป็นการออกเสียงที่ไม่ตรงเสียทีเดียว[2][4]

–ei ในประกาศฯ กำหนดให้ใช้ เ–ย์ โดยให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตบนตัว ย เนื่องจากไม่ปรากฏสระประสมนี้ในระบบเสียงภาษาไทย เช่น bèigào ป้ย์เก้า = จำเลย; fēicháng ย์ฉาง = อย่างยิ่ง[2][4] แต่บางแห่งใช้ เ–ย จึงทับศัพท์เป็น "ป้เก้า" และ "ฉาง" ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนว่าออกเสียงเหมือน เ–ย อย่างในคำว่า "ระ" หรือ "เปรียบปร" เป็นต้น

ตัวอย่างอื่น ๆ ของการถอดเสียงภาษาจีนที่แตกต่างกัน ประมวลได้ดังนี้

คำ คำทับศัพท์ ความหมาย
อักษรจีน (ตัวย่อ) ระบบพินยิน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แบบอื่น ๆ
   yún  ยฺหวิน  หยุน, อวิ๋น  เมฆ
 云南  Yúnnán  ยฺหวินหนัน, ยฺหวินหนาน  หยุนหนัน, หยุนหนาน, อวิ๋นหนัน, อวิ๋นหนาน  ชื่อมณฑลทางตอนใต้ของจีน
   rèn  เริ่น  เริ่น, เยฺริ่น  รู้จัก, จำได้
   xiōng  ซฺยง  โซง, ซง, โซวง  พี่ชายคนโต
 高雄  Gāoxióng  เกาสฺยง  เกาสง, เกาโสวง  ชื่อเมืองในไต้หวัน
 匈奴  Xiōngnú  ซฺยงหนู  โซวงหนู, ซงหนู  ชื่อกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งในสมัยโบราณ
   wō  วัว  วอ  รังนก
   wǒ  หวั่ว  หว่อ  ข้า (สรรพนาม)
   guó  กั๋ว  กั๋ว, กว๋อ  ประเทศ, แผ่นดิน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุและการออกเสียง

[แก้]
  1. พจนานุกรมจีน-ไทย ของเผย์ เสี่ยวรุ่ย ใช้ พินยิน ส่วนศัพทานุกรมและพจนานุกรมจีน-ไทย และไทย-จีน ของเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ใช้ พินอิน รายละเอียดหนังสือตามรายการอ้างอิงข้างล่างนี้
  2. 2.0 2.1 2.2 โปรดดูรายละเอียดที่ รายละเอียดการออกเสียงพินยิน/พินอิน ของ Chinese.yabla.com
  3. I with Z, C, S, ZH, CH, SH, R (การออกเสียงสระอือ) จาก Chinesepod.com วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2558
  4. 4.0 4.1 ตารางการออกเสียง เก็บถาวร 2015-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก http://pinpinchinese.com

สื่อสิ่งพิมพ์

[แก้]
  • เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. ศัพทานุกรมจีน-ไทย ฉบับซินหัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น, 2546. (ตัวหนังสือตัวย่อ ค้นตามคำอ่าน) ISBN: 9749556062, 9789749556061.
  • เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. ศัพทานุกรมจีน-ไทย ฉบับจงหัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น, 2546. (ตัวหนังสือตัวเต็ม ค้นตามส่วนประกอบหรือหมวดนำ) ISBN: 974955647X, 9789749556474.
  • เผย์ เสี่ยวรุ่ย. พจนานุกรมจีน-ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ทฤษฎี, 2549. ISBN: 9749634128, 9789749634127.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]